ถั่วงอก
นางสาว ชุติมา อ้อม เถื่อนจักร์

เก็บตก โครงการปักธงตรงสู่คณะกระจายไปมหาวิทยาลัย (TQA)


อย่าคิดว่าทำ TQA เพื่อให้ได้รางวัลแต่ให้คิดว่าทำเพื่อให้องค์กรเราก้าวสู่ความเป็นเลิศ ที่ยั้งยืน

 

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550 ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปร่วมโครงการ ปักธงตรงสู่คณะกระจายไปมหาวิทยาลัย  (TQA) ที่โรงแรมเรดิสัน กรุงเทพมหานคร  ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง จัดโดย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สสส. และ กสพท.  โดยมีโรงเรียนแพทย์และวิทยาลัยแพทย์ เข้าร่วม  

โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่เป็นการสรุปโครงการที่ผ่านมา ตัวข้าพเจ้ามีโอกาสเข้าร่วมครั้งนี้ครั้งแรก และเป็นครั้งสุดท้ายของโครงการพอดี  พร้อมด้วย ผศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ และตัวแทนจากโรงพยาบาลร่วมผลิตฯ ทั้ง 5 แห่ง จากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ช่วงเช้าเป็นการบรรยาย ในหัวข้อ การอุดมศึกษาไทย: ไปไกลด้วยคุณภาพ โดย รศ.ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ     รมช.กระทรวงศึกษาธิการ</p> มีคำพูดหลายๆอย่างที่รู้สึกประทับใจ และขอหยิบยกมาเล่าสู่กันฟัง พอสังเขป <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ท่านได้กล่าวถึง ปริมาณ และคุณภาพของ นิสิตนักศึกษา ชั้นปริญญาตรีที่จบออกมา ปัจจุบัน มีจำนวนมากมายแต่ถ้าถามถึงคุณภาพยังเป็นเรื่องที่ ต้องเหนื่อยกันต่อไป </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เนื่องจากปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาเน้นการผลิตบัณฑิตออกมาเพียงอย่างเดียว มาตรฐานของปริญญาตรี มีไม่เท่ากัน การควบคุมคุณภาพเป็นไปได้ยาก </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เนื่องจากแต่ละมหาวิทยาลัยมีอิสระในการร่างหลักสูตรขึ้นเอง </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">และท่านได้กล่าวว่า การที่บัณฑิตไม่ว่าจบสาขาใดก็ตามจบมาแล้วได้เงินเดือนตามเกณฑ์ปริญญาตรีที่เท่ากันนั้น เหมาะสมหรือไม่ สมควรที่จะมีการจัดเงินเดือนให้เฉพาะเจาะจงหรือไม่ ทิ้งไว้เป็นคำถามให้ขบคิดกันต่อไป </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การที่จบอะไรก็ได้ ทำให้เด็กเรียนเพื่อจะจบมากกว่าที่ต้องการความรู้  สาขาที่ขาดแคลน ในประเทศไทยนั้น นักวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ยังขาดแคลนอยู่อีกมาก </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นอกจากนั้นท่านยังได้กล่าวถึง NQF (National Qualifications Fame work) ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับข้าพเจ้า NQF คือ การจัดทำมาตรฐานกลางกำหนดกรอบว่าหลักสูตรของแต่ละสาขาวิชา จะต้องเรียนรู้วิชาใดบ้าง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> ประกอบด้วย1. คุณธรรม2.ความรู้ความสามารถ3.ทักษะ เชาว์ปัญญา4.มนุษยสัมพันธ์ ความรับผิดชอบ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">5. การวิเคราะห์และการสื่อสาร</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หลักจากท่านวรากรณ์กล่าวจบ เป็นการ บรรยายและรายงาน ย้อนมองได้อะไรจากการทำโครงการฯและ  แบ่งปันเรื่องกระบวนการในการทำและบทเรียนที่ได้รับ จากมหาวิทยาลัยต่างๆที่เข้าร่วมและคณะพี่เลี้ยงของโครงการฯ </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">มีคำพูดและคำแนะนำดีดีที่ได้รับมากมาย จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ได้เริ่มดำเนินการทำมาแล้วมีคำพูดที่ได้รับการถามว่า คนที่ทำจะท้อหรือเปล่า เค้าอาจจะคิดว่าพอได้รางวัลมารางวัลก็ตกเป็นของผู้บริหารไป </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">พี่เลี้ยงแนะนำว่าเราอย่าคิดว่าจะทำเพื่อให้ได้รางวัล ถ้าเราคิดแบบนั้นเราจะเครียด แต่ให้คิดว่าที่เราทำจะทำให้องค์กรเราก้าวสู่ความเป็นเลิศ ที่ยั้งยืน… </p><p> ภาพบรรยากาศในงาน   </p><p></p>

คำสำคัญ (Tags): #tqa
หมายเลขบันทึก: 124648เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2007 13:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

TQA ดีค่ะก็ต้องช่วยๆกันไปให้ถึง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท