ข้อเรียกร้อง : ประกาศจังหวัดละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย


เป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่าสิ่งที่พวกเราได้ประจักษ์คือการละเมิดสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยการกระทำของหน่วยงานของรัฐในประเทศไทยเอง

ข้อเรียกร้อง : ประกาศจังหวัดละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย 

ถึง เพื่อนๆ พี่น้องทั้งหลาย 

พวกเรากลุ่มนักศึกษานานาชาติด้านสิทธิมนุษยชนจากมหาวิทยาลัยมหิดล  เรามาที่นี่ด้วยมีคาดหวังว่าจะได้เห็นมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนมีการปฎิบัติในประเทศไทย  ทว่า เป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่าสิ่งที่พวกเราได้ประจักษ์คือการละเมิดสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยการกระทำของหน่วยงานของรัฐในประเทศไทยเอง 

เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2549  ทางจังหวัดภูเก็ตได้ออกประกาศเรื่อง กำหนดมาตรการการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ขึ้น ซึ่งต่อมาประกาศในทำนองเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นอีก  ใน3 จังหวัด ได้แก่ ระนอง ระยอง และพังงาในช่วงต้นปี และกลางปี 2550  จังหวัดอื่นๆอย่างเช่น สุราษฎร์ธานี กระบี่ และเชียงใหม่ แม้ยังไม่ได้ออกประกาศอย่างเป็นทางการต่างยอมรับและปฎิบัติเป็นไปในทำนองเดียวกันกับจังหวัดที่มีประกาศดังกล่าว นอกจากนี้ จังหวัดอื่นๆในประเทศไทยก็มีแนวโน้มว่ากำลังวางแผนที่จะนำประกาศทำนองเดียวกันนี้มาบังคับใช้เช่นเดียวกันโดยเฉพาะจังหวัดในภาคใต้ 

นโยบายและการปฏิบัติดังกล่าวคือเป็นการเหยียดเชื้อชาติ เลือกปฏิบัติ และยังสนับสนุนการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรมต่อผู้อาศัยอยู่ในประเทศไทยอย่างเปิดเผย พวกเราต้องการการสนับสนุนจากท่านในการมีส่วนร่วมที่จะเพิกถอนพระราชบัญญัติดังกล่าวและเพื่อการระงับการนำนโยบายดังกล่าวนี้ไปปฏิบัติยังประเทศอื่น ๆ 

ทั้งนี้ ภายใต้ประกาศดังกล่าว แรงงานข้ามชาติจะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ห้ามใช้รถจักรยานยนต์ และห้ามออกจากที่ทำงานในเวลากลางคืนระหว่าง 20.00 6.00 น. และยังห้ามรวมกลุ่มกันเกินกว่า 5 คนด้วย
 

ฐานคิดในการออกประกาศดังกล่าวนี้อยู่ที่ว่า  แรงงานข้ามชาติเป็นผู้ก่อปัญหา และการมีแรงงานข้ามชาติมีกระทบต่อความสมานฉันท์ของสังคมไทย ในบางภูมิภาคมองว่ายิ่งพื้นที่ที่อยู่ใกล้ชายแดน ยิ่งจะต้องเพิ่มการควบคุมแรงงานข้ามชาติมากขึ้น บางพื้นที่ก็มองว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่มากขึ้นทำให้ต้องเพิ่มการควบคุมแรงงานข้ามชาติ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีหลักฐานข้อเท็จจริงใด ๆ ในเรื่องความเสี่ยงหรือผลกระทบด้านลบที่เกิดจากแรงงานข้ามชาติ อัตราอาชญากรรมที่เกิดขึ้นโดยแรงงานข้ามชาติมีต่ำกว่า 5% แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นการสร้างประชานิยมผ่านประกาศดังกล่าวเพื่อหาแพะรับบาปที่เป็น คนอื่น โดยวิธีการเหยียดเชื้อชาติและวิธีการที่ไร้เหตุผลอันเป็นเรื่องที่ไม่ควรสนับสนุนอย่างยิ่งในสังคมประชาธิปไตยสมัยใหม่ 

การละเมิดสิทธิโดยประกาศจังหวัด

ประกาศดังกล่าวได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  

สิทธิที่จะเคลื่อนย้ายได้อย่างอิสระและสิทธิทางสุขภาพ:  ประกาศดังกล่าวนี้ได้ห้ามแรงงานข้ามชาติออกจากที่อยู่อาศัยตั้งแต่ 20.00 -6.00 น. ถือเป็นการคุมขังโดยพลการ และยังเป็นการทำให้แรงงานข้ามชาติต้องกระทำความผิด หากเกิดสถานการณ์อันตรายแต่พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากพื้นที่นั้น ๆ เนื่องจากจะต้องถูกจับกุม และในกรณีที่เกิดการเจ็บป่วยในตอนกลางคืน แรงงานข้ามชาติก็ไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ทันท่วงทีเพราะไม่สามารถออกจากที่พักได้

สิทธิที่จะเป็นอิสระจากการถูกเลือกปฏิบัติ: ประกาศดังกล่าวนี้ มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติในระดับพื้นฐานอย่างชัดเจนซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้นกับคนที่ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือไม่ใช่คนไทย การเลือกปฏิบัติดังกล่าวเทียบเท่ากับการเหยียดเชื้อชาติ ซึ่งไม่มีกฎหมายขั้นพื้นฐานใดยอมให้มีการเลือกปฎิบัติได้

สิทธิที่จะรวมกลุ่มกันอย่างอิสระ: สิทธิในการร่วมกลุ่มเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ปรากฏในปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และเป็นสิทธิที่จำเป็นที่จะช่วยปกป้องสิทธิอื่น ๆ ได้แก่ สิทธิในการปฏิบัติกิจกรรมทางสังคม วัฒนธรรมและศาสนา (การจัดงานแต่งงานที่กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมายในประกาศฉบับนี้) และสิทธิในการแสดงความคิดเห็น และ สิทธิในการร่วมกลุ่มของมนุษย์ถูกขจัดออกไปโดยประกาศฉบับนี้

สิทธิในการติดต่อสื่อสาร: เป็นที่ยอมรับกันว่าสิทธิในการติดต่อสื่อสารถึงผู้อื่นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน และมีความสำคัญที่จะช่วยปกป้องสิทธิด้านอื่น ๆ การห้ามใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นการขัดขวางไม่ให้ปัจเจกบุคคลสามารถติดต่อกับครอบครัว เพื่อนหรือบริการต่าง ๆ เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน และทำให้แรงงานข้ามชาติมีความเปราะบางต่อการถูกกดขี่และถูกหาผลประโยชน์โดยไม่สามารถขอความช่วยเหลือได้ เนื่องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่กับรถจักรยานยนต์เป็นสิ่งจำเป็นต่อแรงงานข้ามชาติที่ต้องเดินทางระยะไกลไปทำงานและต้องติดต่อสื่อสารกับคนอื่น 

ผลกระทบอื่น ๆ จากประกาศจังหวัด

นอกจากจะไม่ได้เกิดผลประโยชน์ต่อสังคมไทยแล้ว ประกาศดังกล่าวยังก่อให้เกิดความเปราะบางของคนยากจนที่สามารถถูกกดขี่ได้มากขึ้น แรงงานข้ามชาติได้ให้ข้อมูลว่าตำรวจหาประโยชน์จากประกาศดังกล่าวโดยทำการยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่ รถจักรยานยนต์ และเรียกขอสินบนในอัตราสูงหากต้องการได้รับคืน ยิ่งไปกว่านั้น แรงงานข้ามชาติยังถูกบังคับให้จ่ายสินบนหากต้องการออกจากบ้านในยามวิกาลเพื่อจะกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การกลับจากทำงานในยามค่ำคืน การไปพบแพทย์ หรือการไปเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาและทางวัฒนธรรม 

เชิญมาร่วมกับเราในการสนับสนุนยกเลิกประกาศจังหวัด 

แรงงานข้ามชาติสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยมานานว่าทศวรรษและเป็นศูนย์กลางการเติบโตของเศรษฐกิจไทย แต่กลับถูกกระทำอย่างไร้มนุษยธรรมโดยอำนาจอธิปไตยของรัฐไทย พวกเราต้องการร้องขอให้เพิกถอนประกาศในทุกจังหวัดที่นำไปใช้และยุติแผนการที่จะนำประกาศในทำนองเดียวกันนี้ไปใช้ในพื้นที่อื่นๆ  นอกจากนี้ พวกเราต้องการร้องขอให้ยุติการการให้ข้อมูลด้านลบของแรงงานข้ามชาติต่อสังคมไทย รัฐบาลควรจะดำรงความเป็นสังคมแห่งอิสรภาพและยุติธรรมโดยสนับสนุนความมีมนุษยธรรมและความเท่าเทียม
            ขอเชิญร่วมลงนามสนับสนุนการยกเลิกประกาศซึ่งละเมิดสิทธิมนุษยชนนี้ การลงนามรับรองของท่านจะถูกส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอขอบพระคุณในการสนับสนุน
 

( หมายเหตุ: แปลอย่างไม่เป็นทางการจาก  petition online : Provincial Decree Jeopardizing Rights of Migrants in Thailand)

http://www.ipetitions.com/petition/support_thai_migrant_workers
หมายเลขบันทึก: 124647เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2007 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท