3 P กับการผลิตรายการโทรทัศน์


1.pre-product 2.product 3.post-product
3 P กับการผลิตรายการโทรทัศน์  
การผลิตรายการโทรทัศน์เปรียบไปคงคล้ายกับการทำอาหาร     คือจะปรุงอย่างไรให้อร่อยและมี คุณค่าทางโภชนาการ  อาหารทั้งคาวหวานแต่ละชนิดต้องใช้อะไรเป็นส่วนผสม แต่ละชนิดต้องใช้ปริมาณเท่าไร จะหาได้จากที่ไหน   มีขั้นตอนการปรุงอย่างไรรสชาติจึงจะถูกปาก     ทุกๆขั้นตอนต้องมีการวางแผน     เช่นเดียวกับการผลิตรายการโทรทัศน์  เพราะถ้าหากได้มีการวางแผนเตรียมการ ทุกขั้นตอนไว้ดีแล้ว  ก็จะสามารถจินตนาการถึงเรื่องราวตอนจบได้เลย การถ่ายทำ  การตัดต่อก็จะไม่สะดุด  ไม่ต้องมาเสียเวลาถกเถียงกันภายหลัง  ซึ่งจะทำให้มีผลกระทบด้านอื่นๆตามมา  เช่นงบประมาณบานปลาย งานล่าช้าไม่เสร็จทันตามเวลาที่กำหนดไว้แล้ว  อาจจะถูกปรับหรือยกเลิกไม่มีโอกาสได้นำเสนอ   หรือทีมงานอาจจะไม่ขอทำงานร่วมกันอีกเลย  ล้วนแล้วแต่เป็นผลเสียทั้งสิ้น
 ทุกขั้นตอนของการผลิตรายการ  มีปัจจัย  มีองค์ประกอบมีรายละเอียดต่างๆ  ทั้งเรื่องคน (Man)วัสดุ อุปกรณ์ (Material) งบประมาณ (money) การจัดการ (Management) รวมทั้งเวลา (Time)  เข้ามาเกี่ยวข้อง (4 M + 1 T ) การเตรียมความพร้อมที่ดีจะทำให้งานสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง  ปัญหาเป็นเรื่องปกติของการทำงาน  เพื่อให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด  ก่อนที่จะออกไปปฏิบัติงานจริง  จึงต้องช่วยกันคิดตั้ง  สมมุติฐานว่าถ้าเกิดปัญหาอย่างนี้ จะแก้ปัญหานั้นด้วยวิธีใดได้อย่างไร ตั้งคำถามและหาคำตอบไว้ล่วงหน้า  
 
%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%876
                                                     
ประชุมหาข้อสรุป ถกเถียงกันในรายละเอียดให้จบ  อธิบายให้ทุกคนเข้าใจความหมายตรงกัน   แล้วมอบหมายหน้าที่แบ่งงานกันทำ  แม้จะไม่ตรงตามนั้นทุกอย่าง  ก็สามารถปรับยืด หยุ่นวิธีการทำงานได้  แต่หลักการนั้นยังคงอยู่เพื่อไปสู่จุดหมายเดียวกัน   ดังนั้นก่อนที่จะผลิตรายการโทรทัศน์จึงควรมีขั้นตอน  3P ดังนี้
 3 P กับการผลิตรายการโทรทัศน์
P 1 =  Pre- production  คือขั้นตอนของการเตรียมงาน  ก่อนที่จะผลิตรายการจริง
P 2 =  Production            คือขั้นตอนของการผลิตรายการ
P 3 =  Post -production คือขั้นตอนสุดท้าย เป็นการตัดต่อก่อนที่จะนำไปเผยแพร่
ในแต่ละขั้นตอนทั้งสามพีนั้น (3P) มีความสำคัญเท่าๆกัน  โดยมีรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนดังนี้
 1. P 1 = การเตรียมงาน  Pre- productionในขั้นตอนนี้คือจุดเริ่มต้นของการทำงาน  หากมีการวางแผนเตรียมงานไว้ดีมีรายละเอียดขั้นตอน วิธีการทำงานชัดเจน   แม้จะต้องใช้งบประมาณใช้เวลามากกว่าขั้น ตอนอื่นๆก็คุ้มค่า  เพราะจะทำให้การทำงานในขั้นตอนอื่นๆสะดวก  รวดเร็ว  ลดปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยมีรายละเอียดในแต่ละหัวข้อดังนี้
1.1  การวางแผน (Plan) คือการกำหนดทิศทางขั้นตอนในการทำงานว่า จะทำอะไร  จะทำอย่างไร จะได้อะไร เป็นการตั้งคำถามและหาคำตอบหาข้อสรุปให้ใกล้เคียงกับคำถามได้มากที่สุด โดยมีหัวข้อไว้ตั้งคำถามหลักๆ  7  หัวข้อคือ 5W+2H  ดังนี้
                             
%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%878
       1.1.1. กำหนดวัตถุประสงค์   ทำไมจึงต้องทำ   (Why? ) เพื่อระบุสิ่งที่ต้องการอย่างชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้ มีขอบเขตในการดำเนินงาน
       1.1.2  กำหนดเป้าหมาย  จะทำอะไร   (What?)  กำหนดเพื่อเป็นการคาดหวังผลสำเร็จไว้ล่วงหน้า  ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ    
       1.1.3  จัดลำดับขั้นตอน การทำงาน จะทำเมื่อไร  (When?)  กำหนด ระยะเวลาการทำงานแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนสุดท้าย   (วัน เดือน ปี)
      1.1.4  กำหนดวิธีการทำงาน จะทำอย่างไร   (How?)ระบุรายละเอียด ในแต่ละกิจกรรมว่าจะต้องทำอย่างไร  เขียนไว้ให้ละเอียดเพื่อสะดวกต่อการนำไปปฏิบัติจริง
      1.1.5  กำหนดสถานที่  ที่ไหน  (Where?) จะผลิตรายการ(ถ่ายทำ) ในสถานที่หรือนอกสถานที่ที่ไหนบ้าง(ระยะทางใกล้หรือไกล)   ตัดต่อที่ไหน  เสร็จแล้วจะนำไปเผยแพร่ที่ไหนบ้าง
      1.1.6  กำหนดผู้รับผิดชอบ แต่ละขั้นตอน  ใคร (Who?)  มอบหมายในแต่ละกิจกรรมระบุหน้าที่ขอบเขตในการทำงานให้ชัดเจน   โดยคำนึงถึงคุณภาพของงาน   และความรู้ความสามารถของคนอย่าให้คนล้นงาน(คนมากกว่างาน)   
      1.1.7  กำหนดงบประมาณค่าใช้จ่าย  เท่าไร (How much?)  คิดให้ละเอียดแม้ในส่วนปลีกย่อยอื่นๆ ที่อาจคาดไม่ถึงก็ต้องคิดเผื่อไว้
 1. 2. การจัดทำเนื้อหา(Content)เมื่อตั้งคำถามและหาคำตอบได้แล้ว ก่อนที่จะผลิตรายการจำเป็นที่จะต้องมีเนื้อหาสำหรับใช้เขียนบทที่มีความถูกต้องชัดเจนและมีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายเนื้อหาจะต้องไม่ส่งผลกระทบในทางที่เสื่อมเสียต่อสังคม  มีสาระที่ให้ข้อคิดที่ดีมีประโยชน์ต่อผู้ชมโดยมีที่มาของแหล่งข้อมูล  ด้วยวิธีต่างๆ
         1.2.1 รวบรวม ค้นคว้าหาข้อมูลจาก
                  -เอกสาร ในห้องสมุด ผลงานวิจัย ฯลฯ
                  -บุคคล    ที่เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการฯลฯ
                  -สถานที่  โดยการออกไปสำรวจยังแหล่งพื้นที่จริง(Scout location)
         1.2.2 วิเคราะห์ข้อมูลที่ค้นคว้ารวบรวมมา  สรุปจัดทำเป็นร่างเนื้อหา
         1.2.3 จัดทำเนื้อหาเรียบเรียงให้ถูกต้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการเขียนบท
1.3. เขียนบท (Script)  บทเป็นเสมือนแผนที่เดินทางหรือแบบแปลนการก่อสร้าง  หากมีรายละเอียดชัดเจนอ่านแล้วเข้าใจ    ก็จะทำให้การถ่ายทำสะดวกและรวดเร็วขึ้น   โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้
                       P8210286
        1.3.1 สร้างสรรค์รูปแบบการนำเสนอ(Creation)เช่น สารคดี สาธิต ละคร ข่าว ฯลฯ อาจผสมผสานให้มีความหลากหลาย(Varity) แต่อย่าให้เบี่ยงเบนประเด็นของเรื่อง
        1.3.2  กำหนดแก่นของเรื่อง (Theme)  ต้องมีเอกภาพ(Unity ) สั้น อ่านแล้วเข้าใจง่าย ตัวอย่าง เช่น  ธีม ของหนังเรื่องนางนากคือ   ความรักและความพลัดพราก
        1.3.3  กำหนดเค้าโครงเรื่อง(Plot/Treatment)  โดยกำหนดสัดส่วน เช่นมีบทนำ (Introduction)ประมาณ 10% มีเนื้อหา(Content)ประมาณ80 % มีบทสรุป(Summary)ประมาณ10% และในตอนจบจะต้องมีจุดสุดยอดของเรื่อง(Climax)
        1.3.4  เขียนบท ร่าง (Outline script)เมื่อกำหนดเค้าโครงเรื่องได้แล้ว  ควรเขียนบทร่างเพื่อให้มองเห็นภาพกว้างๆ   กำหนดฉาก  บทสนทนาหรือคำบรรยาย   
        1.3.5  เขียนบทสมบูรณ์(Full script ,Shooting script,Screenplay) เมื่อแก้ไขบทร่างแล้ว  จึงควรเขียนบทที่สมบูรณ์  เขียนให้ละเอียด อธิบายให้ชัดเจนทั้งขนาดภาพ  มุมมอง แสง  เสียง หากเป็นการแสดงจะต้องบอกถึงกริยา ท่าทาง อารมณ์    สถานที่และส่วนประกอบในฉากด้วย หรือจะเขียนเป็นภาพประกอบก็ได้(Storyboard)
        1.3.6  ตรวจแก้ไขก่อนนำไปใช้ถ่ายทำ   ควรให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในคณะทำงานได้รับรู้   เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมและเข้าใจตรงกัน 
 1.4.  การประสานงาน (Co-ordinate)  การทำงานเป็นกลุ่ม  เรื่องการประสานงานเป็นสิ่งที่สำคัญมาก  ต้องให้ทุกคนในกลุ่มรู้และเข้าใจตรงกัน  การสื่อความหมายต้องชัดเจนไม่คลุมเครือ กำหนดนัดหมาย ประชุมวางแผน  ขั้นตอนการทำงาน ใครมีหน้าที่  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไร อย่างไร  เพื่อให้ทุกคนรู้บทบาทหน้าที่  ความรับผิดชอบและขอบเขตการทำงานของตนเอง  ผู้ที่ทำหน้าที่นี้จึงมีความสำคัญมาก เพราะหากผิดพลาดก็จะกลายเป็นการประสานงา(ตัว หายไป) 
        1.4.1  คณะทำงาน (Staff)
                -ผู้เขียนบท(Scriptwriter)
                -ผู้กำกับ(Director)
                -ทีมงานด้านเทคนิค ภาพ แสง เสียง และระบบ(Engineer & Technician  Team)
               - ฉาก  ศิลปกรรม  กราฟิก  (Scene setting  Prop  Art work  Graphic)
               - พิธีกร วิทยากร ผู้แสดง
        1.4.2  สถานที่  อยู่ที่ไหน ระยะทางใกล้หรือไกล เดินทางไปอย่างไร ต้องใช้ พหนะอะไร
               - ถ่ายทำที่ไหน ในสถานที่(Studio) หรือนอกสถานที่(Outdoor)
               - ตัดต่อรายการ แบบ Off line  / On line  ที่ไหน
                - เผยแพร่รายการ (สถานีออกอากาศ หรือนำไปใช้ ที่ไหน)
        1.4.3 งบประมาณ  (การเงิน พัสดุ  ธุรการ)
                - ค่าใช้จ่ายต่างๆเช่น ค่าวิทยากร  ผู้แสดง  พิธีกร
                - ค่าเช่าอุปกรณ์  ค่าเบี้ยเลี้ยง ที่พัก ค่าเดินทาง  จัดซื้อวัสดุประกอบราย  การ ค่าโทรศัพท์ค่ารับส่ง 
                  เอกสารและอื่นๆที่จำเป็นต้องใช้จริง   ต้องตั้ง  เผื่อไว้บ้างหากไม่ได้ใช้ก็ส่งคืน   ดีกว่าไม่ได้ตั้งงบ
                  ไว้ แต่มีความจำเป็นจะ ต้องใช้จริง   ทำให้เสียเวลา 
   2.P2 =  การผลิตหรือถ่ายทำ  Production                  
      เมื่อถึงขั้นตอนนี้คือการนำแผนที่คิดไว้   มาปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม   แม้จะไม่ตรงตามแผนที่คิดไว้ทั้งหมด แต่ก็ต้องพยายามเดินตามแผนให้ได้มากที่สุด(ยืดหยุ่นในการปฏิบัติแต่ยืนหยัดในหลักการ) ในการถ่ายทำนั้นควรเลือกใช้อุปกรณ์ให้มีความเหมาะสมกับรูปแบบของรายการได้ดังนี้
2.1  การถ่ายทำในสถานที่(Studio)  มีข้อได้เปรียบคือสามารถ ควบคุมแสง  เสียง และจัดตกแต่งฉากได้โดยไม่ต้องกังวลกับสภาพดินฟ้าอากาศฝนตก อากาศร้อน หนาว สามารถควบคุมได้ทั้งหมด ถ่ายทำได้รวดเร็วเพราะมีกล้องมากกว่าหนึ่งตัว  (ส่วนมากจะมีไม่ต่ำกว่าสามกล้อง)   จะทำให้ถ่ายทำได้อย่างต่อเนื่องจากหลายมุมมอง  มีลำดับขั้นตอนการทำงานดังนี้
             P9134800P4252477                    
         2.1.1 จัดทำฉาก  ตกแต่งฉากตามที่ออกแบบไว้  
         2.1.2 จัดแสงให้ได้บรรยากาศตามบทและสภาพของฉาก
         2.1.3 จัดติดตั้งไมโครโฟนตามจำนวนและจุดที่กำหนด
         2.1.4 จัดวางตำแหน่งกล้องตามจุดที่กำหนดและทิศทางการเคลื่อนย้ายเปลี่ยน มุมและขนาดภาพ
                 ( กล้อง)
         2.1.5 ซักซ้อมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  ทั้งทีมด้านเทคนิค และผู้ที่มาร่วมในรายการให้มีความเข้าใจตรงกัน
                 ขั้นตอนเปิดรายการเป็นอย่างไรจะปิด รายการด้วยกล้องไหน(ซักซ้อมให้เหมือนกับการทำรายการ
                 จริง )
         2.1.6 ลงมือถ่ายทำตามที่ได้ซักซ้อมไว้  ระหว่าง การบันทึกรายการ(ในกรณีที่ไม่ใช่รายการสด) หากไม่
                 ถูกต้องจะต้องสั่งหยุด(Cut)ทันที ต้อง ควบคุม  คุณภาพ  ระดับเสียง   ความถูกต้องของ เนื้อหา 
                 เมื่อถ่ายทำจบแล้วควร ถ่ายภาพเผื่อไว้แก้ไข Insert  บ้างหรือเรียกว่าภาพ Cut a way
2.2 การถ่ายทำนอกสถานที่(Outdoor)แบ่งออกเป็นสามแบบคือ
         2.2.1 แบบใช้กล้องเดี่ยวเรียกว่าชุด ENG.  (Electronic News Gathering) 
                 
                               %e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%8730
                 ลักษณะที่ตัวกล้องกับเครื่องบันทึกเทปประกอบติดกัน   ทั้งแบบที่ถอด แยกส่วนได้(Dock able)และ
                 แบบที่ประกอบเป็นชิ้นเดียวกัน(One-pieceหรือCamcorder)จึงเหมาะสำหรับงานถ่ายทำข่าว ถ่ายทำ
                 สารคดีที่ต้อง การความคล่องตัวสะดวกรวดเร็วในการทำงาน ใช้ทีมงานไม่มากเพียงสองถึงสามคนก็
                 ได้โดยมีขั้นตอนดังนี้  
          1) จัดเตรียมอุปกรณ์  กล้องและเครื่องบันทึกภาพ  ขาตั้งกล้อง โคมไฟและขาตั้งโคม ไมโครโฟน เครื่อง
               ชาร์ทแบตเตอรี่และวัสดุ (ม้วนวิดีโอเทป   แบตเตอรี่ ฯ)
          2) ประสานงานด้านธุรการ การเงิน พัสดุ ฯ
          3) นัดหมายทีมงาน
          4) เดินทางตามกำหนดนัดหมาย
          5) ถ่ายทำตามบทในจุดที่กำหนด
        2.2.2 แบบใช้กล้องมากกว่าหนึ่งตัว เรียกว่าชุด EFP.(Electronic Field Product)
                        Efp2     Efp3           
               ใช้อุปกรณ์คล้ายกับในห้องStudio มีกล้องตั้งแต่สองกล้องขึ้นไปต่อสายCable จากกล้องเชื่อมไปเข้า
               เครื่องผสมสัญญาณภาพ(Vision Mixer)สามารถเลือกได้จากหลายกล้องและหลายมุมมองถ่ายทำ
               กิจกรรมได้  อย่างต่อเนื่อง  แต่ไม่ได้ ติดตั้งอุปกรณ์ตายตัว  สามารถเคลื่อนย้ายติดตั้งได้ ตามโอกาส
               และสภาพการใช้งานเหมาะกับรายการสนทนา สาธิต อภิปรายฯ  ที่มีการถ่ายทำนอกสถานที่ตาม 
               เหตุการณ์จริง จึงมีลักษณะการทำงาน
หมายเลขบันทึก: 124467เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2007 19:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

จบรึยังค่ะ  ต้องทำเป็นรายงานอ่ะค่ะ  ขอบคุณมาค่ะ สำหรับความรู้ที่ใหม่  รีบมาอัพเร็ว ๆนะค่ะ

 

ได้ปรับปรุงแก้ไขใส่ภาพประกอบ   เพื่อให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น   สมาชิกท่านใดเข้ามาอ่านอย่าลืมทักทาย   วิจารณ์ติชมบ้างนะครับ   ถ้าอ่านแล้วไม่แสดงความเห็น  ผมก็ไม่รู้ว่าเข้าใจหรือม่เข้าใจ

อ่านแล้วได้รู้ในสิ่งที่ไม่รู้ ดีมากๆครับ

สวัสดีครับคุณคนโรงงาน

ขอบคุณที่แวะเข้ามาทักทาย 

เป็นข้อมูลที่น่าสนใจ...ใช้ได้จริง...และเข้าใจดีนะคะ

เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากครับอาจารย์ ได้ข้อมูลของอาจารย์ไปถ่ายทอดนักศึกษา

อีกต่อหนึ่งครับ อยากรบกวนอาจารย์ครับว่า มีประวัติความเป็นมาของกล้องบ้างไหม ทั้งENG /EFP นะครับ

เป็นความรู้ใหม่ที่ได้รับน่าสนใจมากค่ะ

ดีมากเลยครับเป็นข้อมุลที่ดีมากครับแต่ผมอยากให้ลงข้อมูลเพิ่มเติมอีกเยอะๆๆเพื่อจะได้ให้คนที่ต้องการหาศึกษาหาความรู้ได้รู้เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ นะครับ อย่างผมนี่และครับ และผมอยากขอ ให้ลงบรรณานุกรมด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

แล้วP3อยู่ไหนค่ะอาจารย์

ถ้าคุณฝนสนใจอยากได้ข้อมูลทั้งหมดซึ่งรวมไว้ให้แล้ว 9 บท

เข้าไปดูได้ที่ www.ceted.org (ซึ่งเป็นเว็บของศูนย์เทคโนฯ)

เข้าไปที่ KM (การจัดการความรู้) แล้วเลือกเรื่อง การผลิตรายการ

โทรทัศน์    ได้จัดทำไว้เป็นไฟล์ pdf อนุญาตให้โหลดไปใช้ได้

 

ชอบข้อมูลนี้มากค่ะเพราะหนูเองทำงานและเรียนด้านนี้กราบสวัสดีอาจารย์ค่ะศิษย์ fmtv เองค่ะพี่ถังชอบให้อ่านอยู่บ่อยๆ(งานของอาจารย์น่ะค่ะ)

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ ตอนนี้กำลังทำสาระนิพนธ์ ข้อมูลของอาจารย์มีประโยชน์มากค่ะ

ไม่ได้เพิ่มเติมข้อมูลมาหลายปีแล้ว  เนื้อหาบางส่วนล้าสมัย  อีกไม่นานคงจะต้องปรับปรุงใหม่ 

ขออนุญาตนำข้อมูลไปประกอบการทำโครงงานนะคะ ^_^

ขอบพระคุณค่ะ

ขอบคุณมากนะคะพี่ ช่วยได้เยอะ แต่ได้อีกก็ดี 555

ขอโทษน่ะค่ะ ขอสอบถามหน่อยค่ะ พอดีไม่เห็นข้อมูลPost Pที่3อ่ะ *หรือเป็นเพราะดิฉันผิดพลาดเอง ช่วยบอกหน่อยนะค่ะขอบคุณค่ะ

คุณมีเฟสหรือไลน์ไหมครับคุยกับผมในชื่อนี้ คือสมเจตน์ เมฆพายัพ ได้เลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท