การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาล


เมื่อวานได้รับการติดต่อจากน้องเจนนี่...พยาบาลER.แจ้งว่าอยากได้เอกสารทฤษฎีเรื่อง การทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ 9 ขั้นตอน จะนำไปเขียนเรื่องเล่าชาวER. ว่าด้วยการแก้ไข/ปรับปรุงแนวทางการส่งต่อผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมันเกี่ยวข้องกันหมดตั้งแต่ แพทย์/ER/Ward/พนักงานขับรถ/พยาบาลส่งต่อ/ผู้ป่วยและญาติ..แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมีERเป็นเจ้าภาพหลักในการประสานงาน...เราก็เห็นทีมเค้าประชุมกันบ่อยเหมือนกันเห็นวงล้อการพัฒนามาเรื่อยๆ..แต่เราไม่ได้บอกว่าที่เค้ากำลังทำอยู่นี่มันคือการพัฒนาคุณภาพของระบบส่งต่อ..แต่จะป้อนคำถามให้ทีมเป็นส่วนใหญ่..เช่น..ประชุมวันนี้มีปัญหาเรื่องอะไรในการส่งต่อ..เกิดเหตุการณ์บ่อยมั้ย..ปัญหานี้เกี่ยวข้องกับใครบ้าง..ระบบที่ทำอยู่เป็นอย่างไร..เล่าให้ฟังหน่อยสิคะ..เราอยากเห็นผลลัพธ์การส่งต่อเป็นอย่างไร..ใครบ้างที่ควรมีส่วนในการวางแนวทางปรับปรุง..บันทึกไว้หน่อยนะคะ.. ซึ่งทีมส่งต่อสามารถตอบคำถามได้หมดเลย ก็เลยบอกน้องว่า..ไม่ยากหรอกค่ะคิดว่าเรามีข้อมูลครอบคลุมสมบูรณ์เพียงพออยู่แล้ว..จากอดีตถึงปัจจุบัน..มีตั้งหลายรอบแล้วล่ะในการทดลองทางเลือกแล้ววัดผล..สรุปคือ ตอนนี้เป็นวัฒนธรรมไปแล้วในเรื่องการทบทวนระบบส่งต่อทั้งในเชิงกระบวนการและผลลัพธ์..จากประสบการณ์ในอดีตเมื่อเริ่มรู้จัก HA ใหม่ๆ ปี 2542 พอบอกให้ทุกหน่วยงานทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ เค้าจะบ่นว่ามันยากจัง ตั้ง 9 ขั้นตอนจะเขียนยังไงยิ่งเห็นภาคทฤษฎียิ่งโวยใหญ่เลยค่ะ บอกทำไม่ได้หรอกคิดไม่ออกผู้ประสานงานคิดให้หน่อยสิ ตอนนี้ก็เลยปรับวิธีทำงานคือ มีปัญหาก็ชักชวนให้ปรับปรุงหรือแก้ไขไปเลยโดยเราจัดเวทีพบปะให้กับทีม..แล้วเล่าให้ฟังทีหลังได้งานดีกว่าเยอะเลยค่ะ..
หมายเลขบันทึก: 123135เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2007 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับ ที่ให้กำลังใจน้องๆ ได้พอเหมาะ พอเจาะกับเวลา ที่น้องๆต้องการเสมอครับ

  • สวัสดีค่ะ อ.ต๋วม
  • แวะมาเยี่ยมค่ะ
  • ยึดรูปแบบมากเกิน บางครั้งก็ตันนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท