การลงประชามติในมุมมองของอิสลาม


กฏหมายอิสลามมีอัลกุรอานและหะดิษเป็นตัวกำหนดในการร่างกฏหมายใดกฏหมายหนึ่ง
การลงประชามติได้ผ่านพ้นไป มีทั้งผู้ที่มีความเห็นชอบและผู้ที่ไม่เห็นชอบ และผลที่ออกมาคือเสียงสวนมากเห็นชอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 การลงประชามติเห็นชอบในประเทศไทยและประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตย์จะนำเสียงสวนมากของประชาชนมาเป็นข้อตัดสินว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้สามารถที่จะนำมาใช้ได้ ซึ่งแตกต่างกับรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอิสลามที่ใช้อัลกุรอานและหะดิษของท่านศาสนฑูตเป็นตัวกำหนดและผู้ที่สามารถที่จะพิจารณาเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในบางสวนของบทบัญญัติได้นั้นต้องเป็นผู้ที่มีความรู้หรือนักวิชาการอิสลามที่มีความชำนาญเฉพาะด้านเท่านั้นถึงสามารถที่จะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ จริงๆแล้วกฏหมายอิสลามจะมีสองประเภท หนึ่งกฎหมายหรือบทบัญญัติที่ไม่อาจแก้ไขได้เลย เช่นบทบัญญัติที่เกียวกับการลงโทษผู้กระทำผิด อาทิการฆาตกรรม การกระทำผิดประเวณีและอื่นๆ ซึ่งบทลงโทษจะมีกล่าวอย่างชัดเจนโดยที่ไม่มีใครสามารถลบออกได้จากกฎหมายอิสลาม อีกประเภทหนึ่งคือกฎหมายหรือบทบัญญัติที่สามารถแก้ไขได้เพื่อความสอดคล้องกับความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งผู้ที่สามารถออกความคิดเห็นและร่างกฎหมายสวนนี้ต้องเป็นนักวิชาการอิสลามเท่านั้น คือผู้ที่สามารถที่จะเข้าใจอัลกุรอานและหะดิษอย่างลึกซึ้ง เพราะอัลกุรอานและหะดิษคือตัวกำหนด อะไรที่ไม่ปรากฎในสองสิ่งนี้นักวิชาการอิสลามเท่านั้นที่จะรู้ว่าสิ่งใดบ้างที่ขัดหรือไม่ขัดกับสองสิ่งนี้ ฉะนั้นการลงประชามติเห็นชอบรัฐธรรนูญนั้นจำเป็นที่จะต้องเป็นนักวิชาการอิสลาม ซึ่งต่างกับการลงประชามติในครั้งนี้
หมายเลขบันทึก: 121385เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2007 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 13:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อัสลามูอาลัยกุม อุสตัสเฮง

หนูก็เป็น นศ.มอย. คนหนึ่ง วันนี้มีโอกาสเข้าอ่านบล๊อคอาจารย์ รู้สึกว่าเรื่องที่เขียนมาน่าอ่านมากน่าสนใจจมากเลยที่เดียว หนูเข้าบล๊อคทุกวันช่วงที่เรียนแต่ทำไม่ถึงเพิ่งมาเจอบล๊อคอาจาร์ล่ะ งงมากๆ วันนนี้เเค่นี้ก่อนล่ะกัน สลามก่ะฟะห์ด้วย 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท