เศรษฐกิจพอเพียงเป็นได้ดั่งใจ....1


เศรษฐกิจพอเพียง...ด้านปศุสัตว์และประมง

คราวที่แล้วเป็นการกล่าวถึงเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเกษตร และคงต้องมีการอธิบายเรื่องด้านปศุสัตว์ และประมงไปในตัวด้วย...เป็นเรื่องทางด้านการเกษตรทั้งหมดครับ....

สำหรับเรื่องปศุสัตว์ และประมง อย่างพอเพียง ก็ต้องยึดหลักการอยู่รอดก่อน คือ คำนึงเรื่องเลี้ยงแล้วไม่เป็นภาระการเลี้ยง เช่นไม่ต้องซื้อหาอาหาร เช่นการเลี้ยงวัวในอดีตที่ผ่านมา เราเลี้ยงโดยการนำไปกินหญ้าตามสถานที่ต่าง ๆ  ให้กินน้ำ ให้กินอาหารเสริม เช่นกล้วย ต้นข้าวโพดอ่อน เป็นต้นครับ...ไม่เน้นการลงทุนสูง  เลี้ยงแล้วไม่ต้องรีบร้อนเพื่อขาย เน้นการมีกินก่อน (ไม่ได้กินวัวครับ)แต่เพราะไม่ได้ลงทุนเงิน หรืออย่างอื่น ๆ

การคิดเรื่องการจัดการถ้าได้เกิดการเรียนรู้ ก่อน ก็จะทำให้การจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ  (นั่นคือ มีข้อมูล มีแผนชีวิตของเกษตรกรเองและแผนแม่บทชุมชนของชุมชน)

การประมง เลี้ยงปลา ปล่อยปลาได้ตามโอกาสงานบุญต่าง ๆ ให้เกินอายุ โดยจัดการให้เป็น  แล้วเน้นเรื่องการกินพืชผักที่อยู่บริเวณสระน้ำเลี้ยงปลา หรือบ่อปลาที่ว่านั้น  ครบเวลา มีคนซื้อก็ขาย ไม่มีคนซื้อก็ไว้ทานเองในครอบครัว

ทางด้านการจัดการทรัพยากรของเกษตรกรนั้นคือ การจัดการข้าว ให้เป็นข้าวที่เกษตรกรจัดการเองได้ จนกระทั่งเป็นข้าวที่ทานได้ในที่สุด  และเรื่องอาหารการกินของเกษตรกรที่ไม่พึ่งพาภายนอก หรือ พึ่งตลาดน้อยที่สุด  (ปลูกกินปลูกใช้ ซื้อให้น้อยที่สุด)

เหล่านี้ครับ เรื่องของการจัดการเกษตรของ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่คาดว่าจะทำได้ในส่วนของเกษตรกร ..ชุมชนชนบท ครับ

หมายเลขบันทึก: 119750เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2007 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท