ภูมิปัญญากับการดำเนินชีวิตตอนที่ 5


วันนี้เข้ามาเขียนด้วยอารมณ์ที่ไม่ค่อยดีเท่าไร เพราะว่ากว่าจะเข้ามาได้  ยากๆแสนยากๆๆๆๆ ไม่รู้เป็นไง สงสัยเน็ตที่บ้านเสียแน่ๆ เฮ้อ.....คนเรานะทำอะไรก็อยู่กับเทคโนโลยีทั้งนั้น ถ้าไม่มีเกิดวันหนึ่ง เทคโนโลยีเหล่านี้มันเกิดช๊อร์ดขึ้นมา ไม่สามารถใช้ได้ทุกอย่าง ไม่รู้เหมือนกันว่าคนเราสมัยใหม่จะอยู่กันได้เปล่านะ จะสามารถดำเนินชีวิตได้เปล่านะ น่าคิดเหมือนกัน พอพูดถึงเรื่องการดำรงชีวิตก็นึกถึงเรื่องของคุณสุทธิศิลป์ ที่ทำรายงานเรื่องการตำข้าวแบบครกมอง วันนี้ก็เลยจะเอาการตำข้าวแบบครกมองมาให้อ่านกัน ลองดูเลยนะ "การทำ ครกมอง ( เครื่องตำข้าวแบบท้องถิ่น)" เพื่อให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น  ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ  เกี่ยวกับการตำข้าว  หรือโรงสีข้าวแบบท้องถิ่น  ซึ่งชาวไทยภูเขาได้สืบถอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงขณะนี้   นับว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวไทยภูเขา เผ่ากระเหรี่ยง   กับการตำข้าวเปลือกให้ได้มาเป็นข้าวสารในการนำมาบริโภค   จนถึงปัจจุบัน  การตำข้าวโดยการใช้ครกมองนี้   มีมาตั้งแต่สมัยปู่   ย่า  ตา  ยาย  ไม่รู้กี่รุ่นสู่กี่รุ่น  นับเป็นเวลากว่า  300  ปี  ที่ผ่านมา  เพราะเมื่อสมัยก่อนยังไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย  และยังไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวก สบาย  เหมือนอย่างเช่นปัจจุบัน   เครื่องตำข้าวแบบครกมองนี้  นับได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ภูมิปัญญาของคนในสมัยก่อนอย่างแท้จริง   การตำข้าวแบบนี้เป็นการออกกำลังกายภายในตัว  และจะต้องใช้คนที่จะมาตำข้าว 2 คนขึ้นไป   เป็นภูมิปัญญาที่ควรสืบทอดและอนุรักษ์ไว้สืบต่อไปพ่อหลวง  ก๋องคำ    ช่างซอ   ปัจจุบันอายุ  73 ปี  เกิดที่บ้านป่างิ้ว   หมู่ที่ 4  ตำบลทาเหนือ  กิ่งอำเภอแม่ออน  จังหวัดเชียงใหม่   เกิดภายในหมู่บ้านป่างิ้ว   โดยมีหมอตำแยเป็นผู้ทำคลอด   ตั้งแต่เกิดมาก็ได้กินข้าวที่ตำจากครกมองมาตลอด    พ่อหลวงก๋องคำผู้ให้ข้อมูลกล่าวว่า   การตำข้าวโดยการใช้ครกมองนี้ควรเก็บรักษา  และอนุรักษ์ไว้คู่กับหมู่บ้านนาน ๆ  เพื่อให้เยาวชนที่กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า   ก็อยากจะให้อนุรักษ์ไว้ให้กับลูกหลานในวันข้างหน้าสืบต่อไป  การตำข้าวแบบครกมองนี้จะมีอยู่ในหมู่บ้าน ( ถ้าเป็นเมื่อสมัยก่อน ก็อาจจะมีกันครบทุกครัวเรือน )  หรืออาจจะมีในหมู่บ้าน ๆ ละที่หนึ่ง    เพราะในสมัยนั้นยังมีครัวเรือนไม่มาก  เริ่มต้นจากการนำข้าวเปลือกมาเทใส่ในครกมอง   แล้วใช้คนที่จะทำการตำข้าวขึ้นไปเหยียบที่หางคานตำข้าวให้เป็นจังหวะ เหยียบไปเลื่อย ๆ จนกว่าที่จะได้ข้าวสาร   แล้วจากนั้นก็นำข้าวที่ตำในครกมองออกมา  ทำการเหิน   การเหินนั้นจะต้องใช้ความชำนานเป็นอย่างยิ่ง   พอเหินเสร็จก็จะได้ข้าวที่ตำจากครกมอง    เพื่อนำมาบริโภคในครอบครัว   จะไม่มีการขาย การตำข้าวแบบครกมองจะใช้เวลามากน้อยก็ขึ้นอยู่กับจำนวนข้าวที่นำไปตำกับครกมอง   แต่จะมีการตำข้าวทุก ๆ วัน  ในตอนเช้า  เวลาประมาณ ตี4  หรือ ตี 5 การตำข้าวโดยการใช้ครกมอง   จุดที่สำคัญที่สุดคือ  การเหินข้าว  การเหินข้าวนั้นถ้าไม่มีความชำนานแล้ว   จะได้ข้าวที่รำข้าวติดอยู่มาก   จะทำให้การนำมาบริโภคนั้นไม่อร่อย  และจะทำให้ข้าวเปลือกที่ปะปนอยู่ในข้าวติดคอได้ง่าย  การตำข้าวโดยการใช้ครกมองในแต่ละครั้ง   จะนำข้าวมาตำแค่เพียงพอในการบริโภคต่อวันเท่านั้น  พอวันรุ่งขึ้นก็นำข้าวเปลือกมาตำใหม่  เพื่อเป็นการออกกำลังกายภายในตัว

การตำข้าวแต่ละครั้งจะไม่มีการนำข้าวที่ตำแล้วนำมาจำหน่าย  เพราะการตำข้าวแบบนี้จะต้องอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน   เหมือนฉันพี่น้อง   เปรียบสะเหมือนครอบครัวเดียวกันชาวบ้านในสมัยนั้นจะไม่ต้องการรายได้  จะอยู่กันอย่างเศรษฐกิจพอเพียง   มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ถ้ามีของเหลือเก็บก็จะนำสิ่งของเหล่านั้นมาแลกเปลี่ยนกัน  โดยจะไม่ใช้เงิน ทองในการดำรงชีวิต  การตำข้าวโดยการใช้ครกมอง   เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ  มีการเรียนรู้    และมีการเอื้อเฟื้อเผื่อแพรซึ่งกันและกัน  และมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายโดยไม่มีการแก่งแย่งชิงดี  หรือ  คิดอิจฉา  ริษยา   เพราะผู้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเปรียบสะเหมือนเป็นพี่น้องกัน   จึงอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข  พ่อหลวงก๋องคำ   ช่างซอ   นับว่าเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีการดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนนี้มามากพอที่จะให้ลูกหลานได้สืบทอด   ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่มีมาอย่างช้านาน   และยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่พ่อหลวงก๋องคำ   ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษและจากประสบการณ์จริงที่ได้สั่งสมมากว่า 70 ปี

ยาวหน่อยนะครับ แต่เมื่ออ่านจบแล้วมันทำให้น่าคิดนะครับว่า คนในอดีตเขายังอยู่กันได้ โดยไม่ต้องพึ่งเทคโนโลยีต่างๆ แต่มาสมัยปัจจุบันเรากับเสียอารมณ์ในเทคโนโลยีที่ไม่ตอบสนองความต้องการของเรา ทำไงน้า......ถึงจะให้คนเราได้รู้จักคำว่า " พอ" เสียทีนะ ใครรู้วิธีช่วยบอกหน่อยสิครับ 
หมายเลขบันทึก: 119620เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2007 20:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

"ครกมอง"
คงเหลือไว้เพียงตำนาน เพราะขาดการสืบทอด สาเหตุสำคัญก็คือเทคโนโลยีนี่แหละ สะดวกขึ้น สบายขึ้น และใช้เวลากับการหามาให้พอกับความต้องการ จึงไม่มีเวลากลับไปหา "ครกมอง" อีก หากจะฟื้น ก็คงต้องไปเริ่มที่คุณค่าของ "ข้าวซ้อมมือ" กันโน้นหละกระมัง...

น่าจะมีการรวบรวมนะครับอาจารย์ เพราะว่ายิ่งนานเข้า พวกเราทั้งหลายก็กลับไปดำรงชีวิตแบบเดิมๆอยู่ดีนะละครับ อย่างเช่น เดี๋ยวนี้ทุกคนก็หันมาทานข้าวกล้องกันเยอะนะครับ เพราะว่ามันมีประโยชน์มาก แล้วพวกเราจะตามยุคสมัยทำไมละครับ ใช่ปีธ
น่าสนใจมากค่ะสำหรับการตำข้าวแบบสมัยที่ยังเล็กๆอยู่ สำหรับตัวข้าพเจ้าแล้วคิดว่าน่าใจมากยังคิดอยู่ว่าจะหาได้จากที่ไหนอีกเมื่อก่อนตอนที่อยู่จังหวัดน่านนั้นที่บ้านพ่ออุ้ยแม่อุ้ยก็มียังได้ไปเล่นอยู่ค่ะ ตอนนี้ไม่มีแล้วน่าเสียดายความรู้ภูมิปัญญาเหล่านั้นค่ะแต่ก็ยังนึกภาพออกตอนแม่เอาข้าวใส่กระด้งแล้วฝัดข้าวและหาเม็ดข้าวที่ตำไม่แหลก ตอนนี้ทุกสิ่งหันเข้าหาความรู้ภูมิปัญญาแบบที่ปู่ ย่า ตา ยาย ได้ดำเนินชีวิตมานาน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท