การจัดเวทีความคิด การสร้างสังคมการเรียนรู้ สำหรับชาว อบต. คูขาด


            สวัสดีครับลูกศิษย์ทุกท่าน และผู้ติดตาม blog ทุกคน ครั้งนี้ผมได้เปิด Blog นี้ให้ทุกท่านได้ร่วมเรียนรู้ร่วมกันนะครับ Blog นี้สืบเนื่องมาจากผมได้จัดโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หลักสูตร เศรษฐกิจ  พอเพียงกับการเพิ่มประสิทธิภาพขั้นสูงในการทำงานและการสร้างภาวะผู้นำ กรณีศึกษา Covey’s 7 Habits workshop(The 7 Habits of Highly Effective People) ที่จังหวัดนครราชสีมาขึ้น             แล้วผมกับท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคูขาด ได้จัดโครงการต่อเนื่อง ซึ่งได้จัดเป็นเวทีความคิด การสร้างสังคมการเรียนรู้ ให้กับ ชาว อบต. คูขาด ให้อีกด้วย ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 ในครั้งนี้ผมได้เรียนเชิญ ผอ.สุพรรณ  แสงทอง ผู้อำนวยการสำนักงานถ่ายทอดเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์ เพื่อไปรับฟังปัญหา และร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยครับ และท่านก็ได้ให้เกียรติสรุปเกี่ยวกับงานในครั้งนี้ด้วยครับ ผมขอยกเอกสารที่ท่าน ผอ.สุพรรณ สรุปมาให้ทุกท่านรับทราบกันด้วยครับเรื่อง   การจัดเวทีความคิด การสร้างสังคมการเรียนรู้  สำหรับชาว อบต. คูขาดวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 เวลา 13.10 – 16.00น.                             มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ  โดย ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  เลขาธิการ มูลนิธิ ฯ และคณะ  ได้จัดจัดเวทีความคิด การสร้างสังคมการเรียนรู้  สำหรับชาว อบต. คูขาด  อำเภอ คง  จังหวัดนครราชสีมา  ในหัวข้อเรื่อง  ความสำคัญของวิทยาศาสตร์กับการพัฒนาชุมชน   หอประชุม  อบต.  คูขาด   ซึ่งในส่วนของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ท่านปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ปกท.วท.)  โดยท่านรองท่านปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ (สุจินดา  โชติพานิช) รักษาราชการแทน ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ  ได้มอบหมายให้กระผม  นายสุพรรณ  แสงทอง  ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี  ร่วมเดินทางไปพร้อมกับคณะ  ในโอกาสเดียวกันนี้  กระผม นายสุพรรณ  แสงทอง  ได้รับมอบหมายจาก ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  เลขาธิการ มูลนิธิ ฯ  ให้นำเสนอแก่ผู้ร่วมเวทีความคิด  ในเรื่อง  “การดำเนินงานของ สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี   กับการพัฒนาชุมชน  โดยเฉพาะ อบต. คูขาด”    สภาพทั่วไป ของ  อบต. คูขาดสภาพทั่วไปของตำบล : สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มสลับที่ดอน โดยเป็นที่ลุ่มตอนกลางและทางใต้ของตำบล เป็นที่ดอนทางทิศตะวันออกและทิศเหนือ
          อาณาเขตตำบล : ทิศเหนือ ติดกับ อบต.เสมาใหญ่ อ.บัวใหญ่
ทิศใต้ ติดกับ อบต.ขามสมบูรณ์ อบต.ดอนใหญ่ อ.คง
ทิศตะวันออก ติดกับ อบต.โนนตาเถร อ.โนนแดง
ทิศตะวันตก ติดกับ อบต.เมืองคง อ.คง
จำนวนประชากรของตำบล : จำนวนประชากรในเขต อบต. 10,493 คน และจำนวนหลังคาเรือน 2,082 หลังคาเรือน ข้อมูลอาชีพของตำบล : อาชีพหลัก ทำนา
                                           อาชีพเสริม ทอเสื่อกก ทอผ้า
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล : 1. อบต.คูขาด
                                             2. วัดบ้านปอบิด
                                             3. วัดบ้านเมืองคง
                                             4. วัดกู่สนวน
                                             5. วัดโคกเสี่ยว
                                             6. วัดบ้านน้อย
                                             7. วัดหนองหว้า
สภาพดิน  ร่วนปนทราย ไม่อุ้มน้ำ  ฝนแล้งบ่อย ๆ บ้างช่วงแล้งติดต่อกันมากกว่า 3 ปี การนำเสนอแนวความคิด                   1.  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  เลขาธิการ มูลนิธิ ฯ  ได้นำเสนอต่อผู้ร่วมเวทีความคิดว่า  ชุมชนคงต้องร่วมกันดูปัญหา  ว่าเดิมอยู่กันอย่างไร  อะไรคือปัญหาที่ต้องการรับความช่วยเหลืออย่างแท้จริง  แต่มิใช่การแบมือขอรับทุกอย่างโดยชุมชนไม่มีส่วนร่วม  การทำงานร่วมกันจะต้องทำงานบนพื้นฐานความจริงทุกฝ่าย  และคิดตรงกัน  แบบที่เรียกว่าความคิดโป๊ะเชะกัน    ชาวบ้านจะรู้ด้วยว่าอะไรที่ทำแล้วจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน และกล้าคิดนอกกรอบ  เพื่อผู้ร่วมฟังจะช่วยกันตะล่อมเข้ากรอบที่สามารถทำได้จริง ๆ  โดยทางมูลนิธิ  เป็นองค์ที่จัดตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี  ให้มีวัตถุประสงค์ช่วยเหลือสังคม  ชุมชน  ได้โดยไม่ติดยึดกับระเบียบของทางราชการ  ในวันนี้  เป็นการมานำเสนอแนวทางการทำงานร่วมกัน  โดยมีเจ้าหน้าที่หน่วยงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  นายสุพรรณ  แสงทอง  ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี  สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ  จะมานำเสนอในเรื่องที่ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ จะร่วมมือกับชุมชนได้  ดังนั้น  ท่านต้องร่วมกันคิดว่า  มีอะไรที่ชาวคูขาด ต้องการ  อะไรที่จะนำมาแล้วชาวคูขาดทำแล้วมีรายได้เพิ่มขึ้น  ในขั้นนี้ยังไม่ต้องพูดถึงว่าเงินนั้นจะมาจากไหน  เรื่องเงินค่อยมาหาทางกันอีกครั้ง  จึงขอให้ท่านพูดกันด้วยความจริง  และคาดว่าจะทำจริง  นั้นเป็นเรื่องสำคัญ การร่วมกันคิด  ควรนำเสนออย่างเป็นการนำเพื่อตัดสินใจร่วมกัน  และในทางปฏิบัติการ  มีความขัดแย้งบางจะเป็นเรื่องที่ดี  แต่ไม่ควรที่จะขัดแย้งกันจนเกินไป  ขอให้ทำอย่างที่คิด  การขอรับการช่วยเหลือ  ขอให้เป็นการขอเรื่องความคิด  ความรู้  เพราะการร่วมกันคิดจะทำให้เกิดปัญญา  สร้างความรู้ สร้างแรงร่วมใจกัน  และอย่าลืมหลัก 3   คือ ต่อเนื่อง   ต่อเนื่อง  และต่อเนื่อง                   2.  นายสุพรรณ  แสงทอง  ได้นำเสนอ ต่อผู้ร่วมเวทีความคิดว่า  การพัฒนาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย  เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย  ญี่ปุ่น  เกาหลีใต้  ไต้หวัน  สิงค์โปร์  ประเทศไทย ล้าหลังที่กว่าทุกประเทศดังกล่าว ในทุก ๆ ด้าน  เช่น  สัดส่วนของผู้จบการศึกษาที่เกี่ยวกับงานด้านวิทยาศาสตร์   งบประมาณเพื่อการศึกษาพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์  การใช้จ่ายเงินเพื่อการวิจัยและพัฒนางานทางด้านวิทยาศาสตร์ของบริษัทต่าง ๆ (ภาคเอกชน)  ดังนั้น  จึงขอความร่วมมือทุกท่านได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้  ที่จะช่วยกันยกระดับความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาการใหม่  ๆ (เทคโนโลยี) ของประเทศไทย    จากแผ่นภาพที่แสดงจะเห็นประเทศเวียตนาม  ขณะนี้กำลังปรับตัวสร้างความสามารถของประเทศในทุก ๆ ด้าน  ดังนั้นหากเราไม่ช่วยกัน ในอนาคตอันใกล้นี้  ประเทศเวียตนาม อาจเทียบชั้นประเทศไทย  หรือแซงเราไป   ดังนั้น  กระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ  ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการวิจัยและพัฒนางานทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยากรใหม่  จึงได้ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ  เช่น กระทรวอุตสาหกรรม    กระทรวงศึกษาธิการ  รวมถึงกระทรวงอื่น ๆ ด้วย  ร่วมกันจัดทำโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการใหม่)  เพื่อช่วยเหลือชุมชน  และภาคการผลิต  การอุตสาหกรรมของประเทศ  โดยคาดว่า  การศึกษาวิจัย  การพัฒนาวิทยาการใหม่ (เทคโนโลยี)  ต่อไปนี้จะต้องเป็นเรื่อง ที่ ชุมชน  และภาคการผลิต  การอุตสาหกรรม สามารถนำไปใช้งานได้เป็นหลัก  ดังนั้น  หากประชาชน  ชุมชน  ต้องการได้ความรู้ที่จะสร้างราคาเพิ่มของสิ่งที่ทำอยู่  หรือนำไปแก้ปัญหาในการทำไร่  ทำนา  ก็ให้รวมกลุ่มกัน ไปติดต่อขอความช่วยเหลือ  หรือปรึกษากับคลินิกเทคโนโลยี  ซึ่งเป็นเครือข่ายของกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ  ในเขตจังหวัดนครราสีมา  ซึ่งมีอยู่ 4 แห่ง ได้แก่  (1) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี   (2) มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา     (3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อยู่ที่เขตอุตสาหกรรมสุรนารี  ถนนราสีมาโชคชัย)  และ  (4)  วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี  หรือที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ กรุงเทพฯ                     ทั้งนี้ เนื่องจาก กระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ ไม่มีหน่วยงานในต่างจังหวัด  เพื่อให้ใกล้ชิดกับประชาชน  หรือให้ประชาชนติดต่อขอความช่วยเหลือด้านความรู้ในการประกอบอาชีพ  แก้ไขปัญหา ได้สะดวกขึ้น  จึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย  วิทยาลัย  ในการจัดตั้งเป็นคลินิกเทคโนโลยี ขึ้น                     คลินิกเทคโนโลยี  จะทำหน้าที่  ให้ความช่วยเหลือชาวบ้าน  หรือผู้ประกอบการ ในแก้ไขปัญหา  หรือบรรเทาปัญหา ในการทำสิ่งของ  การประกอบอาชีพ  การปลูกต้นไม้  การทักทอ   หรืออื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน  ด้วยวิทยาการทางวิทยาศาสตร์  เพื่อเป็นการลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้ในการประกอบอาชีพ  การทำสิ่งของขึ้นมาจำหน่าย  เช่น  ชาวบ้านทำกล้วยแขก (กล้วยทอด)  แล้วขายดีมาก  แต่ทำไม่ทันขาย  หรืออยากทำให้กล้วยทอดถึงมือผู้ซื้อในลักษณะสวยงาม  ที่เรียกหากล่อง  หรือถุงสวย ๆ มาสำหรับใส่กล้วยทอด จะทำอย่างไร  ในทางการตลาดเรียกว่า  การบรรจุหีบห่อ  ก็ไปปรึกษา  คลินิกได้  หรือผลไม้  ต้นข้าว ออกผล  ออกรวง น้อยกว่าที่เคยเป็น ก็ไปปรึกษาได้  หรือ มีสิ่งของอยู่แล้ว  หรือประกอบอาชีพอยู่แล้ว  ต้องการทำให้ดีขึ้น  ต้องการให้เก็บไว้ได้หลายวันกว่าเดิมขึ้น  เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ หรือเป็นอาชีพใหม่ ก็ติดต่อได้  หรือมีเงินแล้วต้องการเครื่องมือเครื่องใช้   ต้องการสร้างเครื่องจักรระดับชาวบ้านไว้ใช้งาน ก็ปรึกษาได้                      อย่างไรก็ตาม หากเป็นโครงการ   ขอรวมมือกลุ่มกันให้นำเสนอผ่าน นายก อบต.  หรือ ทางอำเภอ  เพื่อจะได้มีหน่วยติดตาม  หรือให้การสนับสนุนทางการเงิน อีกทางหนึ่งด้วย ข้อเสนอของผู้ร่วมเวทีความคิด                   1.  อดีต สมาชิก อบจ. นำเสนอว่า                         - โรงผลิตปุ๋ยชีวภาพ  มีกำลังผลิตได้ไม่เพียงต่อความต้องของชุมชน  โดยขาดเงินทุน                         - การแก้ปัญหาโลกร้อน  ควรที่จะช่วยกันปลูกต้นไม้ ให้มากขึ้น                   2.  นายอนันต์  ยิ่งนอก (ผอ.โรงเรียนวัดกู่สามัคคี)  นำเสนอว่า                        - เครื่องมือในการเรียน การสอนทางวิทยาศาสตร์  ที่รับจากทางกระทรวงศึกษา ตั้งแต่แรก  ปัจจุบันเกือบ 10 ปีแล้ว ไม่ได้มีการใช้งาน  จนมาถึงปัจจุบันไม่มีการใช้งานเก็บไว้นานจบเสียใช้งานไม่ได้  จะนำมาใช้งานก็ใช้ไม่ได้  ทางโรงเรียนไม่เงินค่าซ่อม  หากได้ของใหม่ก็จะเป็นการดี  ซึ่งจะเป็นการ พัฒนาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์แก่นักเรียนในชุมชน3.     นายสุวัฒน์  แคนหนอง  (ผอ.โรงเรียน บ้านปอบิด)  นำเสนอว่า       - สภาพของชาว อบต. คูขาด  ทำนามาตั้งแต่บรรพบุรุษ  บางปีแล้ง  7 ปีต่อเนื่องกันจึงประสงค์ขอรับการสนับสนุนทุนการวิจัยคุณภาพของดิน  เพื่อที่จะได้ปรับเปลี่ยนอาชีพจากการทำนาไปเป็นการปลูกพืชอื่นแทน  ตามสภาพของดินที่มีฝนตกน้อย  - ในโรงเรียนที่รับผิดชอบได้มีการให้เด็กนักเรียนจัดทำบัญชีรายจ่ายของตน เพื่อเป็นการนำหลักปราชญ์เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน-    การศึกษาของชุมชน เป็นไปตามอัธยาศัย  ส่วนใหญ่วัยรุ่น จะเข้าเรียนนอระบบ  จึงขอหารือว่าทำอย่างไรเขาจึงจะได้รับประกาศนียบัตรทางการศึกษา  เพราะว่าประชนไปติดต่องานราชการแล้วมักถูกการเอารัดเอาเปรียบ ถูกเรียกเอาเงิน  เป็นการคอร์รัปชั่นในภาคราชการกับข้าราชการบางคน  จึงขอเชิญชวนประชาชนให้ต่อต้านการคอร์รัปชั่น  สนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับปี 25504.     นายแหยม  แสวงนอก  นำเสนอว่าชาวบ้านที่ทำนา  ประสบภัยแล้งเป็นประจำ  หากมีงบประมาณสนับสนุนในการจุดลอกหนอง  บึง  ในหมู่บ้านก็น่าจะดีขึ้น  ได้มีอาชีพใหม่ทางการประมงเลี้ยงปลาชาวบ้านน่าจะเปลี่ยนแนวคิดจากการทำนามาเป็นการเลี้ยงสัตว์ปัญหาอีกอย่างหนึ่ง คือ ดินแถบนี้มีรสเค็ม  ควรมีการวิจัยและแนะนำการปลูกพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสม5.     นายโกญจนาท  ศิลากลาง  นำเสนอว่าดิน ควนจะมีการวิจัย  และแนะนำการปลูกพืช เศรษฐกิจ  หรือผักสวนครัวที่เหมาะสม เพื่อชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นอบต. คูขาดอยู่ไกลจากแหล่งน้ำธรรมชาติ  หากมีโครงการขุดคลองนำน้ำจากลำน้ำมูล  น้ำชีมาชาวบ้านคงจะมีฐานะดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา  จึงขอถามถึงโครงการโขง-ชีมูล ว่ามีการดำเนินการอย่างไร เพราะถ้าทำได้ชาว อบต. คูขาดจะได้ประโยชน์มาก6.     นายบุญสนอง  ศาลาแดง  นำเสนอว่าชาว อบต. คูขาด  ขาดแหล่งน้ำ  ในการทำการเกษตรกรรมอยากให้ชาวบ้านหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ อย่างถูกต้อง สำหรับเรื่องคลองส่งน้ำจากแม่น้ำมูลนั้น  ทางราชการได้มีการก่อสร้างเป็นระบบท่อ คาดว่าอีกประมาณ 400 วัน จะแล้วเสร็จ ชาว อบต. คูขาดจะได้ประโยชน์จากโครงการนี้ 7.     นางสงัด  ธรรมะปานา  (กศน.)  นำเสนอว่าเด็กมีครอบครัวก่อนวัยอันควร  เนื่องจากมีเพศสัมพันธุ์ก่อนจบการศึกษาภาคบังคับส่งผลให้  ประสบปัญหาทางด้านครอบครัว  การศึกษา  ขาดความรู้ในการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกศน.  ต้องดูแลการสอนงานอาชีพ  แต่ขาดสื่อการสอน  เพื่อจะได้ให้ผู้เรียนได้เห็นแบบอย่าง นำมาคิดเป็นทำได้  มีอาชีพที่มั่นคง  มีสังคมที่มั่นคงอย่างยั่งยืน8.     นายนิพนธ์  พันธนิศิษฎ์   นายก อบต. คูขาด  แจ้งต่อที่ประชุมว่าทาง อบต. ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลกลาง ปีละ 11 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายปกติ เช่น  ค่าตอบแทนผู้สูงอายุ  เงินเดือนพนักงาน  ค่าอาหารกลางวัน- ค่านมเด็กนักเรียน เมื่อเทียบกับ อบต. อื่นซึ่งมีประชากรน้อยกว่า ถือว่า อบต. ได้รับน้อยกว่ามาก ในปัจจุบันได้ตั้งงบประมาณขอจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับโรงเรียนในเขต อบต. ไว้แล้ว ประมาณ 2 แสนกว่าบาทการปลูกต้นไม้โดยรอบหมู่บ้านคิดว่าจำเป็น  โดยจะได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วรีบดำเนินการ ต่อไปรับฟังความเดือดร้อนของประชาชน  โดยไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ไขปัญหา  ตามความสามารถ  ได้เชิญผู้รู้มาช่วยงานตามจำเป็น  ข้อสรุปในการร่วมกันคิดในเบื้องต้นบรรยากาศของเวทีความคิดครั้งนี้เป็นไปด้วยดี  ผู้เข้าร่วมได้แสดงออกซึ่งความคิดเห็นที่จะเกิดประโยชน์  ต่อชุมชน  โดยได้ข้อสรุปที่จะนำไปปฏิบัติได้ในเบื้องต้น  ดังนี้(1)  การปลูกต้นไม้เป็นความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม  อาจจะขอรับการสนับสนุนจาก  ปตท. ได้  โดย  ศ.ดร.จีระ ฯ  รับจะประสานกับ ปตท. อีกทางหนึ่ง  ถ้าชาวบ้านมีความจริงใจ(2)  ขอให้นายอนันต์  ยิ่งนอก  รวบรวมรายการเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับ จากโรงเรียนในกลุ่ม  พร้อมสภาพที่ชำรุด  พร้อมภาพประกอบ (ถ้ามี)  เป็นข้อมูลนำส่งให้มูลนิธิ  เพื่อจะได้จัดส่งให้  กระทรวงศึกษา  กระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ พิจารณาสนับสนุน หรือให้ความช่วยเหลือในการซ่อมแซม(3)  ดินที่จะนำไปให้หน่วยงานวิจัย  หน่วยงานที่ใกล้ที่สุด  ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ คือ คลินิกเทคโนโลยี ทั้ง 4 แห่งที่แจ้งแล้ว  การเก็บตัวอย่างดินควรจะมีประมาณแหล่งละไม่น้อยกว่า  20 กิโลกรัม  พร้อมระบุแหล่งที่เก็บ  และควรขุดลงลึกลงประมาณ 1 ฟุต  การติดต่อคลินิกเทคโนโลยี  กรุณาแจ้งด้วยว่า  นายสุพรรณ  แสงทอง  ผอ. สำนักส่งเสริมฯ ให้มาติดต่อขอความช่วยเหลือ  ซึ่งนายสุพรรณ  แสงทอง  รับจะประสานกับคลินิกเทคโนโลยี  ในเขตจังหวัดนครราชสีมา  ได้ทราบและเข้าศึกษาความเป็นไปได้การนำวิทยาศาสตร์  วิทยากรใหม่ เข้าช่วยชาวบ้านในการเพิ่มรายได้  ลดรายจ่าย อีกทางหนึ่ง(4)  ให้คุณ สงัด  ธรรมะปานา  ร่วมกับกลุ่มแม่บ้าน  พ่อบ้าน  รวบรวมความต้องการที่จะอบรมด้านการอาชีพ  ปัญหาการประกอบอาชีพที่ต้องการใช้ความรู้  วิทยาการใหม่ ๆ เข้าแก้ไขพร้อมวัตถุดิบที่มีในหมู่บ้าน  ส่งขอรับการฝึกอบรมจากสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี  (5)  ศ.ดร.จีระ    ขอให้ผู้เกี่ยวข้องได้รีบจัดส่งข้อมูล  เมื่อได้รับข้อมูลแล้ว  จะได้พิจารณาให้การสนับสนุน  โดยคาดว่าจะกลับมาเยี่ยมและให้กำลังใจแก่ชาวอีกภายใน 2 เดือน  ซึ่งอาจจะขอเชิญท่านปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ  ร่วมมาด้วย(6)  การจัดส่งเรื่อง  ขอให้  นายก อบต.  เป็นผู้นำส่ง  และแจ้งด้วยว่า  ทาง อบต. จะให้ความร่วมมือในด้านใดบ้างที่จะทำให้งานนั้น  เกิดขึ้นได้                    การจัดเวทีความคิด ฯ ในครั้งต่อไป  จะเป็นการติดตามผล พร้อมกับจัดทำแผนปฏิบัติงาน คาดว่าไม่เกิด 2 เดือน จะมาพบกัน  โดยจะได้แจ้งวันที่แน่นอนให้ทุกฝ่ายทราบล่วงหน้าประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนวันพบกัน                    เลิกแสดงความคิดครั้งนี้   เวลาประมาณ  16.00 น.
คำสำคัญ (Tags): #คูขาด
หมายเลขบันทึก: 119465เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2007 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท