ทำให้กับข้าว ไม่ติดกระทะ


วิธีทำให้กับข้าว ไม่ติดกระทะใบใหม่


           ใครเคยเจอปัญหาอาหารติดกระทะบ้าง แล้วต้องซื้อกระทะใบใหม่ วันนี้เกร็ดความรู้มีวิธีไม่ให้ข้าวติดกระทะใบใหม่มาฝากกัน...

          กระทะที่ซื้อมาใหม่ ไม่ว่าจะราคาแพงเท่าไหร่ ก็มักจะเจอกับปัญหาอาหารติดกระทะ ก่อนที่จะนำกระทะใบใหม่ออกมาใช้ทำกับข้าว ให้ลองนำข้าวชนิดใดก็ได้ ไปหุงข้าวชนิดเช็ดน้ำสัก 1 หม้อ แล้วนำเอาน้ำข้าวที่ได้ เทลงในกระทะใบใหม่ สักประมาณท่วมฝ่ามือ แล้วนำขึ้นตั้งไฟขนาดกลางๆ เคี่ยวไปเรื่อยๆ จนกว่าน้ำข้าวจะแห้งสนิท เหลือเป็นเพียงเกล็ดๆ คล้ายเกล็ดน้ำแข็งอยู่ติดก้นกระทะ นำลงแล้วทิ้งเอาไว้ให้เย็น แล้วนำกระทะไปล้างออกด้วยน้ำเย็นอีกครั้งให้สะอาด เสร็จแล้วก็นำไปประกอบอาหารต่อไป กับข้าวจะไม่ติดกระทะอีกเลย

          ลองนำวิธีที่แนะนำไปปฏิบัติกันดูได้

หมายเลขบันทึก: 119035เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2007 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • โอกาสดีๆจะแวะไปชิมกับข้าวจากกะทะใบใหม่ของกลุ่มนอกกรอบ

คุณ เม็กดำ 1

ลองหาโอกาสดีๆมาชิมฝีมือของกลุ่มนอกกรอบได้ไม่เป็นที่3รองใครหรอกครับ

และหวังว่ากลุ่มนอกกรอบจะได้รับโอกาสที่จะได้รับใช้ท่านในโอกาสต่อไปนะครับ

โครงการมหาวิทยาลัยชีวิตศูนย์ลำปางคงได้รับใช้ท่านและคณะฯ นะครับ

          ขอบคุณครับ

ขอบคุณสำหรับเกร็ดความรู้วิธีไม่ให้อาหารติดกระทะใบใหม่(ซื้อใหม่เมื่อไหร่จะลองทำดู)และหวังว่าเสาร์ที่ 18 ส.คนี้คงได้ชิมฝีมือการทำอาหารจากกระทะใบใหม่ของกลุ่มนอกกรอบนะจ๊ะ

                                      รักษ์ป่าจ๊ะ

เรื่องสืบเนื่อง จากวันที่  2  ม.ค.2551  (ข้อ 5-9)

                                5. ให้ นศ.ส่งรายงานกลุ่ม (ใบงานที่ 2) ให้กับ อ.ประจำศูนย์ฯ (อ.พจน์ฯ) ภายในวันที่ 16 - 23 ก.พ.2551 ดูหัวข้อรายงาน และตัวอย่างปกจากเอกสารประกอบประมวลรายวิชา นี้ด้วย

                                6. นำเสนอรายงานกลุ่มต่อ อ.อุไรวรรณ  คำภูแสน ที่ ศรร.ลำปาง ในวันที่ 23 -24 ก.พ.2551

                                7. นัดหมายสรุปบทเรียนและปรับปรุงแก้ไขรายงาน ก่อนสอบปลายภาค อาทิตย์ที่ 16 มี.ค.2551 เวลา 09.30 12.00 น.

                                8. นัดหมายสรุปบทเรียนก่อนสอบปลายภาค อาทิตย์ที่ 23 มี.ค.2551 เวลา 09.30 12.00 น.

                                9. สอบปลายภาค ใน 29 30 มี.ค.50

                มีกลุ่มที่ส่งชื่อรายงานกลุ่มฯมาแล้ว 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพันธมิตร (15 ธ.ค.50) แต่ยังไม่มีชื่อ รหัส นศ.ในกลุ่ม ส่วนของกลุ่มเกษตรยั่งยืน ส่งชื่อรายงาน และรายนาม รหัส นศ.ครบถ้วนแล้ว เมื่อ 26 ธ.ค.51

 

ทบทวนใบงานที่ 2 วิชาเทคโนโลยี่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต ใบงานกำหนดให้ นศ.แบ่งกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงการเทคโนโลยี่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนที่กลุ่มสนใจ และสมาชิกในกลุ่ม มีความรู้ และแนวทางที่ค้นคว้าศึกษาได้

                1. ชื่อโครงการ ตัวอย่างเช่น ข้อเสนอโครงการเทคโนโลยี่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต : กรณีศึกษาการเพาะเลี้ยงกบคอนโค   หรือ โครงการเทคโนโลยี่ที่เหมาะสมกับวิถีเกษตรพื้นบ้าน การทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด อ.อุไรวรรณ ให้ นศ.ทำเรื่องที่คล้ายคลึงกันได้ ด้วยเหตุผลของ ความต่างในสถานที่ ขั้นตอน วัตถุประสงค์ที่อาจแตกต่างกันได้

                2. หลักการและเหตุผล (ประมาณ 1 หน้า)

                3. ความสำคัญของปัญหา (ประมาณ 1  หน้า)

                4. วัตถุประสงค์ของโครงการ (ประมาณ 3-4 ข้อ)

                5. ขั้นตอนการดำเนินงาน (นำเสนอเป็นตาราง ทำเป็นลำดับตามขั้นตอนของงาน ระยะเวลาที่ใช้แต่ละขั้นตอน : วัน ว.เวลา น.ใครทำหรือรับผิดชอบให้ระบุด้วย) อ.อุไรวรรณ ฯ แนะนำว่า ทำเหมือนปฏิทิน

                6. งบประมาณที่ใช้  แยกเป็นรายการ ทำให้เหมือนจริง หรือใกล้จริงมากที่สุด

                7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อโครงการนั้นได้ทำ หรือทำเสร็จแล้ว ได้อะไรบ้าง

                                รายงานกลุ่มนี้ ให้พิมพ์ ขนาดอักษร 16 point ส่วนหัวข้อที่เป็นตัวทึบ ใช้ขนาด 18-20 point ใช้รูปแบบอักษร อังสนา หรือ คลอเดีย เข้าเล่ม มีปกตามตัวอย่าง ใช้ปกกระดาษแข็ง สีเขียว และให้อ้างอิงแหล่งข้อมูล หรือบรรณานุกรม ด้วย

                ข้อสรุปในการเรียน วันอาทิตย์ที่ 13 ม.ค.51  ตกลงร่วมกันว่า รายงานกลุ่มนี้ ต้องมีเนื้อหาครบเจ็ดข้อข้างต้น จำนวนหน้ารวมกัน ไม่น้อยกว่า 10 หน้า ไม่รวม ปกนอก ปกใน สารบัญ คำนำ ภาคผนวก (ถ้ามี) และแหล่งข้อมูลอ้างอิง หรือบรรณานุกรม การนำเสนอรายงาน   - ต้องนำเสนอเป็นพาวเวอร์พอยท์ให้กลุ่มฟัง และต้องนำเสนอหน้าที่ในกลุ่มว่า ใครทำอะไร หรือถ้ามีชิ้นงาน ให้นำของจริงมาแสดงด้วย                                 - ให้ นศ.แต่ละกลุ่ม ปริ๊นซพาวเวอร์พอยท์(PPT) ที่จะนำเสนอ หน้าละ 4  PPT  ให้อาจารย์ กลุ่มละ 2  ชุดด้วย เพื่อฟัง/ดู ตาม ที่สำคัญอยู่ที่ขั้นตอนที่ 5                         ชื่อกลุ่ม และ ข้อเสนอรายงานกลุ่มฯ ที่ นศ.แจ้งให้ทราบแล้ว  7  กลุ่ม ที่ยังไม่ได้ส่งให้ อ.พจน์ฯ  จำนวน  2   กลุ่ม  คือ กลุ่ม นวัตกรรม กับ กลุ่มนิคมพัฒนา                                 1.กลุ่มพันธมิตร  ส่งชื่อ นศ.พร้อม รหัส และเรื่องที่จะทำ โครงการทำน้ำยาล้างจาน 2. กลุ่มเกษตรยั่งยืน ส่งชื่อ นศ.พร้อมรหัส และเรื่อง  การเพาะเลี้ยงกบ  3. กลุ่มลำน้ำจาง ส่งชื่อ นศ.พร้อมรหัส และเรื่อง การเพาะเห็ดฟาง         4. กลุ่มรักษ์ป่า ส่งชื่อ นศ.พร้อมรหัส และเรื่อง การทำปุ๋ยอัดเม็ด   5. กลุ่มเสน่ห์เยื่อไม้ ส่งชื่อ นศ.พร้อมรหัส และเรื่อง การทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด   6. กลุ่มนอกกรอบ ส่งชื่อ นศ.พร้อมรหัส และเรื่อง การเพาะเห็ดลม  7. กลุ่มลุ่มน้ำตุ๋ย ส่งชื่อ นศ.พร้อมรหัส และเรื่อง การป้องกันสารพิษตกค้างในพืชผักที่ใช้บริโภคในครัวเรือน (คุณปัญญาฯ ส่งเมล์ให้ อ.พจน์ฯ ได้รับแล้ว)                                เมล์ติดต่อ [email protected]   สวัสดีครับ  พจน์  ดำริชัยมงคล
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท