R & D : ลองทำดู (๕)


เมื่อเราได้ปัญหาการวิจัย  สมมุติว่าเป็นปัญหาตามข้อ (๔)  ดังนี้ "ลักษณะของข้อกะทงมีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติของแบบสอบถามหรือไม่?"  เราก็ "ตั้งชื่อเรื่องวิจัย"ได้ดังนี้ครับ

(๑) หลักการในการตั้งชื่อเรื่องวิจัย

         ๑.๑ ตั้งชื่อจากปัญหาการวิจัย

         ๑.๒ ชื่อเรื่องการวิจัยเป็นจัยความสำคัญของการวิจัยนั้น

         ๑.๓ ต้องถูกหลักภาษา

(๒) ขั้นตอน

         ๒.๑ ค้นหาตัวแปรจากปัญหาการวิจัย

         ๒.๒ จากปัญหาการวิจัยนี้เราได้ตัวแปรดังนี้

                    ข้อกะทง  

                     คุณสมบัติของแบบสอบถาม

          ๒.๓ พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรว่าเป็นแบบ "สาเหตุ และผล "  หรือว่า "แบบสหสัมพันธ์"  ตามตัวอย่างนี้เป็นแบบสหสัมพันธ์

          ๒.๔ ตั้งชื่อเรื่องวิจัย   มักจะใช้คำว่าขึ้นต้นว่า "ความสัมพันธ์"  ในที่นี้ชื่อเรื่องท่ควรจะเป็นก็คือ " ความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อกะทง กับ คุณสมบัติของแบบสอบถาม"

ขอให้สังเกตว่า  ขณะนี้ "ยังไม่เป็น พัฒนา" นะครับ  เป็นแต่การวิจัยอย่างเดียว

หมายเลขบันทึก: 118970เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2007 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดร. ไสว เลี่ยมแก้ว

อ่านจบทุกตอนแล้ว...

ยังติดใจตอนแรกที่เรื่องการเถียงอาจารย์ที่ปรึกษา เพราะย้อนมาถึงอาตมาเองว่าน่าจะเป็นนักวิจัยได้ เนื่องจากเถียงตลอด...(..........)

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

"เถียง" -- ในที่นี้ หมายความว่า "ยืนยันความคิดของเราที่เสนอไปด้วยเหตุผล  แบบเป็นมิตร  ยิ้มแย้มตามแบบไทย" นะครับ   ถ้าอาจารย์อยากจะทดสอบเรา ดูว่าเรามีจุดยืนมั่นคงหรือไม่  ท่านก็อาจจะลองให้เหตุผลแบบโต้แย้งเรามา  เราก็ให้เหตุผลท่านไป  ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ  ถ้าของเราถูก  แต่ถ้าเรา "จน" ท่านก็ไม่ต้องการให้เราแก้  ท่านจะ "ผ่านไป" ดูหัวข้ออื่นต่อไป  แต่ถ้าเรา "ผิด"จริงๆ  ท่านก็ต้องหาเรื่องให้เราแก้จนได้  เช่นพูดว่า "เอาหละ ยังไงๆ เธอก็ต้องปรับปรุงหละ  ครูรับไม่ได้จริงๆ " เป็นต้น

เมื่อท่านตรวจสอบด้วยวิธีดังกล่าวทั่วแล้ว  ก็จะพิจารณาว่า  ลูกศิษย์เราสามารถเอาตัวรอดได้แน่ๆในวันสอบ  อาจารย์ก็จะอนุญาตให้สอบ  ครับ

ถ้าสอบแล้ว เจออาจารย์กรรมการสอบท่านอื่น ไม่เห็นด้วยบางจุด  และเป็นจริงดังว่า  อาจารย์ที่ปรึกษาของเราชี้แจงไม่ได้  ก็ถึงคราวแย่ละครับ แน่ละครับ อาจารย์ที่ปรึกษาต้องรับผิดชอบแล้วละครับ !

เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า (๑) การไม่ไปพบอาจารย์ท่ปรึกษาเลย  หรือไปพบภาคเรียนละครั้ง  แล้วสอบวิทยานิพนธ์ผ่านนั้น  มันหมายความว่าอะไร ?  (๒) นักศึกษาต้องไปพบอาจารย์ที่ปรึกษามีความถี่สูงหรือไม่? (๓) กระบวนการสอบวิทยานิพนธ์ที่ กรรมการสอบช่วยกันถามว่า  "ไง  เหนื่อยไหม?  กลับไปแล้วได้เลื่อนตำแหน่งไหม? ------  เออ จบได้แล้วนะ ไปเถอะ !  ---  ฯลฯ  แล้วก็จบ  ได้ปริญญานั้น  หมายความว่าอย่างไร?  แตกต่างกันไหมกับกรณีข้างต้นนี้ ครับ

กระบวนการนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ของคำว่า "คุณภาพของบัณฑิตที่สถาบันนั้นผลิดออกไป" ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท