กลุ่มที่1
กลุ่มที่1 กลุ่มที่1 ศูนย์การเรียนรู้เชียงคำ-ภูซาง กลุ่มที่1 อ.เชียงคำ จ.พะเยา

ผ้าฝ้ายทอมือ มรดกตกทอดของชนเผ่า


ฝ้าฝ้ายทอมือ

วันนี้ ( 11สิงหาคม 2550 )  ทางกลุ่มได้นัดสมาชิกไปดูความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าของบ้านแดนเมือง แต่ต้องแจ้งยกเลิกสมาชิกในกลุ่มด้วยความเสียดายเพราะประธานกลุ่มเดินทางไปอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีกับการประยุกต์ผลิดผ้าฝ้าย ก็เลยต้องยกยอดไปในอาทิตย์ต่อไป  กลุ่มทอผ้าไทลื้อบ้านแดนเมืองเป็นกลุ่มหนึ่งที่เป็นมรดกตกทอดทางภูมิปัญญาของชนเผ่าไทลื้อที่มาอาศัยในอำเภอเชียงคำ ที่ได้ดำเนินวิถีชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงความเจริญ  แต่ความเป็นไทลื้อ ภูมิปัญญาหลายๆอย่างไม่ได้ถูกกลืนไปกลับความเจริญนั้น ผมเองที่เป็นลูกหลานไทลื้อมีความภาคภูมิใจที่บรรพบุรุษได้สั่งสมภูมิปัญญาได้ถ่ายทอดให้รุ่นปัจจุบันได้นำไปประกอบอาชีพ

หมายเลขบันทึก: 118797เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2007 06:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 12:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

รากเหง้าภูมิปัญญาของบรรพบุรุษเราเหลือเท่าเส้นด้าย จะขาดวิ่นอยู่แล้ว จงภูมิใจเถิดพี่น้องชาวไทลื้อ  ส่วนพี่น้องเมืองยองลำพูน ขอร่วมนำประวัติศาสตร์บรรพบุรุษมานำเสนอด้วยนะครับ

ไทลื้อ หรือ ไตลื้อ เป็นชาวไทกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแถบสิบสองปันนาของจีน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือการใช้ภาษาไทลื้อ และยังมีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์อื่นๆ เช่น การแต่งกาย ศิลปะและประเพณีต่างๆ   การอพยพถิ่นฐานเดิมในสิบสองปันนานั้น ชาวไทลื้ออาศัยอยู่สองฝั่งแม่น้ำโขง คือ ด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำ มีเมืองต่างๆ ดังนี้ภาษาไทลื้อ ได้กล่าวไว้ว่า ห้าเมิงตะวันตก หกเมิงตะวันออก รวมเจียงฮุ่ง (เชียงรุ้ง) เป็น 12 ปันนา และทั้ง 12 ปันนานั้น ยังมีเมืองน้อยอีก 32 หัวเมือง เช่นฝั่งตะวันตก : เชียงรุ้ง, เมืองฮำ, เมืองแช่, เมืองลู, เมืองออง, เมืองลวง, เมืองหุน, เมืองพาน, เมืองเชียงเจิง, เมืองฮาย, เมืองเชียงลอ และเมืองมาง ฝั่งตะวันออก : เมืองล้า, เมืองบาง, เมืองฮิง, เมืองปาง, เมืองลา, เมืองวัง, เมืองพง, เมืองหย่วน, เมืองบาง และเมืองเชียงทอง (หลวงพระบาง) การขนายตัวของชาวไทยลื้อสมัยรัชกาลที่ 24 เจ้าอินเมืองได้เข้าตีเมืองแถน เชียงตุง เชียงแสน และล้านช้าง กอบกู้บ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น พร้อมทั้งตั้งหัวเมืองไทลื้อเป็นสิบสองเขต เรียกว่า สิบสองปันนา และในยุคนี้ได้มีการอพยพชาวไทลื้อบางส่วนเพื่อไปตั้งบ้านเรือนปกครองหัวเมืองประเทศราชเหล่านั้น จึงทำให้เกิดการกระจายตัวของชาวไทลื้อ ในลุ่มน้ำโขงตอนกลาง (รัฐฉานปัจจุบัน) และเมืองเชียงทอง (ล้านช้าง) เมืองแถน(เดียนเบียนฟู)ปัจจุบันชาวไทลื้อกระจายตัวอยู่ที่พม่า มีแถบเมืองยอง เมืองยู้ เมืองหลวย เมืองเชียงลาบ เมืองไร เมืองพะยาก เมืองโก เมืองโต๋น เมืองเลน เชียงตุง ลาว เมืองหลวงน้ำทา เมืองหลวงพูคา เมืองบ่อแก้ว ไชยะบุลี (เชียงฮ่อนเชียง เฃียงลม หงสา) เมืองหลวงพะบาง ไทย เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน เวียดนาม เมืองแถนชาวไทลื้อบางส่วนได้อพยพ หรือ ถูกกวาดต้อน ออกจากเมืองเหล่านี้เมื่อประมาณหนึ่งร้อยถึงสองร้อยปีที่ผ่านมา แล้วลงมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศตอนล่าง เช่น พม่า, ลาว และไทย    ไทยองในราวพุทธศตวรรษที่ 19 เจ้าสุนันทะ โอรสเจ้าเมืองเชียงรุ้ง ได้พาบริวารชาวไทลื้อจากเมืองเชียงรุ้ง เข้ามาปกครองเมืองยองเหนือคนพื้นเมือง ซึ่งเป็นชาวลัวะ โดยมีทั้งปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การผสมผสานระบบความเชื่อและพิธีกรรม และ พระพุทธศาสนาที่เข้ามาในภายหลัง ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และระบบบรรณาการกับเมืองเชียงรุ้ง เชียงตุงและการสร้างพันธมิตรทางการเมืองกับกลุ่มเมืองในที่ราบเชียงราย บนฝั่งแม่น้ำโขงตอนกลาง เช่น เชียงแสน เชียงของ เป็นต้น ดังนั้น ชาวไทยอง กับ ชาวไทลื้อก็คือ ญาติกันนั่นเอง   ประชาชนสำหรับในประเทศไทย มีชาวไทลื้อในหลายจังหวัดทางภาคเหนือตอนบน ดังนี้เชียงราย : อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน(ส่วนหนึ่งได้อพยพไปเมืองเชียงรุ้ง เมื่อเกิดสงครามไทยพม่า) เชียงใหม่ : อำเภอสะเมิง อำเภอดอยสะเก็ด น่าน : อำเภอท่าวังผา อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง (มีจำนวนมากที่สุด อพยพมาจาก แขวงไชยะบุรี และ สิบสองปันนา)พะเยา : อำเภอเชียงม่วน อำเภอเชียงคำ (มีจำนวนมาก) ลำปาง : อำเภอเมือง อำเภอแม่ทะ ลำพูน : อำเภอเมือง อำเภอบ้านธิ ส่วนในต่างประเทศนั้น มีการกระจายตัวกันเกือบทุกประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เช่นในรัฐฉาน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม(เมืองแถน และ เมืองเดียนเบียนฟู ก็มีการบันทึกไว้ว่ามีชาวไทลื้อ อยู่ที่นั่นด้วย) วิถีชีวิตชาวไทลื้อมีชีวิตที่คล้ายคลึงกับชาวไทยหรือชนเผ่าอื่นๆทางภูมิภาค คือมีการสร้างบ้านเรือนเป็นบ้านไม้ มีใต้ถุนสูง มีครัวไฟบนบ้าน ใต้ถุนเลี้ยงสัตว์ แต่ในปัจจุบันวิถีชีวิตได้เปลี่ยนไป การสร้างบ้านเรือนก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย บ้านที่ยังคงสภาพเป็นเรือนไม้แบบเดิมยังพอจะมีให้เห็นบ้างในบางชุมชน เช่น บ้านหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยาชาวไทลื้อส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัด นิยมสร้างวัดในชุมชนต่างๆ แทบทุกชุมชนของชาวไทลื้อ ทั้งยังตกแต่งด้วยศิลปะและสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์งดงาม มีการบูรณะ ซ่อมแซม ให้คงสภาพดีอยู่เสมอแม้ในปัจจุบันศิลปะที่โดดเด่นของชาวไทลื้อได้แก่งานผ้าทอไทลื้อ นิยมใช้ผ้าฝ้าย ทอลวดลายที่เรียกว่า ลายน้ำไหล ปัจจุบันมีการฟื้นฟูและถ่ายทอดศิลปะการทอผ้าแบบไทลื้อในหลายชุมชนของภาคเหนือเรื่องของชาวไทลื้อ ซึ่งบรรพบุรุษได้อพยพมาจากเมืองยอง เมืองยู้ เมืองเชียงลาบ(เมืองทั้งหมดนี้อยู่ในรัฐฉาน ประเทศพม่า) และชาวไทยอง(คนเมือง คนที่มีถิ่นฐานดั่งเดิมอยู่ในเขตจังหวัดล้านนา) นั้น มีความเกี่ยวข้องกันมาก ดังนั้นจึงอาจจะไม่สามารถแบ่งแยกกันได้ สมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่ง 1(พญาเจื๋อง) เป็นปฐมกษัตริย์ของชาวไทลื้อ แห่งราชวงค์อาฬโวสวนตาล จนถึงสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 41 เจ้าหม่อมคำลือ (ตาวซินซือ) ก่อสิ้นสุดลงเพราะรัฐบาลจีนได้ถอดท่านถอนท่านออกจากการเป็นเจ้าฯ ส่วนพระอนุชาได้ลี้ภัย มาอยู่ที่อำเภอแม่สาย หม่อมตาลคำ ได้ลี้ภัยมาอยู่กรุงเทพ

ที่มา.....วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี …/

จาก กลุ่มที่ ๖ (รุ่งอรุณ) ศูนย์การเรียนรู้เชียงใหม่ ๑ (ดอยสะเก็ด)   ด.ต. ธีรกานต์  เทพขาว  ผู้บันทึก

 

สวัสดีครับเพื่อนนักศึกษากลุ่มที่1 กระผมจากศูนย์กระนวนอ่านบทความนี้แล้วรู้สึกได้ความรู้มากในด้านวิถีชีวิตของคนไทย เพราะกระผมเคยไปเที่ยวประเทศจีนทางรถยนต์และแวะทานข้าวซอยที่หมู่บ้านไทยลื้อสิบสองปันนา ก่อนถึงเชียงรุ้งได้คุยกับคนที่หมู่บ้านซึ่งพูดภาษาไทยทางเหนือที่พวกเราชาวคณะดีใจมาก เพราะคนไทยที่เมืองนี้ดำเนินชีวิตเช่นเดียวกับคนไทยทางเหนือไม่ว่าจะเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ คนไทยที่นั้นก็ดีใจมากที่พวกเราไปเยี่ยนถึงหมู่บ้านเขาและหวังว่ากลุ่ม 1 คงดีใจมากถ้าพวกเรามีโอกาสไปเยี่ยนเช่นกันขอบคุณครับ

  • สวัสดีครับ
  • เรื่องราวอันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาในทุกเรื่อง, ทุกชาติ ทุกชนเผ่า   มีความเป็น "ปัจจุบัน" เสมอ
  • ขึ้นอยู่กับว่าคนยุคปัจจุบันให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าหรือไม่
  • ขอเป็นกำลังใจสำหรับคนที่เห็นคุณค่าและความสำคัญในเรื่องมรกดทางวัฒนธรรมเหล่านี้นะครับ
  • ชุดความรู้ในท้องถิ่น  เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและงดงาม    คำถามสำคัญคือ การละเลยกับสืบสาน จะเกิดขึ้นที่ไหน  อย่างไร  เมื่อใด 
  • ภูมิใจมากที่การจัดการความรู้  เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พวกเราเห็นความงดงามของสิ่งเหล่านี้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท