แนวทางการจัดอาชีวศึกษาเพื่อสนองตอบความต้องการของสังคม : กรณีศึกษา วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร โดย ประธานวิทย์ ยูวะเวส


แนวทางการจัดอาชีวศึกษาเพื่อสนองตอบความต้องการของสังคม : กรณีศึกษา วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร

ผลการศึกษา เรื่อง แนวทางการจัดอาชีวศึกษาเพื่อสนองตอบความต้องการของสังคม : กรณีศึกษา วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร

โดยประธานวิทย์  ยูวะเวส

การจัดการอาชีวศึกษาในปริบทของสถานศึกษาในจังหวัดพิจิตรที่มีหน้าที่ในการผลิตกำลังคนด้านอาชีพควรมีแนวทางในการจัดการด้านต่าง ๆดังต่อไปนี้

                1.  ด้านหลักสูตร

                หลักสูตรที่เหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบันและเหมาะสมกับปริบทของชุมชนและสังคมในจังหวัดพิจิตร ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

                1.1 หลักสูตรมีความสอดคล้องกับสภาพจริงของการพัฒนาเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

                1.2  หลักสูตรต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในสภาพจริงของการปฏิบัติงาน

                1.3  หลักสูตรควรให้ความสำคัญกับการจัดการด้านการตลาดซึ่งมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จในอาชีพ

                1.4  หลักสูตรอาชีวศึกษาควรให้ความสำคัญกับวิชาสามัญสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้น เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ

                1.5  หลักสูตรควรจะมีการเตรียมผู้เรียนให้มีความรู้พื้นฐานเพียงพอที่จะเรียนทางด้านอาชีวศึกษา

                2.  ด้านการจัดการเรียนการสอน

                การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาควรมีการปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอนให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และสอดคล้องกับสภาพของจังหวัดพิจิตร ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

                2.1  การจัดการเรียนการสอนควรเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริงมากยิ่งขึ้น และเน้นการสอนในภาคปฏิบัติมากกว่าเนื้อหาวิชาการ

                2.2  การจัดการเรียนการสอนควรเน้นกระบวนการคิด ให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดที่หลากหลาย

                2.3  การจัดการเรียนการสอนที่ดีและมีคุณภาพสมควรจะเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ

                3.  ด้านตัวผู้เรียน

                ความคาดหวังของชุมชนและสังคมที่มีต่อตัวผู้เรียนหรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านอาชีวศึกษามีลักษณะดังต่อไปนี้

                3.1  ผู้เรียนทางด้านอาชีวศึกษาควรเป็นผู้มีวัฒนธรรมในการทำงาน ได้แก่ มีวินัย เคารพกฎระเบียบ มีน้ำใจ รู้หน้าที่ ตรงต่อเวลา ฯลฯ

                3.2  มีบุคลิกภาพที่ดี และมีความพร้อมที่จะเข้าสู่โลกของการทำงานอย่างแท้จริง

                3.3  มีความรู้ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร

                3.4  มีความสามารถในการค้นหาความถนัดที่แท้จริงของตนเอง เพื่อเข้าสู่ระบบการจัดอาชีวศึกษา

                3.5  ควรมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในด้านวิชาชีพและการทำงาน

                3.6  ความรู้ความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ และภาต่างประเทศถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้เรียนโดยตรง

                4.  ด้านการจัดการ

                การจัดการอาชีวศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมควรให้ความสำคัญกับปริบทของพื้นที่อย่างจริงจัง ควรมีการปรับบทบาทและพัฒนายุทธศาสตร์ในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับปริบทของพื้นที่เป็นสำคัญ ซึ่งควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

                4.1  อาชีวศึกษาควรเป็นศูนย์ต่อยอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับประชาชนในพื้นที่

                4.2  อาชีวศึกษาควรเป็นศูนย์บ่มเพาะทางด้านสมองให้กับชุมชนและสังคม

                4.3  อาชีวศึกษาควรนำตนเองเข้าสู่ชุมชนและสังคมให้มากขึ้นกว่าปัจจุบันและมุ่งการทำงานนอกกรอบที่เคยปฏิบัติกันอยู่เป็นประจำ

                4.4  อาชีวศึกษาควรเร่งรัดการร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถานประกอบการที่มีความต้องการแรงงานมากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นการประสานข้อมูลกันอย่างใกล้ชิด

                4.5  อาชีวศึกษาควรมีการแสงหาความร่วมมือกับสถานประกอบการในการจัดการเรียนการสอนร่วมกันเพื่อสร้างกำลังคนที่มีทั้งความรู้และความชำนาญอย่างแท้จริง

                4.6  อาชีวศึกษาควรมีการแสวงหางบประมาณจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและสถานประกอบการเพื่อให้เกิดความเพียงพอในการเอื้อประโยชน์ต่อการจัดการอาชีวศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

                4.7  การสร้างเครือข่าย และภาคีความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงาน องค์กรภายในพื้นที่จังหวัดพิจิตรเป็นภารกิจเร่งด่วนที่อาชีวศึกษาสมควรดำเนินการ
หมายเลขบันทึก: 118719เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2007 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เห้ฯด้วยอย่างยิ่ง  หลักสูตรต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน เราชาวอาชีวะต้องช่วยพัฒนา ความก้าวหน้าอยู่แค่เอื้อม  ครู+ชุมชน+นักศึกษา จับมือกัน อาชีวะพัฒนา...
ก่อนอื่นผมต้องขอแนะนำตัวก่อนนะครับ..ปัจจุบันผมรับราชการอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี..ที่สำคัญคือผมเป็นศิษย์เก่าของ วท.พิจิตรครับ จบปวส.สาขาช่างยนต์เมื่อปีพศ.2541 ต่อมาผมได้เปลี่ยนสายไปเรียนป.ตรีทางรัฐศาสตร์จนเมื่อได้มารับราชการผมได้มีโอกาสศึกษางานที่เกี่ยวกับการจัดการความรู้ในองค์กรและนี่เองจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมต้องเรียนรู้ในเรื่องการจัดการความรู้ เมื่อผมลองเข้ามาดูรายละเอียดในเวปไซด์ของสคส.จึงได้เห็นข้อความในบล็อกเกี่ยวกับการจัดการความรู้ของ วท.พิจิตร ต้องบอกว่ารู้สึกดีใจมากครับที่ท่านผู้บริหารได้ให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้และเมื่อได้อ่านข้อความในเรื่องแนวทางการจัดอาชีวศึกษาเพื่อสนองตอบความต้องการของสังคมด้วยแล้วก็ยิ่งรู้สึกชื่นชมในวิสัยทัศน์ของท่านผู้บริหารเป็นอย่างยิ่งครับ เพราะเมื่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไประบบการจัดการศึกษาก็ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเพื่อสนองตอบตลาดแรงงานในปัจจุบัน..ผมหวังว่าน้องๆ วท.พิจิตร ที่กำลังจะจบการศึกษาในรุ่นต่อๆไปจะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและสร้างชื่อเสียงให้กับสถาบันต่อไป...
ครูธานินทร บุญยะกาพิมพ์/เทคนิคพิจิตรครับ
ขอบคุณมาก ๆ ครับที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น ต้องบอกว่าสมัยนี้ท่านผู้อำนวยการของเราท่านลุยหนักมากในเรื่องการจัดการความรู้ ท่านสนับสนุนมากครับ ยังไงก็ลองแวะมาเยี่ยมเยือนblogนี้บ่อยๆนะครับจะมีสาระความรู้ใหม่ๆที่เป็นลักษณะtacit knowledgeนำเสนอเรื่อยๆนะครับ ขอขอบคุณอีกครั้งนะครับ ถ้าจะกรุณาแจ้งชื่อนามสกุลและที่ติดต่อได้จักดีมากครับเพราะหากมีข่าวสารของวิทยาลัยก็จะได้แจ้งได้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท