การติดตั้ง PostNuke บน Linux (1)


การติดตั้ง PostNuke บน Linux (1)

Articles / Documents
Date: Apr 07, 2004 - 11:31 PM
เหมาะสำหรับท่านที่ใช้ Hosting หรือ Server เป็นระบบ Linux อยู่อาจเป็น RedHat Linux / Mandrake Linux / Slackware / SuSE / Linux SIS / Grand linux / ... โดยวิธีนี้ลดเวลาในการติดตั้งพอสมควรเราเพียงแค่ upload ตัวติดตั้งเพียงไฟล์เดียว ขึ้นบน Hosting หรือ Server ที่เหลือก็สั่งติดตั้งด้วยคำสั่งทาง Command line


ใครควรใช้วิธีนี้
- ผู้ดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์องค์กร
- ผู้ดูแลเว็บโฮสติ้งทั้งแบบธรรมดา, แบบ Reseller, แบบ Dedicate, ...
- ผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการความรวดเร็วในการติดตั้ง

ความต้องการ
- ทาง Hosting ตัองเปิดบริการ Secure Shell หรือ Telnet ไว้ก่อนแล้ว

Note
บน Hosting หรือ Server ต้องลงโปรแกรม Apache / PHP / MySQL ไว้เรียบร้อยแล้ว โดยปกติหากใช้ Hosting ที่เป็นลีนุกซ์ประมาณ 99.5 % ติดตั้งไว้เรียบร้อยแล้ว
-------------------
ขั้นตอน
1. ทำการดาวน์โหลดไฟล์ติดตั้งได้
ที่นี่ PostNuke-0.726-1.tar.gz
2. Upload ไฟล์ขึ้นบน Server หรือ Hosting โดยใช้โปรแกรมพวกเอพทีพี อาทิ WS_FTP, Cute FTP
3. ทำการ Remote ไปยัง Hosting ผ่านทางบริการ SSH (Secure Shell) ในที่นี้ใช้โปรแกรม Putty หากท่านใดยังไม่มีให้คลิกดาวน์โหลด
ที่นี่




ระบุ Host name หรือ IP Address เลือก Port เป็น 22
โปรโตคอลเลือกเป็น SSH
ด้านล่างเลือกเป็น Always
คลิกปุ่ม Open
ระบบจะถาม Scurity Alert ให้ตอบ Yes
ระบุชื่อ login / password เข้าระบบ
จะได้ Prompt เป็นสัญลักษณ์ $

ก่อนที่จะไปใช้งาน ในที่นี้เรามาดูคำสั่ง linux พื้นฐานที่จำเป็นต้องทราบสำหรับสั่งงานต่างๆ

คำสั่ง Linux พื้นฐาน (Linux Command)
ls ใช้ดูข้อมูล
ls -al ใช้ดูข้อมูลแบบละเอียด
cd data1 เข้าไปยังไดเร็กทอรี data1
cd .. ถอยกลับหลัง 1 ระดับ
cd /var/www/html เข้าไปยังไดเร็กทอรีที่ระบุ
cp test1.php test2.php คัดลอกไฟล์ test1.php เป็น test2.php
mv test1.php /data1 ย้ายไฟล์ test1.php ไปไว้ในห้อง data1
rm test.php ลบไฟล์ test.php
rm -rf data1 ลบไดเร็กทอรี data1
tar ใช้แตกไฟล์เหมือน winzip บนวินโดวส์
chmod 666 config.php เปลี่ยนโหมดไฟล์ config.php ให้สามารถอ่านและเขียนได้
chmod 777 config.php เปลี่ยนโหมดไฟล์ config.php ให้สามารถอ่านและเขียนและคอมไพล์ได้
cat config.php ดูรายละเอียดข้อมูลในไฟล์ config.php
cat config.php|more ดูรายละเอียดในไฟล์เป็นหน้าๆ
logout ออกจากระบ

การใช้ Editor VI
VI เป็น Editor ที่มีใช้ในระบบ linux แทบทุกตัว ใช้ในการแก้ไขซอสต์โค้ดและเขียนสคริปต์ต่างๆ
รูปแบบ
vi ชื่อไฟล์
เช่น
vi config.php เข้าแก้ไขไฟล์ config.php
หลังจากเข้าไปในไฟล์แล้วให้กดปุ่ม i เพื่อแก้ไขไฟล์
บันทึกไฟล์กด Esc [enter] กด :wq [enter]

เมื่อเราเรียนรู้คำสั่งต่างๆ เรียบร้อยแล้วคราวนี้เรามาดูวิธีการติดตั้งกัน

ทำการแตกไฟล์ด้วยคำสั่ง tar
$ tar -zxvf PostNuke-0.726-1.tar.gz แตกไฟล์
$ ls ดูข้อมูล
$ cd PostNuke-0.726-1 เข้าไปในไดเร็กทอรี

จะมีไดเร็กทอรีสองไดเร็กทอรีคือ
html < เก็บโปรแกรม PostNuke
phoenix-sql < เก็บโครงสร้างฐานข้อมูลทั้งหมด

เข้าไปในห้องฐานข้อมูล
$ cd phoenix-sql

สั่งสร้างฐานข้อมูล กรณีมีสิทธิสร้าง
รูปแบบ
mysqladmin create your_db_name -p
เช่น
$ mysqladmin create cmsdata
$ mysqladmin create cmsdata -u root -pxxx

หากไม่สามารถสั่งงานได้ให้เข้าใช้งานโดยใช้คำสั่ง mysql
$ mysql -u ชื่อล็อกอิน -pรหัสผ่าน
mysql> show databases; [enter]
mysql> create database cmsdata; [enter]
mysql > exit

สั่ง Dump ข้อมูลลงฐานข้อมูล
รูปแบบ
mysql your_db_name<Phoenix-0.7.2.6.sql

เช่น
$ mysql cmsdata<Phoenix-0.7.2.6.sql
$ mysql cmsdata<Phoenix-0.7.2.6.sql -u root -pxxx

ทำการคัดลอกไดเร็กทอรี html ห้องเก็บข้อมูลทั้งหมดไปไว้ยังหัองเก็บเว็บ
ระบบ linux โดยทั่วไปอยู่ที่
\var\www\html ..................................... เก็บเว็บองค์กร
\home\user_name\public_html ........ เก็บเว็บผู้ใช้ทั่วไป

เปลี่ยนโหลดไฟล์ config.php และ config-old.php ให้สามารถอ่านแล้เขียนได้
$ chmod 666 config* [enter]

เปิด Browser เรียกทดสอบเว็บไซต์
http://www.sitename.com/html/ [enter] ...............................ทดสอบผ่านไซต์หลัก
http://www.sitename.com/~user_name/html [enter] ............... ทดสอบผ่านไซต์ User

ทดสอบป้อน Login / Password
Login : Admin
Password : Password
* Admin กับ Password เป็นชื่อและรหัสผ่าน Default ของระบบผู้ดูแลสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง

เป็นไงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการติดตั้งวิธีนี้คงถูกอกถูกใจ้หลายๆ ท่านนะครับ มันรวดเร็วดี ผมเองก็ชอบใช้การติดตั้งวิธีนี้ แต่ต้องพยายามเรียนรู้คำสั่ง linux นิดหน่อย รับรองมีประโยชน์แน่นอน....


อนึ่ง ในการติดตั้ง PostNuke นั้นสามารถทำได้อีกวิธีคือการสร้างโปรแกรมทั้งหมดไว้ที่เครื่องพีซีตัวเองก่อน หลังจากทำเสร็จประมาณสัก 80-90% แล้วค่อยอับโหลดขึ้นบน Hoting หรือ Server ทางฝั่งศูนย์บริการก็ได้ โดยการ Dump ฐานข้อมูลขึ้น วิธีนี้ก็เป็นอิกวิธีที่น่าสนใจ คราวหลังว่างๆ ทางทีมงานจะนำรายละเอียดขึ้นให้อีครั้งหนึ่ง


----------------------------------------------------
CMS thailand Development Team



This article comes from CMSThailand.com
http://www.cmsthailand.com/web45-47/

The URL for this story is:
http://www.cmsthailand.com/web45-47/modules.php?op=modload&name=News&file=article&sid=40
คำสำคัญ (Tags): #cms#post nuke#การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 117571เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2007 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท