การใช้งานคำสั่งภาษา PHP (ตอนที่ 1)


การใช้งานคำสั่งภาษา PHP (ตอนที่ 1)
การใช้งานคำสั่งภาษา PHP (ตอนที่ 1)

Articles / Documents
Date: Dec 20, 2003 - 04:23 PM
PHP ย่อมาจาก Professional Home Page ซึ่งเป็นภาษาสคริปต์ที่ทำงานฝั่งเซิร์ฟเวอร์ที่เรียกว่า Server Side Script โดยการทำงานของ PHP จะประมวลผลฝั่งเซิร์ฟเวอร์แล้วส่งผลลัพธ์ไปยังฝั่งไคลเอ็นต์ผ่านเว็บบราวเซอร์เช่นเดียวกับ ASP, JSP ทำให้การทำงานมีความปลอดภัยสูง

โดยที่ภาษา PHP ถือกำเนิดในปี 1994 โดยโปรแกรมเมอร์ชาวสหรัฐอเมริกาชื่อ Rasmus Lerdorf ได้พัฒนาเครื่องมือที่ใช้สำหรับการสร้างเว็บเพจข้อมูลส่วนตัวของเขา โดยตอนแรกใช้ภาษา Perl แต่เกิดอุปสรรคเรื่องความเร็วจึงได้เปลี่ยนมาใช้ภาษา C แทน ในขณะเดียวกันก็พัฒนาส่วนที่ใช้ติดต่อฐานข้อมูลที่เรียกว่า Form Interpreter(FI) และได้นำทั้งสองส่วนคือ PHP กับ FI เข้าด้วยกันเรียกว่า PHP/FI ตรงจุดนี้เองเป็นจุดเริ่มต้อนของภาษา PHP เนื่องจากมีผู้ที่เข้าชมเว็บเพจของเขาต่างนิยมชมชอบจึงติดต่อขอโค้ดเพื่อนำไปพัฒนาต่อในลักษณะที่เรียกว่า Open Source


ในปัจจุบัน PHP ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุผลคือ เป็นซอฟต์แวร์เผยรหัส สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ อีกทั้งตัว PHP เองยังมีความสามารถมากมาย โดยเฉพาะจัดการด้านฐานข้อมูล

ข้อได้เปรียบของ PHP

PHP เป็นสคริปต์ที่มีความสามารถดีเท่ากับ Server Side Script ตัวอื่นๆ แต่ข้อดี ที่เด่นอีกอย่างหนึ่งของ PHP ที่ผู้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ (Web Programmer) นิยมมาใช้กัน คือPHP เป็น Server Side Scripts ที่ ทำงานบน Apache Web Server ซึ่งเป็น Web Server ที่ทำงานในระบบปฎิบัติการ Linux เป็นที่ทราบกันดีว่า ระบบปฏิบัตการ Linux นั้นปัจจุปันค่อนข้างมาแรง และเพิ่มกระแสนิยมในการถูกเลือกใช้งานมากยิ่งขึ้น เนื่องมาจาก Linux เป็นระบบปฏิบัติการ Open Source มีการแจกจ่ายให้นำไปใช้ได้โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์

เนื่องจาก PHP เป็นโค้ดแบบเปิดเผย(Open Source) ฉะนั้นจึงมาการแจกจ่ายโค้ดให้กับนักพัฒนาโปรแกรมทั่วโลกนำไปใช้งาน และ พัฒนาได้อย่างอิสระทำให้เกิดการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

Script ที่ใช้ในการออกแบบเว็บแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
> Client-Side Script เป็น Script ที่ทำงานบนเครื่องของผู้ใช้เอง เช่น Java Script,VBScript
> Server-Side Script เป็น Script ที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น Server เช่น PHP, ASP, JSP


หลักการทำงานของ PHP

เครื่องลูกข่ายจะร้องข้อมายัง Web Server ที่มี Script เป็น PHP จากนั้น Script PHP จะทำการประมวลผลข้อมูล ที่ร้องขอเข้ามา ในบ้างครั้งมีการติดต่อ หรือดึงข้อมูลจาก Database ก็จะมีการส่งข้อมูลไปดึงข้อมูลมาประมวลผล เมื่อมีการประมวลผลเสร็จแล้วก็ส่งข้อมูลกลับไปยังเครื่องลูกข่ายที่ร้องข้อข้อมูลเข้ามา


รูปแสดงหลักการทำงานของ PHP

การทดสอบภาษา PHP

สำหรับการทดสอบภาษา php ง่ายๆ ครับเพียงแค่เขียนคำสั่งเพียงบรรทัดเดียวเราก็สามารถรู้ได้ว่า ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์หรือโฮสติ้งนั้นรองรับภาษา php หรือไม่ โดยการการพิมพ์โด้ค PHP ดังนี้

------------------------------------------

<?php phpinfo(); ?>

------------------------------------------


เสร็จแล้วบันทึกไฟล์ชื่อว่า test1.php บันทึกไว้ในห้องเก็บเว็บไซต์ ...\www\test1.php
ทำการทดสอบโดยการพิมพ์ URL ว่า http://localhost/test1.php

รูปแสดงผลที่ได้จากการทดสอบ

Note.
Function phpinfo(); เป็น Function ที่แสดงสถานะแวดล้อมต่างๆ ที่ PHP สามารถเรียกมาแสดง และรวม Function ที่จำเป็นไว้ให้ตรวจแล้วเรียกใช้งาน

รูปแบบการเขียนคำสั่งภาษา PHP
แบบที่ 1
-------------------------------------------
<?
echo "PHP Hello World !" ;

?>
-------------------------------------------

แบบที่ 2
------------------------------------------
<?php
echo "PHP Hello World";

?>
-------------------------------------------

เช่น
-------------------------------------------
<?php
echo "Welcome to Content Management System";


?>
-------------------------------------------

การเขียน Comment ใน PHP
-------------------------------------------
<?php
// ตรงนี้เป็น Comment บรรทัดเดียว
// Program xxx.php v. 0.1
// Develop by Mr.Arnut R. (15/12/46)

echo "PHP Hello World !";

/* ตรงนี้เป็น Comment หลายบรรทัด
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx */
?>
-------------------------------------------

การใช้ PHP ร่วมกับ HTML
เช่น
-----------------------------------------------------
<?php
// ตรงนี้เป็น Comment

echo "

CMS Portals

";
echo "- PHP-Nuke";
echo "- Postuke";
echo "- MyPHPNuke";
echo "- eNvolution";
echo "- Mambo";
echo "- Typo";
echo "- Plone";

?>
-----------------------------------------------

การกำหนดตัวแปรใน PHP
หากเราต้องการกำนดตัวแปรใช้งานทำได้โดยใช้เครื่องหมาย $ นำหน้าตัวแปรตัวอย่าง เช่น
-------------------------------------------
<?php
echo "การทดสอบตัวแปรใน php ";
$name = "Thaneeya";
$surname = "Boonmalert";
$position = "Web Designer";
$salary = 15000;

// เริ่มแสดงผล
echo "ชื่อ : $name $surname" ;
echo "ตำแหน่ง : $position". "" ;
echo "เงินเดือน : $salary". "";

?>
-------------------------------------------

การกำหนดค่าคงที่ (Constants)
ค่าคงที่เป็นค่าที่กำหนดให้กับตัวแปรและคุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่านั้นในขณะใช้งาน
รูปแบบ
define( "ชื่อตัวแปร" , "ค่าคงที่ต้องการ" );


เช่น
<?php
// การกำหนดค่าคงที่
define ("Slogan", "CMS Thailand Portal");
define ("Site", "www.cmsthailand.com");

// การแสดงผล
echo Slogan;
echo Site;

?>

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เป็นไงครับ จะเห็นว่าการเขียนภาษา php นั้นไม่ยากเลย หากเราหมั่นทดลองเขียน อีกไม่นานเกินรอเราสามารถเป็นเว็บโปรแกรมเมอร์ php ได้สบายครับ แค่นี้ก่อนนะครับ แล้วจะมาเขียนต่อในตอนที่สอง



This article comes from CMSThailand.com
http://www.cmsthailand.com/web45-47/

The URL for this story is:
http://www.cmsthailand.com/web45-47/modules.php?op=modload&name=News&file=article&sid=17
คำสำคัญ (Tags): #cms#เว็บไซต์
หมายเลขบันทึก: 117565เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2007 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท