พัฒนาทักษะด้านการอ่าน


วิธีการพัฒนาทักษะด้านการอ่านออก ให้แก่นักเรียนและชุมชน
ชื่อนวัตกรรม                       วิธีการพัฒนาทักษะด้านการอ่านออก  ให้แก่นักเรียนและชุมชน ประเภท                                การจัดการเรียนการสอน โรงเรียน                               บ้านบึงพระราม   หมู่ที่  4  ตำบลพระเพลิง   อำเภอเขาฉกรรจ์                                                 จังหวัดสระแก้ว   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว  เขต  1   ชื่อ ผู้พัฒนานวัตกรรม       นางวราวรรณ  บัติสม  ตำแหน่งครู                 เบอร์โทรศัพท์                      0-89 926 - 4683    , 037 550011 ที่มาของนวัตกรรม

จากการสำรวจข้อมูลในชุมชนและการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6    ปีการศึกษา  2548  โรงเรียนบ้านบึงพระราม   ตำบลพระเพลิง   อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว  มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น  93  คน   ขาดทักษะการอ่านออก  13  คน  คิดเป็นร้อยละ  13.98  พบว่า นักเรียนระดับช่วงชั้นที่  1  มีจำนวนทั้งสิ้น  52  คน  ขาดทักษะการอ่านออก    จำนวน  11  คน  คิดเป็น ร้อยละ  21.15  และในช่วงชั้นที่  2   จำนวนทั้งสิ้น  38  คน  ขาดทักษะการอ่านออก    จำนวน    2  คน  คิดเป็น ร้อยละ  5.26  และจากการสำรวจทักษะการอ่านออก  ของชุมชนในเขตบริการของโรงเรียน  ซึ่งมีด้วยกัน  2  หมูบ้าน             คือ  หมู่ที่  4  มีประชากรทั้งสิ้น  จำนวน  720  คน   ขาดทักษะการอ่านออก    16  คน  คิดเป็นร้อยละ  2.22   หมู่ที่  15  มีประชากรทั้งสิ้น  จำนวน  520  คน   ขาดทักษะการอ่านออก    14  คน                 คิดเป็นร้อยละ  2.69

                นโยบาย  จุดมุ่งหมาย  ของการจัดการศึกษา การอ่านเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น  สามารถนำความรู้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน  พัฒนางาน  พัฒนาอาชีพ  ก้าวทันโลก  ทันเหตุการณ์   การอ่านในระดับช่วงชั้นที่  1  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1-3   จำเป็นต้องฝึกฝนให้อ่านออก  อ่านได้  สะกดคำไม่เป็น  ครูผู้สอนต้องหาแนวทางแก้ปัญหาให้อ่านออก  อ่านได้   สะกดคำเป็น  เพื่อเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้ในอนาคต         ในระดับช่วงชั้นที่  2  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4-6  ผู้เรียนต้องอ่านคล่อง มีนิสัยรักการอ่าน อ่านหนังสือหลากหลายประเภท  หากในระดับช่วงชั้นที่  1  ผู้เรียนขาดทักษะการอ่านตามระดับช่วงชั้นแล้ว  ก็ไม่สามารถมาต่อยอดให้อ่านคล่อง  มีนิสัยรักการอ่านในระดับช่วงชั้นที่  2  ได้  อนึ่งชุมชนในเขตบริการของโรงเรียนบ้านบึงพระรามเป็นชุมชนเล็กๆ  ที่  บ้าน  วัด  โรงเรียน  ให้ความร่วมมือกันในการทำงานทุกๆ  เรื่องเป็นอย่างดี  การแก้ไขปัญหาการขาดทักษะการอ่านออก    ในครั้งนี้จึงเป็นการแก้ไขโดยทุกฝ่ายร่วมมือกัน

คณะครู  คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และชุมชน  ในเขตบริการของโรงเรียนบ้านบึงพระรามได้ปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และมีมติให้ครูดำเนินการใช้เครื่องมือวัดผลการเรียนรู้  ตามโครงการปลอดผู้ไม่รู้หนังสือในโรงเรียน  ปีการศึกษา  2548  ของ กลุ่มนิเทศ  ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว  เขต  1  แก้ปัญหาการอ่านโดยการนำเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้  ในแต่ละระดับชั้นแบ่งกลุ่ม แก้ปัญหาการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่าน  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1-6  และชุมชนในเขตบริการทั้ง  2 หมู่บ้านของโรงเรียนบ้านบึงพระราม  ที่ขาดทักษะการอ่านออก

  

วัตถุประสงค์                      

                เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนและชุมชน  โดยการเปรียบเทียบพัฒนาการ  ระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน  หลังการใช้นวัตกรรม  การนำเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้  ไปใช้ในการ แก้ปัญหาการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1-6 และชุมชนในเขตบริการทั้ง  2 หมู่บ้านของโรงเรียนบ้ายบึงพระราม  ที่ขาดทักษะการอ่านออก    

 แนวคิด  หรือทฤษฎี   การนำเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้  โดยการใช้เครื่องมือวัดผลการเรียนรู้  ตามโครงการปลอดผู้ไม่รู้หนังสือ   ในโรงเรียน  ปีการศึกษา  2548  ของกลุ่มนิเทศ  ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว  เขต  1  ดังนี้กฎการเรียนรู้ของ  ธอร์นไดด์  ( Torndike)  คือ1. กฎแห่งความพร้อม  (law  of  exercise)  หมายถึง  สภาพความพร้อมหรือวุฒิภาวะของผู้เรียนทั้งร่างกายและจิตใจ  ตลอดจนความสนใจ  ตลอดจนความสนใจ  ความเข้าใจต่อสิ่งที่จะเรียน  ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมต่าง ๆ
ดังกล่าวถึงจะเกิดการเรียนรู้  ดังนั้นแบบฝึกที่สร้างขึ้นมาแล้ว  ผู้เรียนไม่มีความพร้อมที่จะเรียน  จะเกิดผลดังนี้
1.1  เมื่อบุคคลพร้อมแล้วได้กระทำ  ก็จะทำให้เกิดความพึงพอใจ  ก็จะเกิดการเรียนรู้พร้อม                 ได้กระทำ                          พอใจ                     เกิดการเรียนรู้1.2  เมื่อบุคคลพร้อมที่จะทำ  แล้วไม่ได้กระทำก็ทำให้ไม่เกิดความพอใจ  และไม่ทำให้เกิดการเรียนรู้  พร้อม                 ไม่ได้กระทำ                     ไม่พอใจ                   ไม่เกิดการเรียนรู้1.3  เมื่อบุคคลไม่พร้อม                 ต้องกระทำ            ไม่พอใจ              ไม่ทำให้                เกิดการเรียนรู้ 2. กฎแห่งการฝึกหัด  (low  of  use)  กฎนี้หมายถึง  โดยให้ผู้เรียนได้ฝึกหัด หรือทำกิจกรรม ซ้ำ   บ่อย ๆ  เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่แม่นยำ3. กฎแห่งผลที่พอใจ  (law  of  effect)  กฎนี้กล่าวถึง  การกระทำใด ๆ ก็ตาม  ถ้าเป็นสิ่งที่ผู้กระทำพึงพอใจ
ก็จะทำพฤติกรรมนั้น ๆ ซ้ำอีกในทางตรงกันข้ามการกระทำใด  ถ้าผลไม่เป็นที่น่าพอใจ ผู้กระทำก็จะเลิกทำพฤติกรรมนั้น
 

ทฤษฎีเสริมแรง  (reinforcement  theory)  ของ สกินเนอร์  (Burrhus  F.Skinner)  เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่สะท้อนพฤติกรรมของผู้เรียน  หลังจากเกิดกระบวนการของสิ่งเร้าและการตอบสนอง  ซึ่งเป็นการเสริมแรงแบบมีเงื่อนไข  เช่น  ได้รับความพอใจจากรางวัลต่าง ๆ หรือเป็นการเสริมแรงแบบอุปนัยได้รับความพอใจที่มีความหวังหรือเป็นแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์หนังสือเรียน  เมื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน  จะเพิ่มประสิทธิภาพระบบการเรียนการสอน  ทั้งด้านตัวครูและตัวนักเรียน

ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล (individual  different)  การใช้แบบฝึกต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  เพราะการใช้ภาษาและความสามารถทางรับรู้ของเด็กแต่ละคนแตกต่างกันควรมีการทดสอบพื้นฐานของเด็กเสียก่อนทฤษฎีฝึกสมอง  (mental  discipline)  เป็นทฤษฎีถ่ายโยงความรู้สึก  ส่วนใหญ่จะเน้นการเรียนโดยการ
ฝึกสมองเพราะเชื่อว่า  การฝึกสอนให้ผู้เรียนจดจำ  ฝึกคิดหาเหตุผล  โดยสอนให้เข้าใจและฝึกมาก ๆ จนเกิดเป็นทักษะ  และความคงทนในการเรียนรู้  หลังจากนั้นก็สามารถ่ายโยงไปใช้ได้โดยอัตโนมัติ   ซึ่งจะทำให้ผู้เรียน
เฉลียวฉลาดสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
การเรียนรู้โดยการลงมือทำด้วยตนเอง  (learning  by  doing)  ผู้เรียนได้ทำแบบฝึกตามลำพังด้วยตนเองจะเกิดการเรียนรู้  เพราะมีประสบการตรงเกิดขึ้นเป้าหมายของการเรียนรู้ (purposeful  learning)  การกำหนดเป้าหมายของแบบฝึก  เป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง  เพื่อจะได้วัดและประเมินผลให้ตรงเป้าหมายที่วางไว้  และยังเป็นการกระตุ้นความน่าสนใจในแบบฝึกแก่ผู้เรียนทฤษฎีแรงจูงใจ  (motive  theory)  เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนการสอน  ครูต้องการกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักตื่นตัว  อยากเห็น  เกิดแรงขับทำให้อยากฝึกฝน  และเกิดการเรียนรู้ เป้าหมาย

เพื่อพัฒนาการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่องการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1-6
และชุมชนในเขตบริการทั้ง  2 หมู่บ้านของโรงเรียนบ้านบึงพระราม  ที่ขาดทักษะการอ่านออก   โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป  นิทาน    เรื่องสั้น  ที่ครูสร้างขึ้น

   วิธีดำเนินการ / ขั้นตอนการแก้ปัญหา / พัฒนานวัตกรรม  คณะผู้พัฒนานวัตกรรมได้ดำเนินการ  ตามขั้นตอนดังนี้  ประชุมปรึกษาหารือคณะครู  คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เพื่อศึกษาปัญหา  วางแผน  หาแนวทางในการแก้ปัญหา  ในภาคเรียนที่  1   ปีการศึกษา  2549  สำรวจสภาวะขาดทักษะการอ่านออก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1-6   และชุมชนในเขตบริการทั้ง  2 หมู่บ้านของโรงเรียนบ้านบึงพระราม      ครูผู้สอนในแต่ละชั้น  ศึกษาเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป  นิทาน    เรื่องสั้น  ที่ครูสร้างขึ้น แบ่งกลุ่มหมู่บ้าน  โดยแบ่งตามแผนผังหมู่บ้านปลอดยาเสพติดแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบแต่ละกลุ่มหมู่บ้านทำหนังสือชี้แจ้งผู้นำหมู่บ้าน  กำนัน  นายอำเภอ  ขอความร่วมมือเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ซ่อมเสริม     สร้างนวัตกรรม  เพื่อใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้   ที่หลากหลายสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน-หลังเรียน  โดยใช้แบบทดสอบคู่ขนานทำการทดสอบก่อนเรียน (Pretest)  กับกลุ่มผู้เรียนในชุมชนการประชุมชี้แจงนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชุมชนในเขตบริการทั้ง  2 หมู่บ้านของโรงเรียนบ้านบึงพระรามเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการเรียนรู้  บทบาทของผู้เรียน  จุดประสงค์ของการเรียนรู้และวิธีการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้คณะครูดำเนินการทดลองใช้นวัตกรรมกับนักเรียนในชั้นประชุมศึกษาปีที่  1-6  และชุมชนในเขตบริการทั้ง  2 หมู่บ้านของโรงเรียนบ้านบึงพระราม  ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ โดยดำเนินการนอกเวลาเรียนในตารางสอนในแต่ละวันทำการทดสอบหลังการใช้นวัตกรรม (Posttest)  กับผู้เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6   และชุมชนในเขตบริการทั้ง  2 หมู่บ้านของโรงเรียนบ้านบึงพระราม   ขั้นตอนในการพัฒนานวัตกรรมการอ่าน 5 ขั้นตอน  ดังนี้   
ขั้นตอน ระยะเวลา
 ขั้นตอนที่ 1 : การเตรียมตัวอ่าน (Prepare) v    ค้นหาว่าสิ่งที่ต้องการจากหนังสือคืออะไร ?v    เป้าหมายคืออะไร ?v    ต้องการใช้ข้อมูลเมื่อไร ?v    ทำไมถึงอ่านหนังสือเล่มนี้ ?  ไม่เกิน 5 นาที
 ขั้นตอนที่ 2 : การอ่านแบบผ่าน (Preview)                ทำความคุ้นเคยกับโครงสร้างของหนังสือ อ่านหนังสืออย่างรวดเร็ว อ่านที่ย่อหน้า บทการ์ตูน ภาพ และรูปแบบทั่วไป  ใช้เวลา 5 ถึง 8 นาที
 ขั้นตอนที่ 3 : การอ่านแบบข้าม (Passive Reading)มองหาคำสำคัญ (key words) และทำความคุ้นเคยกับภาษาที่ใช้ ความเข้าใจภาษาจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลกับความเร็วในการอ่าน  ประมาณ 5 ถึง 10 นาที
 ขั้นตอนที่ 4 : การอ่านแบบสรุป (Active Reading) ทำความคุ้นเคย กับเนื้อหาของหนังสือ โดยการอ่านย่อหน้าแรกของแต่ละบท และประโยคแรกของแต่ละย่อหน้า  ประมาณ 30 นาที
 ขั้นตอนที่ 5 : การเลือกอ่าน (Selective Reading)อ่านเฉพาะสิ่งที่ต้องการจะอ่าน จะถามตัวเองอยู่เสมอว่า :v    อ่านสิ่งนี้ทำไม ?v    ต้องการใช้ข้อมูลเมื่อไร ?v    มีสิ่งที่คุณต้องการครบถ้วนหรือยัง ?  ครั้งละ 20 นาที
 องค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนานวัตกรรม1.       นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2.       นักเรียนมีการพัฒนาทักษะด้านการอ่าน3.       นักเรียนกล้าแสดงออกและรู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนเอง3.    ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่จะส่งเสริมการอ่านให้บุตรของตนเอง  4.    เกิดความใกล้ชิดเกิดความรักความอบอุ่นในครอบครัว  และเป็นแรงกระตุ้นให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือ  ผลที่เกิดขึ้น/ที่ปรากฎขึ้นจากการใช้นวัตกรรม                                1.  นักเรียนสามารถอ่านหนังสือออก                     2.  ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน                     3.  นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านประโยชน์ / คุณค่าของนวัตกรรม  และการพัฒนาต่อยอด                เป็นตัวอย่างในการพัฒนาทักษะด้านอ่านของนักเรียนซึ่งเป็นรูปธรรมสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม                 การอ่านเป็นหัวใจสำคัญในการเรียนทุก ๆ วิชา ถ้าอ่านหนังสือไม่ออกก็ไม่สามารถที่จะเรียนวิชาอื่นได้ ดังนั้นคุณครูทุกคนจึงต้องร่วมใจกันพัฒนานักเรียนของเราให้สามารถอ่านออกได้ทุกคนไม่เป็นบัวที่จมอยู่ได้น้ำอีกต่อไป  ครอบครัวก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการศึกษาของบุตรหลานการดูแล เอาใจใส่ลูกหลังจากที่กลับจากโรงเรียนเวลาเพียงน้อยนิดก็สำคัญสำหรับลูก ดังนั้นผู้ปกครองและครูต้องร่วมแรงร่วมใจกันในการพัฒนาทักษะด้านการอ่านของลูกหลาน โรงเรียนบ้านบึงพระราม ขอเป็นกำลังใจให้คุณครูและผู้ปกครองต่อสู้ต่อไปเพื่อลูกหลานและพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศต่อไป
หมายเลขบันทึก: 117037เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2007 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะน้อง...หมูอ้วน  

  • เยี่ยมมากค่ะ งานวิจัยชิ้นนี้
  • นำมาเผยแพร่ให้กับเพื่อนครูด้วย  น่ารักจริงๆค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ดีมากค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้พัฒนาต่อไปนะคะ เพื่อเยาวชนของชาติไทย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท