Logical Thinking at Work


Logical Thinking ในการทำงาน ช่วยในการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผลได้

          การเข้ามาเรียนจิตวิทยานั้นมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน คือ ต้องการเข้าใจพฤติกรรมและสามารถอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ได้ เพื่อที่จะทำนายและควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้ลดลงเพื่อนำไปใช้ในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน และเมื่อได้เริ่มเรียนก็ทำให้ได้รู้ว่า การเข้าใจและอธิบายพฤติกรรมได้นั้น เป็นกระบวนที่สำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น จึงมีความสนใจในเรื่องของการคิดเป็นเหตุเป็นผล หรือ Logical Thinking และการที่ได้ทำ Thinking Wheel ในการเรียนวิชา HRD ก็ยิ่งทำให้ได้คิดว่าการเข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง   

          Logical Thinking เป็นทักษะพื้นฐานของทักษะการคิดทั่วไป logic มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า logos ซึ่งแปลว่าการแสดงความคิดออกมาเป็นคำพูด การพูด เหตุผล สมมุติฐาน สุนทรพจน์ logic หรือ ตรรกะ จึงเป็นกระบวนการของการใช้เหตุผล ฮาลเปอร์น ( Halpern )กล่าวว่า การใช้เหตุผลเป็นลักษณะของมนุษย์ ในการสนทนาเหตุผลจะช่วยบอกเราว่าอะไรก่อนอะไรหลัง เวลาเราใช้เหตุผลเราจะใช้ความรู้หลาย ๆ อย่างในเรื่องที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินถึงข้อสรุป ว่าถูกต้องหรือไม่  

          Logical Thinking จึงหมายถึง ความสามารถในการคิดหาเหตุผล จากความเชื่อ หลักฐาน หรือข้ออ้างที่มีอยู่แล้วนำมาเชื่อมโยงเป็นข้อสรุป เป็นการกระตุ้นให้เราใช้สมองทั้งสองซีกคือ ความคิดวิเคราะห์กับการใช้ความจำได้อย่างสมดุลกันเพื่อนำมาช่วยแก้ปัญหาหรือตัดสินใจในชีวิตประจำวัน  

          หลักการคิดที่เป็นพื้นฐานของ Logical Thinking ก็คือ MECE (Mutually Exclusive Collectively Exhaustive) หมายถึง สภาพการณ์ที่ไม่มีตกหล่นซ้ำซ้อน โดยการคิดจากมหภาคไปสู่จุลภาคแล้วพิจารณาความเชื่อมโยงที่มีต่อกัน เช่น ในการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบในองค์กรจะใช้ MECE เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อนได้ นอกจากนี้ยังมี Framework และ Model ที่เป็น Logical Thinking ด้วย ในการจัดระเบียบข้อมูลข่าวสารจะช่วยให้มี Logical Thinking ได้ ซึ่งมีเครื่องมือหรือวิธีการมากมาย เช่น แผ่นตรวจสอบ (Check Sheet) แผนผังพาเรโต (Pareto Diagram) Matrix แผนผังแสดงเหตุและผล (Cause & Effect Diagram) หรือ QC Tools ทั้งหลาย ดูรายละเอียดได้ที่                                        http://youthm.ftpi.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=35&Itemid=42  

          การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development - HRD) ประกอบด้วย การฝึกอบรม (Training) การศึกษา (Education) การพัฒนา (Development) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการทำงานให้กับพนักงานแต่ละคน พัฒนาให้พนักงานมีความกระตือรือร้นในการทำงาน สร้างแรงจูงใจในการทำงาน และสร้างให้พนักงานมีคุณลักษณะพึงประสงค์ขององค์กรให้ได้ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานของพนักงานแต่ละคน เพื่อที่จะพัฒนาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็จะต้องทำความเข้าใจและหาสาเหตุที่แท้จริงได้ เพื่อทำการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น Logical Thinking จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่องานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพราะการมี Logical Thinking ในการทำงาน จะช่วยให้ผู้ร่วมงานมีการแก้ปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้ มีการแยกแยะประเด็นหลัก ประเด็นรอง ประเด็นเร่งด่วนและไม่เร่งด่วน (การเขียนภาพ scenario) ทำให้มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาทุกอย่างให้ลุล่วงไปในเวลาเดียวกัน และแก้ไขปัญหาได้ถูกจุด   ไม่ต้องเสียเวลากับการลองผิดลองถูก โดยเฉพาะการนำ Logical Thinking มาใช้ในการหาความจำเป็นในการฝึกอบรม (Training Needs Assessment) และ การระบุความจำเป็นในการฝึกอบรม (Training Needs Identiification)           

          การหาความจำเป็นในการฝึกอบรม (Training Needs Assessment) หมายถึง การสำรวจหรือค้นหาว่ามีปัญหาในการปฏิบัติงานอะไรบ้างที่สามารถแก้ไขได้โดยการฝึกอบรม แล้วนำเอาปัญหาเหล่านั้นมาทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาแต่ละปัญหาว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง แล้วทำการระบุความจำเป็นในการฝึกอบรม (Training Needs Identiification) ซึ่งจะช่วยชี้ให้เห็นว่าจะจัดการกับการฝึกอบรมอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

          ในแง่ผู้บริหาร ที่ใช้ความเป็นตรรกะหรือความเป็นเหตุเป็นผล ในการวางแผนงานและเป้าหมายก็จะช่วยควบคุมความเห็นหรือพฤติกรรมที่ชอบหรือไม่ชอบอย่างเป็นส่วนตัวของ ปัจเจกบุคคล และนำพาองค์กรไปสู่ทิศทางที่กำหนดไว้ได้  เช่น การกำหนดเป้าการขายของบริษัทกับของแต่ละคนให้มีความสอดคล้องกันหรือมีความเป็นเหตุเป็นผล พนักงานก็จะมีความชัดเจนในการทำงาน และยอมรับเป้าการขายที่ได้รับ ส่วนในแง่ของผู้ปฏิบัติงาน Logical Thinking ควรนำมาใช้ในการทำความเข้าใจวัตุประสงค์ที่แท้จริงของงานที่ได้รับมอบหมาย ทำเกิดแรงจูงใจในการทำงานได้  

         บริษัทโตโยต้า เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่นำหลักการของ Logical Thinking มาใช้ในองค์กร ด้วยการสร้างประเพณีภายในบริษัท โดยสโลแกน “5W : ถามคำว่าทำไม 5 ครั้งคือการถามว่าทำไมซ้ำ ๆ กัน ก็จะ เห็นลักษณะพิเศษของปัญหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คำว่าทำไมจะเป็นการกระตุ้นให้สมองที่กำลังหลับอยู่ตื่นและคึกคักขึ้น และทำให้เกิดความสนใจอยากรู้อยากเห็น เป็นคำที่มีเวทย์มนตร์ที่ช่วยให้คนเรามีความคิดเชิงบวกมากขึ้น  ผู้ร่วมงานจึงมีจิตใจที่จะค้นหาว่า ทำไม (Why)” ซึ่งเป็นกฎเหล็กของ Logical Thinking การสร้างประเพณีนี้ให้กับผู้ร่วมงานภายในบริษัทจึงเป็นการสร้างนิสัยให้ผู้ร่วมงานอยากค้นหาสาเหตุที่แท้จริง ว่าทำไมจึงสำเร็จ ทำไมจึงล้มเหลว และระมัดระวังเรื่องการหยุดยั้งความคิดที่ทำให้ยอมรับแต่ผลลัพธ์โดยไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ ผลจากการนำ Logical Thinking มาใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรจึงทำให้บริษัทโตโยต้ามีขึ้นชื่อว่ามีความเก่งกาจในเรื่องการลดต้นทุนได้อย่างชัดเจน 

          เมื่อพิจารณาวิธีการนำ Logical Thinking มาประยุกต์ใช้ในองค์กรของบริษัทโตโยต้า จะเห็นได้ว่าทำโดยสร้างประเพณีที่ส่งเสริมการพัฒนาพนักงานให้ใช้ความสามารถในการหาเหตุผลเพื่อวิเคราะห์ความสำเร็จและความล้มเหลวด้วยการตั้งคำถามว่าทำไมแล้วนำมาจัดลำดับความสำคัญ เพื่อให้ได้กระบวนการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รวมทั้งใช้เหตุผลในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหามากกว่าการใช้อารมณ์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของบุคลากรในทุกระดับ ส่งผลให้บริษัทโตโยต้าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในเรื่องการลดต้นทุน จึงน่าที่จะนำมาเป็นแบบอย่างในการนำหลักการของ Logical Thinking มาใช้ในองค์กรอื่นต่อไป 

          สำหรับแนวทางในการนำ Logical Thinking มาประยุกต์ใช้ในบริษัทของตนเองนั้น จะเริ่มจากการสร้างความตระหนักให้กับพนักงานในระดับบริหาร คือผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายต่าง ๆ ก่อน โดยส่งเสริมให้เห็นความสำคัญและแนวทางในการพัฒนา Logical Thinking ด้วยการเข้าส่งไปเข้าร่วมการอบรมและสัมมนา เช่น การศึกษาและฝึกอบรมของสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ซึ่งได้เปิดอบรมและสัมมนาเรื่อง การคิดอย่างมีตรรกะด้วย Logical Thinking ขึ้น เป็นต้น และนอกจากนี้อาจจะจัดให้เข้าร่วมอบรมในส่วนของเครื่องมือที่ช่วยให้มี Logical Thinking ร่วมด้วย เช่น การอบรม QC Tools เพื่อประโยชน์ในการนำเครื่องมือต่าง ๆ มาใช้ในการทำงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

          นอกจากนั้นก็จะดำเนินการนำเครื่องมือในการจัดระเบียบข้อมูลข่าวสารมาประยุกต์ใช้งาน เช่น แผนผังแสดงเหตุและผล (Cause & Effect Diagram) มาใช้ในการหาสาเหตุและแก้ปัญหาในแต่ละฝ่าย สร้างประเพณีการตั้งคำถามว่า ทำไม (Why) ซึ่งเป็นคำถามที่มีประสิทธิผลในการค้นหาความจริง และเมื่อพนักงานในระดับผู้จัดการและหัวหน้าฝ่าย มีความรู้ความใจดีแล้ว ก็ส่งเสริมให้กับพนักงานที่เหลือต่อไป ซึ่งจุดมุ่งหมายในการส่งเสริม Logical Thinking นี้ก็เพื่อให้พนักงานแต่ละคนมีแนวคิดในการทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถทำความเข้าใจกับงานที่ได้รับเพื่อที่จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์

          ถึงแม้ว่า Logical Thinking จะเป็นรูปแบบของการคิดพื้นฐานที่จำเป็นแล้วนั้น ก็ยังมีรูปแบบการคิดของมนุษย์ที่จำเป็นในการทำงาน (Human Thinking At Work) เช่น การคิดสร้างสรรค์ (Creative  Thinking) การคิดเชิงบวก (Positive  Thinking) เป็นต้น    ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://gotoknow.org/blog/sopone1/106237    

หมายเลขบันทึก: 115863เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2007 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

citrus say:

pink คะ

อยากให้ช่วยทำประเด็นให้ชัด ตามหัวข้อที่กำหนดของรายงาน เนื้อหาที่เขียนมาละเอียดดี แต่ต้องแยกให้ชัด อะไรคือ ทบ. แล้วเกี่ยวข้องกับ HRD อย่างไร โดยหลักการทั่วไปเขาพัฒนา logical thinking ด้วยวิธีการใดได้บ้าง อะไรคือตัวอย่างการพัฒนาที่ชัดเจน อะไรคือการประยุกต์ของเรา อะไรคือความเห็น

พยายามอีกนิดนึง ก็จะดีมากแล้วค่ะ

ขอบคุณค่ะ กำลังดำเนินการแก้ไขนะคะ และโดยส่วนตัวก็มีความกังวลอยู่แล้วในเรื่องความชัดเจนของประเด็น แต่มีคนแนะนำให้ก็จะได้แก้ไขถูกทางค่ะ

พิงค์จ๊ะ.....เราว่าเรื่องนี้เนื้อหาน่าสนใจ แล้วพิงค์ก็เขียนละเอียดดีนะ แต่อาจจะอ่านแล้วไม่ลื่นไหลไปนิด ตรงที่ขาดความสัมพันธ์กันบ้างในบางย่อหน้า แล้วก็มีเรื่องของการอธิบายในกระบวนการของ Logical Thinking ไปนิดนึง คือยกตัวอย่างขององค์การที่มีการพัฒนาทางด้านนี้แล้ว คิดว่าก็น่าจะมีเพิ่มเติมไปอีกหน่อยว่า เขาทำอย่างไร (อ่านแล้วอยากรู้อ่ะค่ะ ("o") ) ประมาณนี้ สู้ ๆ จ้า ดีแล้วๆ
พออ่านดูแล้ว รู้สึกว่า เรื่อง logical think จะคล้าย ๆ กับ mind maping นะ แต่ mind maping จะเป็นการแตกประเด็นทางความคิดจากเรื่องเดียวกลายเป็นประเด็นย่อยซึ่งเป็นรายละเอียดของเรื่องใหญ่ ทำให้เกิดการต่อยอดทางความคิด การหาสาเหตุของปัญหา และสามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้เหมือนกันจ้า

การคิดแบบมีเหตุผลดีนะคะ ถ้าองค์กรมีบุคลากรที่ทำได้แบบนี้ก็ดีนะคะ จะทำให้งานไม่มีปัญหาค่ะ ยิ่งผู้บริหารหากเข้าใจก็จะทำให้ผลงานดีและองค์กรมีความสุขค่ะ น่าสนใจมากเลยค่ะจะติดตามอ่านต่อไปนะคะ

อุไรวรรณ ทองเจริญ IO ค่ะ

ฟังแค่ชื่อก็น่าสนใจแล้วค่ะ Logical Thinking เคยผ่านการศึกษากับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ หลักสูตร "การเพิ่มผลผลิตสำหรับหัวหน้างานและวิศวกร" ก็นำหลักการและเครื่องมือ QC Tools นี้มาใช้เช่นกันค่ะ โดยรายงานฉบับสุดท้ายจะต้องจัดทำโครงการแก้ปัญหาภายในองค์การโดยใช้เครื่องมือ QC Tools ก็จะเป็นการฝึกคิดโดยใช้เหตุผล ซึ่งตัวเองได้ใช้ผังกางปลา ในการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อนำมาทำโครงการแก้ไขปัญหาที่องค์การประสบอยู่....เป็นที่แน่นอนค่ะว่า การทำอะไรที่ใช้หลักเหตุและผล เป็นขั้นเป็นตอน ย่อมพบทางออกของปัญหาและการแก้ไขที่ดีกว่า และโดยส่วนตัว เวลาที่จะทำสิ่งต่างๆหรือแก้ปัญหาเรื่องใดๆ ก็จะนำเหตุและผลมาประกอบการคิดและตัดสินใจด้วยเสมอค่ะ สู้ๆๆต่อไปนะคะ แล้วจะมาติดตามอ่านฉบับเต็มค่ะ :-)
โบว์ พัชวรินทร์ ภัทรนาวิก

ก่อนเข้ามาเรียน IO เคยอ่านหนังสือเล่มนึงเกี่ยวกับเรื่อง Analytical รึ Analysis Thinking นี่แหละค่ะพี่พิงค์ ซึ่งเนื้อหาก็มีคล้ายกันบ้าง เป็นการสอบเกี่ยวกับวิธีการคิดเหมือนกันน่ะค่ะ โบว์เลยอยากทราบว่ามันใช่เรื่องเดียวกัน หรือมีส่วนเกี่ยวเนื่องกันรึเปล่าอ่ะคะ ถ้าเกี่ยวเกี่ยวกันยังไงอ่ะค่ะ ขอบคุณนะคะ

มีที่อ้างอิง และlink ที่ชัดเจนดีค่ะ เยี่ยมไปเลย :)

BoW

ต้องนำ 5W ไปใช้กับตัวเองบ้างแล้ว (ถ้าไม่ลืม)

คิดว่าการจะสร้าง logical thinking ให้เป็นแนวทางในการคิด การแก้ปัญหาในองค์การ น่าจะมีรูปแบบการทำ training หรือ workshop ที่น่าสนใจแน่ๆ ไม่ทราบว่าพอจะมีตัวอย่างมั้ยคะ 

แป๋ม

 

จะไปค้นคว้าเพิ่มเติมมานะคะพี่แป๋ม แล้วจะรีบเอามาแบ่งปันกันค่ะ

ภู่ น้องโบว์

ทั้ง Analysis Thinking ที่เราเตรียมสอบกันนั่นแหละคะ ที่ทำให้พี่สนใจเรื่องนี้ รวมถึง mind maping ด้วย

 

ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม ทำไม

 

ทำไมยังคิดไม่ออก

 

ไม่ใช่ครับ ล้อเล่น

 

พอได้ลองถามกับตัวเองว่า ทำไม หลายครั้งมันก็ได้แนวคิดที่แตกต่าง แปลกและน่าสนใจไปเรื่อยๆ ดีนะครับ

 

หลักการนี้น่าสนใจดีครับ คุณพี่สีชมพู

 

 

ทำไม...ต้องรักเธอ

พิ้ง

พี่ชอบ 5W นะ มันจำง่ายแล้วน่าจะปฏิบัติได้ง่ายดี มีตัวอย่างของการอบรมพัฒนาความคิดเชิงระบบอยู่บ้าง เพื่อจะได้หาข้อมูลเพิ่มเติมนะ ไม่แน่ใจว่า Logical thinking กับ Systematic thinking มันมีความหมายคล้ายๆกันมั๊ยน่ะ

http://www.cpd.go.th/intra/cttdo/18/1.ppt#256,1,การคิดเชิงระบบ (System Thinking)

http://webhost.cpd.go.th/css4/data/project/48creative/project.doc

พี่บุป

ชัยยุทธ (ปิค) กลีบบัว

สวัสดีคุณพี่พิงค์ได้เข้ามาอ่านแล้วนะ เนื้อหาละเอียดดีจัง  เยี่ยมมาก...........สงสัยอยู่ว่าเพราะทำรายงานเรื่องนี้รึป่าวถึงกับต้องไปปฏิบัติธรรมเลย...สงสัยไปหาทำตอบว่า "ทำไม" อยู่ ยังไงก็อย่าเพิ่งละทางโลกหละ 55555555555+  .........การคิดแบบตรรกะก็ดีแหละพี่ตรงนี้มันก็สามารถสอนได้ทุกคน อาจยกเว้นพวกบัวเหล่า 1 กับ เหล่า 4 ที่อยู่ใต้ตม กับพวกบรรลุแล้วอยู่เหนือน้ำ แต่ที่ปิคคิดว่ามันยากอะอยู่ตอนที่คิดได้แล้วแล้วเอามาทำนี่แหละยากมากๆๆๆ อย่างคำบอกที่ว่า "ชั่วดีรู้หมดแต่อดไม่ได้ซักอย่าง" คิดได้แต่ทำไม่ได้ (ยกตัวอย่างเช่นรู้ว่าดื่มเหล้าไม่ดีก็ยังดื่มกันอยู่ได้ หรือควรอ่านหนังสือบ้างได้แล้วแต่ก็ทำไม่ได้   อะไรประมาณเนี่ยแหละ)ถ้ามีการอบรมที่สามารถนำความคิดมาปฏิบัติได้เลยก็ดีสิ ...ไม่รู้นะว่าพี่คิดเหมือนปิคหรือป่าวว่าการเอาความคิดมาทำจิงๆอะยาก ...และอีกเรื่องหนึ่งพี่พิงค์การคิดอย่างมีตรรกะโดยอาศัยข้อมูลอ้างอิงแล้วยึดหลักตามเหตุผลอย่างเดียวก็น่าที่จะระวังบ้างนะ  เพราะโลกความเป็นจริงพี่ทำธุรกิจหรือชีวิตประจำวันอะพี่ไม่รับข้อมูลมาทั้งหมด บางข้อมูลก็ถูกปกปิด บางข้อมูลก็ถูกทำให้ผิดเพี้ยน หรือเป็นหลุมพลางของคนที่ไม่หวังดีก็เป็นได้ ดังนั้นคิดว่าควรกรองดีๆแล้วค่อยคิดอย่างตรรกะ และน่าจะอาศัยsense บ้างเล็กน้อย(ที่ไม่ใช่อารมณ์) แล้วหาวิธีบังคับใจให้ทำตามที่คิดได้ก็คงดี

ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆที่นำมาแบ่งปัน

       อ่านเรื่องนี้มีความรู้สึกว่ากำลังถูกฝึกให้คิดแบบ logical  thinking  อยู่เลยค่ะ 

       ก็การบ้านที่เราต้องทำกัน  ที่เริ่มด้วย think  wheel ต่อด้วย  scenario  และ ก็ออกแบบหลักสูตรแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น  ใช้เวลากะการคิดแบบนี้นานทีเดียว  

       สำหรับปัญหาส่วนตัว  ถ้าจะให้ถามตัวเองว่า ทำไม ๆ หลายๆครั้ง  สิ่งที่พบบ่อยๆก็คือ  แล้วทำไม่ล่ะ  ไม่มีคำตอบคับ  จนต้องเลิกคิดไปเอง555   จะมีวิธีแก้ปัญหา  หรือส่งเสริมให้คนที่ไม่ค่อยมีปัญญาจะคิดอะไร  ให้คิดแบบนี้ได้บ้างมั้ยคะ  หรืออาการแบบนี้เกินจะเยียวยา ^v^

นันทน์

ก่อนอื่นขอออกตัวเลยว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากมาย ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่ามีเรื่องนี้อยู่ด้วย มีการถามแบบอื่น รึว่ามีกระบวนการอื่นอีกมั้ยอ่ะที่จะสามารถทำให้คิดแบบเป็นเหตุเป็นผลได้ ถ้าสมมติว่าเราลองถามตัวเองว่า "อย่างไร" เราว่าก็จะสามารถช่วยคิดได้มากขึ้นนะ คือหมายความว่า ถ้าเราคิดว่าทำไมมันเป็นแบบนี้ แล้วคิดต่อว่า ถ้ามันเป็นแบบนี้แล้วมันจะเป็นอย่างไรต่อไปก็น่าจะเป็นการเพิ่มศักยภาพการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลได้นะ แต่การจะคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลได้มันก็ต้องขึ้นกับการสร้างการคิดแง่บวกด้วยนะ บางทีเราว่าการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลอย่างเดียวอาจจะเป็นการปิดกั้นความคิดเชิงสร้างสรรค์บางเรื่องนะ เพราะมัวแต่ถามว่าทำไม อย่างเดียวมันก็ไม่ได้ความรู้สึก บางงานการเปิดใจเลิกถามเหตุและผลก็คงดี ดังเช่นที่ ไอน์สไตน์เคยกล่าวว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" แต่ในองค์การทั่วไปการคิดเชิงเหตุผลก็เป็นสิ่งสำคัญ แต่มาShareในส่วนที่ว่า เราน่าจะมีการผสมผสานให้ลงตัวเนอะ ว่ามะ พิงค์ ขอบคุณที่สร้างารรค์เรื่องดีดีมาแบ่งปันนะ

พอดีทำเรื่อง Conflict Management  อ่านแล้วเราน่าจะเชื่อมโยงกันได้มากเลย เพราะหากมี Logical Thinking ในองค์กรแล้ว โอกาสในการเกิด Conflict ต่อกันคงยากเน๊อะ แต่ธรรมชาติของมนุษย์ทำให้ต้องคอยแก้ไขกันอยู่เรื่อย อยากเห็นหลักการ/แนวทาง/วิธีการจาก Case Study ก็ได้ที่พอจะเป็นไกด์นำทางเชื่อมโยงสองเรานิ

บุษบงค์ (ยิน : ปี 2)

ชอบ 5W ค่ะดีมาก ง่าย สั้น จำง่าย มีประโยชน์ค่ะ

พี่เอ๋

สวัสดีค่ะ อาจารย์ส้ม

ตอนนี้รู้สึกแล้วว่าได้ประโยชน์จากการเข้ามาเขียน Blog นี้จริง ๆ เพราะหลังจากที่ได้เข้าไปอ่านและแสดงความคิดเห็นในหัวข้ออื่น ๆ ทำให้ได้ความรู้และประโยชน์มากมาย ซึ่งหลายเรื่องไม่เคยรู้มาก่อน จึงคิดว่าเป็นหลักสูตรที่รวดเร็วมาก แค่เทอมเดียวแต่ได้เรียนรู้ในหลายเรื่องมากมาก แม้จะไม่ได้รู้ลึกแต่อย่างน้อยก็สามารถที่จะเลือกเรื่องที่ตรงกับการใช้งานของเรามาประยุกต์ใช้ได้

ส่วนในหัวข้อ Logical Thinking นี้ ได้ปรับแก้ไปครั้งหนึ่งแล้วเพื่อเรียงลำดับเนื้อหาให้เข้าใจง่ายกว่าครั้งแรก และกำลังดำเนินการหาข้อมูลมาเพิ่มเติมอีก

ถึง เพื่อน พี่ น้อง ทุกท่าน ถึงวันนี้จะหมดเขตในการร่วมแสดงความคิดเห็นแล้ว แต่ Blog นี้ยังรอความคิดเห็นดีดีของทุกท่านอยู่นะ (โดยเฉพาะอาจารย์ส้ม) แล้วจะเข้ามาตอบคำถามของคนที่ถามมานะคะ ขอบคุณทุกความคิดเห็นและจะนำไปใช้เพิ่มเติมในเนื้อหาค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ส้มอีกครั้งค่ะ

ทำไม

ทำไม

ทำไม

ทำไม

ทำไม

ชอบมากเลย 5W จะเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันนะจ๊ะ

ดีจังเลยค่ะพี่พิงค์ ทำให้เราหันมาสนใจและตรึกตรองกับระบบความคิดของเรามากขึ้น 

คำว่า "ทำไม" ... อื้ม  ...  มันคงทำให้เรามองได้รอบด้าน แล้วต่อยอดความคิดไปอย่างมีเหตุผล ไม่ใช่หยุดกับความคิดใดความคิดหนึ่ง ทำให้ไม่ ติดกับหลุมพรางทางความคิด  และก็เห็นด้วยกับความคิดเห็นพี่อาฟที่ว่า เวลาเราคิดอะไรก็ต้องมีสติดีๆ ทำใจให้เป็นกลางอย่าไปปิดกั้นความคิดเชิงบวกที่มันซ่อนอยู่

ส่วนของไอ้คุณปิคก็เห็นด้วยนะที่บอกว่าการดึงเอาความคิดมาใช้หลายครั้งมันยากจริงๆ ต้องฝึกใช้ความคิดและบังคับจิตใจไปด้วย

เรื่องรายงานนี้ก็ชอบที่มีตัวอย่างให้ได้ศึกษาเยอะดีด้วยอะค่ะ  แต่ก็อยากให้แบ่งหัวข้อไว้ให้เป็นช่องไฟทางความคิดนิดนึง จะได้ชัดเจนว่ากำลังพูดเรื่องอะไร เนื้อหากำลังไปทางไหน อะไรแบบนี้อะค่ะ

สู้ๆค่ะพี่ :)

ออมใช้อยู่พี่ ไอ้เจ้าทำไม เนี่ยอ่ะ

ทำไมต้องอย่างนั้น ทำไมต้องอย่างนี้

บางครั้งถ้าเราหัดเป็ฯคนช่าง เอ๊ะ อ๊ะ อย่างมีเหตุผลนะ

ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาจะทำไม เอ๊ะ อ๊ะ อยู่นั่น อันนั้นจะโดนหาว่าบ้าเอา

มันเป็ฯเกหมือนการforward lookingน่ะค่ะ เป็นการมองไปข้างหน้า และเป็นเหมือนการเผื่อ การมีแผนสำรอง การต่อยอดความคิด อย่างที่ทุกคนบอก และทำให้งานเรามีความหลากหลาย อีกทั้งยังตอบโจทย์ได้อย่างดีด้วย

ดีค่ะพี่ อนุโมธนา สาธุค่ะ

เอ๊ะ ทำไมน้องออมถึงอ้วนขึ้นๆทุกวันนะ อิอิ (กัดตัวเองนิดนึง เอ๊ะ อ๊ะ)

สวัสดีค่ะ

น้อง pink

พี่ส้มเองก็ได้ประโยชน์จากการอ่านบันทึกของน้อง พี่ๆ เช่นกันค่ะ และยิ่งเห็นพวกเราช่วยกันค้นคว้า หาข้อมูลมาให้เพื่อน เช่น พี่บุป เป็นแบบอย่างที่ดี หรือ น้อง ต้อง ภู่ ปอม อาฟ ที่ทำสถิติเข้าเยี่ยมชม และให้ความเห็นดีๆ

พี่ดีใจที่ pink ทำให้พี่หายเหนื่อย เพราะตอนนี้ไล่อ่าน ทีละคน พร้อมจดสถิติการเข้าเยี่ยมของแต่ละคน จนปวดตาไปเหมือนกัน โธ่ กรรมตามสนองซะแล้ว...

สวัสดีค่ะ

กำลังจะจัดอบรมเรื่องนี้ที่บริษัทค่ะ แต่ยังหาวิทยากรไม่ได้ ใครมีช่วยแนะนำดด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท