20:80 ค.ชัดแจ้ง : ค.ซ่อนเร้น


การเรียนรู้ในวิชานี้จะยึดหลักนี้ การเรียนรู้ในวิชานี้จึงเป็นเพียงการมาช่วยกันยกก้อนน้ำให้ลอยเหนือน้ำ เอาส่วนลึกในก้อนน้ำแข็งนี้ออกมาหมุนเวียน แลกเปลี่ยนกันใช้ และยกระดับขึ้นอีก

     เมื่อวาน (6 มกราคม 2549) ผมได้เล่าให้นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) ที่เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ฟังในห้องเรียนถึงการจัดการความรู้ การให้เกียรติคน เคารพความรู้ในคน ผมเชื่อว่าทุกคนรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขมาแล้ว และกำลังใช้อยู่โดยไม่รู้ตัว ไม่รู้ว่าเขาเรียกอะไร โดยการเรียนรู้ในวิชานี้จะยึดหลักนี้ การเรียนรู้ในวิชานี้จึงเป็นเพียงการมาช่วยกันยกก้อนน้ำให้ลอยเหนือน้ำ เอาส่วนลึกในก้อนน้ำแข็งนี้ออกมาหมุนเวียน แลกเปลี่ยนกันใช้ และยกระดับขึ้นอีก

     ผมใช้รูปนี้รูปเดียวพร้อมคำอธิบายว่า ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ได้มาจากการเรียนการสอน สามารถบันทึกออกมาได้ง่าย เห็นได้ค่อนข้างชัดเจน เช่น ฐานข้อมูล แหล่งข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ตำหรับตำรา เอกสาร วารสาร คู่มือ คำอธิบาย มักจะนำไปใช้ได้ในทุกบริบท ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20%

ส่วนความรู้แบบซ่อนเร้น Tacit Knowledge มาจากการทำจริง ๆ ปฏิบัติจริง ๆ ฝังลึกอยู่ในตัวคน ซ่อนเร้นลึกมาก จนบางครั้งตัวเราเองก็ไม่รู้ว่าเรามีความรู้นี้อยู่ หากไม่มีอะไรมีสะกิด เช่น เคล็ดลับการตัดสินใจ ประสบการณ์ชีวิต ทักษะการทำงาน หรือทักษะชีวิต แต่ใช้ได้ในบางบริบทเท่านั้น การได้มาจึงต้องนำมาประยุกต์ก่อน ความรู้ชนิดนี้มีอยู่มากมายโดยประมาณ 80% อันนี้แหละที่สูญหายตายไปก็หมด หากไม่มีการจัดการความรู้ และไม่จำเป็นเลยว่าต้องอยู่ที่นักวิชาการ ครู หรือ อยู่ที่ผู้มีการศึกษาตามความหมายในกระแสหลัก แต่จะอยู่ที่คน คนตัวเป็น ๆ ที่ทำจริง ๆ ปฏิบัติจริง ๆ

     มีคำถามต่อในทันทีว่าแล้วการจัดการความรู้ คืออะไร ผมได้ยกขึ้นอธิบายแบบเอาไม่ให้งงว่า เป็นการทำอย่างไรก็ได้ให้เอาความรู้นั้นออกมาหากมีอยู่แล้ว หากยังไม่มีก็สร้างใหม่ แล้วต้องนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนกันใช้ อย่างใจกว้าง ต้องไม่ขี้เหนียวความรู้ที่มีที่ได้มา แล้วจะเกิดการยกระดับความรู้ให้เพิ่มพูนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้เราควรจะตั้งเป้าหรือเข็มทิศที่ชัดเจน ว่าเพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร หรือสถาบันที่เราทำงาน หรือใช้ชีวิตอยู่ ผมเล่าเรื่องที่ชาวบ้านมีความเข้าใจตามความคิดของเขาโดยตรงกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์สาธารสุขให้ฟังตามที่เคยบันทึกไว้ที่ นานาทัศนะเรื่อง 30 บาท จากประชาชน ให้เขาฟัง และได้แนะนำให้เขาลองเข้าไปอ่านดู

     สิ่งที่ได้เห็น และได้ยินในทันทีที่สะท้อนกลับจากลุ่มผู้เรียนคือ วิชานี้น่าจะไม่ยากอย่างที่คิด และน่าเรียนหากไม่เน้นที่ตัวทฤษฎีจนเกินไป ก็หวังว่าอย่างนั้น ฉะนั้นรายงานที่ต้องทำตามโครงสร้างการเรียนรู้ในวิชานี้จึงเน้นที่เป็นการเล่าเรื่อง (บันทึกเรื่องโจทย์รายงานฯ) โดยผมก็จะเป็นผู้เรียนรู้ด้วย แล้วมาร่วมอภิปรายกัน ช่วยกันสร้างบรรยากาศให้สนุกสนาน มีเสียงล้อผมว่าอาจารย์จะมาเอาความรู้จากพวกเราได้ไง ผมก็ตอบไปว่า ค่อย ๆ ดูกัน เดี่ยวจะทำให้ดู

     ในห้องเรียนสามารถใช้ Internet ได้ ผมจึงเปิด Blog ให้ดูเป็นตัวอย่าง สาธิตการใช้ การแสดงความคิดเห็น ซึ่งคาบต่อไปผมได้นัดหมายให้หัวหน้าห้องไปประสานห้องคอมฯ เพื่อจองและขอใช้ห้อง หากได้วันใด คาบใด ก็จะชวนกันไปเปิด Blog พร้อม ๆ กันผมก็ได้แจกจ่ายแผ่นพับแนะนำ GotoKnow ของ อ.ดร.จันทรวรรณฯ ไปให้ก่อนแล้ว เผื่อใครเรียนรู้ได้เอง ผมก็จะได้ผู้ช่วยเพิ่มขึ้นเมื่อถึงวันนั้น หากประเมินเอาคร่าว ๆ ในตอนนี้เห็นสายตา และแววตาแล้วน่าจะมีคนที่สนใจมากอย่างน้อย 5 คน แต่ก็ไม่แน่ เพราะดูจากสายตาที่มุ่งมั่นเอาเท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 11540เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2006 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท