จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

ตาข่ายผู้นำ


ทฤษฏีตาข่ายภาวะผู้นำ (The Leadership Grid Theory)

 

            ทฤษฏีนี้พัฒนามาจากผลการศึกษาวิจยของมหาวิทยาลยโอไฮโอเสตทและของมหาวิทยาลัยมิชิแกน นำเสนอทฤษฏีโดย เบลคและมูตัน (Blake & Mouton,1985) จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส  ทฤษฏีนี้ได้แบ่งพฤติกรรมของผู้นำทั้งด้านที่มุงผลผลิตและด้านมุงคน ให้แต่ละด้านแบ่งเป็น 9 ระดับ นำมาประกอบกันเพื่อจัดทำเป็นตารางตาข่ายท่มีด้านแนวนอนแทนพฤติกรรมที่มุ่งผลผลิตและด้านแนวตั้งแทนพฤติกรรมที่มุ่งคน จึงเกิดเป็นตารางตาข่ายที่เกิดจากการผสมพฤติกรรมทั้งสองที่แทนแบบภาวะผู้นำขึ้นได้ 81 ช่อง

 

Text Box: พฤติกรรมมุ่งคน (Concern of People)9

 

Country Club Management

ผู้นำที่เอาแต่น้ำใจคน

 
1,9

 

 

 

 

Team Management

ผู้นำแบบทำงานเป็นทีม

 

 

 

9,9

8

 

 

 

 

 

 

 

 

 

7

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5

 

 

 

Middle of the Road Management

ผู้นำแบบพบกันครึ่งทาง

 

5,5

 

 

 

 

4

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3

 

 

 

 

 

Authority-Compliance

Management

ผู้นำแบบเอาแต่งาน

 

 

 

 

2

Impoverished Management

ผู้นำแบบย่ำแย่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1

1,1

 

 

 

 

 

 

 

9,1

 

1

2

3

4

5

6

7

8

9

พฤติกรรมมุ่งผลผลิต (Concern for Results)

 

 

 

            1. ผู้นำแบบเอาแต่งาน หรือแบบ 9,1 (Authority-compliance)

            เป็นผู้นำที่เน้นหนักกับความสำคัญของงาน และให้ความสำคัญน้อยกับผู้ปฏิบัติงาน โดยมองคนว่าเป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งในการทำงานให้งานสำเร็จ ถือว่าการสื่อสารกับลูกน้องเป็นเรื่องไม่จำเป็น ยกเว้นกรณีที่ต้องออกคำสั่งให้ปฏิบัติงานเท่านั้น เป็นผู้นำที่ผลักดันทุกอย่างให้เกิดผล คนอื่นจึงเป็นเพียงเครื่องมือไปสู่งจุดหมายปลายทาง พฤติกรรมของผู้นำแบบ 9,1 ที่เห็นบ่อยก็คือ การควบคุมใช้อำนาจและบีบบังคับกดดันให้คนทำงานหนักไปสู่เป้าหมายที่ตนต้องการ

            2.  ผู้นำที่เอาแต่น้ำใจตคน หรือแบบ 1,9 (Country club)

            เป็นผู้นำที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับงาน (low concern for task) แต่จะให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสูง (high concern for people) ไม่เน้นความสำคัญของงานมากนัก แต่พยายามทำให้ลูกน้องเกิดความพึงพอใจและมีความรู้สึกที่ดี จะพยายามเจ้าใจใส่ดูแลให้ความต้องการด้านส่วนตัวและด้านสังคมของลูกน้องบรรลุผล พยายามสร้างบรรยากาศเชิงบวกขึ้นในที่ทำงาน ด้วยวิธีตกลงรอมชอบ อยู่กันแบบสบายๆ พยายามหลีกเลี่ยงการเกิดขัดแย้งและเต็มใจให้ความช่วยเหลือเอื้อประโยชน์แก่ลูกน้องอย่างเต็มที่

            3. ผู้นำแบบย่ำแย่ หรือแบบ 1,1 (Impoverished)

            ผู้นำแบบนี้เป็นผู้นำที่ไม่ใส่ใจให้ความสำคัญทั้งด้านงานและคน ชอบแสดงตัวว่าเป็นผู้นำ แต่ไม่มีพฤติกรรมแสดงออกให้เห็นถึงการเป็นผู้นำ ขาดความรับผิดชอบ ละทิ้งงาน เลี่ยงปัญหา เลี่ยงพบปะคน แสดงความเฉยเมย ไม่ยอมผูกพันหรือรับปากใดๆ ถอนตัวจากกิจกรรมต่างๆ อยู่แบบคนไร้อารมณ์ ถือว่า เป็นผู้ขาดคุณสมบัติผู้นำ ตามคำนิยาม ภาวะผู้นำสมัยใหม่

            4. ผู้นำแบบพบกันครึ่งทาง หรือแบบ 5,5 (Middle of the road)

            ผู้นำแบบนี้จะมีลักษณะประนีประนอม มีเป้าหมายของงานในระดับปานกลาง ไม่สูงมัก เช่นเดียวกันกับด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็อยู่ระดับปานกลาง เป็นผู้พยายามหาจุดสมดุลระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับการทำให้งานสำเร็จเกิดความพอดีทั้งสองด้าน แต่อยู่ในลักษณะได้ทั้งสองด้านแค่พอประมาณเท่านั้น  พฤติกรรรมของผู้นำแบบนี้ คือ ชอบการประนีประนอมไปชอบความขัดแย้ง แก้ปัญหาแบบใช้ไม้นวม บางครั้งก็ยอมเสียคำพูดเพื่อใหงานคืบหน้าหรือแก้ข้อขัดแย้งได้ ข้อยุติในการแก้ปัญหาจึงมักมีลักษณะแบบเฉพาะกิจไม่ถาวร

            5. ผู้นำแบบทำงานเป็นทีม แบบ 9,9 (Team management)

            เป็นผู้นำที่มุ่งเน้นความสำคัญทั้งด้านงานและด้านคน โดยส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานและสร้างวิธีการทำงานแบบทีมในองค์การ พยายามให้ความใส่ใจดูแลทุกข์สุขตอบสนองต่อความต้องการของผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความรักผูกพันต่องาน วีที่บ่งชี้ลักษณะของผู้นำแบบนี้ได้แก่ กระตุ้นการมีส่วนร่วม ปฏิบัติการอย่างมุ่งมั่น จัดลำดับความสำคัญชัดเจน เปิดใจกว้าง มีความเปิดเผย มองทะลุปรุโปร่งและสนุกกับงาน ผู้นำแบบนี้ ถือว่าเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลสูงสุด บางทีเรียกว่า High-high leader

            6. ผู้นำแบบพ่อแม่ หรือแบบ 9+9 (Paternalism/Materialism)

            เป็นแบบของผู้นำที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้นำใช้ทั้งแบบ 1,9 และแบบ 9,1 โดยมิได้บูรณาการทั้งสองแบบเข้ด้วยกันแต่งอย่างใด เป็นพฤติกรรมของผู้นำที่เหมือนพ่อ แม่ กล่าวคือจะให้รางวัลหรือแสดงการยอมรับเมื่อลูกเชื่อฟังโอวาท แต่ในทางกลับกันถ้าประพฤติผิด ไม่เชื่อฟังก็จูกลงโทษ แต่การกระทำทั้งสองทางตั้งอยู่บนพื้นฐานความรักเมตตาปราถนาให้ลูกเป็นคนดี ผู้นำแบบพ่อแม่ก็อยู่บนพื้นฐานแบบเดียวกัน จึงกล่าวได้ว่า เป็นเผด็จการที่มีเมตตา คือ จะมีพฤติกรรมที่แฝงด้วยความเมตตาต่อผู้ใต้บัคงคับบัญชา แต่ที่ทำเช่นนั้นก็เพื่อวัตถุประสงค์ให้งานสำเร็จและมีวิธีการปฏิบัติต่อผู้อื่นเหมือนเป็นพฤติกรรมไม่เกี่ยวกับงาน

            7. ผู้นำแบบฉกฉวยโอกาส (Opportunism)

            เป็นผู้นำที่เลือกใช้การผสมของแบบผู้นำตั้งแต่แบบตามข้อ 1-5 โดยเลือกการผสมไปใช้ตามโอกาสที่จะก่อให้เกิดประโยชน์เพื่อส่วนตัวของตน เช่น เพื่อการสร้างภาพให้ตนเอง เพื่อใช้ในการฉกฉวยโอกาสไต่เต้าตนเอง เพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็นต้น ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ค่อยข้างเห็นแก่ตัว

ทฤษฏีภาวะผู้นำทีอาร์ซี (TRC Leadership Theory)

            ผู้พัฒนาทฤษฏีนี้คือ ยุคล์  (Yukl, 1997) โดยให้เหตุผลว่า ทฤษฏีพฤติกรรมผู้นำแบบ 2 องค์ประกอบในอดีต ไม่สามารถอธิบายครอบคลุมพฤติกรรมทุกด้านของผู้นำในยุคปัจจุบันได้ครบถ้วนอีกต่อไป จึงได้พัฒนาทฤษฏีขึ้นด้วยตัวอักษรย่อ TRC มาจาก Task-Relations-Change เป็นพฤติกรรมของผู้นำแต่ละด้าน ซึ่งเขาเชื่อว่าจำเป็นและสำคัญต่อความมีประสิทธิผลของผู้นำในยุคที่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ได้แก่

            1. พฤติกรรมที่มุ่งงาน (Task-oriented behavior)

            เป็นพฤติกรรมของผู้นำที่เกี่ยวกับการทำให้งานสำเร็จ การใช้ทรัพยากรและบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ การรักษาความมั่นคง และความน่าเชื่อถือในการดำเนินกิจการ การปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มผลผลิต โดยมีพฤติกรรมหลักของผู้นำที่ใช้ได้แก่ การกำหนดความชัดเจนของบทบาท การวางแผน การจัดองค์การเพื่อปฏิบัติงานและการคติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน รวมถึงพฤติกรรมที่เรียกว่ามุ่งกิจสัมพันธ์ (initiating structure)

            2. พฤติกรรรมที่มุ่งความสัมพันธ์ (Relations-orientation behavior)

            เป็นพฤติกรรมของผู้นำที่เกี่ยวกับการปรับปรุงความสัมพันธ์และช่วยเหลือผู้อื่น โดยการเน้นความร่วมมือและการทำงานแบบทีมงาน การเพิ่มความพึงพอใจในงานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้น การสร้างความรู้สึกร่วมในเอกลักษณ์ขององค์การ กิจกรรมที่เป็นพฤติกรรมหลักของผู้นำด้านนี้ก็ไ

คำสำคัญ (Tags): #ผู้นำ
หมายเลขบันทึก: 115123เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2007 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
มุ่งกิจสัมพันธ์ออกจะงงหน่อยครับ.
มุ่งกิจสัมพันธ์ ก็จะออกมาในลักษณะของการใช้ความสัมพันธ์ในเนื่องมา จากงานที่ทำอยู่ครับ ไม่ได้ใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว

อยากทราบข้อมูลของหลักสูตรและกิจกรรมต่างๆ ที่สามารถหล่อหลอมให้เด็กและเยาวชนตั้งแต่ ม.1-ปี 4 เกิดภาวะผู้นำ ถ้าอาจารย์ไม่มี บ๋อมขอคำแนะนำในการหาข้อมูลดังกล่าวก็ได้นะคะ เผอิญต้องใช้อ้างอิงเกี่ยวกับงานค่ะ มีความสำคัญมากๆ  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท