อาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร (จบ)


ผมมีพื้นที่ 100 ไร่ ผมมีแรงเริ่มทำนา 3 ไร่ นี่ก้าวที่หนึ่งของผม

และเป็นแหล่งท่องเที่ยวผมคิดไปไกล ขนาดนั้น และผมก็เดินของผมทีละก้าว ผมมีพื้นที่ 100 ไร่ ผมมีแรงเริ่มทำนา 3 ไร่ นี่ก้าวที่หนึ่งของผม ทำนาสามไร่ผมก็ไปหาต้นกล้าที่เขาเหลือแล้ว ผมไม่ใส่ปุ๋ยเคมีผมหมักปุ๋ยน้ำเอง จากสูตรเดียวขยับเป็น 2-3-4 สูตร เฉพาะปุ๋ยน้ำขณะนี้ผมเดินไป 26 ก้าวแล้วผมเดินทางอย่างนี้ คือผมจะกินข้าวผมจะทำอะไร เกี่ยวกับข้าวบ้าง หมักปุ๋ยน้ำถังเดียว พันธุ์ข้าวไม่ได้ซื้อขอที่ชาวบ้านเขาเหลือทิ้ง มีปุ๋ยน้ำหมักตุ่มเดียว ผมจะต้องกินอะไรบ้างดูที่เมืองเลยมีผักเยอะกว่าผมมาก มีผักกูด ผักหนาม ผักขี้นาก ผักก้านจอง ผักขี้เหล็ก บ้านผมมีแต่อ้อยกับมันสำปะหลัง จะกินยอดมัน ยอดอ้อยก็ไม่ไหว ทำยังไง ผมก็เริ่มจาก ปลูกผักบุ้ง แค พริก มะเขือ มะนาว มะละกอ ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม กะหล่ำ เพราะเรากินเป็นประจำ จริง ๆ คิดจะกินอย่างเดียว แต่ผลผลิตออกมา 100 กิโล ผมกินได้นิดเดียว ที่เหลือผมก็เอาไปแจกเพื่อน บ้าน ครั้งแรก ครั้งที่ 2 เขาเอาเงินให้ แต่ผมไม่เอาเขาก็ขนอย่างอื่นมาให้อันนี้คืออำนาจของทาน (การให้) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ใช้คำว่า Our Loss Is Our Gain หรือยิ่งให้ไป ยิ่งได้มา หรือขาดทุนคือกำไร กินไม่หมดส่งไปแจกเขา มันจะขาดทุนที่ไหน ที่จริงเขาว่าขาดทุนปลูกไปทีละนิด อยากกินชะอมก็ปลูกชะอม กินไม่หมดก็เหลือ ของใช้มีอะไรบ้าง ก็คิดถึงไม้ไผ่เราใช้เยอะ ปัจจุบัน กำลังจะลงต้นไม้อีก 6-7 ชนิด ต้นยางนา ประมาณ 40 กว่าต้น ผมทำที่นี่เป็นศูนย์ฝึกอบรมและตั้งเป้าว่า จะมีคนเข้ามาอบรมกับเรา 300 วัน/ปี คน 100 คน/วัน จะกินอะไรตอนนี้ไม่ได้ทำคนเดียวแล้ว มีทีมงาน 40 กว่าคนก็ให้เขาคิดว่าคนที่จะมากินมากอยู่กับเรา เขาต้องกินข้าว กินกับ กินผลไม้ กินน้ำ กินขนม น้ำ เราก็ให้น้ำผลไม้ น้ำตะไคร้ น้ำสมุนไพร น้ำโค้กต้ม (ข่าแก่ต้มใส่น้ำตาลกรวด) อยากกิน น้ำเหลืองก็เอาว่านสาวหลงหรือเร่วหอมกินชุ่มคอ บำรุงหัวใจ อยากกินน้ำแดงก็ว่านกาบหอยต้มใส่น้ำ ตาลอร่อยมาก เราก็ทำเรื่องเล็ก ๆ เหล่านี้ คนเข้ามา วันละ 100 คน ท่านคิดว่าจะใช้งบประมาณขนาด ไหน เลี้ยงดูคนขนาดนี้อยู่ กิน นอน บางรุ่น 170 คน ผมตั้งเป้าว่าปลาห้ามซื้อไม่ต้องซื้อต้องเลี้ยง ทุกชนิดยกเว้นปลาทะเล ไข่ไก่กับไข่เป็ดห้ามซื้อเด็ดขาด ผมมีลูกน้องที่จบเกษตรมาอยู่ต้องเลี้ยงไก่และ เป็ดให้พอกับการเลี้ยงคน 100 คน ถ้าเรารู้ว่าคนบ้านเรากินไข่วันละ 100 ฟองเราต้องไม่ให้เงินออกนอก หมู่บ้านนี้คือวิธีคิดของผมคือวิธีคิดที่จะพึ่งตนเองหรือแบบพอเพียง เราต้องรู้ว่าเราต้องการกินอะไรเท่า ไหร่ นี่เรื่องของการกิน เรื่องของใช้มีอะไรบ้างเราใช้ไม่ไผ่ทำอะไรได้บ้างเป็นเรื่องที่เราต้องคิดบนชีวิต ของเราเอง ขั้นที่ 1 ท่านต้องไปวางแผนในบ้านของท่าน ในชุมชนของท่าน นี่คือการเดินอย่างมี ยุทธศาสตร์ ไม่ใช่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ถ้าทำอย่างที่ว่า ผมมั่นใจว่าเหลือกิน เหลือใช้ มีการเก็บออม พอเพียงไม่ได้แปลว่า อด ๆ อยาก ๆ พอเพียงแปลว่า เต็ม สมบูรณ์ ยกตัวอย่างเช่น ทุกบ้านกินมะนาว ปลูกมะนาวอย่างน้อยบ้านละ 4 ต้น คนขยัน ปลูก 10 ต้น ปลูกแล้ว “ห่มดิน” (เอาฟางห่มแม่พระธรณี) ปลูกพริกทุกบ้าน ๆ ละ 20 ต้น เดินย่ำๆ แล้วเอาเม็ดวาง แล้วย่ำ ปล่อยไว้เอามะนัวร์ 2 ช้อนโต๊ะ ใส่น้ำ 1 ปี๊บเอาไปรด ทุกคนทำได้ ปลูกตะไคร้ 20 กอ กล้วย 20 กอ ฯลฯ แต่อยู่ที่ว่าจะทำหรือไม่ทำ นี่คือตัวอย่างแม้ที่ดินที่ท่านอยู่ จะวางแผนใช้ที่ดินอย่างไร เราต้องรอบรู้ น้ำจะเก็บอย่างไร จะเอามาจากไหน ทำอย่างไรปลาจะพอกินทั้งหมู่บ้าน หรือเหลือขาย ถ้าเหลือขายแล้วจะขายอย่างไร นี้ คือวิธีคิด คนอื่นเขาคิดมามากมาย เราคิดอย่างไร บนชีวิตจริงของเขา “เมื่อเราจะกินมะม่วงเราต้อง ปลูกมะม่วง” นี่คือวิธีคิด “ปลูกในสิ่งที่กิน กินในสิ่งที่ปลูก” มนุษย์ทำงานต้องมีหลักคิด ถ้าเราเป็น นักมวย ไม่มีหลัก ชกทีไร เขาก็ชกล้ม ถ้าเราเป็นมวย ชกทีไร เขาก็ชกล้ม ถ้าเราเป็นมวยมีหลัก เป็นนักยุทธศาสตร์ มีหลัก จะสามารถพึ่งพิงหลักได้ จะไม่โอนเอนไปตามกระแส ถ้ามีหลักยืน หลักการสำคัญถ้าไม่มีหลักยึดไม่มีจุดยืน เขาว่าอะไรก็จะไหลตามเขาไปเหมือนแมงเม่า วิ่งเข้ากองไฟ จนมีหนี้ขายที่ใช้หนี้ไม่มีวันหมด หลักข้อที่ 1 มนุษย์มีใจ มีสมอง มีวิญญาณ เป็นตัวนำ คิดอย่างไร ไปอย่างนั้น ถ้าคิดจะเอาเงิน ก็จะดูว่าอะไรราคาดี ถ้าคิดจะมีกิน ก็จะดูว่า วัฒนธรรมที่พอเพียง จะปลูกอย่างไร เราจะพอแค่ไหน ถ้ามีเงิน 100 ล้านแล้วพอ บางคนพอเพียงน้อย ๆ เพื่อนผมคิดที่จะรวบรวมคน สอนให้ไปนิพพาน ต้องสะสมทุนอย่างน้อย 5 ล้าน พอทำธุรกิจจนมี 5 ล้าน เขาบอกว่าค่าเงินมันเสื่อมลงไป ถ้าทิ้ง ครอบครัวไว้ แล้วเราไปบวชเราต้องมี 100 ล้านอีก 2 ปี บอกว่าขี้หมู ขี้หมา ต้องมี 500 ล้านบาท จนวันนี้ ไม่พอ ยังไม่พอ ยังไม่ได้บวช แต่อย่างน้อยต้องมีขีดเส้นว่าพออยู่ตรงไหน แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน เราต้องมาปลูกฝังวัฒนธรรม แบบพอเพียงให้แน่น ให้มีหลักชีวิตว่าจะต้องการอะไรกัน ชีวิตไม่ใช่เดินตามเขาไป คนไทยมักเห่อ ตามคนอื่น เราอย่าไปเดินตาม คำว่าพอเพียงของเราคืออะไรกันแน่ ไม่ต้องเท่ากันทุกคน ในเพลงของ ท่านหลวงวิจิตรวาทการ ที่ว่า “กสิกรแข็งขัน เป็นกระดูกสันหลังของชาติไทยจะเรืองอำนาจ เพราะไทยเป็นชาติกสิกรรม” ไม่ใช่ชาติอุตสาหกรรม ใช่ไหม รัฐบาลกำลังหลงทางไม่เชื่อท่านหลวงวิจตรวาทการ ครั้งเมื่อตั้ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขึ้นมาท่านบอกว่า “อันชีวิตของกสิกรนั้น ต่างยึดถือความขยัน หมั่นหนักหนา ทนทำงานอยู่ระหว่างกลางดินฟ้า ถึงแดดกล้าฝนกรำ ก็ทำไป ความเป็นอยู่แสนง่าน สบาย นะ ดวงจิต รักสงบ นั้นไม่มักใหญ่” โดย ประมาณเนื้อหาสาระว่าอย่างนี้ หัวใจอยู่ที่ว่า อันที่ 1 มีชีวิตแสนง่ายสบาย รักสงบ ไม่มักใหญ่ แต่ว่าเดี๋ยวนี้มันมีชีวิตแสนยาก คนไทยจะกิน ก็ลำบาก กินมื้อนี้จะกินที่ไหนดี จะกินอะไรดี คนไทยยุคนี้เหมือนกันไปหมด เด็กรุ่นหลังท้องไร่ท้องนา มีชีวิตแสนยาก กินอยู่ยาก นอนยาก แต่ชาวนาหรือกสิกรไทย มีชีวิตแสนง่าย แถวบ้านโนนพัฒนา ผมเคยไปมาแล้ว มีชีวิตแสนง่ายเผื่อแผ่เอื้ออารี ตอนนี้ไม่อยากเผื่อแผ่ใคร มีแต่อยากได้อยากรวยมี ใครบ้างที่ใครปลูกอะไรแล้วคิดว่าจะแจกใครกิน เดี๋ยวนี้หายไปแล้ว ผมเริ่มนับหนึ่ง ที่ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ท้องนาผมเป็นศูนย์กลางของการทำลายล้างแม่พระธรณี นำเข้าสารเคมีมาใช้ ที่นั่นเป็นศูนย์กลางการปลูกมันสำปะหลัง และอ้อย ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ณ วันนี้ที่ดินได้ถูกทำลายไปไม่เหลือแล้ว ผมเอาตรงนั้นเป็นฐานที่มั่น แล้วเริ่มลงมือทำ ปลูกข้าว 3 ไร่ เดินทีละก้าว ถ้าท่าน อดทน ขยัน ไม่มักใหญ่ รักสงบ มีชีวิตแสนง่าย เผื่อแผ่ เอื้ออารีย์ วันหนึ่ง เราเดินได้เป็นร้อยเป็นพันก้าว แต่ท่านเดินได้ทีละก้าว อย่ากระโดดจะซวนเซ ไม่มั่นคง ไม่มีหลักยึด หลักสำคัญอยู่ที่มนุษย์ จิตวิญญาณ วิธีคิดหรือทิฐิ หรือทฤษฎีนั่นเอง ใจ เป็นตัวนำพาไป ถ้าเอาใจจดจ่อมุ่งมั่น เอาใจใส่ลงไป ในงาน ในเป้า เราทำอะไรก็ได้ ทำไมเขาไปดวงจันทร์ได้ มันอยู่ที่มีหลักยึดหรือเปล่า มีความมุ่งมั่น จะทำให้สำเร็จ เอาใจใส่ลงไปให้ชัดเจน แล้วสามัคคีกัน ให้มีพลังให้ได้ อย่าคิดว่าเราทำอะไรไม่เป็น ถามว่าเรากำหนดเป้าใหม่ว่าจะทำแผ่นดินนี้ให้อยู่เพื่อลูกเพื่อหลาน ให้คนได้เห็นเราสามารถทำได้ ทุกคน ถ้าเราช่วยกันนำพากันเราทำได้ วิธีคิด คือ ทำกินก่อนแต่ถ้าคิดจะทำเอาแต่เงินก่อน ท่านจะจนไปทั้งชาติ ถ้าท่านคิดจะทำกิน แล้วแผ่เผื่อเพื่อบ้าน ท่านจะมีเงินฝากธนาคารอย่างแน่นอนแต่ทำทีละอย่าง อันที่ 2 ถ้าเข็มมุ่งเราชัด เรามีเป้าชัดเจนว่าเงินเป็นเรื่องทีหลัง เราจะได้เงินทุกทีไป แต่ก่อน ผมหาได้อย่างสุจริต ไม่มีคอรัปชั่น หรือแม้แต่คอมมิชชั่นก็ไม่มี ผมหาได้เดือนละหลายหมื่น ด้วยความสามารถ ผมเรียกตัวเองว่ากรรมกรทางปัญญา ผมใช้ปัญญานั่งเขียนหนังสือทั้งคืน แลกเอา สิ่งที่จะนำพาครอบครัว ถ้าเราจะเป็นชาวไร่ ชาวนา เราจะทำเกษตร ทำกสิกรรม เราต้องรู้เทคนิคธรรมชาติ ไม่มีทาง เลือกอื่น ธรรมชาติในเขตร้อนชื้นกับในเขตหิมะตก คนละอย่างกัน เราต้องรู้ ถ้าไม่รู้ เราก็ต้องเดินตาม ฝรั่งเขาต่อไป ต้องเสียเงินไปซื้อขยะ (ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง) จากโรงกลั่นของเขา มาใช้ เหมือนเดิม อย่างบ้านเรา เราต้องรู้จักชีวิตในดิน ปุ๋ยบ้านเขากับปุ๋ยบ้านเรามันคนละเรื่องกัน เราต้องรู้เรา ต้องทำปุ๋ยน้ำให้เป็น ทำปุ๋ยผงให้เป็น ทำปุ๋ยเม็ดให้เป็น จะเรียกว่าเทคโนโลยีอินทรีย์ หรือชีวภาพ ก็ไม่ มีปัญหา แล้วแต่ภาษา แต่ความจริงมันคือธรรมชาติเขตร้อนชื้น ถ้าเราเหลือใช้เราอาจขายออกนอกหมู่ บ้านได้ด้วย เพราะเราอยุ่ในที่ที่มีจุลินทรีย์ธรรมชาติที่เหนือกว่าคนอื่นเขา เราต้องรู้จักต้นไม้ในเขตบ้านเรา จะนำไปใช้ประโยชน์อะไร ใช้อย่างไร แปรรูปอย่างไร เป็น เรื่องง่าย ๆ ใกล้ตัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงตรัสไว้ ซึ่งผมประทับใจมาก พระองค์ท่าน ตรัสว่า “ชาวบ้านอยู่กับธรรมชาติมา เขารู้ว่าตรงไหนที่ควรเก็บไว้เป็นที่ป่า เขารู้ตรงไหนควรทำเป็น นา เขารู้ตรงไหนควรทำเป็นสวน เขารู้ตรงไหนควรเก็บไว้เป็นแหล่งน้ำ เราต่างหากอยู่ห่างธรรมชาติ มานานไม่รู้ ไม่เข้าใจ เราก็ไปสอนเขาผิด ๆ ถ้าเราเข้าใจ เรารู้ เราคุยกับเขาให้ชัดๆ เขาจะบอกเรา มัน เป็นอย่างนั้นจริง ๆ เพราะเขาอยู่กับธรรมชาติ เขาเข้าใจธรรมชาติดี เราต่างหากที่ลืมไป” ท่านรับสั่ง อย่างนี้ ปัญหาคือเราลืมตัว เพ้อไปคิดที่จะเดินตามฝรั่ง หน้าก็ไม่เหมือนเขา ผมก็ไม่เหมือนเขา จมูกก็ ไม่เหมือนเขา จะกินปลา กินไข่ กินไก่ ควบคุมเชื้อโรค แมลง หนอนได้อย่างไร ทั้งหมด เป็นเรื่องง่าย มาก เราทำให้มันยากเอง คนปกติต้องเข้าโรงพยาบาลทุกวันไหม ทำไมคนบางคนไม่เป็นโรค ก็เพราะ คนแข็งแรงมีภูมิคุ้มกัน ต้นไม้ก็เหมือนกัน ถ้าต้นไม้แข็งแรง มีภูมิคุ้มกัน ก็ไม่เจ็บ ไม่ป่วยไม่ต้องใช้ยา หญ้าก็ไม่มีปัญหา อันที่ 3 สะสมทุน ประเทศไทยมีเหนือใครทั้งโลก คือ 1. ทุนธรรมชาติ หรือ ความหลากหลาย ทางชีวภาพ (Bio diversity) เรามีมากกว่าใครในโลก 2. ทุนทางสังคม ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่สิ่งเหล่านี้ คนไทยมีอยู่แล้ว อย่าลืมอย่าทิ้งแม้การจัดระบบการบริหารที่อาศัยทุนทางสังคม ไทยรู้เรื้องดีอยู่แล้ว 3. ทุนเงิน ถ้าเริ่มง่าย ๆ เริ่มจากการเก็บทีละบาทสองบาท ทีละร้อย “ความขาดแคลนไม่มีปัญหา ถ้ามี ปัญญา และความอดทน” แต่คนเดี๋ยวนี้ไม่ใช้ปัญญา และไม่มีความอดทน ทำเดี๋ยวนี้ อยากให้สำเร็จ เดี๋ยวนี้ รวยเดี๋ยวนี้ คิดการใหญ่ทำไปทำมาหดเหี่ยวลง คนจีนเขาคิดการใหญ่แต่เริ่มจากเล็กไปใหญ่ เริ่มจากแคบไปกว้าง “เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง” นั่นคือยุทธศาสตร์ ฉะนั้นให้สะสมทุน ทั้ง 3 อย่าง อย่าไปสะสมทุนเงินอย่างเดียว ทุนธรรมชาติ กับทุนทางสังคม นี่ยิ่งใหญ่กว่าทุนเงินมากนัก อันที่ 4 การจัดการ แม้แต่ตัวเราเอง ภายในครอบครัว จะจัดการกลุ่มเล็กได้อย่างไร เราทำงาน คนเดียวไม่ได้ เราเป็นสัตว์สังคม จะจัดการกับกลุ่ม จะแบ่งงานกันอย่างไร จะวางแผนกันอย่างไร จะจัดปฏิทินกันอย่างไร เรื่องที่ 1 น้ำ จะจัดการอย่างไร ผมเห็นน้ำยังไหลอยู่ทั้งปีหลายจุด ดูว่าจุดไหนจะสร้างเป็น แหล่งน้ำขนาดเล็กได้ (Check Dam) กั้นน้ำไว้แล้วเอาปลามาปล่อย มาไว้บนเขา เอามาเลี้ยงไว้ให้คน มาดู เอามากิน โชว์ให้คนอยากมาศึกษา เราทำได้ถ้าท่านสามัคคี และมุ่งมั่น ความสำเร็จก็จะเกิดเรา สร้างแหล่งน้ำสัก 20 จุด ถ้าคนมากขนาดนี้ วันหนึ่งขุดจุดหนึ่งเสร็จ ทั้งหมดไม่เกิน 20 วัน งานชิ้นนี้ จะเสร็จสมบูรณ์ เรื่องที่ 2 การอนุรักษ์ดิน ไม่ยากเลยไม่ต้องใช้เงินแต่ต้องการพลังความสามัคคี และพลังความ อดทนของพวกเราเท่านั้นเอง ได้หรือไม่ได้อยู่ที่ตัวท่าน การป้องกันการพังทลายของหน้าดินใช้ระบบ ป้องกันการชะล้างหน้าดิน โดยนำหญ้าแฝกมาปลูก ผมเองก็ปลูกที่ศูนย์ฯ มี 51 ประเทศทั่วโลกทำเรื่อง หญ้าแฝก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ท่านก็ทำจนได้รับรางวัล FAO การป้องกันการชะล้างหน้าดินด้วยการปลูกหญ้าแฝก ซึ่ง ทำได้ง่ายและยังมีประโยชน์โดยตัดใบมาคลุมโคนต้นไม้ ต้นไม้ จะงามมาก เทคโนโลยีเหล่านี้มีตัวอย่างให้ดู เรามาวางแผนกันว่า จะทำงานกันอย่างไร หรือจะไปดูตัวอย่างหรือเอาคนที่ชำนาญมา อธิบายก็ได้ ในเรื่องหญ้าแฝก เรื่องฟาง เราลองมาจัดประกวด ธิดาฟางสักครั้งหนึ่ง เอาฟางมากองทั้งหมู่บ้าน ใครฟางกองใหญ่ ชนะเลิศ ประเด็นก็คือ ความสำคัญของกสิกรรมธรรมชาติ เราจะปลูกพืช ปลูกผัก โดยห่ม แม่พระธรณีหาฟางมาห่ม เป็นก้าวที่ 1 คลุมดิน ไม่เปลือยดิน ยุทธวิธีอย่างหนึ่ง คือจัดประกวด ธิดาฟาง เพื่อรณรงค์ให้คนไปขนฟางมาให้มากที่สุด จะทำให้คนระดมฟางมาแล้วเราก็อธิบายในงาน นั้นเลยว่า วันนี้จะเป็นวันที่เราห่มแม่พระธรณี เพื่อไม่ให้แม่พระธรณีสะอื้นอีกต่อไป เราก็จะได้ฟางมา มาก ๆ งานนี้ก็จะเป็นกุศลโลบายที่จะทำให้คนเก็บรวบรวมฟาง เอามาใช้ประโยชน์ มาห่มดิน คนทั้ง จังหวัดจะแห่กันมาร่วมงาน ลองหาผู้นำแต่ละเรื่อง ถ้าเราได้คนนำทางดี เราจะไม่หลงป่า หลงทาง จำ เป็นต้องฝึกคนให้แม่นยำ เพื่อจะได้นำทางไม่หลง กลับมาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง พอเพียงแปลว่า เต็ม ไม่มีในตำราชุดเก่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ก็เลยเรียกว่าทฤษฎีใหม่ โดยมีพื้นฐานความคิดอยู่ ที่ว่า คิดอย่างไร มีเทคนิคจะเอาทฤษฎีใหม่ให้เกิดได้อยู่อย่างพอเพียงได้ เราต้องรู้เทคนิค เทคโนโลยี ธรรมชาติบ้านเรา ทุนทางธรรมชาติ ดินเราดีที่สุด พันธุ์ไม้เราดีที่สุด เอามากิน เอามาใช้ ทุนทางสังคม เรามีความสามัคคีกันแล้ว ทุนเงินหาไม่ยาก ทำไปเรื่อย เดินทีละก้าว เดี๋ยวก็มี ถ้าลำพังตัวเอง ครอบครัวใช้เงินไม่มาก แต่ถ้าอยากจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวงกว้าง อาจจะต้องการเงินมาก เราก็ทำเท่าที่เรามี ใจเราเต็ม เราเชื่อมั่นว่า ยิ่งให้ไป ยิ่งได้มา ทำอย่างไรคนที่อาศัยอยู่บริเวณต้นน้ำจะอยู่กันได้อย่างดี ซึ่งจะส่งผลถึงคนเมือง ไม่ต้องกิน สารพิษ ในน้ำ ปลาก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าท่านหยุดใช้สารพิษ ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้าได้ ลูกปลา ที่เกิดแทน ที่จะตาย ลูกปลาก็จะโต ไรน้ำ หนอนแดง สัตว์หน้าเลน ที่เป็นอาหารของกุ้งหอยปูปลาก็ไม่ตาย ถ้าท่านหยุดได้ ผมอยากเห็นสิ่งมีชีวิตฟื้นขึ้นมา อย่าลืมเมื่อท่านกลับบ้านท่านต้องเริ่มก้าวแรก ท่านไม่ได้ไตร่ตรองท่านไม่ชัดเจนในแผนที่ การเดินทางของท่าน ท่านจะต้องเริ่มทำการบ้านกันได้แล้วว่า 1. อะไรบ้างที่ท่านกินเข้าไปกับข้าวอะไร ผักอะไร เรียงลำดับมากไปน้อย 2. อะไรบ้างที่ท่านซื้ออยู่ทุกวันนี้ 3. เป็นเงินเท่าไร แล้วเริ่มคิดหันกลับมาพึ่งตนเองให้ได้ในระดับพอเพียง การทำนาโดยไม่ต้องไถ และไม่เผาฟาง คนส่วนใหญ่ทำนา จะเผาฟาง แต่วิธีนี้ไม่ต้องเผา ใส่มะนัวร์ไร่ละ 1ลิตร ถ้าเป็นฟางแห้ง 7 วันจะยุ่ย หญ้าสด 4 วันยุ่ย ถ้าย่ำลงไป ถ้าเป็นหญ้าคา กก ปรือ ก็เหยียบทับลงไปเลย ฉีดก็ได้ หรือ หยดไปในน้ำ เสร็จแล้วเอาสมุนไพรตระกูลเผ็ด ร้อน ขม มาหมัก ไล่แมลง พอฟางเน่าก็ตีเทือก แล้วก็ หว่านเมล็ดข้าว หรือถ้าจะดำก็ได้เลย ถ้าเปรียบเทียบไร่ของเรากับของชาวบ้านที่ใส่ปุ๋ยเคมี ของเราจะไม่สวยเหมือนเขา แต่พ่อสอนผมว่า ถ้าข้าวใบเหลืองปนเขียว นวลตั้งตรงข้าวจะออกรวงดี ถ้าใบปก เป็นบ่วงข้าวจะบ้าใบ แต่ชาวบ้านภาคกลางใส่ยูเรียจนติด พอเห็นแปลงของเราไม่สวยทนไม่ได้ก็อยากจะหว่านปุ๋ยเคมี เราจึง จำเป็นต้องเน้นที่วิธีคิด ให้มุ่งมั่นก่อน ให้มีหลักมีความมั่นใจเพราะเราปลูกข้าวเอาเมล็ดไม่ได้ปลูกข้าว เอาใบ ถ้าหยุดปุ๋ยเคมี ดินจะไม่เป็นกรด เชื้อโรคที่ก่ออันตรายต่อคน ต่อข้าว ต่อสัตว์ จะอยู่ใน ดินที่เป็นกรด ปุ๋ยเคมีเป็นตัวทำให้ดินเป็นกรดแม้แต่ที่ จ.สุรินทร์โรคฉี่หนูพอหยุดปุ๋ยเคมี ดินลด ความเป็นกรดได้ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ขึ้นมาถึง 6 เชื้อโรคฉี่หนูตายหมดอยู่ในดินที่ไม่เป็นกรด ไม่ได้ หนึ่งตำบลที่หยุดปุ๋ยเคมีได้ 100% ไปตรวจเชื้อไม่มีเลยทั้งโรครากเน่า โคนเน่า พริกใบร่วง ขั้วไหม้หายหมดถ้าลดความเป็นกรดในดินได้ วิธีลดความเป็นกรดในดิน คือ ห่มดินแล้วอย่าเอาสารเคมี ทุกชนิดใส่ลงไปในดินเด็ดขาด ต้องหยุดอย่างเด็ดขาด แมลงหลายชนิดจะควบคุมกันเอง มีตัวห้ำ ตัวเบียน เช่น แมงมุม จะจับหนอน แมลงกิน เป็นอาหาร อีกพวกจะวางไข่ในไข่ของแมลง แล้วกินอาหารจากไข่ที่มันอาศัย แมลงบางชนิดเอาหนอน แมลงมาวางไข่เลี้ยงลูกตัวเอง เรียกว่าตัวเบียน เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวเรื่องแมลง ใบข้าว (หรือพืชทุกชนิด) เมื่อได้รับแสงอาทิตย์จะสังเคราะห์แสงได้เต็มที่ ดึงาร์บอน ไดออกไซด์ได้เต็มที่ ต้นจึงแกร่งมาก คอรวงไม่หัก เหนียว แกร่ง รวงน้ำหนักดี ข้าวมีเมล็ดลีบน้อย หุงขึ้นหม้อ ข้าวหอมจะหอมมาก เพราะได้กินอาหาร 93 ชนิดที่มีอยู่ในมะนัวร์ แต่ถ้าใส่สารเคมีที่มี N P K มันได้กินอาหารแค่ 3 ชนิด มันจะเอาอะไรมาปรุงรส ปรุงกลิ่น ปรุงสี มันเป็นโรค ขาดสารอาหารตอนที่ข้าวยังไม่เจริญเต็มที่ ต้นอาจจะไม่สวย แต่พอเวลาข้าวตั้งท้อง จนแข็งแกร่งมาก เวลานี้เป็นเวลาที่ข้าวแข็งแรงที่สุด แม้จะมีหนอนกอมากัดกิน จะไม่เกิดความเสียหาย เพราะต้นข้าว แข็งแรง ซึ่งก็มาจากแม่ธรณีที่มีความแข็งแรง จุลินทรีย์ในดินต้องมี ถ้าไม่มีราก พืชจะไม่แข็งแรง ถ้าระบบรากลึกแม้เอาเคียวตัดต้นข้าวก็ไม่เสียหาย อีกวิธีหนึ่ง คือการหว่านข้าวลงไปกับหญ้าฟาง เสร็จแล้วย่ำทับ หาฟางมาคลุมทับอีก1 ฝ่า มือ ผลผลิตจะดีมาก มีคนทำเยอะ พ่อคำเดื่อง ภาษี อาศัยน้ำฝน หญ้าทุกชนิดถ้าเอาฟางคลุมไม่ถูกแดด หญ้าตายหมดทุกชนิด ที่เชียงราย 200 กว่าไร่ ใส่ปุ๋ยชีวภาพ แต่ไม่ยอมคลุมฟางพอฝนตกมารากลอยหมด ผมบอกว่า ไปเอาฟางมาคลุมแต่ถ้าไม่คลุมฟาง ก็สำเร็จยากการคลุมฟางให้คลุมเต็มทรงพุ่ม หนาขนาด ฝ่ามือ ถ้าทำไม่ได้ แก้ไม่ได้ การหาฟางคลุมมีราคาถูกกว่ายาฆ่าหญ้า เหนื่อยน้อยกว่า และไม่อันตราย นอกจากนั้น รากพืชยังขึ้นมาหายใจบนดินเต็มไปหมด ออกดอก ติดลูกดีมาก ในนาข้าวก็เหมือนกัน ไม่ต้องไถนะเสีย เวลา เอาเงินค่าไถกับเวลา มาจ้างคนคลุมฟางดีกว่า ถ้าชันมาก ๆ เวลาฝนตากจะชะหน้าดิน แต่ถ้าคลุม ฟางฝนตกจะไม่ชะหน้าดิน ที่ได้แนะนำให้ปลูกหญ้าแฝก จะกันการชะล้างหน้าดินแล้วจะเกิดตะกอน ดิน ผมทำนา 20 ไร่ไม่ไถ บางที่ยังไม่ย่ำเลย ปรุงมะนัวร์ หรือไม่ก็สูบน้ำเข้า แค่นั้นวันเดียวเสร็จ ต้นทุน ต่ำ จุลินทรีย์ในดินจะขยายเร็ว รากพืชลงลึก หาอาหารเก่งทนแล้งกว่า เมื่อรากดีกว่า ผลผลิตก็ย่อมดีกว่า ถ้าเป็นนาลุ่ม จะต้องย่ำฟาง ให้ฟางย่อยใน 7 วัน เพราะในนาลุ่มเวลาน้ำท่วมฟางจะลอย พอน้ำลดจะกดทับต้นข้าว แต่นาดอนทำง่ายกว่า ไม่ต้องย่ำหญ้า ต้นไม้ทุกชนิด สามารถทำอย่างนี้ คือคลุมฟาง หรือเศษพืช แล้วปรุงมะนัวร์รดลงไป แล้วเราจะเห็นความมหัศจรรย์ของดิน บางคนมีคำถามว่าหนูจะมากินเมล็ด น้ำหมักที่จะทำ ถ้าใส่ข่ากับ ตะไคร้ แล้วเอาไปพ่นลงไป หนูจะไม่มา แล้วจุลินทรีย์ในสภาพที่เป็นกรดอย่างอ่อน ค่า ph ประมาณ 6.5 มันจะเป็นพิษกับหนู ถ้าเมื่อไหร่ ค่า ph ต่ำกว่า 6.7 จะทำให้โรคระบาด ศัตรูพืชหลากชนิดเข้ามาอยู่เต็ม แม้มีปูนาแต่ก็ไม่กัดข้าวกิน เพราะมีแมลง มีอาหารต่าง ๆให้ปูนากินมากมาก ที่พวกสัตว์เหล่านั้นต้องกิน ข้าว กับลูกเดือย เพราะมันไม่มีแมลงอะไรให้กินเป็นอาหาร เราต้องรู้ เข้าใจพฤติกรรมของสัตว์ ไม่ว่า จะเป็น กุ้งกุลาดำ ปลาดุก เลี้ยงโดยไม่ให้อาหารเลย แต่เราสร้างอาหารในดิน ในเลน ให้ปลาดุก กุ้ง กุลาดำกิน น้ำหมักชีวภาพ ที่เราหมัก สาดลงในบ่อปลา ปลาโตดีมาก โดยไม่ให้อาหารเลย ธรรมชาติของก้นคลอง บ่อ หรือแม่น้ำ สัตว์น้ำแทบทุก ชนิดจะกินไรน้ำ มันเกิดบริเวณหน้าเลน หรือหน้าดิน (Bentose) จะมี อายุประมาณ 5-7 วัน พวกมันจะฝังตัวลงไปวางไข่เช่น หนอนแดง ไรแดง ไรขาว และหนอนอื่น ๆ เต็มไปหมด ปลาในแม่น้ำ ลำคลอง โตได้ คนไม่ต้องไปให้อาหารมัน ปลากินอาหารธรรมชาติ ทั้งที่เป็นสัตว์ พืช และกึ่งสัตว์พืชสิ่งที่เราใส่เข้าไป หรือมะนัวร์ เขาเรียกว่า ตัวเร่ง (Catalyser) เร่งให้เกิดตัวเล็ก ๆ ที่เรา มองไม่เห็น ให้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ตัวโตก็จะกินตัวเล็ก ไรแดง หนอนแดง จะเต็มไปหมด ปลาดุกก็กิน ได้ ผมเคยทดลองในบ่อ ขนาด 50 ไร่ ที่นครปฐม สาดแค่ครึ่งบ่อ ปรากฎว่า ปลามารุมอยู่ฝั่งที่เราสาดน้ำ ชีวภาพ เพราะน้ำมะนัวร์ทำให้เกิดอาหารธรรมชาติ น้ำป่าหลากลงมา ปลาในบ่อวางไข่ ออกลูกทำไมโต เร็ว ใครให้อาหาร อาหารเกิดอย่างไร ก็เกิดจากนี่ เราไม่มีน้ำป่าหลากมา เราก็ทำน้ำป่าเอง เรียกว่า มะนัวร์ หรือตัวเร่ง เจ้าของฟาร์มนี้เลิกซื้ออาหารให้ปลาดุกแล้ว วิธีการนี้ ใช้ได้กับสัตว์น้ำทุกชนิด ไม่เหมือนอาหารเม็ด ถ้ากินเหลือแล้วน้ำจะเน่า วิธีการใช้คือ เอาน้ำมะนัวร์ 1 ลิตรน้ำ/ล้านลิตร คิดง่าย ๆ เนื้อที่ 1 ไร่ ใช้น้ำประมาณ 5 ลิตร ถ้าไม่มีน้ำเอาผสมน้ำ 50 ลิตร ปิ๊บหนึ่งใส่ 300-400 ซีซี ใส่บัวรดดิน ให้จะลินทรีย์ในดินย่อย พอมีน้ำสาดน้ำอีกที สัตว์หน้าดิน จะเกิดไขมัน ถูกกระตุ้นก็จะเกิดเต็มไปหมด พอเอาลูกปลา ลูกกุ้ง ปล่อยรอดหมด เพราะน้ำถูกทำให้ สะอาดให้เหมือนน้ำป่าไหลมาจริง ๆ อาหารธรรมชาติเกิดเต็มไปหมด เมื่อปล่อยลูกปลา ลูกกุ้ง ก็สามารถจับกินได้เต็มที่ เหมือนเด็กคลอดมาได้กินนมแม่ เพราะฉะนั้นต้องรู้จักธรรมชาติ จะเลี้ยงปลาต้องรู้จักธรรมชาติของปลาดี จะเลี้ยงกุ้งต้องรู้จัก ธรรมชาติกุ้งดี กุ้งเป็นแมลงน้ำ ยิ่งกุ้งกุลาดำเขาเรียกแมลงเสือ Tiger Shrimp ดุ ต้องมีอาณาเขตหากิน ถ้ามันกวาดอาหารไปรวมอยู่ ใครเข้าไปมันจะไล่กัด ฉะนั้น เราต้องรู้นิสัยของสิ่งที่เราเลี้ยง เราจึงเป็น เกษตรกรที่ดี หลักการ 4 ข้อ ของเศรษฐกิจพอเพียง ต้องไม่ลืม

 1. การปลูกฝังวัฒนธรรมความเพียงพอ

2. เทคนิคชีวภาพ หรือเทคนิคอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยผง ปุ๋ยหมัก สมุนไพร ไล่แมลง ฮอร์โมน การอนุรักษ์ระบบนิเวศของแมลง

3. การสะสมทุน ทั้งทุนทางสังคม ทุนทางธรรมชาติ และทุนเงิน

4. การฝึกการจัดการทำวิสาหกิจชุมชน ฝึกการจัดการ การทำธุรกิจชุมชน หลักการ 3 อย่างของเกษตรชีวภาพ

1. เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช

2. ปรุงอาหารเลี้ยงดิน

 3. ห่มดิน ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือจะต้องเป็นไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

ก้าวที่ 1 ห่มดิน ก้าวนี้มั่นคง

ก้าวที่ 2 ยึดมั่นหลักการ 4 ข้อ คือ ความพอเพียง (เทคนิคชีวภาพ การสะสมทุนและการจัดการ ) ให้พึ่งตนเองให้ทำกินให้ได้ 1 ใน 4 แล้วค่อยคิดเรื่องค้าขาย วิธีทำ จะทำอย่างไร ก็คือคิดเรื่องอาหาร เรามาทบทวน ว่า เราจะไปควักกระเป๋าซื้ออะไรกิน เช่น ข้าว น้ำปลา ถ้าเราปลูกทุกอย่าง อย่างที่ อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ ผมให้สูตรต้นไม้ 9 ชนิด ๆ ละ 9 ต้น เช่น ข่า กล้วย มะนาว แค่นี้ก็เหลือกิน และมีเหลือสำหรับซื้อสิ่งของอื่น ๆ 3 ใน 4 เราต้องเสียเงิน แต่ 1 ใน 4 เราอย่าเสียเงินซื้อเด็ดขาด ก้าวแรก คือ มีกิน

ก้าวที่สอง คือ การรวมกันเพื่อจัดการกับของเหลือ (กิน) การเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า คนที่เขต ลาดพร้าว ซื้อทุเรียน 35 ล้านบาทต่อปี คนจันทบุรี ขายทุเรียนได้เงิน6 ล้านบาท เงินที่เหลือตกอยู่กับ พ่อค้าคนกลาง แต่ถ้าคนซื้อกับคนกินถือหุ้นกันกำไรก็จะอยู่กับทั้งคนซื้อและคนกิน คนซื้อ ๆ ถูก แต่คน ขายกลับขายได้แพง เพราะฉะนั้น มันจะหมุนอยู่ภายในถ้าพวกเราอยากให้เกิด นี่คือ ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ สอง ขณะนี้กำลังมีการผลักดันวิสาหกิจชุมชน ให้เป็นกฎหมาย และชุมชนต้องมีบริษัทวิสาหกิจของ ตัวเองให้ได้ ไม่จำกัด แต่รัฐต้องเอาเงินมาช่วยหนุน แต่ยังไม่รู้ว่ากฎหมายจะเป็นอย่างไร เราจะเป็น พ่อค้าด้วยกัน เป็นลูกค้าให้น้อยลง หัวข้อแรกที่ทำการรณรงค์ ให้ความสำคัญ ลำดับที่ 1 คือ การปลูกวัฒนธรรมพอเพียง ลำดับที่ 2 เรามาฝึกเทคโนโลยี ลำดับที่ 3 กลับบ้านไปสะสมทุน 3 อย่าง คือ ทุนทางสังคม ทุนธรรมชาติ และทุนเงิน ลำดับที่ 4 คือฝึกว่าจะจัดการอย่างไรให้ดินเรามันฟื้นขึ้นมาให้ได้ จะมาปรุงอาหาร ให้แม่พระธรณีได้อย่างไร การทำกสิกรรมที่แท้จริง การปลูกพืชที่แท้จริง คือ การเลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช ฝรั่งเขียนว่า Feed the Soil and Let’s the Soil feed the plant ก็คือ เลี้ยงดินแล้วปล่อยให้ดินเลี้ยงพืช เอง นี่คือตำราเกษตรทั่วโลก ไม่ใช่ตำราเกษตรเคมีที่เขาหลอกขาย N P K กระบวนการหลอกขาย N P K นี่คือหลอกกันทั้งโลก และก็เขียนตำราใหม่ขึ้นอีกชุดหนึ่ง ตำราที่แท้จริง คือ เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยง พืช คนไทยรู้มาตั้งนานแล้ว เลี้ยงแม่พระธรณีแม่พระธรณีไปเลี้ยงแม่พระโพสพ เราหาขี้วัว ขี้ควาย ไปเลี้ยงแม่พระธรณี เราถูกสอนอย่างนี้มาเป็นพัน ๆ ปี เราพึ่งถูกฝรั่งหลอกแค่ 40 ปี เท่านั้นเอง เราอยู่มา ได้เป็นพัน ๆ ปี หลักการนี้ผมเลี้ยงดินในบ้านที่โทรมสุด ๆ ผมพูดเมื่อก่อนไม่มีใครเชื่อ ผมเริ่มจาก การทำนาเพียง 3 ไร่ เอาเศษอาหารคนนี่แหละ มาหมักให้ถูกวิธี ปรุงให้ดี เอาไปเลี้ยงดิน ๆจะฟื้นฟูภาย ใน 2-3 เดือน แล้วกลับมาเลี้ยงต้นข้าวให้งาม ไม่ต่างอะไรกับดินที่เปิดป่าใหม่ ๆ อุดมสมบูรณ์ ถ้าเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึง ให้หมักฟางเสียก่อน 7 วัน ฟางจะเน่าเป็นปุ๋ย แล้วตีเทือกเลย นี่คือพลังของแม่พระธรณี พลังของจุลินทรีย์ตัวเล็ก ๆ ยิบ ๆ ในดิน แหล่งเกิดปุ๋ยในบ้านเรามีสองแหล่งหลัก ๆ คือ ในกระเพาะสัตว์ และอีกที่หนึ่ง เกิดในป่า ใบไม้ที่ร่วงลงมาฝนชะ เอาไปไว้ในที่ลุ่ม ที่ต่ำ ขังเป็นแอ่งใหญ่ ๆ บางแห่งกว้างเป็นเมตร บางที่หลายสิบเมตร ในนั้นคือแหล่งผลิตปุ๋ยที่ดี ฝนตกก็ชะลงมา ไหลสู่ท้องนาข้าวก็งาม เพราะแหล่ง ผลิตปุ๋ยในป่าคือการเอาใบไม้มาหมักนั่นเอง หมักในกระเพาะ หรือในป่าเป็นร้อยปี พอน้ำหลากไหลลง นา นาข้าวจึงงาม กุ้ง หอย ปู ปลา ก็วิ่งขึ้นไปหาน้ำใหม่ มันจึงโตเร็ว แหล่งผลิตปุ๋ยที่อยู่ในป่า มันหายไป หมด เอาพื้นที่ไปปลูกพืชขาย คิดเรื่องเศรษฐกิจการค้าไม่ได้คิดที่จะทำกินเลย อำดภอบ้านบึง เป็นต้น กำเนิดไร่อ้อยที่ยิ่งใหญ่ จนมีเพลงสาวไร่อ้อย ของ มรว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ เงินหมุนมากที่สุดเมื่อก่อน อยู่ที่อำเภอบ้านบึง เพราะคนยังทำไม่มาก ต่อมาขยายที่จังหวัดกาญจนบุรี แล้วต่อมาที่อีสาน โคราช วังน้ำเขียว แต่ตอนนี้เจ๊งกันไปมากแล้ว ส่วนที่เขาใหญ่ในวันนี้ ก็ไม่ต่างจากที่บ้านบึง นิยมทำไม้ผลรอบ เขาใหญ่ ตัด ริบ สุม เผา แล้วปลูกผลไม้ ไม่กี่ปีฝนก็ชะหน้าดินหนีหมด เพราะเป็นพื้นที่ลาดชัน เหลือแต่ แก่นดิน แม่พระธรณีผอมจนเหลือแต่ซี่โครง เมื่อดินไม่มีปุ๋ยก็ต้องซื้อปุ๋ย วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นสารที่ทำ ให้ดินเป็นกรดมากขึ้น จุลินทรีย์ก็ตายลงไปเรื่อย ๆ ต้นไม้เมื่อมีอาหารแค่ 3 ชนิด ก็อ่อนแอ เชื้อโรค และ แมลงก็เข้าทำลายได้ง่าย ก็จำเป็นต้องซื้อสารเคมีต่อเนื่องมาอีกมากมายหลายชนิด แต่ที่สุดก็เจ๊ง คนสมัยใหม่คิดแต่ว่าตัวเองรู้เรื่องปุ๋ยเคมี สารเคมี ราคาแพง ๆ ก็สามารถซื้อหามาได้ แต่ เอาเข้าจริง ยิ่งใช้เยอะยิ่งเจ๊งเร็วขึ้น ไม่ใช่เรื่องดีเลย ใช้มากเท่าไหร่ เสี่ยงทั้งต่อการขาดทุน และเสี่ยงต่อ การเจ็บไข้ได้ป่ายมากขึ้นเป็นทวีคูณ หลังจากการใช้สารเคมี ดินที่ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ก็เสื่อมโทรมลงไปมากหญ้ายัง ไม่อยากเกิด เพราะใช้สารเคมีมาก ทำให้ดินโทรมลงไปทุก ๆ วัน อย่างไรก็ตามปัจจุบัน พื้นที่แบบนี้ เกิดขึ้นทั่วประเทศ ท่านผู้อ่านคงได้ข้อคิดและประโยชน์จากแนวคิด และการทำงานของอาจารย์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร บ้าง ไม่มากก็น้อย หรือหากสนใจอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม หรือเอกสารเผลแพร่ ก็ติดต่อ อาจารย์ ได้ที่ บ้านเลขที่ 1057/2 หมู่ 12 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2361-6349 โทรสาร 0-2361-6350 หรืออยากจะไปเที่ยวชม เรียนรู้ รับประทาน ผักปลอดสารเคมี หรือนอนค้างอ้างแรม ที่มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ท่ามกลางท้องทุ่งอันสงบเงียบ ในบรรยากาศ ทุ่งนา ป่าเขาอาจารย์ก็มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง มีข้อแม้เพียงอย่างเดียว ก็คือ ต้องสนใจและ ใจรักจริง ๆ เท่านั้น

“ อย่าลืม ก้าวที่ 1 ต้องหยุดสารพิษให้ได้ ต้องยืนจุดนี้ให้มั่น “

 

 คัดลอกจาก

บทความเรื่อง: วิวัฒน์ ศัลยกำธร กับมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
โดย: ศักดา ศรีนิเวศน์  [email protected]
การเกษตรที่เอื้อต่อสุขภาพ
เครือข่ายสาขานโยบายการเกษตรและชนบท
หมายเลขบันทึก: 114641เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2007 06:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท