การปฏิรูประบบราชการ โดยการประเมินแบบเร่งด่วน (Rapid Appraisal)


การปฏิรูประบบราชการ โดยการประเมินแบบเร่งด่วน (Rapid Appraisal)        

          คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ เกี่ยวกับการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยมของระบบราชการ      เชิญ ศ. ดร. อมรา พงศาพิชญ์  ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย     มานำเสนอเรื่องเทคนิค RRA – Rapid Rural Appraisal, PRA – Participatory Rural Appraisal และ PAR – Participatory Action Research    ทำให้ผมได้เรียนรู้ว่าเครื่องมือเหล่านี้เกิดขึ้นในประเทศไทยนี้เอง     โดยมี มข. เป็นแกนนำ      และผมคิดว่า KM ก็เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของ RRA ได้    

         ทำให้ผมเห็นโอกาสในการ ชวนนักมานุษยวิทยามาร่วมงานเปลี่ยนแปลงระบบราชการ      มองการเปลี่ยนแปลงแบบ มนุษย์นิยม ไม่มองแบบวัตถุ-กลไก     มองมนุษย์ (ข้าราชการ) ว่ามีชีวิต มีจิตใจ มีวิญญาณ มีจิตใจใฝ่ดี     มองการเปลี่ยนแปลงจากภายใน     ไม่ใช่เน้นอำนาจบังคับ     

          มองชาวบ้าน (ข้าราชการ) เป็นผู้รู้    รู้ดีมากเฉพาะเรื่อง   

 

          ในกระบวนการ RRA นักมานุษยวิทยาทำงานเป็นทีม     ทำงานล่วงหน้า     ทำงานสนามแบบ intensive    เขียนรายงานเสร็จภายในเวลา (เช่น 7 วัน) 

   

          ใช้หลายเทคนิค  ได้แก่ สัมภาษณ์เจาะลึกเดี่ยว, group discussion,  สังเกต,  SWOT, AIC, focus group interview,  etc.   และผมคิดว่า KM ก็เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งใน RRA, PRA, PAR

           ยึดหลัก ไตรมิติ (Triangulttion)  อย่างน้อย 3 ในทุกเรื่อง     ซึ่งผมมองว่าจริงๆ แล้วน่าจะเป็น พหุมิติ มากกว่า 

                  1. เนื้อเรื่อง          

                  2. แหล่งข้อมูล

                  3. เทคนิค

           นิยมทำในช่วงต้นของโครงการ     โดยเฉพาะเพื่อ site selection     ให้ได้สภาพทั่วไป ที่เหมาะต่องาน    

          ทีมแกนนำในการพัฒนาเทคนิค RRA, PRA ของไทยได้แก่ ศ. ดร. เทอด (ผู้ล่วงลับ),  รศ. ดร. สุริยา สมุทคุปติ์,  อดีตรองอธิบดี  อนันต์ ดาโลดม,  รศ. ดร. มรว. อคิน รพีพัฒน์    คือนำโดยนักเกษตร และนักมานุษยวิทยา    ร่วมกับนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย Sussex     เกิดแนวความคิดให้คุณค่า ITK (Indigeneous Technical Knowledge)  เน้น function ไม่เน้น form แบบวิชาการ     เป็นต้นกำเนิดของแนวคิดการพัฒนาแบบ AFP (Area, Function, Participation)  

จุดเด่น       

         ประหยัดเวลา     แก้เรื่องมีเวลาน้อยโดยเพิ่มคน   ทำงาน intensive    ทำงานล่วงหน้า     ใช้หลายวิธี    

         ใช้ค้นหาปัญหา   เข้าใกล้สาเหตุได้เร็วขึ้น        

         ใช้ประเมินผลได้    

ข้อด้อย    

         โอกาสคลาดเคลื่อนมีสูง     ถูกวิจารณ์ว่า quick and dirty     จึงแก้ด้วยตัววัดที่ดี     

          ที่น่าเสียดายคือพัฒนาการของเครื่องมือนี้ขาดช่วงไปในทางวิชาการ      แต่อาจมองได้ว่า มีพัฒนาการต่อ โดยทางการสุขภาพ ฉีกแนวออกไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการ HA Hospital Accriditation  (การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล)      มีกระบวนการที่ใช้หลัก RRA อยู่มาก           แต่ในทางปฏิบัติ ได้มีวิวัฒนาการต่อเนื่อง     แนวคิดเรื่องการสร้างการเปลี่ยนแปลงจาก คนนอก     เปลี่ยนไปเป็นคนนอกร่วมกับคนใน (ชุมชน)       และเวลานี้เน้นคนในเป็นผู้ดำเนินการหลัก ที่เรียกว่า  PCRD – People – Centered Rural Development        คนนอกเป็น facilitator      ที่เรียกว่า Development version 3    และแนวคิดพัฒนาแบบบูรณาการ ที่รัฐบาลปัจจุบันยึดถือ     เหล่านี้พัฒนาการมาจาก แนวคิดและเครื่องมือ RRA, PRA, PAR ทั้งสิ้น     โดยที่ข้าราชการใน version 3  ได้ชื่อว่าข้าราชการนอกคอก    หรือกบฏ

        ทำให้ผมเล่าเรื่องคุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ แห่ง สสจ. พิจิตร ให้ที่ประชุมฟัง และชวนไปเยี่ยม          

                ผมได้เสนอต่อที่ประชุมว่า  โครงการที่ รศ. ดร. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ดำเนินการหาหน่วยงานตัวอย่างที่มี best practice เป็นวิธีการที่ลงลึก  ละเอียด แต่ช้า   ผม คิดว่าต้องการการค้นหาแบบเร็ว     หา กองทัพข้าราชการที่มีการเปลี่ยนแปลงจากภายใน

 

            ในเอกสารเรื่อง RRA, PRA, PAR ที่แจก เพียง เปลี่ยนคำว่า เกษตรกรหรือชาวบ้าน เป็นข้าราชการ    ก็จะนำมาใช้กับการดำเนินการเปลี่ยนแปลงข้าราชการได้

            เปลี่ยนแปลงโดยคนใน (ข้าราชการ) เป็นพระเอกนางเอก          น่าจะไปเยี่ยม กบฏ”   

         ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า ต้องเน้นประเมิน กระบวนการ มากกว่าประเมินเป้าหมาย     เน้นการดำเนินกระบวนการโดยข้าราชการเอง     เน้นการหาเรื่องราวของการริเริ่มดีๆ ของข้าราชการ     นำมาต่อยอด สร้างการเคลื่อนไหวไปสู่เป้าหมายการเปลี่ยนแปลง 

วิจารณ์ พานิช

25 ก.ค. 50

 

หมายเลขบันทึก: 114505เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2007 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนท่านอาจารย์ครับ

  • ดีใจที่ท่านอาจารย์อมรา นำเอา RRA และชุดของ RRA ที่พัฒนาขึ้นไปเป็น PRA, PAR และ ฯลฯ มาใช้กับข้าราชการ
  • ผมใช้ PRA อยู่ในปัจจุบันขณะนี้ และใช้มานานในหลายพื้นที่เกี่ยวข้องกับชนบท เทคนิคบางส่วนผมก็นำมาเผยแพร่ผลใน G2K นี้ครับ
  • มีประโยชน์มากครับ ผมว่าจุดเด่นมีมากกว่าจุดด้อย  และใช้กันทั่วโลก โดยเฉพาะในวงการพัฒนาชุมชน
  • ขอบคุณครับ

การปฏิรูปราชการแบเร่งด่วนต้องปฎิรูปอะไรก่อน?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท