ว่าด้วยศิลปะและวาทกรรมหลังสมัยใหม่


สังคมยุคนี้เป็นสังคมค่านิยมหลังสมัยใหม่ที่เชื่อว่าไม่มีความดีงามหรือความเลวทรามสมบูรณ์
ศิลปะเป็นการถ่ายทอดความรู้สึก/ประทับใจของคนผ่านสื่อ เช่น วรรณกรรม ภาพถ่าย   ภาพวาด ดนตรี ฯลฯ
ความเป็นศิลปะวัดกันที่พลังในการถ่ายทอดความรู้สึก/ประทับใจ
ถ้าคนรับสื่อรับรู้ได้ถึงความรู้สึก/ประทับใจนั้นมากก็ถือว่า
มีความเป็นศิลปะมาก
นอกจากนี้ก็มีศิลปะที่ดีกับศิลปะที่เลว
ศิลปะที่ดีคือ
การถ่ายทอดความรู้สึก/ประทับใจที่เป็นการรวมมนุษย์และสรรพสิ่ง  เข้าด้วยกันด้วยความรักความเข้าใจ
ทำให้เกิดความปิติ อิ่มเอิบใจ เกิดอิสระภาพทางจิตใจ

ศิลปะที่เลวก็ตรงกันข้าม
เนื้อหาโดยสรุปข้างต้น ผมเก็บความจากความทรงจำในการอ่าน
งานเขียน what is art ? ของตอลสตอยเมื่อกว่า10ปีมาแล้ว
ความสามารถในการวาด การเขียน  ดนตรี เป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะที่เป็นเทคนิค
หัวใจของศิลปะคือ ความรู้สึก/ประทับใจของมนุษย์ในเรื่องราวใดๆที่สื่อให้คนอื่นๆรับรู้
การวาดภาพเหมือนจึงไม่ใช่งานศิลปะตามนิยามของตอลสตอย
คนที่จะสร้างงานศิลปะที่ดีนอกจากจะมีความสามารถทางเทคนิคแล้ว
ก็ต้องมีความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกส่วนลึกของความเป็นมนุษย์
ในตัวเองที่มีทั้งดีเลิศประเสริฐศรี และเลวระยำตำบอน

ถ้าเขายกย่องสิ่งดี และประนามสิ่งเลวสอดคล้องกับสามัญสำนึกของมนุษย์ก็เป็นศิลปะที่ดี
ถ้าเขาสลับข้างหรือมั่วๆ ยกย่องในสิ่งที่ควรประนามจนกลายเป็นค่านิยมมายาที่ปิดบังสำนึกส่วนลึกของมนุษย์ซึ่งตอลสตอยเชื่อว่าสามารถรับรู้ได้ในความดีงามและเลวทรามทั้งปวง ก็เป็นศิลปะที่เลว
แต่สังคมยุคนี้เป็นสังคมค่านิยมหลังสมัยใหม่ที่เชื่อว่าไม่มีความดีงามหรือความเลวทรามสมบูรณ์
อยู่ที่การให้คุณค่าของกลุ่มคนที่แตกต่างกัน สรุปคือ
ใครใคร่ทำอะไร ก็ทำกันไป ไม่มีอะไรที่เป็นแก่นสารแน่แท้ของชีวิต
ก็ถูกต้องตามกรอบคิดนี้
เพราะคนที่อยู่ในกรอบคิดนี้ ก็ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารอย่างนั้นจริงๆ
หมายเลขบันทึก: 114321เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2007 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
คิดว่าวาทกรรมยุค post modern มีส่วนทำให้ผู้คนละเลยมิติทางจิตวิญญาณและทำให้ "ศรัทธา" แห่งความเป็นมนุษย์ลดน้อยถอยลง หากแต่วิกฤติที่ผ่านมาของสังคม ได้ทำให้ผู้คน "ตั้งคำถาม" และ "แสวงหาคำตอบ" ที่จะทำให้โลกใบนี้มีสันติสุขมากขึ้น จากการติดตามความเคลื่อนไหวของนักคิดนักเขียนทั้งในบ้านเราและหลายประเทศ ตัวเองมีความรู้สึกว่า...เรากำลังเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านของสังคมอีกครั้งหนึ่งคือ ยุค "new age" ว่าด้วยความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ (จริง ๆ ก็คือธรรมชาติของสรรพสิ่ง เพียงแต่ที่ผ่านมาเรายังเข้าไม่ถึงความจริงแท้ของธรรมชาติ)ซึ่งเป็นเรื่อง "อจินไตย" คือเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถที่จะเข้าใจโดยผ่านกระบวนการ "คิด" หากแต่ต้องมี "ประสบการณ์ตรง" จากการปฏิบัติจริงเท่านั้นจึงจะเข้าใจได้ อาจารย์ภีมอย่าลืมแบ่งเวลาอ่านเรื่องราวของไอน์สไตน์และพระพุทธเจ้าเล่มล่าสุดนะคะ...เนื้อหาและคำอธิบายในหนังสือช่วยให้เราเข้าใจความสัมพันธ์และความแตกต่างระหว่าง "ความคิด" และ "ความจริง" ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชีวิต ของโลกและของจักรวาล...อ่านจบแล้ว หากมีโอกาสคงได้วิวาทะกันใหม่ค่ะ
นกคนใจบุญที่ช่วยออมบุญวันละหนึ่งบาท

นกระบายด้วยนะ

คุณภีมกับอาจารย์ตุ้ม รู้สึกว่าท่านทั้งสองนี้พูดภาษากินใจนกมากเลยบางครั้งเราทำงานให้ก็ยังไม่มีผลตอบรับที่ดีให้กับเราแต่พวกเราก็ยังทำให้อยู่ทั้งๆ สิ่งเหล่าที่พวกเราเป็นผู้ให้อย่างเต็มที่อยู่แล้ว มันเหมือนกับการเล่นเกมส์อย่างหนึ่งนะไปประชุมสัมมนาที่ไหนบางทีก็ไม่อยากจะไปเลยถ้าเจอกับสิ่งที่ตัวเองยอมรับไม่ค่อยได้แต่ก็ไป บางครั้งนึกน้อยใจเหมือนกันนะว่าสิ่งที่เราทำเพื่อสังคมในบ้านเราแล้วมันมีผลตอบรับในทางตรงกันข้ามกับสิ่งที่พวกเราคาดหวังไว้ตอนนี้เริ่มอาการอยากทำงานแบบพ้นไปวันๆ แล้วนะ

คิดว่า "ศิลปะ" ไม่ว่าจะดีหรือเลว    ได้สะท้อนความสัมพันธ์อะไรบางอย่างระหว่างผู้สร้างงานนั้นกับสิ่งที่เขาแสดงออก

ภาพวิว  คงสะท้อนความรู้สึก (สื่อถึงความสัมพันธ์)ของผู้วาดต่อธรรมชาติ   ในทำนองเดียวกัน  ภาพคน ภาพ abstract ที่ดูยาก  หรือแม้แต่ภาพเขียนพู่กันจีนที่เรียบง่าย (ชอบมาก)  บทกวี บทเพลง ฯลฯ ก็สื่อถึงความสัมพันธ์อะไรบางอย่าง  เหล่านี้ล้วนเป็นศิลปะที่สะท้อนมุมมองต่อชีวิต ต่อโลก (ไม่ว่าจะสวยงาม  ดีงามหรือไม่ก็ตาม)

ในทางตรงข้าม  ดนตรีที่ไม่สื่อความสัมพันธ์อะไรเลยระหว่างผู้เล่นกับเครื่องดนตรีหรือบทเพลงที่เขาแต่งเขาร้อง (นอกจากเพื่อขายเทป)   ภาพวาด รูปปั้น ที่ปั๊มออกมา  ไม่สื่อความหมายใดของความสัมพันธ์จึงไม่น่าจะเป็นศิลปะค่ะ

เขียนแบบคนไม่รู้เรื่องศิลปะ ++ 

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท