งานวิจัยสู่งานประจำ( 4 )


เทคโนโลยีด้านการเตรียมพื้นที่ปลูกส้ม

     สรุปผลการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกส้มของเกษตรกรผู้ปลูกส้มรายย่อย ตำบลยางสูง   ต่อจากตอนที่3 ในงานวิจัยสู่งานประจำนะครับ    เทคโนโลยีด้านการเตรียมพื้นที่ปลูกส้มมีดังนี้ 

(1)การขุดคลองหรือร่องเพื่อรองรับน้ำ ในรูปแบบแก้มลิง และการระบายน้ำ โดยใช้ระบบฝังท่อระบายน้ำ เพื่อช่วยสามารถน้ำออกได้อย่างรวดเร็ว

 

(2) จัดเก็บตัวอย่างดินบริเวณแปลงปลูกส้มของเกษตรกร ส่งหน่วยงานเพื่อตรวจสอบวิเคราะห์ pH,ธาตุอาหาร,โครงสร้างดิน

  

   (3) การไถปรับดินก่อนปลูกส้ม ต้องมีการปรับปรุงบำรุงดิน ด้วยอินทรีย์วัตถุ

  

   (4) การย่อยดินเพื่อยกโขดดินปลูกส้ม  โดยการใส่ปุ๋ยคอก,ปุ๋ยหมัก, เพื่อปรับปรุงดิน

  

   (5) การปรับพื้นที่ก่อนปลูกส้มให้เสมอ คันดินที่ยกขึ้นใหม่ ทำการตากดิน เพื่อให้เกิดการยุบตัวคงที่

 

    (6)ปรับดินบริเวณโคนต้น ไม่ให้น้ำแช่ขัง โดยพูนดินผสมปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก ที่มีการย่อยสลายดีแล้ว

  

(7) ปรับสภาพดินที่มีหน้าดินแข็ง และขอบคันดินปลูกที่เกิดการพังทลาย แล้ว โดยใช้เศษพืชหรือฟางข้าวคลุม เพื่อ   รักษาความชื้นไว้ในดิน

 

       ข้อสรุปของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเตรียมพื้นที่ปลูกส้ม คือการขุดคลอง หรือ ขุดร่อง เพื่อรองรับน้ำในสภาพพื้นที่ปลูกส้มในที่ลุ่ม ในรูปแบบแก้มลิง และมีการระบายน้ำออกจากโขด  โดยใช้ระบบฝังท่อระบายน้ำ เพื่อช่วยให้น้ำสามารถระบายออกได้อย่างรวดเร็ว

หมายเลขบันทึก: 113877เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2007 18:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท