ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (7)


ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (7)

ข้อเสนอของรองเลขาธิการ สพฐ.  นางอารีรัตน์  วัฒนสิน

         เสนอประเด็นจากการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาหลักสูตรฯ   "เรื่องที่จะทำมีทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว   แผนระยะสั้นจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับโรงเรียน   จะสร้างความรู้ความเข้าใจ   เรื่องแรกจะสร้างความรู้ความเข้าใจให้ตรงกันตามที่ท่านรัฐมนตรีบอกว่าความรู้ความเข้าใจยังไม่ตรงกัน   เราไปรวบรวมมาพอสมควรแล้ว   ให้นิยามคำศัพท์แล้ว   ระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละระดับแล้ว   จะเอามาเขียนเป็นเอกสารที่ให้ความรู้ทำให้เสร็จภายในเดือนมกราคมนี้   เป็นเอกสารเกี่ยวกับเรื่องสำคัญ ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่   ทำความเข้าใจคู่มือแนวทางการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน   สร้างความเข้าใจ   พร้อมทั้งให้คำนิยามบทบาทหน้าที่ใหญ่ ๆ 4 - 5 เรื่องด้วยกัน   ได้แก่ตัวหลักสูตร   หนังสือเรียน   สื่อการเรียน   วิธีจัดการเรียนการสอน   การวัดการประเมิน   หลังจากนั้นจะนำเสนอให้เห็นว่านิยามคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับ 4 เรื่องใหญ่ ๆ มีอะไรบ้าง   แบ่งบทบาทหน้าที่กันอย่างไร

        ในบทที่ 3 เน้น 4 เรื่อง   ใครจะทำอะไรที่ตรงไหน   ลงไปถึงระดับสถานศึกษาเลย

        บทที่ 4 จะนำเสนอให้เห็นว่าในการจัดกระบวนการเรียนการสอนตามธรรมชาติของแต่ละกลุ่มสาระมีจุดเน้นอยู่ตรงไหน   มีกิจกรรมที่ควรจะเสนอแนะอย่างไร   และจะพยายามโยงไปสู่กิจกรรมที่พัฒนาสมอง   brain - based learning จะบอกว่าวิชาคณิตศาสตร์ต้องใช้กิจกรรมลักษณะนี้   ถ้าวิทยาศาสตร์จะเป็นลักษณะนี้โดยจะให้ภาพกว้าง ๆ เท่านั้น   ไม่เจาะลึกไปว่าต้องสอนขั้นตอนที่ 1,  ขั้นตอนที่ 2,  ขั้นตอนที่ 3...

         สำหรับบทที่ 5   นำเสนอให้เห็นว่าตามแนวนโยบายเร่งด่วนแต่ละเรื่องจะต้องดูแลอะไร  ดูแลอย่างไร  หลักสูตรท้องถิ่นจะทำกรอบใหญ่ ๆ ในระดับกระทรวงแล้วปล่อยให้เขตพื้นที่ไปทำกรอบละเอียด   แล้วให้โรงเรียนไปพัฒนาการเรียนการสอนเอง   การเรียนการสอนแบบบูรณาการเป็นเครื่องเชื่อมโยงศาสตร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน   การสอนแบบคิดวิเคราะห์   ผลการประเมินของทุกหน่วยงานไม่ว่าโดย สมศ.,  กรมวิชาการ ฯลฯ ขาดมาก   ในต่างประเทศเขาจัดเป็นวิชา   ของเรายังไม่ได้จัดเป็นวิชา   แต่ระบุว่าในทุกวิชาสามารถใส่กระบวนการคิดวิเคราะห์เข้าไปได้   การประเมินตามสภาพจริงเป็นความพยายามของกระทรวงศึกษาธิการมาหลายปีแล้วแต่ยังทำไม่สำเร็จ   การประเมินคุณธรรมจริยธรรมยังทำไม่สำเร็จ   การประเมินตามสภาพจริงจะเอาผลมาปรับการเรียนการสอน  ปรับพฤติกรรม   พัฒนาการของเด็กได้ทันทีตลอดเวลา     จะเน้นห้องสุมดมีชีวิตในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้โรงเรียนนำไปปฏิบัติได้เอง   ให้เหมาะสมกับแต่ละระดับ   เราช่วยกันวิเคราะห์ใน 6 เรื่องใหญ่ ๆ    ในแต่ละเรื่องจะทำคู่มือให้เห็นภาพว่าเป็นเพียงเกณฑ์   ตรงกันที่ผู้ทรงคุณวุฒิอภิปรายให้เอาของดีของเด่นที่มีในพื้นที่   เอามาอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน   ให้เกิดการพัฒนา  เกิดการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนแผนปฏิบัติงาน
     - กิจกรรมที่ 1   จัดทำเอกสารเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน
           - คู่มือ (7 ชิ้น)   จะเสร็จภายในเดือนมกราคม (2549) จะไม่ลงรายละเอียดเป็นเล่มบาง ๆ เป็นเกณฑ์สำหรับไปดู   ว่าเรื่องเหล่านี้มีดีอยู่ที่ไหนในพื้นที่ดึงเอามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้   เอกสารเกี่ยวกับเรื่องดีเรื่องเด่นได้ทำไว้เยอะแล้ว   แบ่งเป็นคณิตศาสตร์ประถม  คณิตศาสตร์มัธยม   ทำตัวอย่างไว้เยอะมาก   รวมทั้งตัวอย่างที่เปนรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์ก็รวบรวมไว้เยอะ   แต่ว่าพอส่งไปแล้วก็เป็นอย่างที่ท่านทั้งหลายอภิปราย   ไม่มีคนอ่าน   ไม่มีคนเอาใจใส่ดึงเอาไปใช้   เรามี web media center บอกว่ามีใครทำอะไรอยู่ที่ไหนในประเทศไทย  ถ้าเข้าเว็บนี้ไปหาได้   สมมติอยากดูวิธีสอนดี ๆ ของครูในจังหวัดร้อยเอ็ดสักเรื่องหนึ่ง  คลิกเข้าไปก็จะพบ   แต่ไม่ค่อยมีคนเข้าไปใช้   พอกระตุ้นก็มีคนเข้ามาเป็นร้อย ๆ แล้วเหมือนกัน

    - กิจกรรมที่ 2   ประชุมสัมมนาวิชาการด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน
           - เดือนกุมภาพันธ์ (2549) เริ่มลงพื้นที่   สร้างความเข้าใจกับรอง ผอ. สพท. ฝ่ายวิชาการ   กับหัวหน้ากลุ่มนิเทศก์  กลุ่มส่งเสริม  เข้ามาเพียงวันเดียวเพื่อทำความเข้าใจเอกสารเหล่านี้   ให้เขาไปค้นหา   ไปบริหารจัดการในพื้นที่ของเขาเอง
           - ฝึกอบรมวิธีค้นหาแก่วิทยากรระดับ สพท.   ในเดือน ก.พ. - มี.ค. (2549) ใช้เวลา 3 วัน

     - กิจกรรมที่ 3   สพท. สัมมนาวิชาการด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน
            - ประชุม ผอ. สถานศึกษาหรือผู้ช่วยฝ่ายวิชาการภายใน สพท. (1 วัน)   ให้เข้าใจหลักสูตรทั้งหลักสูตร   เอกสารหลักสูตรที่ส่งไปพบว่า ผอ. สถานศึกษาไม่ได้อ่านครบทั้งเล่ม   และไม่เข้าใจเรื่องหลักสูตร
            - ฝึกอบรมครูแกนนำของสถานศึกษา   สถานศึกษาละ 2 - 5 คน (3 วัน) เพื่อให้เข้าใจเกณฑ์ในการเสาะหา
  - หลังจากนั้นจัดสรรงบประมาณลงไปให้ สพท. ให้ สพท. ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือน   โดยใช้เอกสาร 7 ฉบับของ สพฐ. เป็นเกณฑ์หรือคำแนะนำ

     - กิจกรรมที่ 4   สพฐ. และ สพท. ร่วมกันประเมินความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอนและผลการดำเนินการของสถานศึกษา
            - เริ่มเดือนกรกฎาคม (2549) ไปค้นหาความสำเร็จของ 3 เรื่องก่อนในรอบแรก  เอาความสำเร็จมาเผยแพร่
            - และลงไปอีกรอบหนึ่งในเดือนพฤศจิกายน (2549) ตามรอยของการเปิดเรียน   หาความสำเร็จมาเผยแพร่ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่   ไปดูให้เห็นการปฏิบัติจริง   ให้เอาของดีของเด่นในพื้นที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน   เพื่อให้เห็นว่าการปฏิรูปการศึกษาในเขตพื้นที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนในโรงเรียนแล้ว

ที่นำเสนอนี้เป็นแผนระยะสั้น"

ผมขอขยายความว่าคู่มือ 7 ชุดนั้น   ประกอบด้วยเรื่องต่อไปนี้
1. คู่มือแนวทางการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน
2. คู่มือการจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
3. คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
4. คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
5. คู่มือการวัดและประเมินผล (ตามสภาพจริง/คุณธรรมจริยธรรม)
6. คู่มือการจัดห้องสมุดแบบมีชีวิตรูปแบบต่าง ๆ ตามระดับและขนาดของสถานศึกษา
7. คู่มือการจัดกิจกรรมสร้างนิสัยรักการอ่านในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้แต่ละระดับช่วงชั้น

              ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (1)

              ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (2)

              ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (3)

              ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (4)

              ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (5)

              ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (6)

วิจารณ์  พานิช
 31 ธ.ค.48

หมายเลขบันทึก: 11386เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2006 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท