ใช้บล็อกเป็นเครื่องมือจัดการวารสารวิชาการยุคใหม่


ใช้บล็อกเป็นเครื่องมือจัดการวารสารวิชาการยุคใหม่


          ต่อไปนี้เป็นความฝันหรือจินตนาการล้วน ๆ    ถ้าจะมีคนหยิบไปทำก็คงต้องคิดให้ชัดยิ่งกว่านี้


          ประเทศไทย (และประเทศอื่น ๆ) ต้องการระบบวารสารวิชาการยุคใหม่ที่เป็นยุคไอที


          วารสารวิชาการเป็นเครื่องมือให้เกิดการต่อยอดความรู้   ให้เกิดปฏิสัมพันธ์หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิจัย/นักวิชาการ   โดยที่วารสารวิชาการในรูปของกระดาษเป็นพลังสำคัญในโลกวิชาการสมัย 100 ปีก่อนจนถึงปัจจุบัน   แต่พลังดังกล่าวได้เคลื่อนไปสู่วารสารในรูปของ e-publication ในปัจจุบัน   และในอนาคตไอทีจะเป็นพลังให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ความรู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย” จากการทดลองปฏิบัติในชีวิตจริง   ทำให้เกิด “ความรู้ภาพใหญ่” ได้โดยการสังเคราะห์   และการทำเหมืองข้อมูล (data mining)


          เครื่องมือที่จะช่วยให้ความรู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยออกมาปรากฏตัวใน cyberspace และมีปฏิสัมพันธ์ในลักษณะแลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ บล็อก   


          สังคมไทยต้องการวิธีคิดเกี่ยวกับวารสารวิชาการในยุคบล็อก   ต้องการนักจัดการที่จะใช้พลังของบล็อกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานวิจัย   ให้เกิดการสร้างความรู้ภาพใหญ่ขึ้นมาจากความรู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย


                                                                                                วิจารณ์  พานิช 
                                                                                                  21 มิ.ย.48

คำสำคัญ (Tags): #วารสารวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 1136เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2005 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กระแสการใช้ internet เพื่อตีพิมพ์ผลงานวิชาการ กำลังมาแรงครับ
ปัญหาหลัก ก็คือ ความน่าเชื่อถือของการตีพิมพ์วารสาร
เมื่อมีต้นทุนมาก ก็มีแนวโน้มจะต้องน่าเชื่อถือ  ประกอบกับกระบวนการ
review ช่วยให้เนื้อหาที่ผ่านมาถึงขั้นตีพิมพ์ น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

พอมาอยู่บนอินเตอร์เน็ต  ใครๆ ก็สามาารถเขียนอะไรได้ง่าย เลยทำให้
ความน่าเชื่อถือลดลง  อย่างแรกเพราะไม่รู้ว่าใครเป็นคนเขียนกันแน่
และสิ่งที่เขียนนี้ ผ่านการ review หรือไม่ จะน่าเชื่อถือแค่ไหน

ระยะแรก คงจะเห็นการ transfer trust จากโลกจริง มาบนโลกเสมือนก่อน
เช่น อ.วิจารณ์เป็นที่นับถือ เชื่อถือ พอมาเขียนบล็อก ก็ยังคงได้รับความเชื่อถือ
เช่นเดิม  ต่างจาก blog อื่นๆ ที่เป็นใครก็ไม่รู้  เขียนแล้วน่าเชื่อแค่ไหนก็ไม่รู้

ในระยะยาว คาดว่าจะมีกลไกที่เรียกว่า trust system หรือ reputation system
มาเสริม  เช่น การมีคน link มาที่บทความมาก (มี online citation) ก็ทำให้
น่าเชื่อถือขึ้น  ประกอบกับระบบ Identity ที่ระบุได้ชัด ว่าใครเขียน และผู้เขียน
มีความน่าเชื่อถืออยู่เดิมแค่ไหน  ซึ่งกระบวนการส่งต่อ trust ก็จะช่วยได้ เช่น
ถ้าคนรู้ว่า อ.วิจารณ์ เชื่อถือ ผู้เขียนคนหนึ่ง  พอผู้เขียนคนนี้เขียนอะไร คนก็
จะน่าเชื่อถือมากขึ้น  ซึ่งระบบแบบนี้ยังเป็นเรื่องที่อยู่ระหว่างการพัฒนาครับ
ไม่แน่ gotoknow อาจจะพัฒนาระบบนี้ใส่ไปด้วยก็ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท