การทำขนมไทย


การทำขนมไทย

ขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยใช้คำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวาน โดยทั่วไปประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยง  นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ  งานมงคลและงานพิธีการ อาหารหวานที่จัดเป็นสำรับจะต้องประกอบด้วย  ของหวานอย่างน้อย 5 สิ่ง   ซึ่งต้องเลือกให้มีรสชาติ สีสัน ชนิด   ตลอดจนลักษณะที่กลมกลืนกัน แต่ละสำรับจะต้องมีผลไม้ 10 ที่ และขนมเป็นน้ำ 1 ที่เสมอ

           ประเทศไทยครั้งยังเป็นสยามประเทศได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ  เช่น จีน อินเดีย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
โดยส่งเสริมการขายสินค้าซึ่งกันและกัน      ตลอดจนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านอาหารการกินร่วมไปด้วย    ต่อมาในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์          ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง อย่างกว้างขวางไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่าง ๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น  วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคนิสัยแบบไทย ๆ  จนทำให้คนรุ่นหลัง ๆ   แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ ๆ   และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น        เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ     ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราช          จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น  สัญชาติโปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงศุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น  ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองมาเท่านั้น  หากยังให้
ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย  ส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่มักเป็น "ของเทศ" เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจากโปรตุเกส มัสกอดจากสกอตต์

           ขนมไทย   เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี  เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำ       ตั้งแต่วัตถุดิบ  วิธีการทำ ที่กลมกลืน พิถีพิถัน    ในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม   รูปลักษณะชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทาน   ขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ

           ขนมไทยที่นิยมทำกันทุก ๆ ภาคของประเทศไทย    ในพิธีการต่าง ๆ   เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้น ๆ    งานศิริมงคลต่าง ๆ   เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่       ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน      เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง    เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกัน ยืดยาวมีอายุยืน      ขนมชั้น ก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน      ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู
ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น

การทำลูกชุบ1. แช่ถั่วเขียวในน้ำประมาณ 3 ชั่วโมงใส่ลังถึงรองผ้าขาวบาง นึ่งให้สุกเปื่อย นำไปบดให้ละเอียด
2. ผสมถั่วเขียวนึ่งบด น้ำตาลทราย กะทิ ให้เข้ากัน กวนไฟร้อนปานกลาง จนกระทั่งถั่วแห้งปั้นได้ ยกลงพักไว้ให้เย็น 3. ปั้นถั่วที่กวนแล้วให้เป็นรูปผลไม้ชนิดต่าง ๆ   เช่น ชมพู่ เชอร์รี่ มะม่วง พริก ฯลฯ  ใช้พู่กันจุ่มสีระบายถั่วรูปผลไม้ ให้เหมือนของจริงแล้วเสียบไม้เล็ก ๆ ปักไว้บนโฟมพักให้แห้ง
4. เคี่ยววุ้นกับน้ำให้ละลาย ใส่น้ำตาล 1/4 ถ้วย ต้มให้เดือด นำผลไม้ที่ปั้นไว้ลงชุบวุ้นให้ทั่วปักบน
โฟมให้แห้ง  ทำเช่นนี้ประมาณ 3 ครั้ง จนขนมขึ้นเงาสวยงาม ใช้ขั้วมะเขือเทศ ก้านพริกใบไม้
เช่น ใบแก้ว แต่งขนมให้เหมือนของจริง 

สำหรับกลุ่มที่ 4 ของศูนย์ปงก็ได้แนะนำการทำลูกชุบแบง่าย ๆ ให้กับคนที่อยากจะทำนะคะ หากใครมีไอเดียดี ๆ ก็ช่วยแสดงความคิดเห็นได้นะคะ

********************สมาชิกกลุ่มที่ 4 ศูนย์ปง************************

คำสำคัญ (Tags): #การทำขนมไทย
หมายเลขบันทึก: 112748เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2007 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชอบครับ ลูกชุบ

 เป็นการชุบชีวิต ผลไม้ ไว้ให้สามารถหารับประทานได้ทุกเวลาที่ต้องการ

สวัสดีครับ ......กลุ่มสี่ ศูนย์เรียนรู้ ปง  จ.พะเยา ครับ....ยินดีต้อนรับครับ........ชอบใจว่า กลุ่มนี้มักจะสนในเรื่องการท่องเที่ยว เรื่องการทำขนม เรื่องดอกไม้ใบหญ้า ......น่าสนใจทั้งนั้นครับ.....

ทางสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (สสวช.) ได้ทำงานที่เกี่ยวกับกับภูมิปัญญาชาวบ้านด้วย ขณะนี้กำลังจัดทำรายการ "มหาวิทยาลัยชีวิต เรียนรู้เพื่ออยู่อย่างพอเพียง"  ออกอากาศทาง MCOT1 ในวันเสาร์ที่ 4 เวลา 16.00-18.00 น. เรื่องขนมไทยก็มีครับ จะมาเล่าต่อคราวหน้าครับ

อยากทำขนมบ้างจังแต่ทำไม่คอยเป็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท