ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา
ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา จันทร์แย้ม

เรียนรู้ร่วมกับนักเชื่อมโยงวิชาการกับชุมชน


ในมุมมองของนักเชื่อมโยงบริการวิชาการเชื่อว่าในชุมชนมีแหล่งความรู้อยู่แล้วและความรู้ในมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ และพี่ภีมใช้คำว่าเป็น "ความรู้ที่ขมๆ" (ชอบมาก นึกภาพออกเลยคะ) ซึ่งปรับใช้ไม่ได้หรือปรับใช้ได้ยาก แต่ความรู้จากประสบการณ์เป็น "ความรู้ที่สามารถกินได้เลย" ดังนั้นนักเชื่อมชุมชนต้องเชื่อมกับคนที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ต่างๆ และเชื่อมคนในชุมชน

วันนี้ (17 กรกฎาคม 2550) เวลา 13.30-15.00 น. หน่วยพัฒนาองค์กรร่วมกับศูนย์บริการวิชาการร่วมปรึกษาหารือกันถึงการเชื่อมโยงบริการวิชาการกับชุมชนในมหาวิทยาลัย มีผู้เข้าร่วมปรึกษาหารือดังนี้
1.รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา
2.ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา
3.อาจารย์ 2 ท่าน
4.พี่ๆ น้องๆ จากศูนย์บริการการวิชาการ (พี่อุทัย  พี่ภีม พี่ธนิต พี่สุ น้องแหม่ม น้องอีกสองคนจากศบว.) 7 คน
5.เพื่อนพ้องจากหน่วยพัฒนาองค์กร 3 คน


ความคาดหวังของตนเองในการเข้าร่วมปรึกษาหารือครั้งนี้คือ
1.เพื่อเปิดมุมมองรูปแบบแนวทางการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย ทั้งในส่วนของอาจารย์และพี่ๆ เพื่อนๆ ศูนย์บริการวิชาการ
2.หวังลึกๆ ว่าเราจะเห็นช่องทางการสร้างเครือข่ายการเชื่อมโยงวิชาการกับชุมชน ซึ่งทราบในมหาวิทยาลัยยังไม่มี
3.ได้ผู้เข้าร่วมเสวนาเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย(UKM) ครั้งที่ 11 ที่เป็นคุณกิจตัวจริง และสามารถก่อเกิดประโยชน์กับมหาวิทยาลัยสูงสุด

สิ่งที่ได้รับ ได้ฟัง โดยตนเองมีประสบการณ์น้อยมากและจากการเข้าร่วมปรึกษาหารือครั้งนี้ ตนเองได้เปิดมุมมอง เปิดโลก (ทั้งที่เราอยู่ใกล้กัน ในมหาวิทยาลัยเดียวกันแต่การได้ร่วมพูดคุยครั้งนี้ คุ้มค่ามากสำหรับตนเอง) คือ
1. ทราบในรูปแบบการบริการวิชาการแบบเครือข่ายซึ่งน่าจะเป็นการให้บริการวิชาการร่วมกันใน 2 ส่วน
         1.1 ด้านการสนับสนุนทั่วไป
         1.2 ด้านวิชาชีพ เช่น เทคนิคการแพทย์ เป็นต้น
2. การที่เราจะสร้างเครือข่ายการบริการวิชาการกับชุมชนในมหาวิทยาลัยเราให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดเราต้องจัดการ "มิตรภายในให้เสร็จ ก่อนออกบริการวิชาการแก่ชุมชน"
3. ไม่รู้ว่าเข้าใจถูกหรือผิดนะคะว่า "นักเชื่อมโยงวิชาการกับชุมชน" ในมหาวิทยาลัยของเราก็คือพี่ๆ เพื่อนๆ จากศูนย์บริการวิชาการ ที่ให้การสนับสนุนทั่วไป และอาจารย์ก็เป็นแหล่งวิชาการ
4.เข้าใจว่าการบริการวิชาการที่มุ่งเน้นการเรียนและใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ของนักศึกษา ทราบซึ่งปัจจุบันไม่สามารถเชื่อมโยงหรือสามารถแก้ไขปัญหาชุมชนได้ นักเชื่อมโยงวิชาการกับชุมจึงต้องทราบในภาพรวมของปัญหาและเชื่อมโยงเข้าสู่วิชาการ
5.การบริการวิชาการควรเป็นการเรียนรู้ใน 2 ทาง ได้แก่ การเอาความรู้ไปให้ชุมชนและการเรียนรู้จากชุมชนมาให้นักศึกษา
6.รู้ว่าลักษณะของการบริการชุมชนในมหาวิทยาลัยมีหลายรูปแบบ เช่น การบริการสุขภาพ การสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน Basic Research เป็นการสร้างความรู้ ซึ่งยังกระจัดกระจาย การทำกับชุมชนโดยตรง
7. ความชัดเจนผู้ที่เข้าร่วม UKM11 ต้องเป็นนักเชื่อมโยงบริการวิชาการในแบบของชุมชน

สิ่งที่ได้รับเกินความคาดหมาย
1.ได้รู้จัก รับรู้มุมมองของนักวิชาการต่อการบริการวิชาการในปัจจุบัน ที่ทำงานบริการวิชาการวิชาการกับชุมชนโดยผ่านทีมอาจารย์ นักศึกษาไปแก้ไขปัญหาสุขภาพให้ชาวบ้าน ซึ่งยังไม่เป็นรูปธรรมเนื่องจากอาจารย์ไม่เพียงพอ
2.เห็นความต้องการของสำนักวิชาในการประสานความร่วมมือเป็นเครือข่ายการบริการวิชาการกับชุมชนในมหาวิทยาลัย เพื่อให้การบริการวิชาการเกิดประโยชน์สูงสุด สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
3.รู้ว่ารูปแบบการบริการวิชาการมี 2 ลักษณะ คือ ลักษณะของเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้
4. ต่อเติมความเข้าใจและเห็นความสำคัญความรู้ในตัวคน ในมุมมองของนักเชื่อมโยงบริการวิชาการซึ่งเชื่อว่าในชุมชนมีแหล่งความรู้อยู่แล้วและความรู้ในมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ และพี่ภีมใช้คำว่าเป็น "ความรู้ที่ขมๆ" (ชอบมาก นึกภาพออกเลยคะ) ซึ่งปรับใช้ไม่ได้หรือปรับใช้ได้ยาก แต่ความรู้จากประสบการณ์เป็น "ความรู้ที่สามารถกินได้เลย" ดังนั้นนักเชื่อมชุมชนต้องเชื่อมกับคนที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ต่างๆ และเชื่อมคนในชุมชนซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีมากและช่วยเปิดมุมมองของตนเอง
5 เข้าใจในหลักของการบริการวิชาการที่จะต้องมีการ มองปัญหา ศึกษาปัญหา เหตุเชื่อมโยงอย่างสหวิชาการ เมื่อได้ปัญหา ก็เชื่อมโยงเหตุผลของปัญหา หาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วมจาก
"ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์จะทำให้ความรู้ไม่ขม" ...ชาวบ้านก็ได้ประโยชน์
6. เห็นแนวทาง สิ่งที่ต้องช่วยกันสานต่อก็คือการประสานการบริการวิชาการที่มีหลากหลายแบบให้มีศักยภาพและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
7. เข้าใจว่าหากมหาวิทยาลัยมีการสร้างเครือข่ายบริการวิชาการสู่สังคมภายในมหาวิทยาลัยทำให้มหาวิทยาลัยมีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงกับความต้องการในการบริการวิชาการสู่ชุมชน ทำให้การบริการวิชาการเกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชน
8. ได้รับฟังข้อเสนอแนะในการสร้างความเชื่อมโยงบริการวิชาการกับชุมชนในมหาวิทยาลัย
    8.1 จัดทำศูนย์ข้อมูลระบบภายในของเรา และความรู้ภายนอกที่เราต้องเชื่อม
    8.2 ควรมีการจัดการความรู้ที่สร้างขึ้นในองค์กร บริหารความรู้และต่อยอดความรู้
    8.3 สิ่งที่จะกลับมาทำต่อภายหลังจากเข้าร่วม UKM11 คือ เราจะร่วมสร้างเครือข่ายบริการวิชาการกับชุมชนโดยกำหนดให้ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์เป็นพื้นที่นำร่องในการสร้าง Learning mode อย่างจริงจังและทำอย่างเป็นระบบ

สุดท้ายต้องขอขอบคุณอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ ที่ช่วยเพิ่มเติมมุมมอง ต่อเติมความเข้าใจในเรื่องการบริการวิชาการสู่ชุมชน ได้เรียนรู้เทคนิควิธีการมองปัญหาและแก้ไขปัญหาที่สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานของตนเอง และหากมีโอกาสได้มีส่วนช่วยสนับสนุน ยุแยง เชื่อมประสานในโอกาสต่อไปก็ยินดีคะ

ขอบคุณคะ

หมายเลขบันทึก: 112356เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2007 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท