BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

พระแลโทรทัศน์ : ดูหนัง ดูละคร


พระแลโทรทัศน์

ในยามว่าง ผู้เขียนก็มักจะดูละครโทรทัศน์เหมือนกับคนธรรมดาทั่วไป... โดยมากมักจะดูช่อง ๗ เพราะชัดเจนที่สุด และไม่ดูช่อง ๙ เป็นปกติเพราะภาพพร่ามัวจนกระทั้งไม่สามารถจะดูได้ ส่วนช่องอื่นๆ ก็ดูบ้างตามโอกาส ...

อันที่จริง ผู้เขียนดูละครโทรทัศน์น้อยมาก โดยเฉพาะละครไทยหลังข่าวเกือบจะไม่ดูเลย ส่วนเหตุผลก็คงจะเหมือนกับที่คนอื่นๆ อ้างไว้ เช่น น่าเบื่อ ซ้ำซาก น้ำเน่า .....

แต่ ความเห็นในปัจจุบัย ผู้เขียนคิดว่า หนังไทย ละครน้ำเน่าแบบไทยๆ นี้แหละ เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาแบบไทยๆ ได้ดีที่สุด... ดังนั้น นักวิชาการวิชาเกินเมืองไทย ที่ต้องการแก้ปัญหาสังคมไทย น่าจะศึกษาความเป็นไทยทั้งหมดจากละครน้าเน่าพวกนี้ ดีกว่าการศึกษาจากทฤษฎีของพวกฝรั่ง หรือจากการนำเอาแนวคิดของนักวาดวิมานในฝันที่ได้รับการยอมรับยกย่องในสังคมไทยมาเยินยอให้สูงขึ้น....

ละครไทยประเภทแรกที่ผู้เขียนมักจะเลือกดู เมื่อมีโอกาสก็คือ เรื่องที่พาดพิงถึง ความเชื่อด้านศาสนา เรื่องความศักดิ์สิทธิ์ อิทธิปาฎิหาริย์ ... เช่นเรื่องเหล็กไหล ปูโสมเฝ้าทรัพย์ หรือภาษานาคา..... ละครอีกประเภทหนึ่งที่มักจะเลือกดู ก็คือเรื่องเก่าที่นำมาสร้างใหม่ เช่น ปูโสมเฝ้าทรัพย์ ผู้กองยอดรัก หรือชุมแพ เป็นต้น

นอกจากสองประเด็นนี้ไป ผู้เขียนก็เลือกดูเป็นบางเรื่อง แต่โดยมากพอยุ่งๆ ระยะหนึ่ง ก็เลิกดูแล้วก็ค่อยๆ ลืมไป ซึ่งมักจะเป็นอย่างนี้ตลอด...

.............

นอกจากหนังไทยแล้ว จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฝรั่ง ผู้เขียนก็ดูบ้างเหมือนกัน เมื่อมีโอกาส เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับความเป็นไทยของเรา....

ยอดหญิงสิงห์วอลเล่ย์ เป็นหนังญี่ปุ่นตอนนี้ ซึ่งเกี่ยวกับวอลเล่ย์บอล และในอดีตผู้เขียนจำได้ว่าเคยมีหนังเกี่ยวกับวอลเล่ย์บอลเข้ามาฉายในเมืองไทยหลายเรื่อง แต่ผู้เขียนไม่ค่อยได้ดู... จำได้สมัยก่อนมีเรื่องที่ดังมากเรื่องหนึ่งซึ่งมี ลูกตบพรางตา ด้วย...

เฉพาะหนังญี่ปุ่นที่เกี่ยวกับวอลเล่ย์บอล หรือเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ ก็ตาม จะสอดแทรกความมุมานะ ความพยายาม และความจริงจังของคนเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จ... สะท้อนให้เห็นอุปสัคขวากหนามของชีวิตที่จะต้องฝ่าฟันไป...

ตะกร้อและมวยไทย ถือว่าสุดยอดสำหรับคนไทย แต่ผู้เขียนยังไม่เคยเจอละครที่สร้างขึ้นมาเพื่อสะท้อนความเป็นจริงในทำนองเดียวกับกีฬาวอลเล่ย์บอลของญี่ปุ่นเลย...

ขณะที่การสะท้อนความมุมานะ พยายาม และบากบั่นเพื่อความสำเร็จของคนในละครไทยนั้น โดยมากอุปสัคที่จะต้องฝ่าฟันออกไปก็คือ ความอิจฉาริษยาระหว่างญาติพี่น้อง การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นของคนในสังคม ซึ่งเกือบทั้งหมดจะใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องมากกว่าตามครรลองที่ควรจะเป็น...

.....

ผู้เขียนบ่นสั้นๆ เท่านั้น ใครอยากจะร่วมบ่นเกี่ยวกับหนังหรือละครไทยๆ บ้างก็ขอเชิญ....

หมายเลขบันทึก: 112105เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2007 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
P
นมัสการค่ะ
คงจะไม่บ่นมาก เพราะไม่ชอบดูละครค่ะ ชอบอ่านหนังสือ หรือดูหนังไปเลยค่ะ
ละครส่วนใหญ่ ชอบพล็อตเรื่องเดิมๆค่ะ
P
อนุโมทนาที่คุณโยมเข้ามาเยี่ยมเสมอ...
อันที่จริงก็ใคร่จะบ่นเรื่องนี้มานานแล้ว แต่ก็ปล่อยให้ผ่านไป... พอบ่นจริงๆ หลายๆ เรื่องก็ผ่านไปนานและเลือนหายไปแล้ว...
เจริญพร

ประโยคนี้ผมชอบมากครับ

"แต่ ความเห็นในปัจจุบัน ผู้เขียนคิดว่า หนังไทย ละครน้ำเน่าแบบไทยๆ นี้แหละ เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาแบบไทยๆ ได้ดีที่สุด... ดังนั้น นักวิชาการวิชาเกินเมืองไทย ที่ต้องการแก้ปัญหาสังคมไทย น่าจะศึกษาความเป็นไทยทั้งหมดจากละครน้าเน่าพวกนี้ ดีกว่าการศึกษาจากทฤษฎีของพวกฝรั่ง หรือจากการนำเอาแนวคิดของนักวาดวิมานในฝันที่ได้รับการยอมรับยกย่องในสังคมไทยมาเยินยอให้สูงขึ้น...."

ผมเชื่อว่าถ้าเราต้องการแก้ปัญหาสังคมของประเทศไทย เราต้องแก้จากปัญหาของจริงที่เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามความจริงที่เป็นไป ไม่ใช่แก้ตามความฝันที่ใครวาดวิมานไว้ครับ เพราะถ้าทำเช่นนั้นเราจะไม่ได้แก้ที่ปัญหาเสียที เราแค่ซุกปัญหาเพื่อเอาใจนักวาดวิมานในฝันเท่านั้นเองครับ

P
รู้สึกปลื้มว่า อย่างน้อยก็มีอาจารย์คนหนึ่งที่ชอบความเห็นอยู่บ้าง...
อันที่จริง ก็อยากจะนำเสนอให้มากกว่านี้ แต่คงจะต้องเหน็ดเหนื่อยและเปลืองตัวมาก ถ้าหวังผลในการปฏิบัติจริง จึงเป็นเพียงเสียงบ่นสั้นๆ เท่านั้น...
เจริญพร

กราบนมัสการหลวงพี่BM.chaiwut

ดิฉันเองก็ชอบละครอยู่บ้างเหมือนกัน แต่รู้สึกว่านานมาแล้วที่จะได้ดูละครเป็นเรื่องเป็นราวค่ะ ถ้าชอบก็คงจะชอบเรื่องที่ปรับมาจากนวนิยายชื่อดังสมัยก่อนค่ะ เพราะพล๊อตเรื่องจะดี และมีประเด็นที่จะสื่ออย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นประเด็นความดี ความชั่วก็ตาม  แต่ตอนหลังดูนักแสดงแล้วรู้สึกว่าไม่สมจริง ก็เลยเลิกดู แต่ยังดูละครฝรั่งเป็นตอนๆ อยู่ค่ะ ก็ได้เห็นมุมมองอีกแบบของฝรั่งค่ะ

ดิฉันมาคิดย้อนดูดีๆ ก็ยอมรับว่าตัวเองได้อิทธิพลทางความคิดมาจากการดูทีวีเยอะค่ะ ก็พยายามที่จะเลือกสิ่งที่ดีๆ มาใช้ในชีวิตค่ะ เหมือนการดูหนัง ดูละคร แล้วย้อนมาดูตนน่ะค่ะ สุดท้ายก็เห็นวังวนของอะไรหลายๆ อย่างค่ะ

P
บทนิยายที่ถูกมาเขียนใหม่เป็นบทละคร โดยบุคลิกภาพของตัวละครบางคนได้รับการแก้ไขต่างไปจากเดิม ซึ่งบางครั้งอาตมาก็รับไม่ได้เช่นเดียวกัน...
ความสมเหตุสมผลของบทละครก็อีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งรู้สึกว่าบทละครของไทยยังให้ความสำคัญน้อย...
ตามที่อาจารย์ว่ามาในประเด็นสุดท้าย การลอกเลียนการดำเนินชีวิตมาจากตัวละครบางตัวที่ชื่นชอบ ตามแนวคิดจริยศาสตร์คุณธรรมบอกว่า ตัวละครเหล่านั้นจัดเป็น ตัวแทนทางศีลธรรม เช่นเดียวกัน
เจริญพร 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท