การขับเคลื่อนการคิดสู่ห้องเรียน


การคิด
วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่เราได้รับโอกาสจากคณะกรรมการบริหารของโรงเรียน ให้เราไปอบรม เรื่อง การขับเคลื่อนการคิดสู่ห้องเรียน ซึ่งจัดโดย สพฐ.พิษณุโลกเขตหนึ่ง ความรู้สึกตอนแรกก็ไม่ค่อยอยากไปเพราะวันศุกร์เราสอนเยอะมากๆเลยละ แต่การอบรมก็เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเป็นการเปิดโลกส่วนตัวของเราให้กว้างขึ้น รับประสบการณ์ใหม่ๆ และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ของเราด้วย เราจึงต้องไปรับการอบรม การอบรมของวันนี้หลังจากพิธีเปิดแล้ว วิทยากร ก็คือ อ.เจริญฤทธิ์  จันทร์เจริญ  ได้นำเสนอเกี่ยวกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการคิด ซึ่งตรงนี้ทำให้เราทราบว่าจากการประเมินภายนอกของ สมศ. มาตรฐานที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดของโรงเรียนทั่วประเทศ มาตรฐานที่ 4 มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด(มาตรฐานที่ 4 จะประเมินในเรื่อง การ อ่าน คิดวิเคราะห์ ของผู้เรียน)และเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วประมาณ 40 ประเทศ ด้านการคิดวิเคราะห์ผลปรากฏว่าในวิชาคณิตศาสตร์ ประเทศเราอยู่ลำดับที่ 36   วิทยาศาสตร์ลำดับที่36   การอ่านลำดับที่ 36  การแก้ปัญหาอันดับที่ 33 ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่เราจะต้องมาร่วมกันพัฒนาการอ่าน คิดวิเคราะห์ของนักเรียน หลังจากนั้นวิทยากรก็ให้ความรู้เกี่ยวกับ การคิดกับสมอง ซึ่งตรงนี้ทำให้เราทราบว่าส่วนของสมองซีกซ้ายและขวาต้องทำงานสัมพันธ์กันและส่วนของสมองที่มีความสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กก็คือส่วนที่เรียกว่า อมิกดาลา(Amygdala)เพราะเป็นส่วนกรองข้อมูล ความรู้สึกว่าอยากจะรับรู้หรือไม่ ฉะนั้นครูจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่กระตุ้นให้ส่วนของอมิกดาลาเปิดรับข้อมูลความรู้ (คือการทำให้นักเรียนอยากเรียนรู้) พอช่วงบ่ายเราได้รับความรู้เกี่ยวกับการประเมินผลงานนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านการคิด ซึ่งช่วงนี้วิทยากรจะให้เราทำใบงานไปด้วย(เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ)โดยให้เราเลือกผลงานนักเรียน 1 ชิ้น ในใบงานจะให้เราเขียนลักษณะงานโดยรวมว่างานที่เราให้นักเรียนทำนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร หลังจากนั้นจะให้เรากำหดมิติคุณภาพด้านต่างๆให้ครอบคลุมลักษณะของผลงาน ซึ่งจะมีกี่มิติก็ได้แต่ในการประเมินด้านการคิดจะต้องมี 2 มิติใหญ่ๆ มิติแรกคือ มิติด้านข้อมูล ซึ่งแบ่งออกเป็นมิติด้านคุณภาพและมิติด้านปริมาณ  โดยด้านคุณภาพนั้นเราจะดูว่า นักเรียนนำเสนอแบบไหน ถ้าการนำเสนอเป็นภาพแคบๆ เป็นรูปธรรมแสดงว่าการคิดยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ถ้ามีการนำเสนอในภาพกว้างๆเป็นนามธรรมแสดงว่ามีการคิดในระดับสูง ส่วนในด้านปริมาณนั้นจะดูว่าในส่วนของข้อมูลมีครบตามที่ครูเสนอไปหรือไม่ ถ้าไม่ครบ หรือ ครบตามที่ครูเคยบอกแสดงว่าการคิดยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ถ้าข้อมูลมีมากกว่าที่ครูเคยบอก คือมีการหาข้อมูลเพิ่มเติมแสดงว่าการคิดอยู่ในระดับสูง มิติที่สอง คือ แบบแผนในการนำเสนอ ว่าเป็นการนำเสนอแบบใดถ้าเป็นการนำเสนอแบบโดดๆ กระจาย ก็แสดงว่าการคิดยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ถ้ามีการนำเสนอโดยจัดเป็นกลุ่ม จำแนกได้ เป็นเหตุเป็นผล ก็จะเป็นการคิดที่สูงขึ้น  หลังจากนั้นวิทยากรก็จะให้เราเขียนอธิบายระดับคุณภาพในแต่ละมิติให้ชัดเจน(นำมิติคุณภาพมาสร้างเกณฑ์แบบ Rubrigs)และให้เรานำเกณฑ์ที่สร้างขึ้นไปประเมินผลงานนักเรียนที่เราเลือกไว้  ระหว่างการอบรมวิทยากรมีปัญหามาให้เราคิดพัฒนาการคิดของเราด้วยถ้าใครเข้ามาอ่านลองคิดดูนะค่ะ เมื่อได้คำตอบแล้วช่วยบอกด้วยค่ะว่าท่านมีการคิดอย่างไร ปัญหามีอยู่ว่า นาย ก ซื้อบ้านมาราคา 400,000 บาท หลังจากนั้นขายให้นาย ข. 500,000 บาท และซื้อคืนจากนาย ข. อีก 600,000 บาท นำไปขายต่อให้นาย ค. 700,000 บาท ถามว่าการซื้อขายบ้านในครั้งนี้ นาย ก. ได้กำไร หรือ เท่าทุน หรือขาดทุน เท่าไร อย่าลืมตอบกลับมานะค่ะ
คำสำคัญ (Tags): #การคิด
หมายเลขบันทึก: 111698เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2007 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เป็นคุณลิขิตได้ดีมาก เล่าได้ละเอียดดีครับ
  • แต่อ่านตัวหนังสือจนตาลายเลยติดกันเป็นพรืด
  • มาร่วมตอบปัญหาหน่อยครับ
  • ถ้าคิดแบบ คณิตศาสตร์ ก็เหมือนจะเท่าทุน
  • แต่ในความเป็นจริง ครั้งแรกที่ซื้อบ้านมาคงไปกู้ยืมเงินเขามา และพอขายบ้านไปเหมือนจะได้กำไรแต่ต้องจ่ายดอกเบี้ย แล้วพอไปซื้อคืนจากนาย ข. ต้องไปกู้เงินเขามาเสียดอกเบี้ยอีก ๑ แสน แต่พอขายให้นาย ค. ได้กำไร ๑ แสน ก็ไปใช้คืนเขา
  • ตกลงขาดทุนดอกเบี้ยครับ...
  • (ในเรื่องไม่ได้กำหนดเงื่อนเวลา)
  • พอ copy จาก word (แนะนำให้ copy ไปใส่ notepad ก่อน เปลี่ยน Font เป็น Tahoma size 12)  ใส่ในบันทึกแล้ว 
  •  อ่านไป ๒-๓ บรรทัด แล้วตัดประโยค โดย กด ENTER ขึ้นบรรทัดใหม่.. แค่นี้ตัวอักษรก็ไม่ติดกันแล้วครับ

 - ขอบคุณอาจารย์ Beeman มากๆเลยค่ะ

- ที่ให้คำแนะนำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท