กลุ่มเกษตรยั่งยืน ศูนย์เรียนรู้จังหวัดลำปาง


ความภูมิใจและประทับใจ

ข้อความต่อไปนี้เป็นความรู้สึกของนางอำพรรณ อมรไมตรี 1ในสมาชิกของกลุ่มเกษตรยั่งยืน ศูนย์การเรียนรู้ลำปาง จังหวัดลำปาง "จากประสบการณ์และความรู้ที่ข้าพเจ้าได้รับหลังจากที่ข้าพเจ้าได้ศึกษามา1ปีแล้วสิ่งที่ข้าพเจ้าภูมืใจมากที่สุดคือ การที่ข้าพเจ้าได้ไปศึกษาดูงานที่ห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ ที่พวกเรานักศึกษาจังหวัดลำปางได้เดินทางร่วมกัน แล้วก็ได้เดินทางไปดูงานที่บ้านโกแดงไปดูการจัดการแบบเศรษฐกิจพอเพียง การใช้ชีวิตแบบพอเพียง ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกพอใจ"

หมายเลขบันทึก: 111446เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2007 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ไม่ทราบว่า ได้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์อะไรบ้างรึยังครับ

มีอะไรบ้างครับ ขอให้กำลังใจนะครับ

สู้ต่อไป คนสู้ชีวิต

ได้อ่านเจ้าชายกบ และการศึกษาดูงาน ห้วยฮ่องไคร้ รวมถึงไปดู ฟังการทำเศรษฐกิจพอเพียงของโกแดง แล้ว อยากให้ผู้เล่าทั้งสองท่าน ถอดบทเรียนออกมา อาจใช้กรอบการวิเคราะห์ที่เราเคยเรียนมาจาก สปช.เช่น การใช้ SWOT หรือ นำเสนอจุดขาย (สาระ คุณค่า)ของเรื่องที่เราจะเล่า หรือสิ่งที่เราประทับใจ ก็ได้ที่พอเข้าใจ หรือให้เห็นเชิงรูปธรรม ง่ายๆ  แล้วต่อไปเราพัฒนา หรือมีทักษะ มากขึ้น การจัดการความรู้จะถึงบางอ้อ เอง ผมจะรออ่านเรื่องเล่าของพวกเราทุกคน

แจ้งประสานมายังกลุ่มเกษตรยั่งยืน ผมจะไปสรุปการเรียนวิชา จัดการความรู้ก่อนสอบปลายภาค ในวันอาทิตย์ที่ 7 ต.ค.50 เวลา 13.00 น.ที่ ศรร.(เช้า 08.00 - 12.00 น.อ.มหาดาวจะพบกับ นศ.ก่อน) และขอให้กลุ่มปริ๊นซงานบล๊อคของกลุ่มทั้งหมด รวมเล่มส่งไม่เกินวันสอบปลายภาค ให้เรียงหน้าเริ่มจากประวัติกลุ่ม ชื่อ - รูปสมาชิก ที่เริ่มลงทะเบียนบล๊อค หน้าต่อไปเป็นชื่อ - รูปสมาชิกเพิ่มเติม หน้าถัดไป เป็นเรื่องเล่าของสมาชิกเรียงตามวันที่ เดือน ทั้งที่อยู่ในบล๊อคของกลุ่ม หรือไปร่วมเล่าในบล๊อคอื่นๆ หน้าท้ายสุด ให้สรุปภาพรวม เรียงตามรายชื่อสมาชิก ว่า เล่าในบล๊อควันที่ เดือน รวมกี่ครั้ง (ให้ดูจากงานที่ปริ๊นซด้วย) และรวมของทุกคน เป็นกี่ครั้ง ให้แสดงเป็นตารางคล้าย K.map ฝากแจ้งเวียนข่าวให้กลุ่มอื่นๆ ด้วย  แล้วพบกันในวันอาทิตย์  สวัสดี พจน์

มีความภูมิใจมากที่ได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ที่มหาวิทยาลัยชีวิตแห่งนี้  และคิดว่าจะนำความรู้ที่ได้ศึกษานำไปใช้ให้เป๋นประโยชน์สำหรับตนเองและสังคม  วิชาเนื้อหาที่ได้รับเป็นประโยชน์ต่อการทำงานและยังสามารถเปลี่ยนแนวคิดของข้าพเจ้าให้เป็นคนมองโลกในแง่ดีด้วย ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น

หลังจากที่ได้เปิดเรียนมาแล้ว 3 วิชา รายงานเริ่มมากขึ้น เวลาในการค้นคว้าก็น้อยลง เนื่องจากทุกอย่างถูกกำหนดด้วยเงื่อนไขของเวลาที่จำกัด ขอให้นักศึกษาทุกคนจงมีความตั้งใจแน่วแน่เพื่อความสำเร็จในภายหน้า ที่เราทุกคนกำลังจะพิชิตมันได้ความอดทน ความตั้งใจ เป้าหมายที่เราวางไว้คือกำลังใจของเรา

อย่าคิดท้อถอยด้วยการใช้คำว่าว่าเราจะทำไปเพื่ออะไร ขอให้คิดว่าเราทำเพื่อความสุขของเรา ถ้าหากเราคิดว่าสิ่งที่เราทำ แล้วเรามีความสุข

 

ครั้งแรกที่คิดจะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ข้าพเจ้าก็รู้สึกมีความสุขมาก เกิดความหวังว่าสักวันหนึ่งคงจะมีโอกาสเป็นบัณฑิตกับเขาด้วยในวัย 50 ต้น ๆ ขณะนี้ก็เดินทางมาได้ครึ่งทางแล้ว ปีนี้จะพยายามให้มากกว่าปีที่แล้ว จะอดทนให้มากที่สุดขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนนักศึกษาทุกท่าน 

เรียน อ.พจน์

เนื่องในวันขึ้นไปใหม่พวกเรากลุ่มเกษตรยั่งยืนขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงดลบันดาลให้อ.พจน์และครอบครัวจงมีแต่ความสุข ความเจริญ คิดหวังสิ่งใดขอให้สมความปราถนาทุกประการ

กลุ่มเกษตรยั่งยืน

 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาพวกเรานักศึกษาได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมความสำเร็จของโครงการงดเหล้าในงานศพ ที่บ้านสัก ต.บ้านเอื้อม อ.เมือง ลำปาง ซึ่งเราก็ได้แนวคิดในการทำงานร่วมกับชุมชน เห็นความตั้งใจจริงของแกนนำว่าเข้ามีความตั้งใจจริงในการร่วมมือกันทำงาน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเจ้าหน้าที่ แกนำในมหู่บ้าน และที่สำคัญที่สุดคือวัดซึ่งเป็นที่รวมจิตใจของคนในหมู่บ้าน ขอเผ็นกำลังใจให้เพื่อนนักศึกษาที่กำลังทำโครงการนี้

และอยากจะขอแจ้งให้เพื่อนนักศึกษาว่าม.ชีวิตของเรามีสื่อทางวิทยุชุมชนทุกวันอังคาร เวลา 15.00น.-16.00น.ทางวิทยุชุมชนวัดศรีบุญเรือง คลื่น 94.5 ขอให้ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อยืนหยัดม.ชีวิตอยู่คู่ลำปาง

เรื่องสืบเนื่อง จากวันที่  2  ม.ค.2551  (ข้อ 5-9)

                                5. ให้ นศ.ส่งรายงานกลุ่ม (ใบงานที่ 2) ให้กับ อ.ประจำศูนย์ฯ (อ.พจน์ฯ) ภายในวันที่ 16 - 23 ก.พ.2551 ดูหัวข้อรายงาน และตัวอย่างปกจากเอกสารประกอบประมวลรายวิชา นี้ด้วย

                                6. นำเสนอรายงานกลุ่มต่อ อ.อุไรวรรณ  คำภูแสน ที่ ศรร.ลำปาง ในวันที่ 23 -24 ก.พ.2551

                                7. นัดหมายสรุปบทเรียนและปรับปรุงแก้ไขรายงาน ก่อนสอบปลายภาค อาทิตย์ที่ 16 มี.ค.2551 เวลา 09.30 12.00 น.

                                8. นัดหมายสรุปบทเรียนก่อนสอบปลายภาค อาทิตย์ที่ 23 มี.ค.2551 เวลา 09.30 12.00 น.

                                9. สอบปลายภาค ใน 29 30 มี.ค.50

                มีกลุ่มที่ส่งชื่อรายงานกลุ่มฯมาแล้ว 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพันธมิตร (15 ธ.ค.50) แต่ยังไม่มีชื่อ รหัส นศ.ในกลุ่ม ส่วนของกลุ่มเกษตรยั่งยืน ส่งชื่อรายงาน และรายนาม รหัส นศ.ครบถ้วนแล้ว เมื่อ 26 ธ.ค.51

 

ทบทวนใบงานที่ 2 วิชาเทคโนโลยี่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต ใบงานกำหนดให้ นศ.แบ่งกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงการเทคโนโลยี่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนที่กลุ่มสนใจ และสมาชิกในกลุ่ม มีความรู้ และแนวทางที่ค้นคว้าศึกษาได้

                1. ชื่อโครงการ ตัวอย่างเช่น ข้อเสนอโครงการเทคโนโลยี่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต : กรณีศึกษาการเพาะเลี้ยงกบคอนโค   หรือ โครงการเทคโนโลยี่ที่เหมาะสมกับวิถีเกษตรพื้นบ้าน การทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด อ.อุไรวรรณ ให้ นศ.ทำเรื่องที่คล้ายคลึงกันได้ ด้วยเหตุผลของ ความต่างในสถานที่ ขั้นตอน วัตถุประสงค์ที่อาจแตกต่างกันได้

                2. หลักการและเหตุผล (ประมาณ 1 หน้า)

                3. ความสำคัญของปัญหา (ประมาณ 1  หน้า)

                4. วัตถุประสงค์ของโครงการ (ประมาณ 3-4 ข้อ)

                5. ขั้นตอนการดำเนินงาน (นำเสนอเป็นตาราง ทำเป็นลำดับตามขั้นตอนของงาน ระยะเวลาที่ใช้แต่ละขั้นตอน : วัน ว.เวลา น.ใครทำหรือรับผิดชอบให้ระบุด้วย) อ.อุไรวรรณ ฯ แนะนำว่า ทำเหมือนปฏิทิน

                6. งบประมาณที่ใช้  แยกเป็นรายการ ทำให้เหมือนจริง หรือใกล้จริงมากที่สุด

                7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อโครงการนั้นได้ทำ หรือทำเสร็จแล้ว ได้อะไรบ้าง

                                รายงานกลุ่มนี้ ให้พิมพ์ ขนาดอักษร 16 point ส่วนหัวข้อที่เป็นตัวทึบ ใช้ขนาด 18-20 point ใช้รูปแบบอักษร อังสนา หรือ คลอเดีย เข้าเล่ม มีปกตามตัวอย่าง ใช้ปกกระดาษแข็ง สีเขียว และให้อ้างอิงแหล่งข้อมูล หรือบรรณานุกรม ด้วย

                ข้อสรุปในการเรียน วันอาทิตย์ที่ 13 ม.ค.51  ตกลงร่วมกันว่า รายงานกลุ่มนี้ ต้องมีเนื้อหาครบเจ็ดข้อข้างต้น จำนวนหน้ารวมกัน ไม่น้อยกว่า 10 หน้า ไม่รวม ปกนอก ปกใน สารบัญ คำนำ ภาคผนวก (ถ้ามี) และแหล่งข้อมูลอ้างอิง หรือบรรณานุกรม การนำเสนอรายงาน   - ต้องนำเสนอเป็นพาวเวอร์พอยท์ให้กลุ่มฟัง และต้องนำเสนอหน้าที่ในกลุ่มว่า ใครทำอะไร หรือถ้ามีชิ้นงาน ให้นำของจริงมาแสดงด้วย                                 - ให้ นศ.แต่ละกลุ่ม ปริ๊นซพาวเวอร์พอยท์(PPT) ที่จะนำเสนอ หน้าละ 4  PPT  ให้อาจารย์ กลุ่มละ 2  ชุดด้วย เพื่อฟัง/ดู ตาม ที่สำคัญอยู่ที่ขั้นตอนที่ 5                         ชื่อกลุ่ม และ ข้อเสนอรายงานกลุ่มฯ ที่ นศ.แจ้งให้ทราบแล้ว  7  กลุ่ม ที่ยังไม่ได้ส่งให้ อ.พจน์ฯ  จำนวน  2   กลุ่ม  คือ กลุ่ม นวัตกรรม กับ กลุ่มนิคมพัฒนา                                 1.กลุ่มพันธมิตร  ส่งชื่อ นศ.พร้อม รหัส และเรื่องที่จะทำ โครงการทำน้ำยาล้างจาน 2. กลุ่มเกษตรยั่งยืน ส่งชื่อ นศ.พร้อมรหัส และเรื่อง  การเพาะเลี้ยงกบ  3. กลุ่มลำน้ำจาง ส่งชื่อ นศ.พร้อมรหัส และเรื่อง การเพาะเห็ดฟาง         4. กลุ่มรักษ์ป่า ส่งชื่อ นศ.พร้อมรหัส และเรื่อง การทำปุ๋ยอัดเม็ด   5. กลุ่มเสน่ห์เยื่อไม้ ส่งชื่อ นศ.พร้อมรหัส และเรื่อง การทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด   6. กลุ่มนอกกรอบ ส่งชื่อ นศ.พร้อมรหัส และเรื่อง การเพาะเห็ดลม  7. กลุ่มลุ่มน้ำตุ๋ย ส่งชื่อ นศ.พร้อมรหัส และเรื่อง การป้องกันสารพิษตกค้างในพืชผักที่ใช้บริโภคในครัวเรือน (คุณปัญญาฯ ส่งเมล์ให้ อ.พจน์ฯ ได้รับแล้ว)                                เมล์ติดต่อ [email protected]   สวัสดีครับ  พจน์  ดำริชัยมงคล

ได้รับอีเมล์ของอ.แล้ว ค่ะตอนนี้ทางกล่มกำลังศึกษารุปแบบของรายงานก่อนคิดว่าในวันที่ 23 นั้คงจะนำเสนอได้ทัน

ถึงเพื่อนนักศึกษาทุกกลุ่ม

วันอาทิตย์ที่ผ่านมา(30 มี.ค.51)พวกเรานักศึกษาได้ฉลองในการสอบผ่านไปอีก

1 ปีตอนนี้ทุกอย่างดูปลอดโปร่ง อย่าลืมซัมเมอร์ 19 เม.ย.นี้ เส้นชัยใกล้จะถึงแล้ว.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท