จรรยา แผนสมบูรณ์
Dr. จรรยา แผนสมบูรณ์ จรรยา แผนสมบูรณ์

Mental Model


Mental Model
วินัยประการที่2: แบบแผนความคิดอ่าน (Mental Models)                แบบแผนความคิดอ่าน  ได้แก่  ข้อตกลงเบื้องต้น  ความเชื่อพื้นฐาน  ข้อสรุปหรือภาพลักษณ์ที่ตกผลึกในความคิดอ่านของคนที่มีอิทธิพลต่อความรู้ความเข้าใจต่อสรรพสิ่งในโลก  มีผลต่อการประพฤติปฏิบัติ ต่อค่านิยม เจตคติที่เขามีต่อบุคคล  สรรพสิ่งและสถานการณ์ทั้งหลาย  หน้าที่ของวินัยประการที่2ก็เพื่อฝึกฝนให้เราได้เข้าใจ  แยกแยะระหว่างสิ่งที่เราเชื่อกับสิ่งที่เราปฏิบัติ  การสืบค้นความคิดความเชื่อของเรา  ทำให้เราท้าทายและปรับขยายขอบเขตและกระบวนการความคิดความเชื่อของเรา  เข้าใจมุมมองและการคิดของผู้อื่น  Senge เน้นทักษะด้านความคิดความเชื่อผ่านทักษะการคิดใคร่ครวญ(Reflection Skills)  เป็นการตรวจสอบว่าความคิดความเชื่อใดมีผลต่อการปฏิบัติการแสดงออกของเรา  ส่วนทักษะในการสืบค้น(Inquiry Skills)เป็นดัชนีบอกว่า เรามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์แบบพบปะกับผู้อื่นเช่นไร  เราเข้าไปแก้ไขกับประเด็นปัญหาที่ซับซ้อนเช่นไร ในการปฏิบัติงานของทุกอาชีพจำเป็นต้องใช้ทักษะทั้ง 2 ประการนี้อยู่เสมอ  ทำอย่างไรที่เราจะรักษาทักษะทั้ง 2 นี้ให้สมดุลผสมเข้ากับสิ่งที่เราเห็นดีเห็นงามและสนับสนุน  Senge เชื่อว่าความคิดความเชื่อแบบแผนความคิดอ่านของแต่ละคนมีข้อบกพร่อง ดังนั้นต้องอาศัยวินัยที่ 5คือการคิดอย่างเป็นระบบ  เข้าไปร่วมทำงานด้วยซึ่งจะมีพลังเกิดผลดีสูงสุด  ผู้บริหารพึงผสานแบบแผนความคิดอ่านของตนเข้ากับการฝึกทักษะการคิดอย่างเป็นกลยุทธ์อย่างเป็นระบบที่เน้นภาพใหญ่  เน้นความเชื่อมโยงขององค์ประกอบย่อยให้ได้  ในการแก้ไขปัญหาในการปรับโครงสร้างองค์การ  ฝึกทักษะในการคิดใคร่ครวญ  การเปิดใจกว้างต่อสิ่งที่ท้าทาย  บางทีเราอาจจะหลงผิด คิดผิด เข้าใจผิดก็เป็นได้ หน้าที่ของเราคือ  พัฒนาแบบแผนความคิดอ่านของเราอยู่เป็นนิจ อย่างยืดหยุ่น  ทำให้เราปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์  แนวคิด แนวปฏิบัติของเราได้  เหมาะกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป                 Argyris (1991)  ได้ให้คำแนะนำภาคธุรกิจในการบริหารแบบแผนความคิดอ่านของตนไว้ย่อ ๆ ดังนี้1.     พยายามออกแบบและเรียนรู้สภาพแวดล้อมของการทำงานอยู่เสมอเพื่อคาดคะเนและเตรียมรับมือกับปัจจัยของภาวะแวดล้อมที่จะมีอิทธิพลต่อธุรกิจของเรา2.     ให้การยอมรับและชื่นชมผู้อื่นอยู่เสมอ  บอกผู้อื่นว่าท่านเชื่อถือยึดมั่นในอุดมการณ์ใดที่ทำให้เขาสบายใจ  ลดการบั่นทอนขวัญละกำลังใจ  เอื้ออาทรผู้อื่น3.       อย่าท้าทายเหตุผลหรือการกระทำของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุผล4.       ยืนหยัดในแนวทางของเรา  ยึดมั่นในหลักการ  คุณค่าและความเชื่อของเรา5.       อย่าแบไต๋ความคิด แผนการ ความรู้สึกของท่านให้ผู้อื่นล่วงรู้หมดสิ้นแบบแผนความคิดอ่านจึงมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ แบบแผนความคิดอ่านมีพลัง  มีอิทธิพลต่อการรับรู้  การตีความและต่อพฤติกรรมของเรา  ยิ่งเมื่อมีการแบ่งปันความคิดเห็น มุมมองระหว่างกันด้วยแล้ว  ยิ่งทำให้พลังของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เกิดขึ้น  ซึ่งไม่น่าแปลกใจว่าหนทางแรกเริ่มของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ที่ดี  ได้ผลและคุ้มค่าที่สุด  เริ่มจากการพบปะพูดคุยแบบไม่เป็นทางการระหว่างสมาชิกภายในองค์การนั่นเอง  นอกเหนือจากการฝึกทักษะในการคิดใคร่ครวญและทักษะในการสืบค้นให้เกิดเป็นนิสัยของบุคลากรในองค์การองค์การพึงเปิดเวทีที่สะท้อนถึงชุมชนของการปฏิบัติ (community of practice) ให้เกิดขึ้นในองค์การ  เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้ร่วมกัน  อาทิ  เครือข่ายการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ  การแลกเปลี่ยนความเห็น  การพบปะกันตามทางเดิน  การเล่าเรื่อง  การเล่าประสบการณ์  เทคนิคการจัดประชุม  แนวทางใหม่ ๆ ของการปฏิบัติงาน  การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน ดังนั้น องค์การเรียนรู้ได้ผ่านการปรับปรุงแบบแผนความคิดร่วมกัน  ผ่านเวทีการแลกเปลี่ยนที่  
คำสำคัญ (Tags): #mental model
หมายเลขบันทึก: 111280เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2007 15:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท