แนวคิดการเขียนรายงานการพัฒนาหมู่บ้าน Village Development Report (VDR)


VDR
แนวคิดการเขียนรายงานการพัฒนาหมู่บ้าน Village Development Report (VDR)
1. แนวคิด รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน (Village Development Report) คือ เครื่องมือในการยึดโยง พัฒนากรกับหมู่บ้าน ดังนั้น พัฒนากรจะต้องมีผลงานเชิงประจักษ์ที่เกิดจากกระบวนการทำงานร่วมกันกับประชาชน ในรูปของเอกสารที่แสดงถึงสถานะภาพ การพัฒนาของแต่ละหมู่บ้าน
2. หลักการ รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน (VDR) เกิดจากวิสัยทัศน์และผลการพัฒนาโดยเป็น กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างพัฒนากร และผู้นำ อช. โดยใช้ระบบข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบทของกรมการพัฒนาชุมชน (จปฐ./กชช. 2ค) นำมาประมวลผลด้วยการวิเคราะห์ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นแนวทางการพัฒนา คุณภาพชีวิตและชุมชนของหมู่บ้าน
3. หลักเกณฑ์
     3.1 พัฒนากรสามารถใช้เวลาในการทำงานร่วมกันกับผู้นำ อย่างมีประสิทธิภาพ (เข้าไป ทำงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เวลาไปทำงานอย่างมีคุณค่า)
    3.2 ใช้การจัดเวทีของพัฒนากร ผู้นำ อช. และภาคีการพัฒนาเป็นกลไกใน การทำงาน
    3.3 มีการวิเคราะห์การทำงาน/ผลการจัดเวที ในงานพัฒนาชุมชนเป็นเอกสารทาง วิชาการ
    3.4 การนำข้อมูลมาเขียนรายงานฯ พัฒนากรต้องวิเคราะห์ ว่าข้อมูลใดมีประโยชน์และ จะใช้ประโยชน์ข้อมูลนั้นได้อย่างไร ถ้าเป็นข้อมูลที่ไม่สำคัญก็ไม่ควรนำมาเขียนไว้ ในรายงาน เพื่อว่าเอกสารจะไม่หนาเกินไป
    3.5 การเขียนรายงานพัฒนาหมู่บ้านให้อยู่ที่สมรรถนะของพัฒนากรแต่ละคนในการ จัดระบบแยกแยะ เชื่อมโยงและตีความ รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูล
    3.6 พัฒนากรต้องกำหนดว่าจะนำเสนอรายงานพัฒนาหมู่บ้านแก่ กลุ่ม องค์กร ในโอกาสใด และใช้สื่อการเรียนรู้ที่เข้าใจได้ง่าย
    3.7 พัฒนากรต้องทำการประชาสัมพันธ์ รายงานการพัฒนาหมู่บ้านโดยใช้สื่อประเภทต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
4. เงื่อนไข
    4.1 ใช้/มีการวิเคราะห์ข้อมูล จปฐ./กชช. 2 ค โดยพัฒนากร
    4.2 มีการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันระหว่าง พัฒนากร+ผู้นำ อช. จากระบบ ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ องค์ความรู้ และนวัตกรรม Data Information Knoweledge Wisdom
    4.3 ดำเนินการในพื้นที่ที่มีการจัดเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาชนบท(จปฐ./กชช.2ค)
    4.4 พัฒนากรต้องจำแนกเป้าหมายการทำงาน/งานหลัก/งานรอได้ 
    4.5 พัฒนากรต้องมีกระบวนการทำงานในการสร้าง VDR ที่ชัดเจน เป็นการบรูณาการ งานหลัก/งานรองที่สามารถตรวจสอบ(Verify) ได้
5. วิธีการ
    5.1 พัฒนากรกำหนดเป้าหมายในการทำงานตามยุทธศาสตร์กรมฯและจังหวัด เพื่อ จำแนกงานหลัก
    5.2 พัฒนากรและทีมงาน กำหนดเป้าหมายการทำ VDR
    5.3 พัฒนากรเตรียมข้อมูลฯ
    5.4 การจัดเวทีร่วมกัน
    5.5 การเขียนผลงาน
                                .....................................................
http://cddweb.cdd.go.th/cdregion03/N_VDR.pdf
คำสำคัญ (Tags): #vdr
หมายเลขบันทึก: 111277เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2007 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 08:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

   สำหรับโครงการ OTOP ที่อยู่ในการดูแลของ กรมพัฒนา ในฐานะผู้ประกอบการ เข้าใจและเห็นใจพัฒนาการทุกท่าน จึงอยากได้คำชี้แนะจากพวกท่านว่า มีวิธีใดบ้างที่จะให้เครือข่าย นตผ.ออกแรงช่วย เพื่อให้ OTOP ของพวกเราพ้นจากนักการเมือง บอกมาเป็นข้อๆ นะครับ

สำหรับงาน OTOP Festival to the city นั้นเจ้าของไอเดียนะควรไปนั่งเรียนแผนธุรกิจ ที่กำลังอบรมอยู่นะครับ อย่างน้อยหลังจากการทำ Swot แล้วจะรู้ว่าการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ก็ต้องเปลี่ยน ยุทธวิธีด้วย คงทำใจไม่ได้ว่าเอาเถอะไหนๆก็ผิดพลาดไปแล้ว ที่ทำใจไม่ได้นะก็งบก้อนโตที่ใช้ในโครงการนี้ 140 ล้านบาท คงต้องขอให้ฝ่ายค้านตั้งกระทู้สดสอบถาม แล้วส่งให้ สตง. เป็นดาบสอง

 คำชี้แนะของท่านไม่จำเป็นต้องแสดงตัวตน กรุณาป้องกันตนเอง แล้วจะกลับเข้ามาเก็บข้อมูลไปดำเนินการเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท