ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา
ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา จันทร์แย้ม

เมื่อต้องจัดประชุม 3 ประชุมนอกสถานที่ในวันเดียว โดย กิ่ง ชาติชนก นักจัดการประชุม สำนักวิชาแพทยศาสตร์


สำคัญต้องนั่งข้างหน้าๆ เพื่อจะได้ฟังอย่างชัดเจนและถามในประเด็นที่ไม่ชัดเจนได้สะดวก

ขอแนะนำนักจัดการประชุมมือใหม่แต่ฝีมือไม่ใหม่ น้องกิ่ง ชาติชนก โกกนก นักจัดการประชุม สำนักวิชาแพทยศาสตร์ ที่ได้เล่าประสบการณ์การจัดประชุมในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก้าวย่างอย่างมั่นใจสู่การเป็นนักจัดการประชุมมืออาชีพ ครั้งที่ 1 น้องกิ่งได้จัดการประชุมติดตามความก้าวหน้าสถาบันการผลิตแพทย์ ที่ต้องจัดประชุม 3 แห่ง (ภายนอกมหาวิทยาลัย) ในวันเดียวกัน มือใหม่แต่งานท้าท้ายสุดๆ ใช่ไหมคะ

 Cop+%2812%29

ในการจัดการประชุมครั้งนั้น น้องกิ่งเล่าให้ฟังถึงเคล็ดลับการเตรียมการจัดประชุมครั้งนั้นว่า

  • ก่อนจัดประชุมเราต้องทำความเข้าใจในการวาระการประชุมกับคณบดี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันในประเด็นและเป้าหมายในการประชุมครั้งนั้น
  • การเตรียมความพร้อมก่อนเริ่ม มีดังนี้
    • ประเด็นการประชุมที่ชัดเจนและตรงกัน
    • เอกสารที่ถูกต้องและครบถ้วน
    • กำหนดการและเวลาในการจัดประชุมที่ชัดเจน
    • การเตรียมสื่อ
    • การศึกษาศัพท์ทางการแพทย์มาก่อนโดยการดูว่าศัพท์ภาษาไทย ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับหัวข้อนั้น เพื่อทำให้เข้าใจในการจัดบันทึก
    • กำหนดการเดินทางโดยอาศัยข้อมูลการเดินทางจากฝ่ายยานพาหนะ ซึ่งการประชุม 3 แห่งในวันเดียว ค่อนข้างยาก ทำให้ต้องมีการติดต่อประสานงานอย่างดี
    • กรณีที่มีผู้ประสานงานติดต่อหลายคนในประเด็นคล้ายๆ กัน ต้องอาศัยการจดบันทึกการประสานงานเพื่อง่ายต่อการอ้างอิง
  • การดำเนินการจัดการประชุม
             * ตั้งใจฟัง  จับประเด็นที่สำคัญ บันทึกการประชุม
             *
ทบทวนประเด็นการประชุมให้เข้าใจร่วมกันในตอนสุดท้าย เข้าใจตรงกัน สรุปเป็นมติ              * อำนวยความสะดวกผู้เข้าร่วมประชุม
            * สำคัญต้อง
นั่งข้างหน้าๆ เพื่อจะได้ฟังอย่างชัดเจนและถามในประเด็นที่ไม่ชัดเจนได้สะดวก
  • ภายหลังจัดการประชุม ต้องเข้าไปดูรายละเอียด ทำรายงาน ติดตามผลการประชุม รายงานผลการประชุม โดยเฉพาะ infrastructure การลิงค์ความรู้ ประสานกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
 เมื่อน้องกิ่งได้เผยเคล็ดลับให้ฟัง หลายคนแทบกับอึ้งและชื่นชมในความตั้งใจในการเตรียมตัว ความรอบคอบพร้อมร่วมกันให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมดังนี้
  • การนัดการประชุมปีละ 2 ครั้ง หากไม่ได้นัดก่อนก็อาจจะทำให้ยุ่งยากในการประสานงาน ดังนั้นควรจัดทำปฏิทินการประชุมร่วมกันเพื่อลดความยุ่งยากในการประสานการประชุมในรอบถัดไป
  • หากเลขา หรือผู้ช่วยเลขาอยากแสดงความคิดเห็น จะสามารถแสดงความคิดเห็นได้หรือไม่ ที่ประชุมให้ความเห็นว่า เลขา ผู้ช่วยเลขาอยู่ในคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง มีสิทธิที่จะให้ความเห็น พูดได้ และในทางปฏิบัติถ้าผู้ช่วยเลขามีประเด็นจะแสดงความคิดเห็นอาจจะส่งกระดาษ note สื่อสารกับเลขาเพื่อเป็นการให้เกียรติเลขา เพราะบางครั้งเลขาเป็นผู้บริหารหรือหัวหน้างาน
  • ภายหลังการจัดประชุม เพื่อเป็นการเรียนรู้ในข้อดีและข้อที่ต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น จึงควรมีการทำ AAR After Action Review ภายหลังการจัดประชุม เพื่อให้การจัดการประชุมครั้งหน้าราบรื่นบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

 Cop+%283%29

 

สุดท้ายต้องขอขอบคุณน้องกิ่งมากที่นำประสบการณ์การจัดการประชุมมาเล่าสู่กันฟัง ทำให้พี่ๆ ได้เทคนิคการจัดประชุมจากน้องกิ่ง...

  • จะทำอย่างไรหากต้องจัดประชุม  3 ประชุม และหากต้องจัดนอกสถานที่
  • การเตรียมความพร้อมก่อนประชุมกับประธาน ผู้ดำเนินการประชุมถึงวาระ เป้าหมาย เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้การประชุมบรรลุตามเป้าหมาย

หรือเพื่อนมีข้อคิดเห็นอย่างไร...ช่วยกันเพิ่มเติมนะคะ

หมายเลขบันทึก: 110666เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2007 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ภาพการประชุม แค่เห็นก็ปวดหัวแล้ว. -_-!

สวัสดีคะ คุณบ่าววีร์

การจัดงานประชุมมีความละเอียดและซับซ้อนมาก แต่นักจัดการประชุมเป็นคนสำคัญมากที่จะช่วยประสาน อำนวยความสะดวก จัดการข้อมูลให้การปรึกษาเกิดประโยชน์และบรรลุเป้าหมายคะ

แล้วคุณบ่าววีร์ละคะ มีประสบการณ์การจัดการประชุมที่มาแบ่งปันบ้างหรือไม่คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท