me_off
นาย ชัยนันท์ อ๊อฟ แสงสุระธรรม

การบริหารการผลิต


ผลิตสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ตามเวลาที่กำหนด ต้นทุนต่ำที่สุด

การผลิตเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเราทุกคน รวมถึงการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ซึ่งต้องการให้ได้สิ่งที่มีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ ภายในระยะเวลาที่กำหนด และสำคัญที่สุดคือ ต้นทุนต่ำที่สุดด้วย ดังนั้นเพื่อให้ได้สิ่งเหล่านั้นจำเป็นต้องมีการบริหารการผลิตอย่างเหมาะสม นั่นคือ การดำเนินการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการวางแผนกิจกรรมการผลิต การควบคุมการผลิต โดยกำหนดการใช้งานของแรงงาน วัตถุดิบ เครื่องจักร อุปกรณ์ ด้วยวิธีการอันเหมาะสมที่สุด อันเป็นการใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับภาพรวมของการบริหารการผลิตนั้นเริ่มตั้งแต่ 

   -   การวางผังการผลิตให้สามารถผลิตได้ด้วยของที่มีอยู่น้อยที่สุด 

   -   การตัดสินใจในการผลิต โดยคำนึงถึงลักษณะของกระบวนการผลิตที่ใช้, กำลังการผลิตที่ลูกค้าและผู้ผลิตต้องการ, ปริมาณของที่มีอยู่ (Inventory) ทั้ง RM WIP สินค้า Spare Part โดยต้องมีน้อยที่สุด และไม่กระทบต่อการผลิตแรงงานที่มีอยู่, แรงงานที่มีอยู่และต้องการ และคุณภาพของสิ่งที่ผลิต  

   -   การจัดผังกระบวนการผลิต ให้มี Inventory, Movement, Waste, Error, แรงงาน น้อยที่สุด

   -   การควบคุมวัตถุดิบและสินค้า ให้มี Inventory น้อยที่สุด และไม่กระทบต่อการผลิต

   -   การออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้สิ่งที่ตลาดและลูกค้าต้องการ โดยการผลิตสามารถทำได้

   การบริหารการผลิตเปรียบเสมือนการเติมคำในช่องว่าง กล่าวคือ โจทย์ถามอย่างไร เราต้องตอบคำถามเหล่านั้นให้ได้ เช่น ลูกค้าต้องการสินค้าแบบไหน เมื่อไหร่ ราคาเท่าไหร่ ผู้ผลิตต้องสามารถตอบโจทย์ของลูกค้าได้ทั้งหมด โดยผลิตได้ตอบโจทย์ของลูกค้ามากที่สุด และที่สำคัญ ต้องผลิตอย่างมี Productivity ซึ่ง Productivity ต้องประกอบด้วย ประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness)

       มีประสิทธิภาพ คือ ใช้ทรัพยากรน้อยกว่าที่กำหนด (โดยสินค้าหรือบริการยังคงคุณภาพตามที่ต้องการ)

       มีประสิทธิผล คือ ได้สินค้าหรือบริการมากกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้  (โดยสินค้าหรือบริการยังคงคุณภาพตามที่ต้องการ)

       แนวทางการเพิ่ม Productivity ทำได้ 5 แนวทาง คือ

1 การผลิตให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น โดยใช้ปัจจัยผลิตเท่าเดิม

2 การผลิตให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น โดยใช้ปัจจัยผลิตเพิ่มขึ้นด้วย

3 การผลิตให้ได้ผลิตผลเท่าเดิม โดยใช้ปัจจัยผลิตลดลง

4 การผลิตที่ได้ผลิตผลลดลง โดยใช้ปัจจัยผลิตลดลงในสัดส่วนที่มากกว่า

5 การผลิตให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น โดยใช้ปัจจัยผลิตลดลง

     สำหรับแนวคิดในการเพิ่มมูลค่า (Value) ของสินค้า สามารถทำได้โดยการลดความสูญเปล่า (Waste) ที่เกิดขึ้น

     เครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุง Productivity มีหลากหลายเครื่องมือ ทั้งนี้ผู้ที่จะนำเครื่องมือไปประยุกต์ใช้จะต้องรู้ก่อนว่า ความหมายและวัตถุประสงค์การใช้ของแต่ละเครื่องมือ เพื่อให้สามารถนำเครื่องมือไปประยุกต์ใช้ให้เกิดการปรับปรุง Productivity ในการผลิตมากที่สุด เพื่อให้การไหลของกระบวนการผลิต (Process Flow) ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุด เพราะสะดุดเมื่อใด ความสูญเปล่าก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น

      วันนี้ process flow ของคุณเป็นอย่างไร สะดุดบ้างไหมครับ

 จาก Productivity Talk เรื่อง การบริหารการผลิต (Production Management) โดย คุณเกษมพัฒน์ พานิชลือชาชัย วันที่ 22 มิถุนายน 2550

หมายเลขบันทึก: 109912เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2007 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 04:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท