เรื่องบำเหน็จบำนาญของผู้ที่เป็นสมาชิก กบข.


กองการเจ้าหน้าที่ มข. พร้อมจัดการองค์ความรู้ด้านการบริหารงานบุคคล (KM)

พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539

เนื่องจากระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ให้รัฐต้องตั้งงบประมาณรายจ่าย บำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำทุกปี โดยไม่มีการกันเงินสำรองไว้ล่วงหน้า สำหรับจ่ายบำเหน็จบำนาญในอนาคตนั้น ไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเงินการคลังของประเทศในปัจจุบัน ทำให้ไม่อาจวางแผนเชิงบริหารการเงินการคลังของประเทศในระยะยาว และไม่อาจวางแผนพัฒนาบุคลากรของรัฐได้ ดังนั้น จึงได้มีการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการขึ้นเพื่อ

  1. เป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญ และให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการ

     

    แก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ

  2. ส่งเสริมการออกทรัพย์ และจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่ข้าราชการ

     

    ที่เป็นสมาชิกของกองทุน

  3. เป็นสถาบันเงินออมที่มีบทบาทสำคัญ ในการช่วยแก่ปัญหาการขาดแคลน

     

    เงินออมภายในประเทศ

  4. เป็นการส่งเสริมการลงทุนอันเป็นการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

     

ข้าราชการตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

  • ข้าราชการพลเรือน
  •  

  • ข้าราชการฝ่ายตุลากร
  •  

  • ข้าราชการฝ่ายอัยการ
  •  

  • ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
  •  

  • ข้าราชการครู
  •  

  • ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
  •  

  • ตำรวจ
  •  

  • ทหาร
  •  

บุคคลที่ต้องเป็นสมาชิก กบข. (มาตรา 35) ได้แก่

1. ผู้ซึ่งเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2540

2. ผู้ซึ่งโอนมาเป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2540

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นกองทุนที่รวมเอากองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการเดิมเข้าด้วยกันจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีการบริหารงานเป็นอิสระ ซึ่งจะทำให้ข้าราชการที่เป็นสมาชิกได้รับสวัสดิการมากขึ้น เมื่อออกจากราชการ โดยจะได้รับเงินก้อนจากกองทุนและบำเหน็จบำนาญจากเงินงบประมาณ ซึ่งสรุปสาระสำคัญที่ควรทราบของพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ได้ดังนี้

 

 

1. วัตถุประสงค์ของกองทุน

1.1 เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญ และให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ข้าราชการ

เมื่อออกจากราชการ

1.2 เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก

1.3 เพื่อจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ แก่สมาชิก

2. ทุนประกอบการของกองทุน

2.1 เงินสะสมจากสมาชิกในอัตราร้อยละ 3 ของเงินเดือนก่อนหักภาษี เงินสมทบจากส่วนราชการ จำนวนเท่ากันกับเงินสะสมของสมาชิก เงินประเดิม และเงินชดเชย

2.2 เงินที่รัฐจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ปีละไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญข้าราชการประจำปีเข้าบัญชีสำรองทุกปี จนกว่าเงินสำรองเงินกอง กลาง และดอกผลของเงินดังกล่าวจะมีจำนวนเป็น 3 เท่าของงบประมาณรายจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปี (ม. 72)

2.3 ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาค

2.4 เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความจำเป็นเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

2.5 รายได้อื่น ๆ

2.6 ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน

3. การบริหารและการควบคุม

กองทุนไม่เป็นส่วนของราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และรายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน (ม.11 กบข. 2539) โดยมีคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จำนวน 21 คน เป็นผู้ควบคุมดูแลการบริหารกองทุน ประกอบด้วย

3.1 ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ

3.2 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ

3.3 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ

3.4 เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กรรมการ

3.5 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ

3.6 ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรรมการ

3.7 อธิบดีกรมบัญชีกลาง กรรมการ

3.8 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการ

3.9 เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ กรรมการ

3.10 ผู้แทนสมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการประเภทละหนึ่งคน กรรมการ

3.11 ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน กรรมการ

3.12 เลขาธิการ กรรมการ

เลขาธิการ เป็นผู้บังคับบัญชา พนักงานและลูกจ้าง รับผิดชอบในการบริหารกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน และตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด(ม. 24 )

4. การเป็นสมาชิกกองทุน

4.1 ผู้ที่เป็นข้าราชการหรือผู้ที่โอนมาเป็นข้าราชการตั้งแต่ วันที่ 27 มีนาคม 2540 ต้องเป็นสมาชิก กบข.ตามมาตรา 35 และต้องสะสมเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ในอัตราร้อยละ 3 ของเงินเดือนทุกเดือนจนกว่าจะพ้นสมาชิกภาพ

4.2 ผู้ที่เป็นข้าราชการอยู่ก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 สมัครเป็นสมาชิก(ม.36 กบข.2539)ภายในวันที่ 26 มีนาคม 2540 หรือผู้ที่ออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 กลับเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2540 เป็นต้นไป

สำหรับผู้ที่เป็นข้าราชการอยู่ก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 จะสมัครเป็นสมาชิกกองทุนและหรือสะสมเงินเข้ากองทุนหรือไม่ก็ได้

5. บุคคลที่ต้องเป็นสมาชิก กบข. (มาตรา 35) ได้แก่

  1. ผู้ซึ่งเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2540

     

  2. ผู้ซึ่งโอนมาเป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2540

     

สมาชิกต้องส่งเงินสะสมเข้ากองทุน

บุคคลต่อไปนี้จะสมัครเป็นสมาชิก กบข. ก็ได้ (มาตรา 36)

  1. ข้าราชการซึ่งรับราชการอยู่ก่อน วันที่ 26 มีนาคม 2540

     

  2. ข้าราชการซึ่งออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย

     

    การกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลา ราชการก่อนวันที่ 26 มีนาคม 2540

    สมาชิกจะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนหรือไม่ก็ได้ หากสมาชิกแสดงเจตนาว่าไม่ส่งเงินสะสม ส่วนราชการไม่ต้องนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนให้แก่สมาชิกผู้นั้น และเมื่อพ้นจากราชการสมาชิกดังกล่าวไม่มีสิทธิได้รับเงินสะสม และเงินสมทบ จากกองทุน

6. สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

6.1 สิทธิ

6.1.1 มีสิทธิได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ จากกองทุนตามที่คณะกรรมการกำหนด

(ม.42 )

6.1.2 มีสิทธิกู้เงินจากกองทุนจำนวนไม่เกินเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าว ที่ได้บันทึกไว้ในบัญชีของแต่ละคน เพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ หลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด (ม.43)

6.1.3 สิทธิทางภาษี

6.1.4 สิทธิตรวจสอบการดำเนินการกองทุน

6.1.5 สิทธิรับเลือกตั้งหรือเลือกตั้งกรรมการเข้าไปบริหารงาน

7. หน้าที่

7.1 สะสมเงินเข้ากองทุนในอัตราร้อยละ 3 ของเดือนที่ได้รับก่อนหักภาษีทุกเดือน

7.2 ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกองทุน

7.3 เลือกตั้งกรรมการเข้าไปบริหารงาน

8. สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นออกจากราชการ (มาตรา 44)

8.1 การพ้นสมาชิกภาพ

สมาชิกภาพของสมาชิกจะสิ้นสุดลงเมื่อสมาชิกผู้นั้นออกหรือพ้นจากราชการ เว้นแต่

8.1.1. ให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ

8.1.2. ออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ

9. สิทธิประโยชน์ของสมาชิก

เมื่อสมาชิกพ้นจากราชการ จะได้รับบำเหน็จบำนาญจากกระทรวงการคลัง และจะได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญ ดังนี้

Ÿ เงินสะสม คือเงินที่ส่วนราชการหักจากเงินเดือนที่สมาชิกได้รับแล้วส่งเข้ากองทุน ในอัตราร้อยละ 3 ของเงินเดือนที่ได้รับ โดยไม่รวมเงินเพิ่มต่าง ๆ ที่จ่ายควบกับเงินเดือน (มาตรา 39)

Ÿ เงินสมทบ คือเงินที่ส่วนราชการนำเข้ากองทุน เพื่อสมทบให้แก่สมาชิกในจำนวนที่เท่ากันพร้อมการส่งเงินสะสม (มาตรา 39)

Ÿ เงินประเดิม คือเงินที่กระทรวงการคลังนำส่งเข้ากองทุนให้สมาชิกซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่ 26 มีนาคม 2540 (มาตรา 40)

Ÿ เงินชดเชย คือเงินที่ส่วนราชการนำส่งเข้ากองทุนให้แก่สมาชิก ทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินเดือนในอัตราร้อยละ 2 ของเงินเดือนที่ได้รับไม่รวมเงินเพิ่มต่าง ๆ ที่จ่ายควบกับเงินเดือน (มาตรา 41)

รายละเอียดผลประโยชน์เมื่อสมาชิกพ้นจากราชการ

เมื่อสมาชิกพ้นจากสมาชิกภาพหรือพ้นจากหน้าที่ราชการโดยไม่มีความผิด สมาชิกหรือผู้มีสิทธิ์จะได้รับผลประโยชน์ ตามมาตรา 37 กบข. 2539 ดังนี้

1. เงินบำเหน็จบำนาญ และบำเหน็จตกทอดจากงบประมาณแผ่นดิน

2. เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าว จากกองทุน

 

 

10. การนับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ

ให้นับเช่นเดียวกับการนับเวลาราชการตาม พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

สำหรับการนับเวลาราชการต่อเนื่องกัน กรณีข้าราชการซึ่งลาออกจากราชการแล้วภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่ ให้นับเวลาราชการติดต่อกัน (มาตรา 38) โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

Ÿ ถ้าได้รับบำเหน็จไปแล้ว ต้องคืนบำเหน็จพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งคิดตั้งแต่วันที่รับเงินบำเหน็จไปจนถึงวันที่นำส่งคืนคลัง ทั้งนี้จะต้องนำส่งคืนคลังโดยผ่านส่วนราชการสังกัดใหม่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่กลับเข้ารับราชการ หรือภายในระยะเวลาที่ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง (ดอกเบี้ยคิดตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารออมสิน : รายละเอียดตามเอกสารหน้า 102.6)

Ÿ ถ้าเป็นผู้รับบำนาญ ให้ส่วนราชการใหม่ แจ้งการงดหรือลดบำนาญ แล้วแต่กรณี ไปยังส่วนราชการที่ผู้นั้นรับบำนาญอยู่

รายละเอียดการนับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ

1. การนับเวลาสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 มาตรา 66 ให้นับเวลาเป็นจำนวนปี เศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็น 1 ปี 12 เดือนนับเป็น 1 ปี และเศษของเดือนเป็นวันถ้ามีหลายช่วงให้นับรวมกันโดยให้นับ 30 วันเป็น 1 เดือน ทั้งนี้ให้รวมเวลาราชการปกติและเวลาทวีคูณเข้าด้วยกัน เช่นเดียวกับการนับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามระเบียบเดิม

2. ให้นับเวลาราชการตั้งแต่วันที่มีคำสั่งบรรจุซึ่งมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ จนถึงวันสุดท้ายของการรับราชการ กรณีตายให้นับถึงวันตาย

3. การนับเวลาราชการต่อกันเพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญ

การนับเวลาราชการต่อกันเพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญตามมาตรา 38 ให้นับในกรณีดังต่อไปนี้

3.1 ข้าราช การหรือข้าราช การส่วนท้องถิ่นที่ออกจากราช การไป แล้ว ถ้ากลับเข้ารับราช การใหม่ ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2540 ให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเวลาราชการตอนหลังได้ เว้นแต่ข้าราชการผู้นั้นถูกปลดออกหรือถูกไล่ออกจากราชการ เพราะได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและไม่มีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จบำนาญหรือ เบี้ยหวัดจากการรับราช การตอนก่อน

3.2 ข้าราชการหรือข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับบำเหน็จไปแล้ว กลับเข้ารับราชการใหม่ จะต้องคืนบำเหน็จที่ได้รับไปพร้อมดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินภายใน เวลา 90 วัน นับแต่วันที่กลับเข้ารับราชการใหม่ (หนังสือ กค. 0526.2/ว.24449 ลว.20 มิ.ย.2540)

กรณีไม่สามารถคืนบำเหน็จพร้อมดอกเบี้ยภายใน 90 วันได้ ให้ข้าราชการผู้นั้นยื่นหนังสือขอผ่อนผันระยะเวลาการคืนบำเหน็จและดอกเบี้ยต่อกระทรวงการคลัง โดยมีเงื่อนไขดังนี้

3.2.1 ยื่นหนังสือขอผ่อนผันภายใน 90 วัน ผ่านส่วนราชการต้นสังกัด เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วให้ถือว่าข้าราชการผู้นั้นไม่ประสงค์จะขอนับเวลาราชการต่อเนื่องกัน

3.2.2 ผู้ขอผ่อนผันการคืนบำเหน็จและดอกเบี้ยดังกล่าว จะต้องเสียดอกเบี้ยของเงินบำเหน็จและดอกเบี้ยในส่วนที่ค้างอยู่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี

3.2.3 สิทธิในการนับเวลาต่อเนื่องกันจะนับได้ต่อเมื่อส่วนราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่ได้รับเงินบำเหน็จและดอกเบี้ยครบถ้วนแล้วเท่านั้น

3.2.4 การคำนวณดอกเบี้ยให้คิดตั้งแต่วันที่ได้รับบำเหน็จเป็นต้นไปจนถึงวันที่กลับเข้ารับราชการใหม่ ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินในแต่ละปีเป็นเกณฑ์โดยไม่นำดอกเบี้ยมาทบต้น

3.2.5 ถ้าส่วนราชการใดไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์นี้ได้ ให้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นราย ๆ ไป

3.3 ข้าราชการซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติแล้ว ให้งดจ่ายบำนาญตลอดเวลาที่กลับเข้ารับราชการใหม่ (แต่ถ้าประสงค์จะรับบำนาญต่อไปให้แจ้งเป็นหนังสือต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดใหม่ภายใน 30 วัน นับแต่วันกลับเข้ารับราชการใหม่ และเมื่อรับบำนาญแล้วจะนับเวลาต่อเนื่องกันมิได้)

 

บำเหน็จบำนาญปกติ มี 4 เหตุ

  1. บำเหน็จหรือบำนาญ ตามมาตรา 48

     

    Ÿ สมาชิกออกจากราชการโดยมีเวลาราชการตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป (24 ปี 6 เดือน)
  2. บำเหน็จหรือบำนาญ เหตุทุพพลภาพ (มาตรา 50)

     

    Ÿ สมาชิกออกจากราชการ หรือทางราชการสั่งให้ออกจากราชการ

    Ÿ แพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจ และแสดงความเห็นว่าไม่สามารถที่จะรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นได้

  3. บำเหน็จหรือบำนาญ เหตุทดแทน (มาตรา 51)

     

    Ÿ สมาชิกลาออกจากราชการ หรือทางราชการสั่งให้ออกจากราชการโดยไม่มีความผิด

    Ÿ ทหารออกจากกองหนุนมีเบี้ยหวัด

    Ÿ ทางราชการเลิก หรือยุบตำแหน่ง

  4. บำเหน็จหรือบำนาญ เหตุสูงอายุ (มาตรา 52)

     

Ÿ สมาชิกลาออกจากราชการ เมื่อมีอายุตัวครบ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

Ÿ ทางราชการสั่งให้ออกจากราชการ กรณีเกษียณอายุ

 

เหตุทุพพลภาพ / เหตุทดแทน / เหตุสูงอายุ (มาตรา 53)

บำเหน็จ – มีเวลาราชการตั้งแต่ 1 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี (9 ปี 6 เดือน)

บำนาญ – มีเวลาราชการตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป (9 ปี 6 เดือน)

กรณีไม่เข้า 4 เหตุ ดังกล่าวข้างต้น

บำเหน็จ ตามมาตรา 47 สมาชิกลาออกจากราชการ

มีเวลาราชการตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป (9 ปี 6 เดือน)

แต่ไม่ถึง 25 ปี (24 ปี 6 เดือน)

Ÿ สมาชิกซึ่งรับบำเหน็จ จะได้รับเงินสะสม/สมทบและผลประโยชน์

Ÿ สมาชิกซึ่งรับบำนาญ จะได้รับเงินสะสม/สมทบเงินประเดิม/ชดเชย และผลประโยชน์ ยกเว้น สมาชิกซึ่งเข้ารับราชการหลังวันที่ 26 มีนาคม 2540 ไม่ได้รับเงินประเดิม

รายละเอียดสิทธิและเงื่อนไขการรับบำเหน็จบำนาญ กบข.

1 บำเหน็จบำนาญเป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนให้แก่กันมิได้ (ม.61) ผู้มีสิทธิจะต้องยื่นเรื่องขอรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเอง ต่อหน่วยงานเจ้าสังกัดครั้งสุดท้ายเมื่อออกจากราชการ ซึ่งมีหลักเกณฑ์และ

เงื่อนไขการให้สิทธิรับบำเหน็จบำนาญดังนี้

1.1 สมาชิกที่ลาออกหรือให้ออกหรือ ถูกปลดออก ซึ่งมีอายุไม่ครบ 50 ปีบริบูรณ์ ถ้ามีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตั้งแต่ 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิได้รับบำเหน็จ (ม. 47) และถ้ามีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตั้งแต่ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิได้รับบำนาญ (ม 48 )

1.2 สมาชิกที่ออกจากราชการด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังนี้

1.2.1 ออกจากราชการเพราะเจ็บป่วยหรือทุพพลภาพ ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้แสดงความเห็นว่าไม่สามารถที่จะรับราชการต่อไปได้ ( ม. 50 เหตุทุพพลภาพ )

1.2.2 ออกจากราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่งหรือมีคำสั่งให้ออกจากราชการโดยไม่มีความผิด หรือทหารซึ่งออกจากราชการกองหนุน เบี้ยหวัด ( ม..51 เหตุทดแทน )

1.2.3 ออกจากราชการเพราะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือเกษียณอายุราชการ หรือมีอายุครบ 50 ปีบริบูรณ์ แล้วลาออกจากราชการ (ม. 52 เหตุสูงอายุ)

สำหรับผู้ที่ออกจากราชการตามข้อ 1.2.1 1.2.2 และ 1.2.3 ถ้ามีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตั้งแต่ 1 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จ (ม. 48) ถ้ามีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ ตั้งแต่ 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับบำนาญ ( ม.. 53)

ผู้ที่มีสิทธิรับบำนาญจะขอรับบำเหน็จแทนบำนาญก็ได้

1.2 สิทธิการรับบำนาญให้เริ่มตั้งแต่วันที่ออกหรือพ้นจากสมาชิกภาพจนถึงวันตาย (ม. 55 )

1.3 ผู้รับบำนาญ กบข. มีสิทธิได้รับสวัสดิการเช่นเดียวกับผู้รับบำนาญระเบียบเดิม (ม.57 )

 

วิธีคำนวณบำเหน็จบำนาญปกติ

 

สูตร บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย เวลาราชการ (มาตรา 62)

 

สูตร บำนาญ = (มาตรา 63)

(ไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย)

การคำนวณเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน ของผู้ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ซึ่งเวลาราชการยังไม่ครบ 60 เดือน ให้นับอัตราเงินเดือนทุกเดือนที่กลับเข้ารับราชการใหม่รวมกับอัตราเงินเดือนเดิมก่อนออกจากราชการย้อนหลังไปจนครบ 60 เดือน และในกรณีที่ไม่อาจนับอัตราเงินเดือนให้ครบ 60 เดือนได้ ให้นำอัตราเงินเดือนที่ได้รับในเดือนแรกที่เริ่มเข้ารับราชการในครั้งแรกเป็นอัตราเงินเดือนเพื่อนำมารวมให้ครบ 60 เดือน ( กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539

การนับเวลาราชการเพื่อให้เกิดสิทธิรับบำเหน็จบำนาญ

Ÿ ให้นับจำนวนปี เศษของปีถ้าถึงครึ่งหนึ่งให้นับเป็นหนึ่งปี

Ÿ การนับเศษของปีซึ่งเป็นเดือน หรือวัน ให้คำนวณตามวิธีการจ่ายเงินเดือน

Ÿ ให้นับ 12 เดือน เป็นหนึ่งปี

Ÿ ให้นับ 30 วันเป็นหนึ่งเดือน

 

ตัวอย่าง

Ÿ มีเวลาราชการปกติรวมกับเวลาทวีคูณ 24 ปี 6 เดือน 3 วัน ให้นับเป็นเวลา 25 ปี เพื่อให้เกิดสิทธิรับบำเหน็จบำนาญตามมาตรา 48 แต่จำนวนปีที่ใช้ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญใช้ตัวเลขจริง คือ 24 ปี 6 เดือน 3 วัน

Ÿ มีเวลาราชการปกติรวมกับเวลาทวีคูณ 9 ปี 7 เดือน 2 วัน ให้นับเป็นเวลา 10 ปี เพื่อให้เกิดสิทธิรับบำเหน็จบำนาญเหตุสูงอายุ / ทุพพลภาพ / ทดแทน / มาตรา 47 แต่จำนวนปีที่ใช้ในการคำนวณบำเหน็จใช้จำนวนจริงคือ 9 ปี 7 เดือน 2 วัน

 

การคำนวณเวลาราชการ

ตัวอย่าง เวลาราชการปกติ บวกเวลาราชการทวีคูณ 37 ปี 5 เดือน 26 วัน

เป็นเวลา 37 + ปี

การคำนวณบำเหน็จ กบข.

ตัวอย่าง 21,970 37.49 = 823,655.30 บาท

การคำนวณบำนาญ กบข.

ตัวอย่าง บาท

ไม่เกิน 70 % ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

บาท

จะได้รับบำนาญจำนวน 12,896 บาท 10 สตางค์

 

การคำนวณเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

 

ตัวอย่าง ข้าราชการเกษียณอายุ 1 ตุลาคม 2544

 

อัตราเงินเดือน

ตั้งแต่

ถึง

รวม (เดือน)

จำนวนเงิน

16,020

1 ตุลาคม 2539

30 กันยายน 2540

12

192,240

17,190

1 ตุลาคม 2540

30 กันยายน 2541

12

206,280

18,360

1 ตุลาคม 2541

30 กันยายน 2542

12

220,320

19,530

1 ตุลาคม 2542

30 กันยายน 2543

12

234,360

20,320

1 ตุลาคม 2543

31 มีนาคม 2544

6

121,920

21,550

1 เมษายน 2544

30 สิงหาคม 2544

5

107,750

21,970

1 กันยายน 2544

30 กันยายน 2544

1

21,970

   

รวม

60

1,104,840

   

เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

18,414

 

ตัวอย่าง ข้าราชการได้เลื่อนระดับและปรับอัตราเงินเดือน จากระดับ 7 อัตราเงินเดือน 28,870

เป็นระดับ 8 อัตราเงินเดือน 30ม850 เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2541

ขอลาออกจากราชการเมื่อ 27 กันยายน 2544

 

อัตราเงินเดือน

ตั้งแต่

ถึง

รวม (เดือน)

จำนวนเงิน

27,930

1 ตุลาคม 2539

30 กันยายน 2540

12

335,160

28,870

1 ตุลาคม 2540

30 กันยายน 2541

7

202,090

30,850

1 ตุลาคม 2541

30 กันยายน 2541

5

154,250

32,010

1 ตุลาคม 2541

30 กันยายน 2542

12

384,120

33,170

1 ตุลาคม 2542

31 มีนาคม 2544

12

398,040

34,330

1 เมษายน 2543

30 สิงหาคม 2544

6

205,980

34,910

1 เมษายน 2544

30 กันยายน 2544

5

174,550

35,490

1 กันยายน 2544

 

1

35,490

   

รวม

60

1,889,680

   

เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

31,495

 

 

การเสียสิทธิในบำเหน็จบำนาญของสมาชิก

  1. สมาชิกซึ่งถูกไล่ออกจากราชการ

     

    Ÿ ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ

    Ÿ แต่มีสิทธิได้รับเงินสะสม/สมทบ และผลประโยชน์จากเงินดังกล่าว

  2. สมาชิกซึ่งถึงแก่ความตายเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง

     

    Ÿ ทายาทไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด

    Ÿ แต่มีสิทธิได้รับเงินสะสม/สมทบ และผลประโยชน์จากเงินดังกล่าว

  3. ผู้รับบำนาญรายใด

     

Ÿ ได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือ

Ÿ เป็นบุคคลล้มละลายทุจริต ตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย

หมายเลขบันทึก: 109779เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2007 08:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)
ไม่เข้าใจการนับวันทวีคูณ ว่าก่อนเข้า และหลังเข้า กองทุน กบข.ใช้นับได้หรือเปล่า  และเมื่อเข้ากองทุน กบข.แล้ว ทำไมลาออกไม่ได้
การนับวันทวีคูณ นับต่อเนื่องจาก ก่อนเข้าและหลังเข้า ส่วนจะลาออกจากสมาชิก ตามพรบ.ฉบับนี้ การจะลาออกได้ 1. ลาออกจากราชการ 2. เกษียณ 3. ถูกให้ออก ปลดออก และไล่ออก 4. ตาย ดังนั้นท่านจะลาออกในขณะรับราชการอยู่ไม่ได้

ไม่เป็นธรรมเอาเสียเลย

ผมรับราชการตำรวจปี 1 กพ.37 เกษียนอายุราชการมีสิทธิ์รับบำนาญหรือไม่ครับ ซึ่งมีข้อถกเถียงกันอยู่บ่อย ๆ ว่า รับราชการหลังปี 2535 ไม่มีสิทธรับบำนาญ ผมค้นหาตามแหล่งข้อมูลต่าง ๆ แต่ก็ไม่กระจ่าง ผู้รู้ช่วยตอบหน่อยครับ

เข้ารับราชการตั้งแต่ พ.ศ.2545 มีสิทธิได้รับเงินบำนาญหรือเปล่า

บรรจุ 1 เม.ย.2528 ถึง 30 กย.2552 รวม 24 ปี 6 เดือน มีวันทวีคูณ 6 เดือน 16 วัน จะลาออกจากราชการเพื่อรับบำนาญ ได้เมื่อไหร่ และ ต.ค. 2552 นี้ ถ้าออกจากราชการ จะเข้าโครงการ เกษียรก่อนกำหนดได้หรือไม่

ได้ความรู้ มากเลยครับ ขอขอบคุณอย่างสูง

อยากลาออก เบื่อ บริหารแย่ ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

อยากลาออก กบข อภิสิด ว่างัย

ปปช ตรวจสอบด่วน

อยากลาออก เบื่อมันทำนาบนหลังข้าราชการ ชั่วจริง ถ้าให้ออกจะยกให้เลยไอ้เงินที่หักๆมาน่ะนึกว่าทำทานหมามันไป

กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

ตรงวัตถุประสงค์แย้งกันแฮะ ข้อ สาม บอกว่าส่งเสริมการออม ข้อ สี่ ดันเอาเงินตรูไปลงทุน ซะงั้น ไม่อยากลงทุน ว้อยยยยยยยยยย อยากออมเฉยๆ เข้า ใจ มะ

เรียน ท่านผู้มีอำนาจทั้งหลายที่เคารพ

ผมเป็นข้าราชการผู้น้อย ยังโดยเอาเปรียบทุกอย่าง จากรัฐอีกเหรอ ไม่เป็นธรรมเอาเสียเลย ตอนรับสมัครก็ยกแม่น้ำทั้ง ๕ มา ว่าดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ ผมหลวมตัวเข้ามาแล้วเสียใจมาก รู้อย่างนี้ไม่สมัครก็ดี เสียความรู้สึกไปทั้งชาติเลย เสียผลประโยชน์ แทนที่ตอนเกษียนอายุราชการจะได้รับบำนาญตามปกติ เหมือนเดิม ก็ยังไปคิดเฉลี่ย เงินเดือน ๖๐ เดือนสุดท้าย ทำให้บำนาญลดลงอย่างน่าตกใจ (ผมรับไม่ได้)

ผมอยากลาออก โดยที่ขอแค่เงินที่หักของผมไป ทุกๆ เดือน ก็พอแล้ว ผลประโยชน์ที่เหลือนึกว่าทำบุญ ช่วยชาติ ช่วยคนคอรับชั่น

ผมขอให้การชุมนุมในวันที่ 29 มิ.ย.52 สำเร็จ ผมสนับสนุนด้วย อาจไปด้วยไม่ได้ แต่ขอส่งกำลังใจไป

หรือ....น่าจะมีแนวทางแก้ไขกฏหมาย ใหม่ ใครจะลาออกจาก กบข.ก็ได้ หรือใครจะเป็นสมาชิกต่อให้เขาทำกันต่อไปก็ได้ หรือ กำหนดกฏเกณ์ กบข.ใหม่ อย่าเอาเปรียบกันมากนักเลย... แต่ ผม อยากลาออกจาก กบข. ครับๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ถ้าเปิดโอกาสให้สมาชิกลาออกคงไม่มีใครเหลือ เพราะ กองทุน ก็เหมือนบริษัทระดมเงินทุนนั่นเอง เอาเงินส่วนหนึ่งไปบริหารคณะกรรมการ พนักงาน จนท.ในองค์กร สมาชิกส่วนใหญ่จะเสียเปรียบ จากที่เคยได้ เต็มร้อย ก็เหลือ เจ็ดสิบ ดูดเลือดเราพอหรือยังท่าน ปลดล้อกเถิดให้สมาชิกลาออกซะ

อย่างนี้มาช่วยกันลาออก เร็วๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ นะ พวกเราถูกข่มขืน

กระทำชำเราจิตใจ มานานแล้ว

ท่านมนูญ....ยังทำงานอยู่หรือเปล่า..ช่วยตอบคำถามหน่อยซิ...คำถามที่4และ5คนอยากรู้ก็รอตายเลย...เข้ามาดูมั่งเปล่า...หรือไม่ได้ทำงานแล้วหรือไงกัน..ท่านเห็นตอบคำถามครั้งสุดท้ายตั้งแต่ปี50แน่ะ

ข้าราชการเป็นตัวจักรสำคัญที่ทำงานดอบสนองนโยบายให้กับรัฐบาลมาตลอด แต่เมื่อถึงเวลาจะออกจากราชการไปพักผ่อน กลับถูกรัฐบาลริดรอนสิทธิที่พึงมีพึงได้ โดยคิดคำนวณเงินบำนาญด้วยระบบของ กบข.ให้ลดน้อยลงไปอย่างมากจนน่าใจหาย ดูแล้วไม่พอเลี้ยงชีพตัวเองยามแก่เฒ่าในภาวะเศรฐกิจปัจจุบันและในอนาคต การบริหารจัดการแบบนี้รัฐบาลคิดว่าเหมาะสมแล้วใช่ไหม รัฐบาลไม่เห็นแก่ตัวไปหน่อยหรือ สร้างกฎหมายไม่เป็นธรรมมัดคอคนอื่น เอาตัวเองอยู่รอดแต่คนอื่นจะเดือดร้อนอย่างไรก็ช่าง ขอให้ช่วยพิจารณาด้วยอย่าทำเป็นไขสือไม่รู้ร้อนรู้หนาว อย่ามัวเอาเงินไปหว่านและฟุ่มเฟือยในเรื่องที่ไร้สาระบ้านเมืองจะอยู่ไม่รอดและเดือดร้อนถึงลูกหหลานในออนาคตด้วย

อยากลาออกกันจริง ๆ ค่ะ รู้สึกถูกรัฐบาลโกหก ไม่พูดความจริง

ออกกันเถอะค่ะ

ขอร้องให้ผู้เกี่ยวข้องในการแก้ไขสูตรการคำนวณใหม่เถอะครับ

หมู่น้อยด้อยขั้น

ถ้าพวกเราไปเรียกร้องรัฐบาลจะร้องโอ้กกันแน่ เราไม่ช่วยกันได้อย่างไร เพราะถูกเอาเปรียบเหลือร้าย จากสนามชายแดน ผู้หมู่คนจนคนนี้

ขอบคุณท่านข้าราชการทุกท่าน ที่เข้ามาร่วมถาม แสดงความคิดเห็น ปัญหาใหญ่ที่พบคือ สูตรคำนวณ ไม่เป็นธรรม ซึ่งล่าสุดฝ่ายกฎหมายกรมยัญชีกลาง กำลังปรับปรุง สูตรใหม่ อาจใช้สูตร เฉลี่ย 24 เดือนสุดท้าย แต่ไม่เกิน 90 % ของเงินเฉลี่ย 24 เดือนสุดท้าย ก็ต้องรอลุนกัน ฝันจะเป็นจริงหรือไม่

ได้สมัครเป็นสมาชิก กบข.สำคัญผิดจากการโฆษณาเชญชวนของกรมบัญชีกลาง จะได้รับบำเหน็จบำนาญมากกว่าระบบที่มีอยู่เดิม ก็ไปขอให้ศาลเพิกถอนการเป็นสมาชิก ศาลไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา

 จึงอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น   ศาลปกครองสูงสุดโดยที่ประชุมใหญ่วินิจฉัยว่า การไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีลาออกจากการเป็นสมาชิก ถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครองที่ส่งผลกระทบให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐแล้ว ผูฟ้องจึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล มาตรา 42 วรรคหนี่ง แห่ง พ.ร.บ.การจัดตั้งศาลปกครองฯ

(คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 394/2546) 

นิอร พิมพ์เสงี่ยม

การคิดบำเหน็จบำนาญของครูที่เป็นกบข.หรือไม่เป็นก็ใช้สูตรเดียวกัน เสียเปรียบเหมือนกัน ทางที่ดีและยุติธรรม ควรปลดล๊อกคำว่า 70%ออกไปและระยะเวลารับราชการให้ตามเป็นจริง ไม่ใช่แค่ 35 ปี บางคนเขารับราชการมา 40 กว่าปีหรือมากกว่านั้นก็ไปจำกัดแค่ 35 ปี เป็นการเอาเปรียนครูุ เวลาประกาศกฎอัยการศึกหรือเสี่ยงภัยไม่มีความหมายเลยนี่คือการโดนเอาเปรียบจากรัฐฯขอให้แก้ไข ข้าราชการทำงานมานานก็ควรที่จะได้รับสิ่งตอบแทนไม่ใช่เห็นเป็นแค่คนแก่ๆให้เบี้ยงเลี้ยงไปวันๆ โปรดพิจารณาด้วยค่ะ

กบข.ก็ส่วน กบข.คิดประโยชน์จากเงิน 3 % แยกออกไป    ขรก.ทุกคนต้องรับบำนาญสูตรเดียวกันทั่วประเทศ  คือความยุติธรรม    กบข.คิดอายุราชการให้ 35 ปีเท่ากันทุกคน  ไม่ยุติธรรม    คนที่อายุราชการเกิน 35 ปี เป็นผู้เสียสิทธิ์   ขอให้แก้ไขด้วยการเปิดโอกาสให้ลาออกจาก กบข.ได้    แล้วกลับไปใช้สูตรเดิม    เห็นมีข่าว..แต่ไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด   เร่ง ๆ ให้ด้วยเถอะ     อยากจะออกแย่แล้ว

อยากลาออก.......ทุกคนที่เข้ามา....ช่วยกันรวมพลังหน่อยค่ะ..

โปรโมชั่น แรกเข้า ของกบข.ดูเลิศไปหมด  น่าเห็นใจ ข้าราชการแก่ๆที่หลงไปสมัครโดยเหลืออายุราชการไม่ถึง 5 ปี หลังจาก27 มีนาคม 2540  โดยได้รับผลตอบแทนจาก กบข. กับเหลือบำนาญรายเดือน นั้นได้ไม่คุ้มเสียจริงๆ          ทั้งๆที่ทำราชการมา  35 ปีขึ้นไป  ทางกบข. ควรจะชี้แจงกับข้าราชการแก่ๆให้มากกว่านี้ ทุกวันนี้เขาก็ยังมีชีวิตอยู่กับบำนาญรายเดือนที่ กบข.เอาเปรียบ  สำหรับครูเก่าๆ ที่มีอายุราชการเหลือหลังจากเป็นสมาชิก กบข. อีก15ปีขึ้นไปก็พอจะคุ้มบ้าง สรุปแล้ว สมาชิกไม่มีสิทธิ์เรียกร้องใดๆทั้งสิ้น หรือ ทาง กบข.จะบอกว่า ช่วยไม่ได้ คุณอยากไปสมัครเอง ไม่ได้บังคับ ซินะ ! น่าสมเพชข้าราชการไทยจริงๆ

การทำรระเบียบของ กบข เท่าที่อ่านดูส่วนมากเข้าข้างคณะกรรมการมากกว่า  ประมาณ  80 %  สมาชิกทำงานมาแต่ อายุ 18  ปี เกษียณอายุ 60 ปี   ทำงานแทบล้มแทบตายด้วย  บำนาญ  70 % เฉลียเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย  ส่วนคณะกรรมการ  ทำงานไม่กี่ปี   ได้เหนาะ  30  %  แถมคิดเล็กคิดน้อยอีกต่างหาก  น้าจะสร้างความเป็นธรรมให้กับข้าราชการทุกส่วนที่ทำงานมาเพื่อชาติเพื่อแ่ผนดิน  ขอกราบผู้มีอำนาจช่วยสร้างประวัติการณ์ ให้ข้าราชการได้ชื่นชมได้บ้าง  "อยู่ให้เขาไว้ใจ ไปให้เขาคิดถึงบ้างเน่อ" เพราะเห็นกันนักหนา ให้สมาชิกสมัคร และสมาชิกสะสม อ่านระเบียบแล้ว ไม่อยากสมัคร แต่คงโดนบังคับต่อพระคุณเอย สงสารข้าราชการดดนวงจรอุบาทครอบงำจนตลอดเกษียณ อะนิจจาเอย

ลุงของผมที่เสียชีวิตไปนั้น น้องสาวของลุงไปขอรับเงิน15เท่าของเงินเดือนกองทุน ก.บ.ข เขาบอกว่าไม่มีสิทธิรับ เนือ่งจากลุงไม่ได้เซ็นเอกสารมอบให้ใคร (ลุงไม่มีลูกไม่มีภรรยา)

สรุปแล้วคือไม่ได้อะไรเลย

ข้าราชการคนหนึ่ง

โทรถามที่ กบข บอกเราว่าเค้ารับจ้างทำให้ข้าราชการ แต่ตอบอะไรไม่เข้าท่าเลย ไม่รู้ ไม่ได้ เป็นความลับ สงสัยว่าคงเสียเงินไปกับการจ้างพวกไม่ได้เรื่องมา่บริหารเงินเรานี่แหละ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท