โรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์ “อยู่ดี – มีสุข”


อนาคตอาจจะจบลงตรงที่ “อนุสาวรีย์โรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์” ซึ่งไม่ใช่ภาพที่พึงประสงค์ของโครงการนี้ และของชาวชุมพรทุกคน

ผมติดตามยุทธศาสตร์ อยู่ดี-มีสุข ของ จ.ชุมพร แบบเฝ้าสังเกตุการณ์อยู่ห่าง ๆ มาโดยตลอด ทำหน้าที่ตั้งคำถามบ้าง แสดงความคิดเห็นบ้าง แล้วแต่จังหวะจะอำนวย จุดมุ่งหมายสำคัญเพราะอยากเห็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดผลสำเร็จขึ้นในชุมชน ควบคู่ไปกับการพัฒนางาน, พัฒนาคน และพัฒนาองค์กร ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

จากข้อมูลที่ได้รับฟังข้อเสนอแนะของตัวแทนจากสภาพัฒน์ ในการประชุมติดตามผลความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ฯ นี้ เมื่อครั้งที่ รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ มาตรวจงานที่ จ.ชุมพร เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ชี้ให้เห็นว่า การจัดสรรงบประมาณ อยู่ดี-มีสุข ของเรา เน้นหนักไปที่ โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ค่อนข้างมาก ทำให้ผมสนใจวิเคราะห์ตัวเลขเกี่ยวกับโครงการนี้ (ตามเอกสารเท่าที่มีอยู่ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ข้อมูลทั้งหมด) โดยทำได้เพียงอ่านรายชื่อโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ เลือกนับเฉพาะที่มีคำว่า ปุ๋ย ซึ่งเขียนแตกต่างกันไปทั้ง ปุ๋ยอินทรีย์, ปุ๋ยหมักชีวภาพ, ปุ๋ยอัดเม็ด ฯลฯ นับได้ประมาณ 95 โครงการ รวมตัวเลขงบประมาณสนับสนุนร่วม 15 ล้านบาท

เท่าที่อ่านดูรายชื่อพบว่า มีอีกหลายโครงการที่เน้นหนักไปทางด้านเกษตรอินทรีย์, เกษตรกรรมธรรมชาติ, การปลูกผักปลอดสารพิษ ฯลฯ โดยไม่มีคำว่า ปุ๋ย อยู่ในชื่อโครงการ ผมก็ไม่นับ เพราะไม่สามารถหยั่งรู้ได้ว่า มีกระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อยู่ในโครงการลักษณะนี้หรือไม่ และไม่อยากเดาเอาเองเดี๋ยวข้อมูลจะผิดเพี้ยนไป

เมื่อมีโอกาสไปบรรยายเรื่อง การจัดทำแผนธุรกิจชุมชน ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชุมพร จึงได้พบกับชาวบ้านตัวแทนชุมชน และได้สอบถามรูปแบบของโครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ทำให้ทราบขั้นตอนตั้งแต่การสร้างโรงเรือน สร้างลานกองวัตถุดิบเพื่อนำมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปผ่านกระบวนการหมักทางชีวภาพ  ควบคู่ไปกับการติดตามตรวจสอบพลิกฟื้นกองปุ๋ยเพื่อให้การหมักมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพตามที่กำหนด จึงจะนำผลผลิตไปอัดเม็ด และบรรจุถุงเพื่อจัดจำหน่ายให้แก่กลุ่มสมาชิกและลูกค้า หารายได้มาหล่อเลี้ยงกิจการต่อไป

เมื่อเห็นภาพกระบวนการจัดการดังนี้แล้ว ทำให้ตระหนักได้ว่า มี ภารกิจ ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องจัดการให้ประสบผลสำเร็จรออยู่อีกมาก การจัดสรร, ประกวดราคา, ก่อสร้างและเบิกจ่ายงบประมาณว่าไปแล้วเป็นเพียงขั้นตอนในระยะที่ 1 ช่วงเริ่มต้นของการบริหารจัดการโรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์เท่านั้น หัวใจสำคัญของงานจริง ๆ อยู่ที่ การจัดการ กระบวนการต่าง ๆ ที่จะตามมา ทั้งการสรรหาวัตถุดิบสำรองไว้ล่วงหน้าไม่ให้ขาดช่วง, การผลิตเพื่อแปรรูปซึ่งต้องใช้แรงงานและค่าโสหุ้ยอีกมาก ไปจนถึงการบรรจุภัณฑ์ และจัดจำหน่าย

เรื่องเหล่านี้ถ้าไม่ได้ร่วมกัน ใคร่ครวญ ภารกิจให้ชัดเจน ไม่ได้ออกแบบระบบงาน และพัฒนา คน ขึ้นมารองรับไว้ล่วงหน้า และโดยเฉพาะเรื่องที่สำคัญที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง คือ ไม่ได้เตรียมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อรองรับการบริหารจัดการทั้งหมด อนาคตอาจจะจบลงตรงที่ อนุสาวรีย์โรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งไม่ใช่ภาพที่พึงประสงค์ของโครงการนี้ และของชาวชุมพรทุกคน.

 

คำสำคัญ (Tags): #ปุ๋ยอินทรีย์
หมายเลขบันทึก: 109248เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2007 08:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข (สำหรับเจ้าของโรงงานผลิตเครื่องปั้นปุ๋ย เครื่องอัดปุ๋ย ธาตุอาหารเสริมต่างๆ)

-ทำไมไม่พัฒนาคนให้มีความเข้าใจเรื่องการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง การสร้างความคุ้มค่า มีเหตุผลในการดำรงชีวิต สร้างจิตสำนึกให้มีความพอเพียง ตามแนวพระราชดำริฯ

-ทำไมไปเน้นในเรื่องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สร้างรายได้ให้กับคนบางกลุ่มเท่านั้น ในส่วนรากหญ้าตายเหมือนเดิม

ผมเองก็มีคิดว่าอย่างที่พี่วิเคราะห์

จากที่ได้สำผัสและทำงานในหลายพื้นที่ของจังหวัดชุมพร  เห็นโรงงานปุ๋ยหลายโรง  โรงอื่น ๆ  อีกหลายโรง  บ้างก็ปิด ๆ  เปิด          บ้างก็ยังไม่ได้เริ่มทำอะไรเลยหลังจากที่สร้างไว้แล้ว  บ้างก็ ...........

           ฉะนั้นการพิจารณาโครงการ ฯ  ถ้าดูความพร้อมตามหลักเกณฑ์ทั้ง  6  ประการอย่างจริงจังจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ   และประเด็นเรื่องการมีแผนชุมชนก็เป็นสิ่งที่สำคัญ  ... แต่ต้องดูก่อนว่าแผนนั้นให้ความสำคัญกับ  กระบวนการเรียนรู้   หรือ ให้ความสำคัญกับผลลัพท์ ( แผนเป็นเล่มๆ )  ............

ถ้าคุณไอศูรยืจำได้  เมื่อเดือนกรกฏาคม 2550  หนูได้มีโอกาสไปร่วมเสวนา ประชาธิปไตยชุมชน  ที่อำเภอสวี  ในทีมงาน  นายพินิจ  พรหมสุรัตน์  หวังว่าคงได้พูดคุยกันอีก  หนูไม่ลืมเรื่อง  CD  วันประชาธิปไตย กำลังจัดเตรียมให้  และรูป  file ฝากที่คุณอุษา  ย้วนบุญหลิม

 

หจก. พรจันทร์มาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป

จำหน่ายปุ๋ยปลาปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ตราชาวประมง

ปุ๋ยปลา คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็น สารละลายเข้มข้น ที่ได้จากปลาสดโดยกระบวนการหมักซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย มีธาตุอาหารหลักและรองครบตามที่พืชต้องการ

วัตถุดิบ

ปลาสดจากทะเล : ให้ ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก แก่ต้นพืช

ส่าเหล้า : สารอินทรีย์ และ อนินทรีย์ มีสีน้ำตาลเข้ม และมีธาตุอาหาร N: P: K ซึ่งเป็นสารอาหารที่พืชต้องการ

จุลลินทรีย์ : สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เป็นตัวกลางช่วยเร่งปฏิกิริยาการดูดซึมธาตุอาหารของพืชได้เร็วขึ้น

ประโยชน์ของปุ๋ยปลาตราชาวประมง

-ปรับสภาพดินและฟื้นฟูสภาพดินที่เสื่อมโทรมจากการทำเกษตกรรมมายาวนาน และจากการใช้ปุ๋ยเคมีที่เกินขนาด ช่วยให้ดินโปรง ร่วนซุย

-ปรับความเป็นกรด-ด่างในดิน สร้างความต้านทานโรครากเน่าโคนเน่า

-ช่วยเปิดรากพืชเสริมการดูดซึมธาตุอาหารแก่พืช

-มีสารเร่งการเจริญเติบโต GA3, IAA

-เพิ่มความเขียวสดเป็นมันวาวให้ไม้ใบ ยืดอายุการบานของไม้ดอก

-มีกลิ่นและสารช่วยไล่แมลง พวกแทนนิน ลิกนิน

-ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพสูงสุด

มีขนาด 1 ลิตร 5 ลิตร 20 ลิตร มีทั้งราคาส่งและปลีก

อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อมานะครับ ขอบคุณครับ

สนใจติดต่อ คุณปอ คุณอัญชรี 077-541347’544473 อ.หลังสวน จ.ชุมพร

หรือ คุณวิรัตน์ หมวดแทน 089-6455239

พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ

ขอใบเสนอราคา

สวัสดีค่ะ จัดจำหน่ายถุงกระสอบพลาสติกสานค่ะ สำหรับบรรจุปุ๋ย ราคายุติธรรม สนใจติดต่อ 085-920-4562 ได้ค่ะ

จำหน่ายกากน้ำตาลคุณภาพโรงงาน

www.anmolasses.com

 

081-8563454  คุณนิรุต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท