ภูมิปัญญาชาวบ้าน


"วิธีแก้ปัญหาโดยใช้ธรรมชาติ"

        เมื่อใกล้วันขึ้นปีใหม่ ในสถานที่ต่างๆ รวมทั้งสำนักงานหรือสถาบันต่างๆในกระทรวงสาธารณสุข ได้มีกิจกรรมรื่นเริง เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ที่ใกล้เข้ามา สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) ได้มีโอกาสได้ร่วมเล่นกีฬากระชับมิตรกับสถาบันในภาคี เช่นสวรส. ด้วยเช่นเดียวกัน กีฬาที่ร่วมแข่งขัน ก็เป็นกีฬาที่เล่นง่ายๆ ไม่มีกฎกติกาอะไรยุ่งยาก ได้แก่ แชร์บอล เปตอง ปิงปองและปาเป้า โดยมีนักกีฬาตัวจริงและตัวปลอมลงแข่งมากมาย (บอกแล้วว่าเอามันส์อย่างเดียว) ผลการแข่งขันเป็นที่น่าพอใจ เราชนะเลิศ แชร์บอล (จากที่ไม่เคยชนะอะไรมาก่อน) ทำให้เราภาคภูมิใจมาก แต่กว่าจะได้ชัยชนะมานั้น ในระหว่างแข่งขัน หลังจากลงสนามในคู่ชิงชนะเลิศ ใน 5 นาทีแรก นักกีฬาเกิดอุบัติเหตุเท้าพลิก ปวด บวมบริเวณข้อเท้าขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด พวกเราก็ช่วยเอาน้ำแข็งประคบและพยุงกันมาข้างสนาม แต่ก็มีท่านอาจารย์ท่านหนึ่งมาช่วยปฐมพยาบาล และได้บอกสูตรลับเพื่อลดบวม โดยใช้ขิงแก่ 1 หัว (ต้องขิงแก่เท่านั้น) นำมาตำ ร่วมกับข้าวสวยที่เย็นแล้วประคบบริเวณที่บวมและใช้ผ้ายืดพันไว้ รุ่งเช้าถึงให้คลายผ้าพันออก วิธีนี้เป็นวิธีที่ถ่ายทอดกันมา ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไป วันพรุ่งนี้นะคะ

คำสำคัญ (Tags): #ha
หมายเลขบันทึก: 10904เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2005 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

         เป็นภูมิปัญญาที่น่าสนใจค่ะ ลองไปหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ค่ะ พบว่า

          ขิงเป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีฤทธิ์ขับลม ช่วยย่อยอาหาร บำบัดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ  เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยซึ่งเป็นองค์ประกอบในขิงจะไปกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อที่ระบบทางเดินอาหารให้มีการบีบตัวมากขึ้น  จึงเกิดการขับลมออกมา     ขิงยังมีฤทธิ์ป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนในเวลาเดินทางอันเนื่องจากการขึ้นรถลงเรือ  หรือขึ้นเครื่อง (motion sickness)  ได้เป็นอย่างดี

          นอกจากขิงจะช่วยในการขับลมซึ่งเรารู้กันอยู่แล้ว ขิงยังมีฤทธิ์ทางด้านเภสัชวิทยาที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ ขิงสามารถ ลดการอักเสบ (antiinflammatory) และลดอาการปวด (analgesic)  เนื่องจากมี gingerol  ซึ่งเป็นองค์
ประกอบสำคัญงมีฤทธิ์ยับยั้งเอ็นไซม์ cyclooxygenase และ 5-lipooxygenase จึงยับยั้งการสังเคราะห์ prostaglandin และ leukotrienes   โดย prostaglandin เป็นสาเหตุของการปวดและบวม (pain and edema processes)   ส่วน  leukotrienes  เป็นสาเหตุของการอักเสบ (inflammatory process) ค่ะ

         เป็นภูมิปัญญาที่น่าสนใจค่ะ ลองไปหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ค่ะ พบว่า

          ขิงเป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีฤทธิ์ขับลม ช่วยย่อยอาหาร บำบัดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ  เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยซึ่งเป็นองค์ประกอบในขิงจะไปกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อที่ระบบทางเดินอาหารให้มีการบีบตัวมากขึ้น  จึงเกิดการขับลมออกมา     ขิงยังมีฤทธิ์ป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนในเวลาเดินทางอันเนื่องจากการขึ้นรถลงเรือ  หรือขึ้นเครื่อง (motion sickness)  ได้เป็นอย่างดี

          นอกจากขิงจะช่วยในการขับลมซึ่งเรารู้กันอยู่แล้ว ขิงยังมีฤทธิ์ทางด้านเภสัชวิทยาที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ ขิงสามารถ ลดการอักเสบ (antiinflammatory) และลดอาการปวด (analgesic)  เนื่องจากมี gingerol  ซึ่งเป็นองค์
ประกอบสำคัญงมีฤทธิ์ยับยั้งเอ็นไซม์ cyclooxygenase และ 5-lipooxygenase จึงยับยั้งการสังเคราะห์ prostaglandin และ leukotrienes   โดย prostaglandin เป็นสาเหตุของการปวดและบวม (pain and edema processes)   ส่วน  leukotrienes  เป็นสาเหตุของการอักเสบ (inflammatory process) ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท