เปลี่ยนมาเป็น "มือซ้าย" เพื่อดึงศักยภาพในตัวมาใช้อย่างสูงสุด


แต่เธอต้องเด็ดเดี่ยว ยอมอึดอัดใจ ยอมเล่นไม่ดี ยอมเล่นแพ้เพื่อนๆ ยอมถูกเพื่อนๆ ล้อ แต่ไม่นานเธอจะเห็นผล

หลายคนที่เคยต้องอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบากแห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตที่ได้เคยบ่มเพาะประสบการณ์บางอย่างมาหลายปี และกลับต้องมาเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ ที่ไม่เคยชิน คงมีความรู้สึกไม่ต่างจากฉันตอนนี้

แม้จะมีบางสิ่งที่ส่งเสียงเรียกร้องจากภายใน "หัวใจ" ให้มั่นใจมากเมื่อตอนที่ตัดสินใจเปลี่ยนแปลง แต่ในระหว่างการเดินทางก็มักมีอะไรมาทำให้ความมั่นใจนั้นต้องหวั่นไหวเป็นระยะ

จนแม้บางสิ่งที่บางครั้งเคยเป็นกำลังใจก็กลับทำให้ท้อใจได้ในบางเวลา เช่นการเข้ามาเรียนรู้ประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมของหลายๆ ท่านในการทำงานจาก gotoknow นี้ ที่เป็นเป้าหมายซึ่งช่วยกระตุ้นให้มีกำลังใจและอยากไปถึงบ้าง แต่เมื่อหันกลับมาดูความเป็นเด็กน้อยที่เพิ่งหัดเดิน ก็ทำให้ใจแป้วไปเหมือนกัน จนต้องย้ำเตือนกับตัวเองว่า "ตาดูดาว แต่เท้าต้องติดดิน" ค่อยๆ เดินต่อนะจ๊ะ เด็กน้อย

แต่เมื่อได้มาอ่านบทหนึ่งในหนังสือของ อ.เกียรติวรรณ อมาตยกุล อีกครั้ง ทำให้ใจชื้นและมีกำลังใจขึ้นอีกแยะเลย

อ. ได้เล่าถึงประสบการณ์การฝึกเทนนิสให้นักเรียนคนหนึ่งในโรงเรียนของท่าน ซึ่งเล่นได้ดีมากอยู่แล้ว แต่ท่านสังเกตเห็นว่าท่าเสริฟของเธอดูแปลกๆ จนทุกคนสังเกตได้ จากประสบการณ์การสอนเทนนิสมายาวนานของท่าน จึงได้ตระหนักว่าเด็กคนนี้อาจฝืนใช้มือที่ไม่ได้ถนัดตามธรรมชาติจนตัวเองก็เกือบเคยชินแล้ว ท่านจึงค่อยๆ แนะนำและฝึกฝนให้เด็กใช้มือซ้ายในการตีเทนนิสด้วย

ซึ่งแน่นอนเป็นเรื่องที่ยากลำบาก และน่าอึดอัดใจมาก เพราะฝีมือในช่วงแรกจะต้องตก เธออาจจะเล่นแพ้อีกหลายๆ คนที่เธอเคยชนะมาด้วยมือขวาที่ชำนาญของเธอ เธอจะต้องใช้ความอดทนมากๆๆ ที่จะฝึกฝนจนมือซ้ายของเธอแข็งแกร่งขึ้น เมื่อนั้นเธอจะเล่นได้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก แต่เธอต้องเด็ดเดี่ยว ยอมอึดอัดใจ ยอมเล่นไม่ดี ยอมเล่นแพ้เพื่อนๆ ยอมถูกเพื่อนๆ ล้อ แต่ไม่นานเธอจะเห็นผล

อ.ยกตัวอย่าง Ken Rosewall ยอดนักเทนนิสระดับโลกชาวออสเตรเลียที่แฟนๆ สงสัยว่าทำไมการเสริฟจึงเป็นจุดอ่อนที่สุดของเขา ซึ่งเขาได้บอกไว้ในประวัติว่าเดิมเป็นคนถนัดซ้ายแต่ถูกบังคับให้ใช้มือขวาแต่เล็กๆ จึงทำให้เสริฟได้ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพนัก  คล้ายๆ กับกรณีนักเทนนิสหญิงชาวไทยคนหนึ่งที่เป็นทีมชาติหลายสมัยเช่นกัน

ค่อยยังชั่วหน่อย มีเพื่อนแล้ว .. ฉันก็จะพยายามฝึกปรือมือซ้ายนี้ให้เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ นะ ขอบคุณประสบการณ์ดีๆ ของ อ.เกียรติวรรณ ค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 107229เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2007 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อ.เล่าว่า ๒ - ๓ เดือนหลังจากที่น้องคนนี้เปลี่ยนมาใช้มือซ้าย น้องเริ่มตีได้ทะมัดทะแมง และดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น ท่าเสริฟแปลกๆ ที่เคยถูกเพื่อนล้อก็กายไป น้องเล่นเทนนิสได้สวยงามมากขึ้น แม้ว่ามือซ้ายจะยังไม่ค่อยมีแรง อ.เชื่อว่าถ้ามือซ้ายน้องแข็งแรงมากขึ้นเธอจะรุดหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว

เราอาจได้รู้จักนักเทนนิสทีมชาติคนใหม่ชื่อ "น้องข้าว" ในไม่ช้าก็ได้  เอ.. หรือตอนนี้เป็นอยู่แล้วก็ไม่รู้

     บันทึกนี้ อ่านแล้วได้กำลังอีกเยอะเลยคะ  ต้องบอกว่าบ้างครั้งเราก็อาจจะยังไม่รู้ว่าเราถนัดและชอบที่จะทำอะไร  แต่ที่เป็นอยู่เพราะสังคม และ คนรอบข้างอาจจะหยิบยื่นมาให้ 

     บางครั้งต้องกล้าที่จะฉีกแนวออกจากกรอบ  ออกจากสิ่งที่คนอื่นเคยขีดเส้นไว้บ้าง เพื่อที่จะได้ลองทำในสิ่งที่เราคิดว่าชอบ คิดว่าถนัด  เมื่อได้ลองแล้วถึงจะรู้ว่าจะเป็นไปได้ดีหรือไม่  

    ขอบคุณมากค่ะ ที่นำมาแบ่งปันกัน :)

    

สวัสดีค่ะ

หากเป็นอย่างนั้นดิฉันต้องเปลี่ยนมาใช้ มือขวา เพื่อศักยภาพที่เพิ่มขึ้น สนับสนุนการลองใช้ทั้งสองมือ ลองแล้วจะรู้สึกจักจี้ในสมอง แต่สนุกดี
ทำแล้วหายง่วงค่ะ

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

อาจารย์เกียรติวรรณน่ารักมากค่ะ  ท่านให้กำลังใจเด็กๆเสมอ

ขอส่งกำลังใจให้คุณ pilgrim เช่นกันค่ะ  เห็นเงียบหายไปพักหนึ่ง  นึกเป็นห่วง

ขอบคุณ อ.ปัท ด้วยค่ะ ถ้าอาจารย์ไม่ได้ส่งหนังสือดีๆ ของ อ.เกียรติวรรณมาให้ตอนแรก ดิฉันก็คงไม่ได้ตามอ่านหนังสือของท่านต่ออีกหลายเล่มค่ะ

และขอบคุณสำหรับกำลังใจและความเป็นห่วงด้วยค่ะ อ.ปัท ก็หายไปบางช่วงเหมือนกันนะคะ เป็นห่วงและติดตามประสบการณ์และการแบ่งปันของอาจารย์เสมอเช่นกันค่ะ

การเอาชนะตัวอง นั้นดีที่สุดแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท