ค่านิยมสร้างสรรค์


การจัดการความรู้

ค่านิยมสร้างสรรค์

             ค่านิยม (Value) คือ สิ่งที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลยึดถือเป็นแนวทางแห่งพฤติกรรมที่พึงปรารถนา และเมื่อปฏิบัติซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จนเป็นวิถีชีวิตที่อาจสืบทอดต่อ ๆ กันไปเป็นวัฒนธรรมได้

            ค่านิยมสร้างสรรค์ (Core Value) คือ ค่านิยมที่ดีมีประโยชน์ต่อสังคมที่ได้รับการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง นอกจากนั้น ยังหมายถึงค่านิยมใหม่ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน และเข้ามาแทนที่ค่านิยมเก่าที่ไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น  และที่ไม่สามารถแก้ปัญหาในสังคมโลกาภิวัฒน์ได้

          ดังนั้น ค่านิยมสร้างสรรค์ จึงมีความหมายเป็นสองนัย คือ ค่านิยมที่เป็นคุณประโยชน์ และ ค่านิยมที่ปรับปรุงพัฒนาขึ้นใหม่ (จากหนังสือค่านิยมสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน้า 3) ค่านิยมอาจเปลี่ยนแปลงได้ ปัจจุบันค่านิยมบางอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปก่อนนี้ สังคมเคยยกย่องคนที่มีคุณธรรม  คนที่ประพฤติผิดศีลธรรม ทุจริต คดโกงจะถูกประณาม และไม่มีใครอยากคบหาสมาคมด้วย แต่ปัจจุบันนี้สังคมกลับยกย่องคนที่มีเงิน มีตำแหน่งสูง มีอำนาจ มีชื่อเสียง แม้ว่าคนเหล่านั้นจะประพฤติผิดศีลธรรม หรือได้เงินมาโดยทุจริต

****************

ค่านิยมสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

         ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2542 มีดังนี้

          1.  กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง  (Core Values)

          2.  ซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ  (Integrity & Responsibility)

          3.  โปร่งใส  ตรวจสอบได้  (Tranaparency & Accountability)

          4.  ไม่เลือกปฏิบัติ   (Nondiscrimination)

          5.  มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน  (Result Orientation)

หมายเลขบันทึก: 107024เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2007 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

          แวะมาเยี่ยมเป็นกำลังใจ  พยายามต่อไปนะครับ  เพื่อพลังแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          Link รวมบล็อกเรื่องธรรมาภิบาลของกลุ่มงานใน สป. นอกเหนือจากที่สถาบันฯ สร้างให้ครับ

http://gotoknow.org/blog/rattaket/112527

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท