การจัดทำวารสารวิชาการ


         ผมเป็นคนรักวารสารวิชาการ  และชอบคิด (และทดลองทำ) วารสารวิชาการที่มีรูปแบบใหม่ ๆ    สมัยที่ผมอ่านวารสารวิชาการเป็นประจำ (บางช่วงกว่า 30 วารสาร)   ผมจะอ่าน 2 แบบ
(1) อ่านเพื่อเรียนรู้รูปแบบ  และวิธีการทำวารสาร
(2) อ่านเอาเนื้อเรื่องวิชาการ

         สัปดาห์ที่แล้ว  รศ. นพ. วิชา  จรูญรัตน์  บรรณาธิการวารสาร "สงขลานครินทร์เวชสาร" (http://medinfo.psu.ac.th/smj2/smj.htm) ส่งวารสารฉบับเดือน พ.ค. - มิ.ย.2550 มาให้   พร้อมสำเนาคำสั่งแต่งตั้งผมเป็นที่ปรึกษากองบรรณาธิการ

         ทำให้ผมได้ระลึกว่า  เวลาผ่านไปถึง 25 ปีแล้ว ที่ผมเป็นบรรณาธิการคนแรกของวารสารนี้   โดยริเริ่มร่วมกับ รศ. นพ. สุเมธ  พีรวุฒิ  ผู้เป็นบรรณาธิการคนที่ 2 และเวลานี้เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์

         ตอนเริ่มจัดทำวารสารนี้   ผมมีหลักการว่า  ต้องให็นเป็นวารสารวิชาการที่มีคุณภาพในระดับประเทศ   หวังให้เป็นวารสารวิชาการด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพอันดับ 1 ในภาคใต้   โดยมีหลักการด้านคุณภาพดังนี้
1. บทความที่ตีพิมพ์มีคุณภาพ   ผ่าน peer review ที่เอาจริงเอาจังว่าบทความมีความถูกต้องและมี originality
2. รูปแบบการพิมพ์มีคุณภาพ  ประณีต  ทั้งรูปเล่ม  และการตรวจสอบตัวสะกดการันต์
3. ตีพิมพ์ออกมาอย่างสม่ำเสมอ  ตรงต่อเวลา 

         เพื่อให้สามารถผลิตผลงานออกมาได้ตามที่กำหนด   ผมได้จัดทรัพยากรไว้ 3 อย่าง
(1) จ้างเจ้าหน้าที่มาทำหน้าที่กองจัดการ   ซึ่งขณะนั้นคือคุณสุภาพรรณ  ได้ฝึกสอนจนมีความชำนาญและความละเอียดประณีตในการตรวจสอบความถูกต้อง
(2) จัดงบประมาณเงินรายได้สำหรับเป็นค่าจัดพิมพ์
(3) จัดให้มีห้องทำงานของสำนักงานวารสารฯ

         ตอนนี้สงขลานครินทร์เวชสารเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าเป็นวารสารด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัย   มีการตีพิมพ์สม่ำเสมอ  ตรงเวลา  และได้รับการยอมรับพอสมควรในระดับประเทศ   โดยเป็นวารสารที่มีรายชื่ออยู่ใน JCT (http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/index.html)

         แต่ผมเป็นคนมีนิสัยชอบลองทำอะไรใหม่ ๆ และท้าทาย   ผมชอบถามว่าคุณค่าของเรื่องใดเรื่องหนึ่งคืออะไร  สำหรับวารสารวิชาการผมตอบว่า  เป็นเครื่องมือของการทำความรู้จัก  แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและถกเถียงกันทางวิชาการ

         ดังนั้น  ถ้าผมมีส่วนเกี่ยวข้องระดับตัดสินใจ   ผมจะหาวิธีทำให้วารสารวิชาการสนองเป้าหมายนี้   โดยจะใช้ ICT สมัยใหม่เข้ามาช่วยด้วย

         ซึ่งหมายความว่า  กองจัดการจะต้องเรียนรู้เทคนิคด้านการจัดการเพื่ออำนวยความสะดวก และกระตุ้น discussion ระหว่างนักวิชาการ

วิจารณ์  พานิช
 26 มิ.ย.50

หมายเลขบันทึก: 106750เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2007 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบอ่านพวกวารสารวิชาการครับอาจารย์หมอ วิจารณ์ แต่ที่ทำงานห่างไกลอย่างผม  โอกาสเข้าถึงของวารสารเหล่านี้  มีน้อย  ได้อ่าบ้าง  ไม่ได้อ่านบ้างครับ

 และถ้ามีโอกาส  อยากลองขีดเขียน  หรือร่วมทำวารสารกับเขาเหมือนกัน  คงเป็นประสบการณ์ที่ดีมากครับ....

ขอบพระคุณครับ

  • เป็นบันทึกที่ดูเรียบง่ายแต่แฝงไว้ซึ่งความคิดที่คมชัด และการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม
  • อ่านแล้วเห็นภาพว่า การคิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุ มีผลอย่างครบถ้วนก่อนเริ่มดำเนินการเรื่องใดๆ เป็นอย่างไร เช่น เมื่อหวังคุณภาพ และประสิทธิภาพ ก็ต้องลงทุนจัดเตรียมปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดผลที่คาดหวัง ไม่ให้เข้าลักษณะที่ทำกันอยู่ในหลายๆที่ .. "หวังผลเลิศ - แต่ไม่ยอมลงทุน"
  • ตัวอย่างจากเรื่องจริงเมื่อกว่า 25 ปีที่ท่านเล่า สอนใจให้คิดได้ดีมากครับ

สวัสดีคะ ตอนนี้สนใจเรื่องวารสารอยู่เพราะอยากทำวารสารของส่วนงานเพื่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนกับเพื่อที่ทำงาน แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร อยากพูดอยากสืออะไร ทำอย่างไรเพือนจะสนใจ และเข้าถึง ขอคำแนะนำสำหรับมือใหม่หน่อยค้า

อยากทราบวิธีทำวารสาร ในการฝึกงาน ตอบหนอยคะ

อยากทราบวิธีทำวารสาร ในการฝึกงาน ตอบหน่อยคะ

หวัดดีค่ะ พอดีอยากจะศึกษาวิธีเกี่ยวกับการทำวารสารทำส่งอาจารย์ช่วยได้ดีน่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท