ครม.ไฟเขียวร่างกฎหมายใหม่ ยกเครื่องระบบข้าราชการพลเรือน


ครม.ไฟเขียวร่างกฎหมายใหม่ ยกเครื่องระบบข้าราชการพลเรือน
ที่ประชุม ครม. วานนี้ (26 มิ.ย.) ได้อนุมัติร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนใหม่ 3 ฉบับประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ...... ร่าง พ.ร.บ.เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ฉบับที่ .... พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ ฉบับที่ ..... โดยสรุปสาระสำคัญบางส่วน ดังนี้ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ....มาตรา 37 การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้ข้าราชการพลเรือนให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.พ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกรมบัญชีกลาง มาตรา 38 ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ ตำแหน่ง   ในบางท้องที่ ตำแหน่งในบางสายงาน หรือตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบ ก.พ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกรมบัญชีกลาง ข้าราชการพลเรือนอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ในการเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการตามวรรคสอง ให้ ก.พ. เสนอแนะสำหรับข้าราชการประเภทอื่นในคราวเดียวกันด้วย มาตรา 39 วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา 40 เครื่องแบบของข้าราชการพลเรือน และระเบียบการแต่งเครื่องแบบให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น มาตรา 41 บำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ  หมวด 1 การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญ มาตรา 42 การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามพระราชบัญญัตินี้ให้คำนึงถึงระบบนามธรรมดังต่อไปนี้ (1)  การรับบุคคลเพื่อเข้าบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ต้องคำนึงถึงความรู้ ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค และความเป็นธรรม(2)  การบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ และประสิทธิภาพขององค์กร และลักษณะของงาน โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม(3)  การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง และการให้ประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรม โดยพิจารณาจากผลงาน ศักยภาพ และความประพฤติ และจะนำความคิดเห็นทางการเมือง หรือสังกัดพรรคการเมือง มาประกอบการพิจารณามิได้ (4)  การดำเนินการทางวินัย ต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรม และโดยปราศจากอคติ(5)  การบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง  หมวด 2 การกำหนดตำแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง มาตรา 43 นอกจากตำแหน่งที่กำหนดในกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ปลัดกระทรวงหรืออธิบดี แล้วแต่กรณี อาจกำหนดตำแหน่งที่มีชื่ออย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน และแจ้งให้ ก.พ. ทราบด้วยความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับ กับสำนักงานรัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลม โดยให้เลขานุการรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนด มาตรา 44 ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญมี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้ (1)  ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ และรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร(2)  ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม และตำแหน่งอื่น   ที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ (3)  ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตามที่ ก.พ. กำหนดเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น(4)  ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทวิชาการ ทั้งที่ตามที่ ก.พ. กำหนดมาตรา 45 ระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังต่อไปนี้ (1)  ตำแหน่งประเภทบริหาร มีระดับดังต่อไปนี้       (ก) ระดับต้น      (ข) ระดับสูง(2)  ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มีระดับดังต่อไปนี้       (ก) ระดับต้น       (ข) ระดับสูง (3)  ตำแหน่งประเภทวิชาการ มีระดับดังต่อไปนี้       (ก) ระดับปฏิบัติการ       (ข) ระดับชำนาญการ       (ค) ระดับชำนาญการพิเศษ       (ง) ระดับผู้เชี่ยวชาญ       (จ) ระดับผู้ทรงคุณวุฒิ (4)  ตำแหน่งประเภททั่วไป มีระดับดังต่อไปนี้      (ก) ระดับปฏิบัติงาน       (ข) ระดับชำนาญงาน       (ค) ระดับอาวุโส       (ง) ระดับทักษะพิเศษ การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.พ.  มาตรา 46 ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ จะมีในส่วนราชการใดจำนวนเท่าใด ตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ปลัดกระทรวงหรืออธิบดีแล้วแต่กรณีกำหนด โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อนและประหยัดเป็นหลักมาตรา 47 ให้ ก.พ. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยจำแนกตำแหน่งเป็นประเภท และสายงานตามลักษณะงาน และจัดตำแหน่งในประเภทเดียวกัน และสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณ เป็นระดับเดียวกันมาตรา 48 ภายใต้ข้อบังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการพลเรือน ในส่วนราชการหรือหน่วยงานใด ให้เป็นไปตามที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 46 กำหนด มาตรา 49 ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งในแต่ละประเภทที่กำหนด ไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง ของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้มาตรา 50 คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง หรือเงินเดือนประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามความจำเป็นก็ได้ โดยหากเป็นการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง หรือเงินเดือนประจำตำแหน่งเพิ่มไม่เกินร้อยละสิบของเงินเดือน หรือเงินประจำตำแหน่งที่ใช้บังคับอยู่ ให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา หมวด 3 การสรรหา การบรรจุ และการแต่งตั้ง มาตรา 51 การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ต้องกระทำโดยเที่ยงธรรม และต้องคำนึงถึงผลประโยชน์องทางราชการเป็นสำคัญ มาตรา 52 การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันในตำแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้มาตรา 53 ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้าม หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรา 61 ด้วย มาตรา 54 ในกรณีที่มีเหตุพิเศษ ผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 56 อาจคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโดยไม่ ต้องดำเนินการสอบแข่งขันตามมาตรา 53 ก็ได้ ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.กำหนด มาตรา 55 กระทรวงหรือกรมใดมีเหตุผลและความจำเป็น จะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญสูง เข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญพิเศษ ผู้ชำนาญการ หรือผู้มีทักษะพิเศษ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.กำหนด มาตรา 56 การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 52  มาตรา 54  มาตรา 55  มาตรา 62  มาตรา 63  มาตรา 64 ให้ผู้มีอำนาจ เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง มาตรา 57 ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารผู้ใดปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลาครบ 4 ปี ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 56 ดำเนินการให้มีการสับเปลี่ยนหน้าที่ ย้าย หรือโอนไปปฏิบัติหน้าที่อื่น เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ทางราชการจะขออนุมัติให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่เดิมต่อไปเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี มาตรา 58 ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง  หรือมาตรา 54 ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดี ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.มาตรา 59 ข้าราชการพลเรือนสามัญที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา109 และต่อมาปรากฏว่า ผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 58 หรือตามมาตราอื่น ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 56 หรือผู้มีอำนาจตามมาตราอื่นนั้น แล้วแต่กรณี มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นให้ออกจากราชการตามมาตรา 58 หรือตามมาตราอื่นก็ได้มาตรา 60 การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งในสายงานที่ไม่มีกำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งจะกระทำมิได้ ให้เป็นหน้าที่ของก.พ.ที่จะกำหนดสายงานให้สอดคล้องกับความต้องการของทางราชการโดยเร็ว มาตรา 61 ผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.พ.อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะ สำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้ มาตรา 62 การย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในตำแหน่งหรือต่างกระทรวงหรือกรม แล้วแต่กรณีให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์หรือวิธีการที่ ก.พ.กำหนด มาตรา 63 การโอนพนักงานส่วนท้องถิ่น การโอนข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามพระราชบัญญัตินี้และไม่ใช่ข้าราชการพลเรือน และการโอนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นของรัฐที่ ก.พ.กำหนด  มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตลอดจนจะแต่งตั้ง มาตรา 64 พนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งไม่ใช่ออกจากงานในระหว่างทดลองปฏิบัติงานหากข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการวิสามัญ หรือข้าราชการที่ออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้ใดออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและทางราชการต้องการรับผู้นั้นเข้ารับราชการให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งบรรจุ พิจารณาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการจะได้รับ ทั้งนี้จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใดสายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด   ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่ก.พ.กำหนด เป็นต้นกรุงเทพธุรกิจ  27  มิ.ย.  50
หมายเลขบันทึก: 106676เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2007 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

วันเวลาทำงาน ควรระบุให้ชัดเจนว่ากี่นาฬิกา เช่น 08.30-16.30 น.

เครื่องแบบ/การแต่งกาย ควรระบุลักษณะ เช่น ชุดสุภาพ ลักษณะเสื้อ ช-ญ กระโปรง/กางเกง ให้สามารถทราบแนวทาง

      อ่านรายละเอียดก็ดูดี แต่การปฏิบัติคงจะอยาก โดย เช่น เรื่องการบริหารทรัพยากรบุคคล จะเอาอะไรมาวัดเรื่องผลสัมฤทธิ์ของงาน ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้บังคับบัญชา แล้วถ้าผู้บังคับบัญชาไม่มีประสิทธิภาพ ผลจะออกมาเป็นอย่างไร  ,การพิจารณาความดีความชอบ อย่างไรที่เรียกว่าเป็นธรรม ต้องเวียนกันไปทั้งที่ไม่ได้ทำงาน แต่ถึงวาระก็ต้องได้งั้นหรือคือความเป็นธรรม หรือ ทั้งที่บางครั้งไม่ได้ใช้สมองทำงาน ใช้แต่ปากกลับถูกใจเจ้านาย ได้ 2 ขั้นปี เว้นปี , แบ่งมีดดาบให้อธิบดี,ปลัด เพื่ออะไร ยิ่งดูว่าการวิ่งเต้นจะยิ่งง่ายขึ้น  รู้สึกเบื่อหน่าย (กับความไม่มีจิตสำนึกที่ดีของผู้ใหญ่ เพราะระบบนะดี)แต่ไม่เคยท้อแท้ แม้จะดูเป็นสตรีที่โลกลืมก็ตาม 
ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท