ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง


ศูนย์เรียนรู้

          ตำบลวังตะกอ เป็นตำบลแรกของอำเภอหลังสวน ที่มีการจัดทำแผนชีวิตชุมชน ตั้งแต่ปี 2544 โดยการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นด้านเศรษฐกิจ สังคม ความเป็นอยู่ ของชาวบ้านในตำบลทุกครัวเรือน ว่ามีการใช้จ่ายอะไรบ้าง ทำให้สามารถรู้ปัญหาความต้องการของชาวบ้าน ว่ามีปัญหาอะไร และต้องการอะไร เช่น มีการบริโภคเนื้อสุกรทั้งตำบลปีละ 8 ล้านบาท บริโภคข้าวปีละ 8-9 ล้านบาท เป็นต้น จึงได้นำปัญหานี้มาหาแนวทางแก้ไขผ่านกระบวนการแผนชีวิตชุมชน โดยการใช้ที่ดินของนายประวิทย์  ภูมิระวิ เป็นศูนย์เรียนรู้ โดยมีการจัดทำกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

          1. โครงการเลี้ยงหมู 1 ฟาร์ม 1 ตำบล และการเลี้ยงหมูลาน เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีทุนน้อย ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

           2. โครงการเพาะเห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักมาบริโภค และทำให้มีรายได้เพิ่ม

           3. การเลี้ยงวัวขุน

           4. การเลี้ยงเป็ดในสวนปาล์ม

           5. การเลี้ยงไก่เนื้อในสวนปาล์ม

           6. การเลี้ยงปลาน้ำจืด

           7. การจัดการแหล่งน้ำ

           8. การปลูกปาล์มน้ำมัน

           9. การปลูกไม้โตเร็ว โครงการธนาคารต้นไม้ และโครงการปลูกไม้ใช้หนี้

           10. การทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ

           11. การเลี้ยงกบ

ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้ดำเนินการและให้เกษตรกรศึกษาดูงาน และมาปฏิบัติงานในฟาร์มเพื่อนำความรู้ไปใช้ในครัวเรือน โดยเน้นหลักเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถบริการความรู้ให้เกษตรกรทั่วไป โดยมีวิทยากรคอยให้คำปรึกษา แนะนำ แก่ท่านผู้สนใจ ส่วนรายละเอียดจะได้แนะนำในครั้งต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #ศูนย์เรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 106410เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2007 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขอบคุณครับ คุณจ๊อด ที่นำมาแบ่งปัน
  • ที่จริง กรมส่งเสริมฯ มีจุดดีๆให้เรียนรู้ อำเภอละ 1 จุด ก็หรูแล้ว นี่ดีนะที่ไม่หว่านไปทั่วทุกหมู่บ้าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท