ความสำเร็จขององค์กรแพทย์


ปัจจัยแห่งความสำเรจ อยู่ภายในตัวเรา เพียงแค่ค้นหาให้พบ

          โรงพยาบาลแห่งหนึ่งพัฒนาคุณภาพมาอย่างยาวนาน นานมากจนไม่อาจนับจำนวนครั้งของการเข้ามาให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาได้แล้ว สิ่งที่ทุกคนคิดว่าเป็นประเด็นหลักในการบรรลุเป้าหมายหรือความสำเร็จ คือ แพทย์ ความพยายามทุกอย่างที่ทีมอื่นๆใรโรงพยาบาลได้ทำนั้น สิ้นสุดลงด้วยคำว่า "ขอให้แพทย์มีส่วนร่วมมากขึ้น"

          แต่แล้ววันหนึ่งแพทย์ก็เปลี่ยนไป มีการรวมตัวกันทำงานและเป็นแกนนำสำคัญในการพัฒนาคุณภาพโดยเฉพาะคุณภาพทางคลินิก Clinical Risk ต่างๆได้ถูกนำมาพิจารณาและหาทางแก้ไขปัญหา ตัวชี้วัดทางคลินิกที่สำคัญ คือ ตัวชี้วัดเฉพาะโรคได้ถูกนำมา Mornitor ติดตาม รวมทั้งวิเคราะห์แนวโน้มและวางระบบในการป้องกันแก้ไข

          ชาวพยาบาลซึ่งเดิมเคยรู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดาย กลับกลายเป็นการทำงานที่สนุกและมีความหวังมากขึ้น ความรู้ต่างๆที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ถูกถ่ายทอดให้ฟังโดยแพทย์ในทีม Patient Care Team ทำให้มีความมั่นใจในการทำงานเพิ่มมากขึ้น และก่อให้เกิดผลลัพธ์มากมายจากการทำงานคุณภาพร่วมกัน วิชาชีพอื่นๆ ก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเภสัชกรที่ถูกเชิญเข้ามาในกรณีที่มีปัญหาเรื่องยาหรือต้องการความมั่นใจด้านยามากขึ้น โภชนากรก็เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลเรื่องอาหารการกินรวมทั้งการให้โภชนศึกษาและโภชนบำบัดมากขึ้น บรรยากาศต่างๆเริ่มคึกคัก จนอาจารย์ที่ปรึกษาแปลกใจไปตามๆกันว่า เหตุใดคุณหมอทั้งหลายจึงเปี๋ยนไป๋

          คุณหมอประธานองค์กรแพทย์ได้เล่าให้ฟังอย่างถ่อมตัวว่า จริงๆแล้วตนไม่ได้ทำอะไรเพิ่มขึ้นจากเดิมเลย เพียงแค่ใช้แนวคิดในการดึงใจคนให้มาทำงาน มิใช่แค่ดึงคนมาทำงาน แพทย์รุ่นน้องอีกหลายท่านขออนุญาติสรุปปัจจัยที่ทำให้องค์กรแพทย์ทำงานได้มากขึ้น จนอาจถือได้ว่าเป็นความสำเร็จในขั้นตั้นได้นั้น มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ

          1. ท่านประธานองค์กรแพทย์ใช้หลักการ "ดึงใจคน" ให้เข้ามาทำงาน โดยไม่มีการบังคับ แต่จะชี้ให้เห็นความสำคัญของแพทย์ในการช่วยเหลือผู้ป่วย หากใครพร้อมก็เข้ามาช่วยกัน ในช่วงแรกๆ ก็มีเพียง 20 - 30 % เท่านั้น ซักพักก็ริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเดี๋ยวนี้ เห็นหน้ากันเกือบครบทุกคนแล้ว

          2. มีการจัดกิจกรรมสังสรรค์ในองค์กรแพทย์อย่างต่อเนื่อง โดยค่อยๆมีการโยงเรื่องคุณภาพเข้ามาทีละนิดทีละหน่อย จะรู้ตัวอีกทีก็ณุ้เรื่องคุณภาพไปมากพอสมควรแล้ว

          3. แพทย์เจอกันบ่อยขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มงานเดียวกัน หรือ ระหว่างกลุ่มงาน มีการจัดสถานที่ให้พร้อมให้เข้ามานั่งคุยกัน ช่วงแรกก็ไม่ได้คุยกันเรื่องคุณภาพการรักษาพยาบาล แต่ซักพักก็เริ่มปรึกษาหารือกันมาขึ้น มีการนำ case ต่างๆมาปรึกษากัน คุณภาพก็ค่อยๆเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ช่วงท้ายๆก็มีการประชุมอย่างเป็นทางการบ้างและไม่เป็นทางการบ้าง แต่แทบทุกครั้งท่านประธานองค์กรแพทย์จะเข้ามาให้กำลังใจโดยตลอด

          4. ประเด็นสุดท้าย คือ การกำหนดเป้าหมายเรื่องเวลาที่ชัดเจน นั่นคือ ทางผู้บริหารมีการกำหนดระยะเวลาหลังจากการเข้าเยี่ยมให้คำปรึกษาครั้งสุดท้าย ว่าภายใน 3 เดือน ทางโรงพยาบาลจะพร้อมสำหรับการเข้าเยี่ยมเพื่อประเมิน เหมือนมีการกำหนดวันส่งการบ้าน ดังนั้นนักเรียนก็ต้องรีบทำการบ้าน 

          และนี่ก็คือประสบการณ์และปัจจัยที่ทำให้องค์กรแพทย์ซึ่งเป็นทีมที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุรภาพของโรงพยาบาลประสบความสำเร็จได้ ขอเพียงแค่ได้ใจผู้ทำงาน ไม่ว่าปัญหาหรืออุปสรรคใหญ่โตสักเพียงใด ก็สามารถฟันฝ่าไปได้แน่นอนค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #ha
หมายเลขบันทึก: 10619เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2005 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 10:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจที่พยายามศึกษาว่าอะไรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  และ key word ว่า "ดึงใจคน ไม่ใช่แค่ดึงคน" น่าจะมีความสำคัญมาก  หลายท่านอาจจะอยากทราบรายละเอียดมากขึ้นถึงเทคนิคต่างๆ ของประธานองค์กรแพทย์  อาจจะต้องเอาเหตุการณ์บางเรื่องขึ้นมาทบทวน 

มีประเด็นที่สงสัยก็คือการกำหนดเป้าหมายเวลาที่ชัดเจนกับการค่อยๆ โยงเรื่องคุณภาพเข้ามาทีละหน่อยมีความขัดแย้งกันหรือไม่ หรือมีลำดับของการเน้นในแต่ละช่วงเวลาที่ต่างกัน

อยากให้เราลองมาทบทวนกันว่าหากว่าเรารักษาคนไข้ดี บริการดี แล้วทำไมคนไข้บัตรทองส่วนใหญ่ยังไป คลีนิค รพ.เอกชน เขายอมจ่ายแพงกว่าทำไม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท