ทฤษฎีสามโลกของมนุษย์ : 9 World of Emotion


(โลกของอารมณ์ต่อครับ)

อารมณ์ทำให้เกิด "ความสุขระยะสั้น"  ความสุขระยะสั้นเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ  เช่น  ดมกลิ่นน้ำหอม  รู้สึกอารมณ์เบิกบาน  แต่ชั่วครู่ก็หมดไป    สูบกัญชา   สูบบุหรี่  ดื่มเหล้า  ดื่มเบียร์  รู้สึกมีความสุขชั่วครู่  แล้วก็หายไป  เสพสังวาส  เสร็จแล้วความสุขก็หมดไป  การเสพรสหวาน  ฟังเสียงเพลง  เกิดความสุขชั่วครู่แล้วก็หมดไป  ฯลฯ

อารมณ์คิดไม่ได้  ไม่มีความสามารถที่จะคิด  เพราะอารมณ์ไม่ใช่ปัญญา  แต่อารมณ์สัมพันธ์กับปัญญา  เช่น  เมื่อคิดถึงหนอน(ปัญญา)ก็อาจะเกิดความรู้สึกขยะแขยง(อารมณ์) ควบคู่ไปด้วย   แต่ถ้าปัญญาแสดงกิจกรรมในงานนั้นๆมาก  ก็จัดเป็นกิจกรรมของโลกทางปัญญา  แต่ถ้าอารมณ์แสดงกิจกรรมมากเป็นการควบคุมปัญญา  ก็จัดเปนบท บาทของโลกทางอารมณ์

โลกของอารมณ์มีบทบาทต่อการเอาชีวิตรอดของมนุษย์  เช่นเดียวกันกับสัตว์อื่นๆ   เช่น  เมื่อเราเกิดอามรมณ์กลัวสิ่งใด  เราก็จะวิ่งหนีจากสิ่งนั้น   ทำให้ชีวิตรอด   เมื่อเกิดอารมณ์โกรธแค้น  เราจะต่สู้เพื่อทำลายสิ่งท่ทำให้โกรธแค้นนั้น  เช่นฆ่าศัตรูในสนามรบ  เป็นการปกป้องเผ่าพันธ์ของตนให้คงอยู่

อารมณ์เป็นบ่อเกิดของความรู้สึกทุกข์  หรือสุข  ความรู้สึกทั้งสองนี้จะรบกวนโลกของปัญญา  จัดเป็นประเภทกิเลส   ทำให้เศร้าหมอง  หรือร่าเริง   ถ้าเราต้องการสิ่งใด  แต่เราไม่สามารถหาสิ่งนั้นมาตอบสนองความต้องการได้  เราก็เกิดความทุกข์   ถ้าหามาตอบสนองได้  ก็เกิดความสุข  ความทุกข์ความสุขเป็ผลพลอยได้จากเหตุการณ์ดังกล่าว และเป็นเรื่องส่วนตัว  ตัวอย่างเช่น  ถ้าเรา "ต้องการ"รถยนต์ราคาหนึ่งล้านบาท  แต่เรามีเงินห้าแสนบาท   เราก็ซี้อไม่ได้  ความต้องการไม่ได้รับการตอบสนอง  ความทุกข์ก็เกิดขึ้น  ผลตามมาอาจจะทำให้เกิดการกระทำชั่วร้ายต่างๆ  เช่น  ต้องคอรับชั่น  ต้องปล้นเงินมา  แต่ถ้าเรามีเงินหนึ่งล้านบาท  เราก็ซี้อมาตอบสนองความต้องการได้  ความทุกข์ก็ไม่เกิด  แต่เกิดความปีติยินดี  หรือความสุขแทน   หรืออีกวิธีหนึ่งคือ เรา "ลด" ความต้องการลงมาเป็นว่า  เอาแค่รถที่ราคาห้าแสนก็พอแล้ว อย่างนี้  เราก็ตอบสนองความต้องการของเราได้เหมือนกัน  ก็เกิดความสุขได้เหมือนกัน  หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือ เรา "ดับ"ความอยากได้รถนั้นเสียเลย  คือ "ดับ" สาเหตุของความทุกข์นั้นเลียเสย  ซึ่งวิธีนี้รู้กันว่า พระพุทธเจ้าได้ทำสำเร็จมาแล้ว  และถ้าดับความอยากได้ตลอดไปก็ไม่มีความอยาก  เมื่อไม่มีความอยาก  ก็ไม่มี "ความมี"  เมื่อไม่มี "ความมีอะไร" ก็ "ไม่มีอะไรจะสูญเสีย"  เกิด "ความว่างเปล่า"  ซึ่งชาวพุทธเรียกกันว่า "นิพพาน"

หมายเลขบันทึก: 105657เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2007 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์ ดร.ไสว

ความหมายคำว่า อารมณ์ (emotion) ตามที่อาจารย์ว่ามาต่างจากความหมายซึ่งมีอยู่ในคำสอนทางพระพุทธศาสนา....

อภิธรรมของพระพุทธศาสนาอธิบายเรื่องทำนองนี้ไว้ยากมาก เพราะมีองค์ประกอบมากมาย เช่น

จิต มี 89 ดวง (โดยย่อ)...

คุณลักษณะที่เกิดขึ้นกับจิต เรียกว่า เจตสิก มี 52 อย่าง...

คิดว่า อาจารย์คงจะรู้เรื่องนี้อยู่บ้าง...

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

ผมรู้สึกดีใจและขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง ที่ท่านชี้แนะครับ  ผมเคยอ่านอยู่บ้างจากหนังสือ พุทธธรรมพระธรรมปิฎก  ของท่าน ป.อ.ปยุตโต  แต่เลือกอ่านบางจุด  ส่วนหนังสือประเภทท่เป็นภาษาบาลีสันสกฤตนั้น ผมอ่านไม่เข้าใจ  จึงไม่เคยอ่านอีกเลย

เรื่องที่ผมเขียนนี้เป็นความคิดจากประสบการณ์ของผมเองครับ  เป็นทิศทางของมนุษย์ที่ผมมองเห็น  เมื่อเห็นว่าแปลกดีก็อยากจะบันทึกไว้ครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท