ธุรกิจต่อธุรกิจ ตอนที่ 1 : คิดได้ ต้องรีบทำ แต่ต้องรู้จักตัวเองให้ดี


ธุรกิจบางอย่างไม่น่าจะเป็นแฟรนไชส์ได้ ก็มาเป็นแฟรนไชส์กะเขาเหมือนกัน อย่างหมูย่าง ลูกชิ้นย่าง ฯลฯ แต่แล้ว วันเวลาก็พิสูจน์อย่างชัดเจนว่า แกนของธุรกิจที่จะ "ก่อ" ธุรกิจให้เติบโตนั้น ต้องเป็นแกนของจริงที่แข็งแรง ไม่ใช่ แกนเทียมๆ ลวกๆ ที่ไม่มีสาระใดๆ แน่นอน

ระบบธุรกิจในปัจจุบัน มีมากมายที่เป็นธุรกิจที่มีวิธีการขาย การจัดการในธุรกิจแบบเดียวกัน  ขายในยี่ห้อ หรือ ตราสินค้าเดียวกัน  แบบนี้เราเรียกว่า "ธุรกิจแฟรนไชส์"  คำนี้หลายคนได้ยินอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงปี 2546-2547 ธุรกิจแฟรนไชส์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว  ผู้คนที่มีไอเดียดีๆ ต่างพากันเข็นไอเดียของตนเองออกมาเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ กันอย่างมากหน้าหลายตา

ธุรกิจบางอย่างไม่น่าจะเป็นแฟรนไชส์ได้ ก็มาเป็นแฟรนไชส์กะเขาเหมือนกัน อย่างหมูย่าง ลูกชิ้นย่าง ฯลฯ  แต่แล้ว วันเวลาก็พิสูจน์อย่างชัดเจนว่า แกนของธุรกิจที่จะ "ก่อ" ธุรกิจให้เติบโตนั้น  ต้องเป็นแกนของจริงที่แข็งแรง ไม่ใช่ แกนเทียมๆ ลวกๆ ที่ไม่มีสาระใดๆ แน่นอน

ยกตัวอย่างเช่น  หมูย่างเจ้าหนึ่ง  อ้างว่าน้ำจิ้มสูตรเด็ดของตนเอง เป็นสูตรที่มีรสอร่อยมาก ผ่านกรรมวิธีอย่างลับๆ กว่าจะเป็นสูตรนี้ได้  ท่านไหนที่ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์หมูย่างนี้ไปทำ ก็จะขายดี

Tele Pizza
เอาล่ะ ฟังดูในขั้นแรกก็น่าเชื่อดีหรอก แต่ความต้องการพื้นฐานของผู้บริโภค  ในการซื้อหมูย่างสักสองสามไม้ ไม่ใช่น้ำจิ้มหรอกครับ  เขาต้องการหมูที่นุ่มลิ้น  สุกทั่วกัน ไม่ไหม้ และ ไม่แพง  ตัวน้ำจิ้มนั้นเป็นของเสริมต่างหาก 

จากจุดนั้นเรื่อยมาอีกไม่กี่เดือน  แฟรนไชส์หลายตัวที่สับสนระหว่างคุณค่าแท้ กับ คุณค่าเทียมของผลิตภัณฑ์ตัวเอง ก็ต้องโบกมือเลิกกิจการไปอย่าน่าเสียดาย  เสียดายที่มีความตั้งใจดีกันอย่างทุ่มเท แต่สับสน "คิดผิด ก็ ทำผิดล่ะครับ"

 เรื่องราวยังไม่จบแค่นี้  วันนี้มาพูดถึงว่า แฟรนไชส์ เป็น ระบบธุรกิจของธุรกิจอีกที  ก็จะเล่าต่อเนื่องจากเนื้อหาเมื่อกี้นี้เลยว่า   ความล้มเหลว จากการที่คนอื่นได้ลองอะไรใหม่ ๆ เร็วๆ ลวกๆ ขาดการเตรียมการ ทำให้เสือซ่อน มังกรหลับ หลายๆ ต่อหลายคน  รวมถึงคนรุ่นใหม่ๆ ได้บทเรียนที่ไม่ต้องลงทุนเอง ไม่ต้องเสี่ยงไปเศร้ากับความล้มเหลวเองอยู่หลายด้าน 

ธุรกิจใหม่ๆ จึงเกิดขึ้นอย่างรัดกุมมากขึ้นในช่วงนี้

ธุรกิจต่อธุรกิจ ตอนที่ 2 : บทเรียนราคาแพง และ ฟรี (เอ๊ะ ยังไง)

 

ร่วมแสดง    ความเห็น สร้างมาตรฐานใหม่

หมายเลขบันทึก: 105539เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2007 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยค่ะ  ว่าแต่จตุคามเนี่ยเป็น ธุรกิจ เฟรนไชน์ด้วยไหมค่ะเนี่ย  เพราะตอนนี้เห็นหลายแห่งมีการผลิตและนิยมอย่างมากเลยค่ะ

จุตคามนั้น จัดเป็น "สินค้าแห่งศรัทธา" ครับ ซึ่งสินค้าประเภทนี้จะแพร่ขยายตลาดได้ด้วยกำลังและกระแสศรัทธาของผู้คนทั่วไป  ยิ่งศรัทธาเดินทางไปไกลเท่าไหร่ ก็ยิ่งพบว่า มีสินค้าตามไปขายด้วย

 สินค้าแห่งศรัทธานี้ มีข้อจำกัดทางการค้าอยู่อย่างหนึ่งคือ  ไม่ควรเป็นพาณิชย์จัดจ้านจนเกินไป  แต่ก็ไม่สามารถแจกฟรีได้  นี่หล่ะครับเหตุผลว่าทำใม จึงไม่ได้เป็นแฟรนไชส์ และ เป็นไม่ได้ด้วยครับ...

 แต่เดี๋ยวก่อน..  ร้านขายเครื่องบูชา หรือ องค์จตุคามนี้ สามารถขยายสาขาได้นะครับ โดยเจ้าของสาขาเดิมขยายเอง  แต่จะเอาโอกาสทางธุรกิจไปขายบนศรัทธาก็คงดูไม่ดีเอามากๆ เลยครับ  เลยเป็นแฟรนไชส์เต็มๆ ไม่ได้

แถมให้อีกนิดนึงครับ  จากที่ผมได้กล่าวถึง "สินค้าแห่งศรัทธา" ข้างต้น  ขอยกตัวอย่างเพิ่มเติมนะครับ เพื่อความเข้าใจ 

- หินภูเขาไฟธิเบต

- พระเครื่อง / พระพุทธรูป

- เครื่องลางแก้ฮวงจุ้ย

- ภาพถ่ายของสิ่งศักสิทธิ์  เกจิอาจารย์  เช่น หลวงพ่อคูณ

 *** ท่านไหนคิดออกเพิ่มเติม เขียนต่อไปเลยนะครับ ***

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท