ยุทธศาสตร์สำหรับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ : วัคซีนตัวใหม่


เราได้ทำความเข้าใจพระราชดำรัสเพียงไร...เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

...เวลาในการแก้ไขปัญหาภาคใต้  ใช้เวลานานเกิน  2 ปี แต่ยังหาแนวทางสรุปไม่ได้ว่าจะใช้ยุทธศาสตร์อะไร? ในการแก้ไขปัญหา  ถึงแม้นว่าในระยะหลังจะใช้ยุทธศาสตร์เดิมๆ โดยการใช้วัคซีนแบบเดิม ๆ จะไม่ได้อีกแล้ว หมายถึง การจัดตั้ง ศูนย์อำนวยการบริหารชายแดนใต้ (ศอบต)  แต่การบริหารจะต้องมีวัคซีนตัวใหม่หรือยุทธศาสตร์ใหม่ๆ และนำมาใช้  .....จะรอการหวังผลของการแก้ไขปัญหาที่ละปัญหา..อาจจะไม่ทันการณ์....เพราะเราถูกรุกจน(แทบจะ)ไม่สามารถควบคุมได้อีกแล้ว...

 

ผมขออัญเชิญพระราชดำรัสของในหลวงเราเป็นแนว เพื่อค้นหายุทธศาสตร์หรือวัคซีนตัวใหม่  "เข้าใจ  เข้าถึง และพัฒนา"

 

ความ'เข้าใจ' 

 

 เข้าใจใคร.... 

 

 เข้าใจเรา.... เข้าใจเขา.... และเข้าใจสถานการณ์

 

 เข้าใจเรา : การสร้างความเข้าใจคนในพื้นที่  หลังจากถูกยิกเลกระบบ ศอบต. ไประยะหนึ่ง ทำให้ระบบเดิมหรือเครือข่ายเดิมได้ถูกทอดทิ้ง ( เครือข่ายเดิมที่เคยสร้างไว้อาจจะเปลี่ยนแนวคิดเข้าไปเข้าร่วมเพื่อต่อต้านรัฐบาลก็อาจจะเป็นได้  ) ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่จะต้องใช้เวลา เสมือนกับการเริ่มต้นใหม่ ...นับหนึ่งกันใหม่

 

เข้าใจเขา : ภายในกลุ่มต่อต้านรัฐบาลมีกลุ่มอะไรบ้าง?  เขามีแนวคิดอย่างไร? ก็ให้จำแนกให้ชัดเจน  พยายามทำความเข้าใจแนวคิดของเขาก่อน เช่น ปรารถนาที่จะปกครองตนเองใช่หรือไม่?  หรือต้องการเพียงแค่ก่อกวนเฉยๆ   และสุดท้ายความต้องการที่แท้จริงของชาวบ้านในท้องถิ่นต้องการอะไร?   ต้องการความสงบสุขหรือต้องการความเป็นอยู่ของชีวิตที่ดีขึ้น เป็นต้น  ....มียุทธศาสตร์ใดที่สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มศึกษา 3 ฝ่าย ( รัฐบาล - ผู้ก่อการไม่สงบ  - ชาวบ้านบริสุทธิ ) หรือไม่?

 

 เข้าใจสถานการณ์ : เวลาเปลี่ยน  คนเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน ยุทธศาสตร์หรือวัคซีนต้องเปลี่ยนด้วย....ความเข้าใจระหว่างเราและเขาย่อมเปลี่ยนแปลง  และการทำความเข้าใจกันยากลำบากมากขึ้น ( การให้ความร่วมมือจากชาวบ้านมีน้อยมาก )   จะใช้มาตรการตอบโต้รุนแรงก็ไม่สามารถทำได้  ....จะทำอย่างไร?.... จึงจะมีวัคซีนตัวใหม่ที่เป็นเชื้อต้านไวรัสขึ้นมาเอง ......วัคซีนต้านไวรัส ก็ทำมาจากไวรัสตัวนั้น โดยนำไปอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างจากสิ่งแวดล้อมเดิม..

 

การ'เข้าถึง' 

 

เข้าถึงเรา : ณ ปัญหาปัจจุบัน การเข้าถึงของเราหมายถึงหน่วยงานปฏิบัติจะต้องการได้รับแรงสนับสนุนอย่างเต็มที่  เต็มกำลัง และต้องรวดเร็ว   มีการประสานกันอย่างจริงจังหรือไม่?  ใครมีหน้าที่ต้องตรวจสอบ...ว่ามีการเข้าถึงเราอย่างแท้จริง...มีการสร้างดัชนีชี้วัดเพื่อตรวจสอบหรือไม่...?

 

เข้าถึงเขา : การแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาจริงๆ ยุทธวิธีการตั้งรับเพื่อสร้างความเข้าใจยังไม่เพียงพอ  ต้องใช้กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อสร้างความเข้าใจด้วย   ....ชาวบ้านบริสุทธิ์เขาต้องการเพื่อนที่สามารถทำให้เขาอุ่นใจ ใช่หรือไม่? ...หน่วยงานของรัฐได้ตระหนักปัญหาในส่วนนี้หรือไม่...

 

เข้าถึงสภาพแวดล้อม : สภาพแวดล้อมระหว่างหน่วยงานของรัฐ กับ ประชาชนอยู่ใกล้กันหรือไม่   ทหาร-ตำรวจได้เข้ามาใกล้ชิดประชาชนหรือไม่  อย่างไร? 

 

....เคยได้คิดยุทธศาสตร์ "อยากได้ลูกเสือ ต้องเข้าถ้ำเสือ"   กันบ้างหรือเปล่า?  เพราะเท่าที่เห็น การปฏิบัติของทหารตำรวจที่ทำกันคือ เพียงแค่ลาดตระเวน   ลักษณะการปฏิบัติงานเป็นการปฏิบัติงานเพื่อแค่การหาข้อมูลใช่หรือไม่?  แต่ถ้าหากเป็นการปฏิบัติการเพื่อหาข้อมูล  เสียแรงเปล่า...ไม่มีประโยชน์อะไร?  และจะไม่ได้ข้อมูลอะไรจากชาวบ้าน?  เพราะชาวบ้านจะให้ข้อมูลไป หรือไม่ให้ข้อมูลไป ก็ไม่มีประโยชน์สำหรับตัวเขา  เพราะชาวบ้านเองก็อยู่ปะปนกับผู้ก่อการไม่สงบมานาน แต่ก็อยู่ด้วยกันได้ (แม้นจะอยู่ด้วยความกล้วก็ตาม)

 

การเปลี่ยนแปลง...เป็นสิ่งที่เขากำลังมองหาอยู่หรือเปล่า...  การหาข่าวทำให้เขาเปลี่ยนแปลงได้หรือเปล่า....?

 

ประเด็นสำคัญของการเข้าใจเราเข้าใจเขา ....เรายอมรับได้หรือไม่ว่าเราได้สูญเสียระบบการปกครองไปแล้ว ...ประชาชนหวังพึ่งพิงการแก้ไปปัญหาจากรัฐได้หรือไม่ ...อย่างไร?

 

เรายอมรับว่าประชาชนต้องการปกครองตนเองหรือไม่?  อย่างไร?

 

กฎหมายได้ถูกบังคับใช้หรือไม่  ประชาชนยังคงให้ความเคารพในกฎหมายหรือไม่?

 

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเรื่องที่ไม่ยอมรับความจริง กันตั้งแต่ต้น .... 

 

คำถามเพื่อนำไปสู่ยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้

1.  ทำไมทหาร - ตำรวจ ไม่ไปตั้งกองกำลังให้อยู่ใกล้ประชาชน   การลาดตระเวนในเมืองในหมู่บ้านเหมาะแล้วหรือสำหรับการสู้รบในเมือง เพราะเรายังไม่รู้เลยใครคือศัตรู?    ยุทธศาสตร์ "การเข้าถ้ำเสือ" และสร้างความอบอุ่นใจให้กับชาวบ้าน น่าจะเป็นอีกวิธีหนึ่งของการแก้ไขได้หรือไม่?

 

 2.  เมื่อเขาต้องการอิสระ ทำไมเราจะจัดหาให้ไม่ได้ มาคุยกันก่อนสิ... แผน "ล่อเสือออกจากถ้ำ...ล่อศัตรูให้เคลื่อนไหว.."   เราสามารถจัดตั้งและพัฒนาไปด้วยกันได้หรือไม่?     แต่กองกำลังรักษาความสงบหรือความมั่นคงจะต้องขึ้นอยู่กับรัฐเท่านั้น

 

เอาเพียงแค่ 2 ประเด็นคำถามข้างตน  เรายอมรับและพร้อมที่จะปฏิบัติได้หรือไม่?

 

ยุทธศาสตร์เรื่องการ'พัฒนา' จะต้องอาศัยการยอมรับ 2 ประเด็นข้างต้นก่อน   ผมจึงขอเสนอ การสร้าง 'หมู่บ้านยุทธศาสตร์' ขึ้นมาเพื่อแก้ไขชายแดนภาคใต้  

 

หมู่บ้านยุทธศาสตร์ หมายถึงอะไร?.....

 

หมู่บ้านยุทธศาสตร์หมายถึงวัคซีนตัวใหม่  สร้างระบบใหม่  นับหนึ่งใหม่   และเริ่มต้นกันใหม่ พัฒนาไปพร้อมๆ กัน และวัคซีนตัวใหม่นี้ จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในองค์การเดิมที่มีอยู่ 

 

หมู่บ้านยุทธศาสตร์ จึงหมายถึง 'การพัฒนา'

 

ก่อนที่จะอธิบายลำดับต่อไป  เราต้องเข้าใจนิยามคำว่า 'พัฒนา' กันเสียก่อน

 

ใครที่คิดว่าการพัฒนาคือ การก่อสร้าง  ขอให้หยุดคิดเอาไว้ก่อน เพราะความหมายของการพัฒนา มีความหมายมากกว่านั้น

 

การพัฒนา (Development) ในคำจำกัดความจริงๆ คือ การคิดไป ทำไป .... คิดไป ทำไป ในเชิงโครงสร้าง เพื่อในเกิดความสอดคล้อง  เพื่อให้เกิดความเหมาะสม และสุดท้ายทำให้เกิดคุณค่าที่เหมาะสมขึ้นมา...

องค์ประกอบการพัฒนาจึงประกอบไปด้วยการประสานความคิด ประสานการวางแผนที่ดี และรวมไปถึงวิเคราะห์หาจุดที่เหมาะสมโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ออกแบบ ผู้ใช้ประโยชน์ และเจ้าของงาน  เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมแล้วจึงจะนำไปปฏิบัติ ซึ่งเรียกว่า Implementation

 

ถ้าหากใครคิดว่า การพัฒนาคือ การให้สาธารณูปโภค   การให้ศูนย์การค้า  ....ท่านกำลังคิดผิด  และแคบไป...

 

และผมเองก็ไม่เคยได้ยิน ในหลวงของเรา ใช้คำความบูรณาการเลย เพราะมันยังเป็นคำเรียกส่วนย่อยเล็ก ๆ ของคำว่า 'การพัฒนา'   เพราะจุดหมายของการพัฒนาคือ การสร้างคุณค่าที่เหมาะสมกับผู้ใช้บริการ  

 

เราเข้าใจพอสังเขปแล้วน่ะครับว่า การพัฒนา หมายถึงอะไร?... .ให้เรากลับไปเรื่องเดิมครับ....

 

'หมู่บ้านยุทธศาสตร์' จึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัย หลักการ'พัฒนา' ตามพระราชดำรัสของ ในหลวง  คือ คิดไป ทำไป โดยมีประชาชนเป็นผู้ออกแบบร่วม  เพราะประชาชนจะเป็นผู้ใช้

แนวทางหมู่บ้านยุทธศาสตร์ :

1.  เข้าไปจัดตั้งระบบพื้นฐานพัฒนาชุมชนใหม่ ให้อยู่ใกล้เคียงกับหมู่บ้านที่มีปัญหา

2.  จัดตั้งอาสาการพัฒนาพื้นที่ในชุมชนใหม่  ให้โอกาส หาให้ได้ว่าอะไรคือความต้องการที่แท้จริงสุดท้ายของประชาชน

3.  จัดตั้งกองกำลังปกป้องพื้นที่ขึ้นมาใหม่ ทหารและตำรวจ จักต้องมีสถานที่ประจำ

4.   ระบบต่างๆ ให้ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ หลังจากเราตกลงกันว่าจะนำการพัฒนา ( ตามนิยามข้างต้น ) และลงมือกันทำจริงๆ จังๆ เสียที

 

สุดท้าย

ของเก่า ระบบเก่า เมื่อไม่สามารถใช้การใด้แล้ว เราต้องหาระบบใหม่มาทดแทน  ไม่จำเป็นจะต้องใช้ของเก่าเลย  เพราะการทำของเก่าให้เหมือนใหม่ ทำยากกว่า

 

หากไม่ทำสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้อย่างไร  ขั้นตอนแรกต้องเปลี่ยนความคิด และการยอมรับก่อน

 

หากไม่เปลี่ยนแปลง เราจะยอมรับการคร่าชีวิต อย่างนี้ ตลอดไปหรือไม่?

 

เคยมีการนำเอา พระราชดำรัสของ ในหลวง 'เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา' ไปใช้ให้ถูกต้องหรือไม่?

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 105376เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2007 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ปัจจุบันเริ่มเห็น ยุทธศาสตร์การเข้าถ้ำเสือ กันมากขึ้นแล้ว   แต่ขอติ่งหน่อยว่า ไม่ควรตั้งภายในหมู่บ้าน หรือพื้นที่เดิมของหมู่บ้าน  ควรที่ทำเลหรือพื้นที่ใหม่จะดีกว่า

 ตั้งกองกำลังใกล้ ๆ หมู่บ้าน พัฒนาอาสาแนวป้องกันให้เข้มแข้ง  ทหารตำรวจ ร่วมมือกัน

หนึ่ง  กองกำลังที่ตั้งใกล้ๆ หมู่บ้าน เปรียบเสมือน แม่เหล็กดูด ให้มีการโจมตี  เพราะเราเข้าไปใกล้กลุ่มผู้ก่อการร้าย   ดังนั้นต่อระวัง

 สอง  การจัดตั้งหมู่บ้านยุทธศาสตร์และกองกำลัง ทำให้ กลุ่มก่อการฯ พุ่งเป้าหมายมายังกองกำลังแทน   แทนที่ จะมุ่งเป้าไปยังประชาชน หรือครู เพราะมันจะต้องรักษาฐานหรือรักษากลุ่มประชาชน   ดังนั้น หมู่บ้านยุทธศาสตร์จะเป็นที่ ที่สำหรับ ล่อเป้า ครับ

สาม  การจัดตั้งหมู่บ้านยุทธศาสตร์  จะมีผลการย้ายฐานด้วย  ดังนั้นยุทธการการล้อมกรอบ จะต้องถูกนำมาใช้ด้วย

สี่   การจัดตั้งหมู่บ้านยุทธศาสตร์ จะต้องมาพร้อม การพัฒนาและโอกาส แก่ประชาชนด้วย

ห้า  การจัดตั้งหมู่บ้านยุทธศาสตร์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลง  จะเปลี่ยนแปลงดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่การออกแบบ หรือการพัฒนา 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท