เพิ่ม Bluetooth ให้โน้ตบุ๊ก เอาไว้ต่อเน็ตกับมือถือ


เพิ่ม Bluetooth ให้โน้ตบุ๊ก เอาไว้ต่อเน็ตกับมือถือ
เพิ่งได้นัดเจอเพื่อนที่ร้านกาแฟชื่อดังแห่งหนึ่ง แล้วเหลือบสายตาไปเห็นชาวต่างชาติคนหนึ่งกำลังง่วนอยู่กับการแชตด้วยโน้ตบุ๊กต่อผ่านมือถือ ก็เลยเกิดไอเดียปิ๊งว่าฉบับนี้มาแนะนำให้คุณผู้อ่านได้ใช้งานแบบฝรั่งคนนั้นบ้างก็คงจะดี เพราะสมัยนี้อะไรๆ มันก็ต้องออนไลน์ ที่สำคัญต้องใช้ได้กันทุกเวลาทุกสถานที่ แต่มีข้อแม้ว่าคุณจะต้องมีอุปกรณ์ที่พร้อมบวกกับความรู้และเทคนิคอีกเล็กน้อย

เพิ่งได้นัดเจอเพื่อนที่ร้านกาแฟชื่อดังแห่งหนึ่ง แล้วเหลือบสายตาไปเห็นชาวต่างชาติคนหนึ่งกำลังง่วนอยู่กับการแชตด้วยโน้ตบุ๊กต่อผ่านมือถือ ก็เลยเกิดไอเดียปิ๊งว่าฉบับนี้มาแนะนำให้คุณผู้อ่านได้ใช้งานแบบฝรั่งคนนั้นบ้างก็คงจะดี เพราะสมัยนี้อะไรๆ มันก็ต้องออนไลน์ ที่สำคัญต้องใช้ได้กันทุกเวลาทุกสถานที่ แต่มีข้อแม้ว่าคุณจะต้องมีอุปกรณ์ที่พร้อมบวกกับความรู้และเทคนิคอีกเล็กน้อย

ในเรื่องของการออนไลน์ผ่านมือถือนั้นเราจะต้องใช้ความสามารถของบูลทูธ (Bluetooth) ชื่อที่คุณคงได้ยินกันมาบ่อยในโฆษณาโทรศัพท์มือถือ ส่วนจะเป็นอย่างไร ใช้งานยากมากไหม ผมมีคำตอบมาให้คุณครับ

รู้จักกับบูลทูธก่อน

บูลทูธคืออะไร ? พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เส้นทางเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันโดยไม่ต้องใช้สายต่อให้ยุ่งยาก บูลทูธมีความแตกต่างจาก LAN ตรงที่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเชื่อมคอมพิวเตอร์ให้เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ แต่โดยตามความหมายแล้วบูลทูธจะเป็นระบบเครือข่ายส่วนบุคคล PAN (Personal Area Network) ที่เอาใว้สำหรับสื่อการแบบที่ไม่มากนัก เช่น มือถือกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์พกพากับคอมพิวเตอร์พกพาเข้าด้วยกัน ซึ่งสะดวกกว่าการใช้สายหรือว่าอินฟราเรด ที่มีข้อจำกัดมากกว่า

อุปกรณ์บูลทูธช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานทางด้านต่างๆ เช่น คุณสามารถเชื่อมแฮนด์ฟรีในระบบบูลทูธ เข้ากับโทรศัพท์มือถือที่รองรับได้ สำหรับใช้ในการสนทนาโดยไม่ต้องเสียเวลาเสียบแฮนด์ฟรีเข้ากับตัวเครื่องเลย หรืออาจจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์มือถือสองเครื่อง โดยไม่ต้องเอาเครื่องมาวางใกล้ๆ กับเพื่อส่งข้อมูลผ่านทางระบบอินฟราเรดเหมือนแต่ก่อน รวมถึงเอาไว้ต่อเข้ากับโทรศัพท์มือถือสมัยใหม่ เพื่อใช้ในการเล่นอินเทอร์เน็ตออนไลน์ผ่านทาง GPRS ด้วย ซึ่งผลที่ได้ก็คือคุณสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลาตามที่ต้องการ

ความเหมือนที่แตกต่างของบูลทูธ กับ GPRS

ถึงแม้โทรศัพท์รุ่นใหม่จะมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า รวมทั้งรองรับ GPRS แต่ก็ไม่ได้เป็นข้อยืนยันว่าโทรศัพท์มือถือทุกเครื่องจะมีบูลทูธ ทั้งนี้หากดูในแง่ของการใช้งานทั่วไปแล้วบูลทูธเป็นเพียงแค่เส้นทางในการเชื่อมต่อที่จะช่วยให้เราสามารถเชื่อมเส้นทางการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์บางอย่างเข้าด้วยกันเท่านั้นเอง ซึ่งแตกต่างไปจาก GPRS ที่เป็นเส้นทางสำหรับการส่งข้อมูลบนคลื่นความถี่ของ GSM อีกทีหนึ่ง ปัจจุบันมีการพัฒนาแอพพลิเคชันบนมือถือขึ้นจำนวนมากเพื่อการทำงานในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น การรับส่งภาพผ่านทางมือถือ การค้นหาข้อมูลของสิ่งที่ต้องการ การชอปปิ้ง รวมทั้งการออนไลน์ดูภาพยนตร์ผ่านทางมือถือด้วย ด้วยเหตุนี้บูลทูธจึงแตกต่างไปจาก GPRS ตรงที่บูลทูธเป็นเพียงเส้นทางในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เท่านั้น แต่ GPRS เป็นเส้นทางสำหรับการรับส่งข้อมูล หน้าที่ในการทำงานจึงไม่เหมือนกัน

เปรียบมวยระหว่างบูลทูธ กับ WLAN

หากจะเปรียบเทียบให้ได้ใกล้เคียงแล้ว บูลทูธจะมีความคล้ายคลึงกับ WLAN ตรงที่เป็นเส้นทางสำหรับรับส่งข้อมูลแบบไร้สายเหมือนกัน แต่อาจจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เพราะ WLAN นั้นออกแบบมาให้ใช้งานได้อย่างอเนกประสงค์มากกว่า โดยเฉพาะการทำงานในระบบเครือข่าย ที่มีคอมพิวเตอร์จำนวนหลายๆ เครื่อง ขณะที่บูลทูธนั้นเหมาะสำหรับการต่อเชื่อมกันระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันเท่านั้นเอง ทั้งนี้ก็เพราะขนาดของแบนด์วิดธ์หรือช่องทางของข้อมูลที่แตกต่างกันหลายเท่าตัว รวมทั้งระยะทางที่บูลทูธมีรัศมีในการทำงานเพียง 10 เมตร ขณะที่ WLAN มีการทำการที่ไกลกว่านั้นมากมาย

บูลทูธ มีอะไรให้น่าสนใจ

ถึงแม้บูลทูธจะเป็นเพียงเครือข่ายส่วนบุคคล แต่ก็อำนวยความสะดวกให้กับการใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะหากคุณใช้คอมพิวเตอร์มือถือ หรือว่าโทรศัพท์มือถือที่มีบูลทูธอยู่ในตัว บูลทูธจะช่วยให้คุณสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างสะดวก และแน่นอนว่าอันนี้รวมไปถึงการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับมือถือ เข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในการออนไลน์อินเทอร์เน็ตได้ในทุกที่ด้วย

ติดตั้งบูลทูธเข้ากับโน้ตบุ๊ก

เอาละครับ ถึงแม้ว่าโน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ จะไม่ได้ติดตั้งบูลทูธมาให้เหมือนกับบรรดาเหล่าคอมพิวเตอร์มือถือที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ตาม แต่เราก็ยังพอที่จะหาบูลทูธมาติดตั้งเพิ่มเติมให้กับได้ แถมยังเรียกว่าติดตั้งได้ไม่ยากด้วย ทั้งนี้ก็เพราะเจ้าตัวบูลทูธที่มีขายส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของ USB เป็นหลัก เพียงแค่นำมาเสียบเข้ากับพอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์ก็ใช้ได้แล้ว ที่เหลือก็เพียงติดตั้งไดรเวอร์เพื่อควบคุมการทำงานเท่านั้นเอง แน่นอนอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการนำมาต่อก็ต้องรองรับการเชื่อมต่อด้วยบูลทูธด้วย เช่น โทรศัพท์มือถือก็ต้องรองรับระบบบูลทูธ เพื่อใช้ในการออนไลน์ผ่านทาง GPRS หรือจะต่อคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์มือถือเข้าด้วยกันก็สะดวกตรงที่คุณไม่ต้องเดินสายนั่นเอง (รูปที่ 1)
รูปที่ 1 การติดตั้งบูลทูธ


ความแตกต่างของบูลทูธที่แตกต่างไปจาก LAN ก็คือการใช้งานบูลทูธจำเป็นต้องอาศัยการยอมรับหรือเชื่อถือในอุปกรณ์นั้นก่อน โดยอาจจะใช้ลักษณะของการจับคู่เพื่อใช้งาน เพื่อไม่ให้เกิดการเข้าถึง (Access) โดยที่เจ้าของเครื่องไม่ได้อนุญาตนั่นเอง ซึ่งสิ่งที่นำมาใช้ก็คือการใช้พาสส์เวิร์ดคีย์ในการจับคู่ โดยผู้รับต้องมีคีย์ในการแอ็กเซส เพื่อที่จะเข้าถึงการใช้งานร่วมกันได้ โดยหากว่าใช้คีย์ที่ไม่ตรงกัน ก็จะไม่สามารถแบ่งปันข้อมูลหรือว่าส่งข่าวสารถึงกันได้ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ตัวไหน ก็จะเป็นต้องมีการกำหนดคีย์สำหรับติดต่อสื่อสารกันไว้ก่อน เพื่อให้ไม่เกิดการแทรกแซงโดยที่ไม่ได้อนุญาต

ถึงเวลาติดตั้งแล้ว!!!

ถ้าอยากจะติดตั้งบูลทูธก็ไม่ยากครับ ก่อนอื่นเราต้องหาการ์ดบูลทูธที่มีขายกันอยู่ทั่วๆ ไปมาติดตั้งเข้ากับเครื่องกันก่อน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการ์ดแบบ USB ครับ สนนราคา ก็ประมาณ 1,500-2,000 บาท หน้าตาของการ์ดแบบบูลทูธก็เป็นไปตามรูปที่ 2
รูปที่ 2 หน้าตาของบูลทูธ
รูปที่ 3 แสดงการเสียบบูลทูธ
ทีนี้เมื่อได้มาแล้ว ก็เอามาติดตั้งเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้เลยครับ โดยตัวโปรแกรมวินโดวส์จำเป็นต้องมีการลงไดรเวอร์สำหรับการ์ดบูลทูธก่อน เพื่อให้สามารถใช้งานได้ โดยการลงโปรแกรมไดรเวอร์นี้นอกจากลงไดรเวอร์สำหรับวินโดวส์ในการทำงานความรู้จักกับการ์ดบูลทูธใหม่แล้ว ยังเป็นการลงแอพพลิเคชัน เพื่อใช้ในการควบคุม ซึ่งหลังจากที่ติดตั้งไดรเวอร์สำหรับบูลทูธเรียบร้อยแล้ว ก็พร้อมที่จะสร้างทางติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้ทันที ในที่นี้ผมขอเป็นการสาธิตการติดตั้งทางเชื่อมต่อระหว่างปาล์มคอมพิวเตอร์กับโน้ตบุ๊ก (รูปที่ 3)
รูปที่ 4 ไอคอนบูลทูธ
รูปที่ 5 การเชื่อมต่อบูลทูธ
รูปที่ 6 กำหนดการทำงานบูลทูธในเครื่องปาล์ม


หลังจากที่เราติดตั้งการ์ดบูลทูธให้กับคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว ก็จะมีไอคอนแสดงสัญลักษณ์ของบูลทูธปรากฏขึ้นที่ทาส์กบาร์ ทีนี้ก็ให้กำหนดค่าชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้ในระหว่างการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์บูลทูธอื่นๆ (รูปที่ 4 และ 5) ซึ่งอุปกรณ์อื่นๆ ก็จะมองเห็นคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้อยู่เป็นชื่อนี้นั่นเอง จากนั้นก็ให้ลองกำหนดการทำงานของบูลทูธในเครื่องปาล์มดู โดยให้คลิ้กที่ไอคอน Preference ในส่วนของ System จากนั้นก็ให้เลือกที่ Connection (รูปที่ 6)








ในตอนนี้เรายังไม่สามารถใช้งานบูลทูธได้ ให้เราสร้างการเชื่อมต่อขึ้นมาใหม่ โดยคลิ้กที่ปุ่ม New และให้ตั้งชื่อสำหรับการเชื่อมต่อใหม่นี้ พร้อมกับบอกชนิดของการเชื่อมต่อว่าเป็นอะไร รวมถึงใช้การสื่อสารแบบไหนในการเชื่อมต่อ ซึ่งในที่นี้ก็คือการเชื่อมต่อกับพีซี โดยผ่านทางบูลทูธ จากนั้นก็คลิ้กที่ Tab Device เพื่อค้นหาอุปกรณ์ ซึ่งก็จะพบว่ามีคอมพิวเตอร์ปรากฏขึ้นมา ให้เราเลือกที่ต้องการจากนั้นก็คลิ้กที่ปุ่ม OK ก็จะกลับมาหน้าเดิมและพบว่าเราได้สร้างทางการเชื่อมต่อระหว่างปาล์มกับคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว และเมื่อคุณคลิ้กที่ปุ่ม OK อีกครั้ง ก็จะกลับมาสู่หน้าของ Connection และจะเป็นว่ามีทางเชื่อมต่ออันใหม่ปรากฏขึ้นมา โดยระหว่างการเชื่อมต่อนี้จะมีการถามถึงคีย์ที่ใช้ในการแอ็กเซส ซึ่งเราต้องกำหนดขึ้นมาเอง เพื่อใช้ในการยอมรับการใช้งานระหว่างอุปกรณ์ทั้งสองชิ้นเข้าด้วยกัน (รูปที่ 7-10)

โดยในที่นี้ทางเชื่อมที่สร้างขึ้น จะเอาไว้สำหรับ Hot Sync เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์กับปาล์มนั่นเอง ซึ่งจะทำให้ผมไม่ต้องพกพาแท่น Hot Sync ไปในทุกหนทุกแห่งด้วย และนอกจากนี้ เรายังสามารถกำหนดการเชื่อมต่อให้กับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น โทรศัพท์มือถือได้เหมือนกัน

คุณสามารถกำหนดการเปิด-ปิดบูลทูธได้ โดยมาที่ Preference เช่นเดียวกัน แต่ให้เลือกที่บูลทูธแทน ก็จะเข้าสู่หน้าจอของการควบคุมบูลทูธ ซึ่งคุณจะเลือกได้ว่าจะให้บูลทูธทำงานในลักษณะใดได้บ้าง นอกจากนั้นคุณยังสามารถจะเลือกบริการอื่นๆ ที่มีอยู่ในอุปกรณ์แต่ละประเภทได้โดยง่าย ซึ่งก็เพียงแต่เปิด Bluetooth Wizard โปรแกรมที่มาพร้อมกับการ์ดบูลทูธก็สามารถเลือกการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมกับดูเซอร์วิสของอุปกรณ์นั่นๆ ได้ เช่น ในที่นี้ผมได้สร้างทางเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ โดยในตอนแรกก็ให้เปิด Bluetooth Setup Wizard ขึ้นมาก่อน

จากนั้นก็เลือกว่าจะค้นหาเซอร์วิสที่อุปกรณ์ตัวนั้นจะสามารถหาได้ ซึ่งในที่นี้เราจะพบว่ามีอุปกรณ์บูลทูธ 2 ชิ้นที่ค้นพบ คือปาล์มคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ในตอนนี้เลือกโทรศัพท์มือถือ T39 จากนั้นโปรแกรมก็จะรายงานเซอร์วิสที่โทรศัพท์เครื่องนี้สามารถทำผ่านบูลทูธได้ออกมา โดยหากต้องการจะคอนเน็กพร้อมกับต่ออินเทอร์เน็ตผ่านทางมือถือ โดยใช้ GPRS ก็ให้เลือกที่ทางการเชื่อมต่อแบบ Serial Port จากนั้นก็คลิ้กที่ Finish ก็จะสร้างไอคอนสำหรับเซอร์วิสนี้ไว้ในเครื่องคุณ และหากคุณต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านทาง GPRS โดยใช้การเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แบบบูลทูธก็ให้กำหนดการ Connection ใน IE ได้ และเมื่อคุณต้องการออนไลน์ เพียงแค่คลิ้กที่ IE ก็ใช้งานได้เลย

เป็นไงครับ อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เริ่มรู้สึกอยากใช้บูลทูธกันขึ้นมาบ้างหรือยัง ? ถ้าเริ่มรู้สึกอยากลองใช้ก็อย่ารีรอเลยครับ แล้วจะรู้ว่า ความสามารถของบูลทูธนี้ เนี้ยบ เฉียบขาดขนาดไหน แต่อย่าออนไลน์เพลินหรือแชตเพลินจนลืมเรื่องค่าโทรศัพท์ไปนะครับ เดี๋ยวจะกระเป๋าฉีกไม่รู้ตัว 

 

อ้างอิงข้อมูลจาก : computer.today

หมายเลขบันทึก: 105202เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2007 17:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ครูอ้อย ใช้ บลูธูธค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท