ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Communication of Practice :COP)


ชุมชนแห่งการเรียนรู้ COP

ชุมชนแห่งการเรียนรู้

ชุมชนแห่งการเรียนรู้

(Community of Practice : CoP)

1.  ความรู้คือพลัง  (Knowledge is Power)

 

มนุษย์มีคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งคือ   ความสามารถปรับเปลี่ยน   และตอบสนองเพื่อความอยู่รอด   โดยมนุษย์มีความสามารถพิเศษในการเรียนรู้   และใช้ความรู้นั้นพัฒนาการตนเอง  จนมีความแตกต่างไปจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ โดยสิ้นเชิง  ความรู้จึงเป็นสิ่งที่ควบคู่มากับการพัฒนาการของมนุษย์   ที่สามารถตอบสนอง   ต่อสภาพแวดล้อมรอบตัวอย่างมีประสิทธิภาพ   และดำรงเผ่าพันธุ์อย่างยิ่งใหญ่จนทุกวันนี้

ระหว่างการใช้ความสามารถในการแข่งขัน   ความได้เปรียบ  ความเหนือกว่าของทุนนิยม  กับการใช้ความมีเหตุผล  การทำตามฐานะ   และความมีภูมิคุ้มกันตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงล้วนอาศัย   ความรู้ เป็นรากฐานทั้งสิ้น ดังนั้น  จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ให้เป็น เรียนรู้ให้ทัน  เรียนรู้ให้เร็ว  โดยกระบวนการจัดการ

    ความรู้   (KM :  Knowledge  Management)   เพื่อความอยู่รอด   และเจริญเติบโตทั้งต่อตัวบุคคลและองค์กรทุกองค์กร

 

2.  KM   คืออะไร

 

Ryoko  Toyama  กล่าวว่า การจัดการความรู้ (KM) หมายถึง  การจัดการเพื่อเอื้อให้เกิดความรู้ใหม่โดยใช้ความรู้ที่มีอยู่และประสบการณ์ของคนในองค์กรอย่างเป็นระบบ  เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่ทำให้มีความได้เปรียบ เหนือคู่แข่งขัน

Carla   O’ Dell    และ   Jackson  Grayson    กล่าวว่า   การจัดการความรู้เป็นกลยุทธ์ในการที่จะทำให้คนได้มีความรู้ที่ต้องการภายในเวลาที่เหมาะสม รวมทั้งช่วยทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและนำความรู้ไปปฏิบัติ  เพื่อยกระดับและปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร  ทั้งนี้ การจัดการความรู้ไม่ใช่เครื่องมือที่จัดการกับตัวของความรู้ได้โดยตรง  แต่เป็นวิธีการที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีระหว่างกันได้

จากนิยามที่ยกมาเป็นตัวอย่าง  อาจกล่าวได้ว่า  การจัดการความรู้  เป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่  หรือเรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรโดยผ่านทางกระบวนการต่าง ๆ  เช่น   การสร้าง  รวบรวม   แลกเปลี่ยน  และใช้ความรู้ เป็นต้น

3.  หัวใจของ  KM  อยู่ที่ไหน

 

มีผู้รู้ได้กล่าวถึง  KM  หลายแง่หลายมุมที่อาจรวบรวมมาชี้ธงคำตอบว่า  หัวใจของ  KM อยู่ที่ไหนได้     โดยอาจกล่าวเป็นลำดับขั้นหัวใจของ  KM  เหมือนกับลำดับขั้นของความต้องการ  ( Hierarchy  of  needs ) ของ    Mcgregor  ได้  โดยเริ่มจากข้อสมมุติฐานแรกที่เป็นสากลที่ยอมรับทั่วไปว่าความรู้คือพลัง

                                                1.  Knowledge is Power   ความรู้คือพลัง

                                2.  Successful  knowledge  transfer  involves  neither  computers  nor documents  but  rather  in  interactions  between  people. (Thomas H Davenport)

    ความสำเร็จของการถ่ายทอดความรู้ไม่ใช่อยู่ที่คอมพิวเตอร์หรือเอกสาร  แต่อยู่ที่การมีปฏิสัมพันธ์   ระหว่างคนด้วยกัน

3.  The  great  end  of  knowledge  is  not  knowledge  but  action

                                      จุดหมายปลายทางสำคัญ  ของความรู้มิใช่ที่ตัวความรู้  แต่อยู่ที่การนำไปปฏิบัติ

4.                                      4.  Now   the  definition   of  a  manager  is   somebody   who   makes  knowledge   productive

 

    นิยามใหม่ของผู้จัดการ  คือ  ผู้ซึ่งทำให้ความรู้ผลิตดอกออกผล

 

     จะเห็นว่า  จากข้อความที่กล่าวถึง ความรู้ดังกล่าว  พอทำให้มองเห็นหัวใจของ  KM เป็นลำดับชั้นมาเริ่มแต่ข้อความแรกที่ว่า ความรู้คือพลังหรือความรู้คืออำนาจ ซึ่งเป็นข้อความเป็นที่ยอมรับที่เป็นสากล ทั้งภาคธุรกิจ เอกชน และภาคราชการ จากการยอมรับดังกล่าวมาสู่การเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ของคนว่ามีความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้กว่าเครื่องมือหรือเอกสารใดและมักกล่าวถึงว่า แม้ความรู้จะถูกจัดระบบและง่ายต่อการเข้าถึงของบุคคล  ต่าง ๆ ดีเพียงใดก็ตาม ถ้ามีความรู้ เกิดความรู้ขึ้นแล้ว หากไม่นำไปใช้ประโยชน์ ก็ไม่ใช่จุดหมายปลายทางของ  ความรู้และที่ชัดเจนก็คือ ประโยคสุดท้ายที่เน้นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ให้เกิดมรรคผลมีคุณค่าประโยชน์เป็นรูปธรรมว่านั่นเป็นนิยามใหม่ของผู้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเลยทีเดียว  ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าหัวใจของ KM อยู่ที่การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

                    

4.  เครื่องมือในการจัดการความรู้

 

การจัดการความรู้ประกอบด้วย กระบวนการหลัก  ๆ  ได้แก่  การค้นหาความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ใหม่    การจัดความรู้ให้เป็นระบบ   การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้    การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้   สุดท้ายคือ การเรียนรู้ และเพื่อให้มีการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร เครื่องมือหลากหลายประเภท  ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้  ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1)       เครื่องมือที่ช่วยในการ เข้าถึงความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Explicit 

(2)                                                    2)    เครื่องมือที่ช่วยในการ ถ่ายทอดความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Tacit ซึ่งต้องอาศัยการถ่ายทอด โดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นหลักในบรรดาเครื่องมือดังกล่าวที่มีผู้นิยมใช้กันมากประเภทหนึ่งคือ  ชุมชนแห่งการเรียนรู้   หรือชุมชนนักปฏิบัติ  (Community of Practice : CoP)

 

 5.   ความหมายและลักษณะของชุมชนแห่งการเรียนรู้ ( CoP )

 

                                CoP  เป็นกลุ่มคนที่มารวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการ  มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ   เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิผลที่ดีขึ้นส่วนใหญ่การรวมตัวกันในลักษณะนี้มักจะมาจากคนที่อยู่ในกลุ่มงานเดียวกันหรือมีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน ซึ่งความไว้วางใจและความเชื่อมั่นใน

การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันจะเป็นสิ่งที่สำคัญ  Cop  จะมีความแตกต่างจากการที่บุคคลมารวมกลุ่มกันเป็นทีมปฏิบัติงานปกติทั่วไปตรงที่  Cop

เป็นการรวมตัวกันอย่างสมัครใจ เป็นการเชื่อมโยงสมาชิกเข้าด้วยกัน โดยกิจกรรมทางสังคม ไม่ได้มีการมอบหมายสั่งการเป็นการเฉพาะและจะเลือกทำในหัวข้อหรือเรื่องที่สนใจร่วมกันเท่านั้น

                                ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนในกลุ่ม CoP จะพัฒนาเป็นองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการทำงานของบุคคลและองค์กรต่อไป  และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการในท่ามกลางบรรยากาศแบบสบาย ๆ ประกอบกับการใช้เทคนิคที่เรียกว่าสุนทรีสนทนา (Dialogue)  ซึ่งเป็นการสนทนาที่เคารพความคิดเห็นของผู้พูด  ให้เกียรติกัน  ให้โอกาสกัน  และไม่พยายามขัดขวางความคิดใคร กับรับฟังผู้อื่นพูดอย่างตั้งอกตั้งใจ (Deep Listening)

 

 6.  กรมการปกครองเริ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้  (CoP)  นำร่องที่  วิทยาลัยการปกครอง.

 

จากการที่กรมการปกครองได้รับความไว้วางใจจากกระทรวงมหาดไทยและรัฐบาลมอบหมายให้เป็นภาคส่วนหลักในการปฏิบัติภารกิจที่สำคัญระดับชาติต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น การรักษาความมั่นคงภายในการแก้ไขปัญหายาเสพติด การบูรณาการแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นต้น  แสดงถึงการมีบุคลากรที่เป็น   “ทุนทางสังคม    อยู่เป็นพื้นฐานในองค์กร กรมการปกครองจึงได้ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ  และเกิดประสิทธิผลในรูปของการจัดชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้น   โดยนำร่องที่วิทยาลัยการปกครองก่อน   เรียกว่า  โครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ ( CoP ) วิทยาลัยการปกครอง”  โดยมีวัตถุประสงค์ใหญ่ ๆ  3 ประการ คือ

(1)  นำทฤษฏีการจัดการองค์ความรู้ ( KM ) มาสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่การปฏิบัติงานจริง

(2)  เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารทั่วองค์กร ( Communication ) ด้านการจัดการองค์ความรู้

(                       (3)   เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ การใช้เครื่องมือ CoP ในกระบวนการ KM  สำหรับแนวทางดำเนินการ   กำหนดไว้ ดังนี้

            3.1  การประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร

                                     3.2  ทำหนังสือเวียน เชิญชวน ข้าราชการ ลูกจ้าง ร่วมเป็นสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้

                                     3.3    เชิญสมาชิกประชุมปรึกษาหารือ ร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้ ตามหัวข้อที่อยู่ในความสนใจของสมาชิก

3                                  3.4    ประสานงานเรื่องสถานที่ประสานงานบุคคลและงานธุรการอื่น

3.                                 3.5    จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ

                                    3.6    จัดทำสรุปการเสวนาของ CoP เพื่อเผยแพร่ จัดกิจกรรม กระตุ้น ส่งเสริม เป็นระยะ ๆ

                                    3.7     ติดตามประเมินผลการดำเนินการและรายงาน

                            โครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ดังกล่าว จะต้องมีความอดทนและใช้เวลารวมถึงการกระตุ้นส่งเสริมและให้กำลังใจจากผู้บังคับบัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรก ๆ ก็คงจะต้องให้มีการดำเนินการในระยะเวลาหนึ่งแล้ว ติดตามประเมินผลเพื่อทำการศึกษาผลที่เกิดขึ้นต่อไป

 

7.  บทสรุป

 

                                ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (CoP) เป็นกิจกรรมเริ่มต้นอีกกิจกรรมหนึ่งในกระบวนการ   KM  ที่มีกิจกรรม หลายประการที่จะต้องดำเนินการทั้งในส่วนที่อาจเรียกว่าเป็นมิติของการบังคับและในส่วนที่เป็นมิติของการส่งเสริม   ส่วนที่เป็นมิติการบังคับ  คือ  การที่จะต้องดำเนินการ KM  ในฐานะตัวชี้วัดที่เป็นพันธะสัญญาที่กรมการปกครองได้  จัดทำไว้ในคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2549 กับ สำนักงาน ก... ให้สำเร็จ คือ การดำเนินการ  ในส่วนกลางของทุกสำนัก/กอง  ตามแผนปฏิบัติการการจัดการความรู้  (KM  Action  Plan)  กับการดำเนินการในส่วนภูมิภาคของอำเภอ/กิ่งอำเภอ  ในการทำให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ   เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  โดยอำเภอ/กิ่งอำเภอ จะต้องจัดทำผลสำเร็จการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่   จำนวน 1 เรื่อง  เพื่อเผยแพร่ติดไว้ที่  ศตจ.อำเภอ/กิ่งอำเภอ    และบันทึกไว้ที่เว็บไซต์ของจังหวัดและกรมการปกครอง  ในส่วนที่เป็นมิติของการส่งเสริมคือ  การดำเนินการ  KM  ในฐานะที่เป็นตัวขับเคลื่อน องค์กรสู่ความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและทำให้มีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด  บุคลากรของกรมการปกครองที่ถือได้ว่าเป็น   ทุนทางสังคม  มีความสำคัญยิ่งต่อการเดินทางไปสู่  เป้าหมาย KM  ดังกล่าว  การศึกษาเรียนรู้เรื่อง KM และการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกิจกรรม KM ต่าง ๆ  ทั้งใน ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจะทำให้เกิดสัมฤทธิ์ผล กับงานด้านการจัดการความรู้ที่กรมปกครองรับผิดชอบเช่นเดียวกับงานอื่น ๆ ที่ผ่านเข้ามาและสำเร็จผลลงด้วยดี กับทั้งเกิดคุณค่าประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนและชาติบ้านเมืองไปพร้อมกัน เป็นที่ยอมรับและได้เกิดความไว้วางใจจากรัฐบาลทุกรัฐบาลเสมอมา 

 

หมายเลขบันทึก: 105146เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2007 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอถามหน่อยนะค่ะ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ สังคมแห่งการเรียนรู้ องค์การแห่งการเรียนรู้ ต่างกันอย่างไรค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท