อย่างไร ยะลาจะก้าวพ้นหลุมดำKM


ควันหลง จากประชุมเชิงปฏิบัติการระดับเขต ภาคใต้

ด้วยงานโครงการในความรับผิดชอบ จึงได้รับโอกาสในการเข้าประชุมเชิงปฏิบัติการระดับเขต ณ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 12-15 มิถุนายน ที่ผ่านมา

เรื่องเล่าที่ 1

ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการศูนยืเรียนรู้การเกษตรพอเพียง ซึ่งต้องอำนวยให้เกิดการดำเนินงานตามโครงการ โดยเฉพาะการถ่ายทอดความรู้โดยใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วมหรือ ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ถึงจุดละ 5 ครั้ง โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมถึง 50 คน

คำถาม 1. จะเปิดโรงเรียนเกษตรกรอย่างไร กับเกษตรกร 50 ราย/ครั้ง 2. จะทำอย่างไรให้เกษตรกรมาร่วมกระบวนการ  อาจเป็นคำถามที่มีคนเข้าใจน้อย แต่ถ้ามองลึกลงไปถึงระดับพื้นที่จังหวัดยะลา ก็จะทราบว่าเราประสบปัญหาอะไรกันอยู่...

การนำเสนอผลความก้าวหน้าโครงการ เรายังไม่น้อยหน้าใคร ดู 

ข้อสังเกต  จากการเล่าสู่กันฟังจากจังหวัดอื่นๆ เช่น จังหวัดตรัง ให้ความสำคัญกับการเลือกแปลงเกษตรที่จะจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ฯ โดยกำหนดตัวชี้วัดถึง 9 ข้อ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทางกายภาพ ชีวภาพของพื้นที่ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคมของเจ้าของแปลง ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมาก เพราะการได้ตัวอย่างที่ดี อาจทำให้มีคนเดินตามอีกมาก แต่ในด้านความก้าวหน้าของโครงการยังเดินไปได้ไม่แตกต่างกันในทุกจังหวัด ในส่วนของจังหวัดยะลา และจังหวัดอื่นๆอีก4 จังหวัด ซึ่งเป็นพื้นที่พิเศษ เราคัดเลือกพื้นที่โดยอ้างอิงพื้นที่ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต (ศอ.บต.)

เรื่องเล่าที่ 2

การจัดการความรู้ในการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับอำเภอ (DW) ด้วยประเด็นคำถามเพื่อการอภิปรายของสมาชิกทีม4 (four angle) ว่า  

 1. รูปแบบการจัด DW ครั้งต่อไปของจังหวัด ทำอย่างไรในเรื่องต่างๆ ดังนี้    การเตรียมการ ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล  กระบวนการจัดการ ผลการการจัดการจะได้อะไร (ความคาดหวัง)

2.การจัดการความรู้ระดับเกษตรกร 3 โครงการ คือ โครงการส่งเสริมการผลิตพืชที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง และวิสาหกิจชุมชน ทำอย่างไร

การเล่าผลการอภิปรายของจังหวัดยะลา

เนื่องจากผู้จัด (เขตฯ5) เห็นว่าการนำเสนอผล KM จังหวัดยะลา ไม่ได้ขึ้นเวที (ทั้งที่เตรียมไปอย่างดี) ก็เลยมอบให้จังหวัดยะลาขึ้นนำเสนอเป็นจังหวัดแรก ซึ่งก็ได้บอกเล่าถึงความเป็นมา (DW ตามแบบของจังหวัดยะลา)

เช่นว่า

1.จังหวัดยะลาจัดทำระบบส่งเสริมการเกษตร โดยทีมตำบล ซึ่งประกอบด้วยจนท.ตำบล1-3 คน/ทีมรับผิดชอบส่งเสริมเน้นหนักเพื่อพัฒนากลุ่ม/องค์กรเกษตรกร จำนวน 3 กลุ่ม โดยเดินตามขั้นตอนการพัฒนากลุ่ม 9 ขั้น (แนะนำ Blog วสันต์ กู้เกียรติกูล) โดยมุ่งหวังความยั่งยืนของกลุ่ม

2.DW นอกจากจะมีการพูดจาประสาโครงการ (ชี้แจงโครงการ) การถ่ายทอดความรู้แล้วยังเปิดอภิปรายกลุ่ม โดยเน้นการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มและรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนนั้น..ซึ่งก็เกิดข้อคำถามว่าจะเกิดบทสรุปอย่างไร....จึงได้ปรับเปลี่ยนกระบวนยุทธ โดยเน้นให้เกิดการเล่าสู่ แลกเปลี่ยนถึงวิธีการทำงาน/ผลการทำงาน/ปัญหาอุปสรรค เพื่อให้เกิดการเก็บเกี่ยวแนวปฏิบัติในขั้นตอนส่งเสริมกลุ่ม  และสามารถมีสรุปที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนากลุ่มในเบื้องต่อๆไป 

บทเรียน การจะสร้างความเข้าใจกับผ้ปฏิบัติที่มีความหลากหลาย อายุ พื้นฐานความคิด แนวปฏิบัติ...ต้องใช้ความพยายามอีกหลายเท่านัก..ก่อนอื่นต้องบอกให้รินน้ำออกจากแก้วที่เต็มปริ่ม เสียก่อน (ฮา)

3.ความน่าจะเป็นในการจัด DWของจังหวัดยะลา ในครั้งต่อไป

จัดแบ่งกลุ่มอภิปรายตามโครงการ 3 โครงการ และกลุ่มเกษตรอำเภอ เพื่อแลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานเหมือนๆกัน แล้วจะกำหนด KV อย่างไร

ข้อสังเกต จังหวัดชุมพรบอกว่า เมื่อจะจัดการความรู้ก็ต้องมีรูปแบบ คือควรชกตามครู ...อย่าชกเหมือนมวยวัด (อันนี้สรุปเอา..น่าจะหมายความว่าอย่างนี้) ซึ่งผู้เขียนก็เห็นด้วย เพราะถ้าจะจัดการความรู้กัน คนในกระบวนการก็ต้องรู้บทบาทของตัวเอง ว่าขณะนั้นๆ กำลังแสดงบทบาทอะไร ต้องแสดงอย่างไร แล้วในกระบวนการจัดการต้องเริมจากอะไร .....ถ้าจะยึดโมเดลปลาทู...ควรจะเริ่มจากหัวปลา...ตัวปลา...ไปถึงหางปลา หรือไม่ หรือจะเป็นโมเดลปลาตะเพียน (แนะนำ: www.kmi.or.th)

ใครจะเป็นคุณอำนวย คุณลิขิต ..ที่สำคัญคุณขัดขวาง คุณเท้าราน้ำ คุณขาดเป็นนิจ คุณติดงานศพประจำ....จะทำอย่างไร 

คำถาม..เปลี่ยนแล้วได้อะไร???

หมายเลขบันทึก: 104873เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2007 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2013 16:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท