ตัวอย่างกรณีศึกษาการต่อรองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ์ในการจัดการทรัพยารกรของชุมชน (2)


ชาวบ้านมี ทรัพยากรที่เป็นโครงสร้างอำนาจ สองอย่างที่สำคัญคือ ด้านความรู้และทักษะในการจัดการทรัพยากร และ เครือข่ายทางสังคม ที่มีมาก ในขณะที่ภาครัฐมีเพียงกฎหมายที่รองรับ แต่ขาดเครือข่ายทางสังคม (ซึ่งรวมถึงกำลังคน) ที่จะทำงานหรือบังคับใช้กฎหมายตามหน้าที่ของตนจริงๆ ประกอบกับ เนื่องจากอยู่นอกพื้นที่จึงมีความรู้เกี่ยวกับพื้นที่และทรัพยากรในพื้นที่ไม่เท่าชาวบ้าน ชาวบ้านจึงค่อยๆดึงสิทธิ์ในทางปฏิบัติ ในการจัดสรรทรัพยากรไปไว้ที่ตนเองได้มากขึ้นเรื่อยๆ

ในกระบวนการตอนแรกที่ชาวบ้านต้องการจะกำหนดเขตอนุรักษ์หอยนางรมนั้น ผญบ.เล่าให้ฟังว่าได้ไปติดต่อกับทาง หน่วยงานด้านประมงในพื้นที่ให้ช่วยกำหนดเขตให้ ...แต่ว่า ทางประมงบอกว่า หากวางแนวเขต จะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้รัฐเพิ่ม ... และพอดีว่าสมาคมหยาดฝนได้เข้ามาพอดี จึงได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อให้ชาวบ้านได้วางแนวเขตให้

นอกจากนี้ ในช่วงเริ่มต้นที่มีการวางแนวเขตนั้น ได้มีการท้าทายจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย ในหมู่บ้าน ด้วยการเข้ามาระเบิดปลาในเขตอนุรักษ์ ซึ่งเมื่อระเบิดปลา หอยนางรมก็ได้รับผลกระทบมาก

ในคราวนั้น ชาวบ้านได้แจ้งกรมประมงและตำรวจ แต่ว่าเจ้าหน้าที่บอกว่า ไม่สามารถทำอะไรได้ เนื่องจาก ยังไม่ได้มีกฎหมายรองรับในเรื่องสิทธิชุมชน   -- ประกอบกับเมื่อชาวบ้านได้ลองคิดดูต่อก็พบว่า หากดำเนินการตามกฎหมายก็จะสร้างความร้าวฉานในหมู่บ้านเปล่าๆ เพราะทุกคนเป็นพี่น้องกัน จึงชวนมาคุยทำความเข้าใจ ประนีประนอม และทำสัญญาโดยมีข้าราชการมาเป็นพยาน

เมื่อชาวบ้านร่วมมือกันทำงานอย่างเข้มแข็ง ในทางพฤตินัย ชาวบ้านก็เป็นผู้บริหารจัดการหอยนางรมบริเวณหมู่บ้านของตนโดยปริยาย ...

และด้วยเหตุนี้ หน่วยงานราชการที่เข้ามาปฏิสัมพันธ์กับบ้านแหลม จึงเข้ามาในลักษณะของการส่งเสริม เรียนรู้กับชาวบ้นามากกว่า ช่วยในเรื่องที่ช่วยได้ เช่นงบบางส่วน หรืออุปกรณ์บางอย่าง ... ในบางครั้งต้องเข้ามา แอบดึงเอางานของชาวบ้านไปเป็นงานของตัว ด้วยซ้ำไป


ผมมองว่า จากเรื่องราวที่เล่าไปนั้น จะเห็นได้ว่า ชาวบ้านมี ทรัพยากรที่เป็นโครงสร้างอำนาจ สองอย่างที่สำคัญคือ ด้านความรู้และทักษะในการจัดการทรัพยากร และ เครือข่ายทางสังคม ที่มีมาก ในขณะที่ภาครัฐมีเพียงกฎหมายที่รองรับ แต่ขาดเครือข่ายทางสังคม (ซึ่งรวมถึงกำลังคน) ที่จะทำงานหรือบังคับใช้กฎหมายตามหน้าที่ของตนจริงๆ ประกอบกับ เนื่องจากอยู่นอกพื้นที่จึงมีความรู้เกี่ยวกับพื้นที่และทรัพยากรในพื้นที่ไม่เท่าชาวบ้าน  ชาวบ้านจึงค่อยๆดึงสิทธิ์ในทางปฏิบัติ ในการจัดสรรทรัพยากรไปไว้ที่ตนเองได้มากขึ้นเรื่อยๆ

ข้าราชการเองก็มิได้มีแรงจูงใจที่จะไปขัดขวางการทำงานของชาวบ้าน ... เพราะว่า ในกรณีนี้ ถ้าชาวบ้านทำได้ดี ก็เป็นผลประโยชน์ของข้าราชการ คือผมสันนิษฐานว่า ข้าราชการมีแรงจูงใจสองอย่าง คือ Maximize income ของตัวเอง และ Maximize ความดีความชอบ จากการทำงานให้นายเห็น ฉะนั้นการส่งเสริมให้ชาวบ้านทำงานให้ดี และก็แอบ Haps งานของชาวบ้านมาเป็นงานของตน ก็ย่อมส่งเสริมตัวข้าราชการเอง (ตราบใดที่เงื่อนไขของข้าราชการยังบังคับให้ตัวข้าราชการเองต้อง จัดงานและประชาชนมีส่วนร่วม ทั้งๆที่ในทางปฏิบัติ ประชาชนควรจะเป็นคนจัด และข้าราชการมีส่วนร่วม เสริมหนุน)

นอกจากนี้ ชาวบ้านยังได้ริเริ่มการจัดงานเทศกาลหอยนางรมบ้านแหลมครั้งที่ 1 เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาด้วย และได้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัดตรังมาในงานดังกล่าวด้วย โดยการช่วยประสานงานของสมาคมหยาดฝน  ตัวงานเป็นงานขายหอยนางรมและผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ จากหอยนางรม และหอยปะ ... รวมถึงอาหารทะเลสดอื่นๆด้วย   จัดงานนี้เพื่อให้ของดีบ้านแหลมเป็นที่รู้จัก และย้ำเตือนให้ชาวบ้านและเครือข่ายตลอดลุ่มน้ำที่มาร่วมงานได้ตระหนักรู้คุณค่าของงานอนุรักษ์ที่ตนทำอยู่

การที่ผู้ว่าฯมานั้น สะท้อนให้เห็นหลายอย่าง ...

แรกสุด ผู้ว่าฯจะไม่มาเพราะติดประชุมหัวหน้าส่วนกับรัฐบาล ซึ่งตอนนั้นผญบ. ทั้งบ้านแหลม และบ้านทุ่งไพร ที่อยู่ติดกันและผลักดันงานนี้ถึงกับกลุ่มใจและเสียน้ำตากันเลยทีเดียว จากการคุยกับทางสมาคมหยาดฝน ได้ความว่า มันสะท้อนภาพของกรอบแนวคิดเรื่อง นาย-บ่าว ในสมัยโบราณ คือ ถ้าเกิดนายมา บ่าวดีใจ ภูมิใจและ เป็นเกียรติ  ชาวบ้านยังไม่เคารพตนเองมากพอที่จะเปลี่ยนความคิดและภูมิใจในสิ่งที่ตนเองทำด้วยตัวเอง ... ฉะนั้นมองในแง่หนึ่งการที่ผู้ว่าฯมาจะทำให้ชุมชนเกิดความภูมิใจและเข้มแข็งขึ้นไปอีก ... แต่ก็หมายถึงเป็นการพึ่งพาเชิงความรู้สึกด้วย ... ท้ายที่สุดผู้ว่าก็มาเปิดได้

อย่างที่สอง ผู้ว่าฯเองก็ไม่เคยทราบเรื่องราวของบ้านทุ่งไพรและเรื่องราวการอนุรักษ์ลุ่มน้ำปะเหลียน แต่เนื่องด้วยผู้ว่าฯเห็นความสำคัญของชุมชน จึงได้ลงมา และไปนั่งเรือดูสภาพแม่น้ำและสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้นทั้งสายน้ำด้วย โดยมีผญบ.ทั้งสองเป็นผู้ให้ข้อมูลอย่างใกล้ชิด และผู้ว่าฯ ก็บอกว่า จะต้องลงมาศึกษาให้มากกว่านี้ ....  ซึ่งเรื่องนี้ ทำให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางของการจัดการทรัพยากรมากขึ้น ... เสมือนว่าเป็นการ Lobby ให้ผู้ว่าฯ มีโอกาสหันมาให้สิทธิ์กับชุมชนในการจัดการทรัพยากรอย่างเป็นทางการมากขึ้นด้วย และให้หน่วยราชการหนุนเสริม (อย่างไรก็ดีเรื่องนี้ต้องดูต่อไป)

อย่างที่สามคือ เมื่อผู้ว่าฯลงมาที่ชุมชนบ้านแหลม แต่เดิมมีขรก.ผู้น้อยมาเบ่งในพื้นที่ ก็ทำให้เขาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปมากทีเดียว เมื่อรู้ว่า ชุมชนก็ไม่ธรรมดาเหมือนกัน และทำให้ชุมชนมีอำนาจต่อรองกับข้าราชการท้องถิ่นในการดำเนินการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรมากขึ้นด้วย

ฉะนั้นในการจัดงานเทศกาลหอยนางรมบ้านแหลม จึงเป็นเหมือนการรุกคืบเข้าไปแย่งสิทธิ์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จากภาครัฐ ให้มาเป็นของชุมชน  .... โดยก่อนหน้านี้ ชุมชนรุกคืบด้วยการเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่และดำเนินการอนุรักษ์โดยทบทวนบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ กับการมีเครือข่ายอนุรักษ์ที่เข้มแข็ง  การจัดงานเทศกาลหอยนางรม เป็นการแสดงให้กรรมการ (ผู้ว่าฯ) เห็นว่า ชุมชนมีศักยภาพพอที่จะจัดการทรัพยากรเองได้ 

หมายเลขบันทึก: 104502เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2007 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท