ครั้งที่ 3 กับวิจัยเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา : รร.บ้านโพธิ์งาม


จากการพูดคุยซักถาม กันอยู่พักนึง ก็เลยคิดว่า "นี่แหละจุดเด่น" ซึ่งบางครั้งเราจะฟังจากครูอย่างเดียวไม่ได้ ต้องฟังคนที่เค้าได้ลองปฏิบัติจริงด้วยว่ารู้สึกอย่างไร

วันที่ 18 มิถุนายน 2550

                คณะทีมผู้วิจัย ซึ่งประกอบด้วยอาจารย์และนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ในระดับบัณฑิตศึกษา ได้ดำเนินการทำวิจัยเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในเขตพื้นที่ให้บริการต่างๆ

                 ทีมหนึ่งคือ ทีมผู้จัยที่ลงพื้นที่ รร.บ้านโพธิ์งาม ซึ่งถูกประเมินจาก สมศ. แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าจะถูกประเมินให้ผ่านหรือไม่ผ่านหรือไม่  แต่มันอยู่ที่ปัญหามีอะไร ต้นทุนของโรงเรียนมีอะไร แล้วจะนำต้นทุน มาแก้ปัญหาและสร้างจุดเด่นได้อย่างไร

               จากการนำโดย รศ.เทียมจันทร์ พานิชย์ผลิญไชย และ ดร.อมรรัตน์ วัฒนาธร และนิสิตปริญญาเอก และปริญญาโท สาขาวิจัยแลพัฒนาการศึกษา และสาขาหลักสูตรและการสอน ได้ดำเนินการกับโรงเรียนและผู้มีส่วนร่วมที่เห็นความสำคัญของการศึกษา เช่น ศึกษานิเทศก์ โรงเรียนพี่เลี้ยง การศึกษานอกโรงเรียน เป็นต้น

              โดยครั้งแรกเป็นการระดมความคิดรับฟังปัญหา และค้นหาต้นทุนทางปัญญาของโรงเรียน 

              ปัญหาที่พบคือ ครูไม่เพียงพอต่อการสอนให้ครบชั้นทั้ง 6 ชั้นเรียน และชั้นปฐมวัยอีกด้วย

              ปัญหาเรื่องเงินงบประมาณสนับสนุน

              ปัญหาเรื่องสื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ

              แต่จุดเด่นที่ไม่มีใครพูดถึงเลย คือ เอกลักษณ์ด้านการปลูกต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่รู้จักกันดีในชื่อ "ลีลาวดี" 

              ข้อค้นพบนี้ ครูได้เอ๋ยถึงว่า มีต้นไม้แม่อยู่ต้นหนึ่งให้เด็กๆ เพาะชำขาย  แต่วันหนึ่งก็มีคนมาขอซื้อต้นแม่ไปเลยไม่มีปลูกกันอีก

              ทุกอย่างจบอยู่ตรงนี้  แต่นอกห้องเรียนเล็กๆ ยังมีความสำเร็จเล็กๆ จากนักเรียนตัวน้อยๆ ที่เล่าให้ผู้วิจัยฟังข้างนอกห้องเรียน ระหว่างพักกลางวัน ซึ่งเด็กๆ เหล่านี้มีแววตาที่น่ารัก ฉลาดคิด ฉลาดพูด กล้าแสดงความคิดเห็น และร่าเริงแจ่มใสดี พอคุยด้วยไปเรื่อยๆ นักเรียนได้เล่าให้ฟัง ว่าเคยปลูกต้น "ลีลาวดี" มาแล้ว คนนั้นทำหน้าที่ผสมดิน ต้องทำอย่างนี้ครับ ต้องทำอย่างนั้นครับ ส่วนคนที่ปลูกก็บอกวิธีการสังเกตกล้าไม้ ต้นไหนแข็งแรง ต้นไหนปลูกแล้วดอกจะสวย และต้นไม้เหล่านี้มีกี่สี่ กี่ชนิดอย่างไร สามารถบอกได้ และบอกเล่าด้วยความเต็มใจ ภาคภูมิใจ ที่เค้าสามารถทำได้และรู้เรื่องมากกว่าคนถามซะอีก

             จากการพูดคุยซักถาม กันอยู่พักนึง ก็เลยคิดว่า "นี่แหละจุดเด่น" ซึ่งบางครั้งเราจะฟังจากครูอย่างเดียวไม่ได้ ต้องฟังคนที่เค้าได้ลองปฏิบัติจริงด้วยว่ารู้สึกอย่างไร

              จุดเด่นนี้เราสามารถนำมา จัดทำเป็นการพัฒนาหลักสูตรได้ โดยจัดเป็นหลักสูตรบูรณาการ ซึ่งเราแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ

 1) บูรณาการในชั้นเรียน จัดเป็นการเรียนรวมชั้น คือ ช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ในสาระการเรียนรู้หลัก เช่น รร.ต้องการเน้นที่คิดเลขและอ่านออกเขียนได้ ก็คือ คณิตศาสตร์ และภาษาไทย

              แต่ครูจะมีภาระหนักตรงการเตรียมการสอนในส่วนของใบงานและใบความรู้

              ดีตรงที่ครูจะสอนวิชาเดียวตลอด สามารถดูแลและติดตามนักเรียนได้ตลอดช่วงชั้นเพื่อการเสริมและสร้างความรู้ให้ได้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของช่วงชั้น จะทำให้ครูรู้จักนักเรียนดีขึ้นและจะเสริมพื้นฐานได้ดีกว่าการสอนให้จบไปเป็นชั้นๆ แล้วไปเจอครูคนใหม่ที่ต้องทำความรู้จักกันใหม่

              ส่วนการจัดการห้องเรียนจะสลับกันกับครูอีกคนที่เหลือเป็นครูผู้ช่วยในเวลาที่สอนแล้วมีใบความรู้ ใบงาน หรือกิจกรรมเฉพาะกลุ่ม โดยในกลุ่มจะจัดกลุ่มตามความสามารถของนักเรียน และคละกันบ้างในบางกิจกรรม

2) การบูรณาการในส่วนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เหลือ ในรูปแบบหลักสูตร "ลีลาวดี"

          จะบูรณาการ ซ้อนบูรณาการอีกที แต่เป็นการเน้นที่การปฏิบัติ

          และยึดมาตรฐานช่วงชั้นและมาตรฐานการเรียนรู้ในกลุ่มสาระต่างๆ เป็นแกน ในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ในหลักสูตรนี้

โดยจัดเวลาตามโครงสร้างหลักสูตรเป็น 2 ช่วงคือ

              เช้าเรียนพื้นฐาน   กลางวันเรียนปฏิบัติ

             โดยโรงเรียนสามารถบริหารจัดการเป็นรายได้ ของโรงเรียนเพื่อใช้ในการเรียนการสอนได้ต่อไป

              ครั้งที่ 2 ของการลงพื้นที่ ที่รร.บ้านโพธิ์งาม สิ่งที่ประทับใจมากที่สุด คือ ศึกษานิเทศก์และครูที่เต็มใจพัฒนางาน และพัฒนานักเรียน และพัฒนาตนเอง นี่คือก้าวที่สำคัญที่จะทำให้โรงเรียนนี้คือ best practice ของโรงเรียนอื่นๆ ต่อไป

              ในวันพรุ่งนี้ จะเป็นการลงพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงาน เพื่อให้คำปรึกษา และคำแนะนำเพิ่มเติม และกระตุ้นการใช้ blog go to know เป็นเวทีในการติดต่อ สื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และตอบข้อซักถาม อีกทั้งปรึกษาในเรื่องการดำเนินการต่างๆ

               คณะผู้วิจัยจึงหวังที่จะเป็นโรงเรียนนี้เป็น ต้นแบบที่ดีที่ประสบความสำเร็จและจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อโรงเรียนอีกจำนวนไม่น้อยในประเทศไทยที่ประสบปัญหาคล้ายคลึงกัน

                                                                                 เพียงออ ฟุ้งเฟื่อง

                                                                                       17 มิ.ย. 50

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 104124เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2007 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2012 11:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • งงว่าทำไมไม่มีคนแสดงความคิดเห้นบันทึกนี้
  • ดูทีมวิจัยแล้วไม่ธรรมดา
  •  รศ.เทียมจันทร์ พานิชย์ผลิญไชย และ ดร.อมรรัตน์ วัฒนาธร 
  • ขอบคุณครับ

อ่านบทความของอาจารย์แล้ว สามารถจุดประกายความคิดขึ้นได้ว่า ที่โรงเรียนมีชวนชม ซึ่งน่าจะนำมาทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ได้

ขอบคุณค่ะ ที่อาจารย์จุดประกายให้

จริงๆแล้ว แต่ละโรงเรียนก็จะมีจุดเด่นของตัวเองอยู่แล้ว มันขึ้นอยู่ที่ว่าตัวครูผู้สอน ตัวผู้บริหาร และชุมชน ให้ความสำคัญกับเรืืื่องเล็กๆแบบนี้มากแครไหน การมองสิ่งเล็กๆให้เป็นความภูมิใจใหญ่ๆได้ถือว่าเป็นความสำเร็จหนึ่ง บทความนี้สท้อนภาพบางอย่างให้กับผู้อ่านคือการลืมมองจุดบางจุดของวิธีการสอนไป ผู้สอนอาจจะคิดว่าเราจะสอนแบบนี้ จะทำแบบนี้ มันเกิดกระบวนการขึ้นมาแล้ว เกิดสิ่งดีๆขึ้นกับผู้สอนและผู้เรียนแล้ว มันอาจจะเป็นสิ่งธรรมดาๆที่เกิดขึ้นในคาบเรียนนั้นน แต่จริงๆแล้วมันเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งหนูเชื่อว่าทุกคนมีความสามารถอยู่ในตัว แต่เราจะสามารถมองหาและนำจุดเด่นนี้มาพัฒนาและบอกเล่าต่อเพื่อให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ได้เพิ่มขึ้นหรือไม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท